ต้นตะกู

ความรู้เรื่องต้นตะกู และการปลูก

เป็นไม้ยืนต้นซึ่งใกล้จะสูญพันธุ์จากประเทศไทยแล้ว เป็นไม้มงคล โบราณเชื่อว่าจะขึ้นเป็นคู่ๆ ในอาณาเขตบ้านของผู้มีบุญ

ปัจจุบันกรมป่าไม้จัดไม้ตะกูเป็นหนึ่งในไม้ป่ายืนต้นที่ปลูกทางด้านเศรษฐกิจ
ของไทยอันดับที่ 21 (เป็น 1 ใน 60 ชนิด) เป็นไม้ที่เหมาะกับการปลูกป่า
ใหม่ที่ให้ผลเร็ว เป็นไม้โตเร็ว ลำต้นเปล่าตรงมีขนาดใหญ่ได้เนื้อไม้มาก ส่วนเสียน้อย ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ทดแทนไม้สักซึ่งเป็นไม้หวงห้าม เจริญเติบโตช้า




เนื่องจากประเทศไทยมีปริมาณไม้ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด จึงต้องนำเข้าไม้แปรรูปจากต่างประเทศปีละกว่า 50,000 ล้านบาท ทำให้ขาดดุลการค้าทุกปี การปลูกต้นตะกูจึงนับเป็นทางเลือกที่เหมาะสมของการปลูกป่าใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพทั้งทางสิ่งแวดล้อมและทางเศรษฐกิจของไทยได้เร็วที่สุด

ต้นตะกูอาจจะไม่คุ้นหู เพราะใกล้สูญพันธ์ในประเทศไทยแล้ว ต้นตะกูยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ทนต่อความแห้งแล้ง ปลูกง่าย โตเร็ว เพียงแต่ช่วง1 – 3 เดือนต้องรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ หากมีอายุ 2 ปีขึ้นไปจะทนต่อสภาวะน้ำท่วมและโดนไฟป่าไม่ตาย ต้นตะกูเริ่มมีการปลูกบ้างแล้วในหลายพื้นที่ และน่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกร หรือนักลงทุน ได้ไม่น้อยกว่า ไม้สัก ยางพารา หรือยูคาลิปตัส

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthocephalus chinensis (Lamk.) A. Rich. ex Walp.

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของไม้ตะกู :




ตะกูเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งเกือบตั้งฉากกับลำต้น เปลือกแตกเป็นร่องละเอียดตามยาว สีออกเทาปนน้ำตาล

ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ รูปไข่ กว้าง 7.5-17.5 ซม. ยาว 20 ซม. หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบด้านบนมีขนสาก ๆ และมีสีเข้ม ส่วนท้องใบจะมีขนสั้น ๆ แทบมองไม่เห็นแต่สัมผัสนุ่มมืออยู่ด้านล่าง เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้าน เส้นแขนงใบมี
7-14 คู่ เห็นชัดทั้งสองด้าน และใบจะหลุดร่วงไปเองเมื่อแก

ดอกตะกูมีขนาดเล็กติดกันแน่นอยู่บนช่อดอกแบบ Head สีขาวปนเหลืองหรือสีส้มมีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อกระจุกแน่น ลักษณะกลมเดี่ยว ไม่เกิน 2 ช่อ อยู่ตามปลายกิ่งขนาด 4-5 ซม. ดอกเล็กอัดกันแน่น กลีบรองดอกเป็นหลอดสั้น กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวเชื่อมกันเป็นหลอดยาว ปลายกลีบหยักมนและแผ่ออกเล็กน้อยตะกูเป็นไม้ที่ออกดอกเมื่ออายุยังน้อย พบว่าเริ่มออกดอกเมื่อมีอายุประมาณ 4 ปี สำหรับต้นที่โตเต็มที่แล้วจะออกดอกในช่วงระหว่างเดือน มิถุนายน-กันยายน หลังจากนั้นผลจะแก่ในช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม



ผลตะกู เป็นผลรวมอุ้มน้ำ เกิดจาก วงกลีบรองดอกของแต่ละดอกเชื่อมติดกันโดยเรียงกันแน่นเป็นก้อนกลมอยู่บนช่อดอก เรียกผลแบบนี้ว่า Fruiting Head มีขนาดความโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-6 ซม


ไม้ตะกูอยู่ในวงศ์ Rubiaceae ไม้ตะกูเป็นไม้เบิกนำที่เจริญเติบโตได้เร็วมากชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นกลุ่มเป็นก้อน ในพื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งไว้เป็นไร่ร้าง เป็นไม้ที่มีวัยตัดฟันสั้น สามารถขึ้นได้ในสิ่งแวดล้อมหลายสภาพ ความสามารถในการแตกหน่อสูง หลังจากตัดต้นทิ้งสามารถแตกหน่อขึ้นจากตอได้ถึง 1-4 หน่อ มีปัญหาเกี่ยวกับโรคและแมลงทำลายน้อย
เนื้อไม้สามารถนำไปใช้เป็นไม้แปรรูปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทำเยื่อและกระดาษ ไม้บาง ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด พาร์ติเคิลบอร์ด เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ไม้แบบ ไม้กระดาน ไม้หน้าสาม งานฝีมือ รูปแกะสลัก และใช้ในโรงงานทำไม้ขีดไฟได้ดี


การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา :

ไม้ตะกูพบในประเทศอินเดีย เนปาล ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ ศรีลังกา จีน ภูมิภาคอินโดจีน ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ฯลฯ ไม้ชนิดนี้เชื่อว่าเป็นไม้ที่มีขอบเขตการกระจายพันธุ์กว้างชนิดหนึ่ง โดยกระจายพันธุ์จากเนปาลและอัสสัมมาทางทิศตะวันออกจนถึงแถบอินโดจีน และกระจายพันธุ์ลงไปทางใต้แถบมาเลเซีย อินโดนีเซีย จนกระทั่งถึงหมู่เกาะนิวกินี สามารถขึ้นได้ตั้งแต่ที่ราบริมทะเลไปจนถึงระดับความสูง 1,500 เมตร ปริมาณน้ำฝนรายปี 1,000-5,000 มิลลิเมตร


ในประเทศไทยตะกูมีการกระจายพันธุ์แทบทุกภาคของประเทศ โดยพบที่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่ กำแพงเพชร อุทัยธานี เลย เพชรบูรณ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี ตรัง สตูล และภูเก็ต โดยมักพบูขึ้นเป็นกลุ่มล้วน ๆ ในป่าดั้งเดิมที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งร้างไว้ หรือสองข้างทางรถยนต์ที่ตัดผ่านป่าที่ค่อนข้างชุ่มชื้น เช่นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง เป็นต้น


ลักษณะเด่นของตะกู :

1. โตเร็ว ต้นตรง ไม่มีกิ่งตามต้นเกะกะเนื่องจากต้นไม้จะทำการสลัดกิ่งตลอดเวลาที่เจริญเติบโต
แปรรูปได้ปริมาณไม้ต่อต้นสูง
2. ทนแล้ง
3. ทนน้ำหรือน้ำท่วมขังตะกูสามารถอยู่รอดได้ในพื้นที่น้ำท่วมขังและสามารถเจริญเติบโตได้
เมื่อไม้ฟื้นตัวหลังน้ำลด
4. ตะกูจะมีการงอกขึ้นใหม่ได้อีกจากโคนเดิมหลังจากการตัดฟันซึ่งเป็นลักษณะของไม้โตเร็ว
ทำให้ผู้ปลูกไม่ต้องลงทุนในการปลูกต้นกล้าอีกในหลายรอบ


ประโยชน์ของต้นตะกู :

นำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้ทุกชนิด ทำไม้กระดาน เสาบ้าน ประตู หน้าต่าง วงกบ ทำเรือขุด เพราะว่าต้นไม้มีขนาดใหญ่ มีเนื้อไม้ที่ละเอียด มีน้ำหนักเบากว่าไม้ประดู่หรือไม้มะค่า น้ำหนักใกล้เคียงกับไม้สักและนำไปทำกลอง ด้ามปืน และคุณสมบัติพิเศษของต้นตะกูอีกอย่าง คือ ปลวกหรือมอดไม่กินเหมือนไม้สัก

ตะกูมีเนื้อไม้ละเอียด สีเหลืองหรือขาว ใช้ทำพื้นและฝาที่ใช้งานในร่ม รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ และงาน
ประดิษฐ์ที่ทรงคุณค่ามากมาย เนื่องจากไม้ตะกูถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง จึงถูกนำมาแกะสลักเป็น
รูปเคารพต่าง ๆ มากมาย และเป็นที่นิยมในหลายประเทศทั่วโลก นิยมปลูกเป็นสวนป่าเพื่อการใช้สอย
และปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ หรือไม้เศรษฐกิจ ในประเทศทางแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์



การใช้ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของไม้ตะกู ได้แก่ ใช้ในการทำเยื่อและกระดาษที่ประเทศ
ฟิลิปปินส์พบว่าไม้ตะกู อายุ 3 ปี ก็สามารถนำเยื่อไปทำกระดาษเขียนหนังสือและกระดาษหนังสือ
ออฟเสทที่มีคุณภาพดี และยังพบว่าไม้ตะกูเป็นเยื่อชั้นดีที่ให้ความเหนียวของกระดาษสูง นอกจากนี้
ตะกูยังมีคุณสมบัติดีเด่นในแง่ที่สามารถตัดให้แตกหน่อได้ดีจึงเป็นความหวังในอนาคตที่จะปลูกสร้าง
สวนป่าไม้ตะกูเพื่อเป็นแหล่งผลิตไม้แผ่นขนาดเล็กไม้ท่อน และทำเยื่อกระดาษ โดยใช้รอบตัดฟัน
เพียง 5-10 ปี และจากเอกสารไม้อัดไทยบางนาได้แนะนำว่า ไม้ตะกูเป็นความหวังใหม่ในอนาคต
สามารถปลูกเป็นสวนป่าเอกชน เพื่อจำหน่ายในรูปไม้ซุง ไม้ตะกูนับว่าเป็นไม้เศรษฐกิจยุคใหม่เพื่อ
ตัดและแปรรูป ป้อนให้กับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ที่มีอนาคตสดใสมากที่สุดชนิดหนึ่ง

สาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งที่ตะกูถูกจัดเป็นไม้มงคล เพราะในอินเดียเชื่อกันว่า เป็นต้นไม้ที่โปรดปราน
ของพระกฤษณะ และชาวอินเดียนิยมนำดอกตะกู ไปใช้ในการบูชาเทพเจ้า และยังนิยมนำดอกตะกู
ไปสกัดเพื่อเป็นส่วนประกอบของหัวน้ำหอม ในประเทศไทยการพบเห็นูโดยทั่วไป มักจะพบเป็นกลุ่ม
อยู่ในป่า สำหรับในบ้านคนหรือตามข้างทางทั่วๆ ไปมักจะพบขึ้นเป็นคู่เสมอ โดยจะมีระยะห่างกันเฉลี่ย
ประมาณ 1-3 เมตร


ชื่ออื่น ๆ ของต้นตะกู :
กระทุ่ม (มีที่มาจากคำว่า กทัมพ ในภาษาบาลี)

กรุงเทพฯ เรียก : กระทุ่ม , กระทุ่มบก
ภาคเหนือเรียก : ตุ้มหลวง , ตุ้มก้านซ้วง , ตุ้มก้านยาว
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก : ปะแด๊ะ เปอแด๊ะ สะพรั่ง
ขอนแก่น : ตุ้มพราย , ทุ่มพราย
สุโขทัย จันทบุรี นครศรีธรรมราช : ตะกู
ภาคตะวันออกเรียก : แคแสง , ตะโกส้ม , ตะโกใหญ่
ภาคใต้เรียก : ตุ้มขี้หมู , โกหว่า , กลองประหยัน


ในเมืองไทยพบได้หลายหลายสายพันธุ์ ชื่อที่เห็นเรียกกันหลากหลายในประเทศไทยนั้น เพียงแต่เป็น
ไม้ที่อยู่ในวงเดียวกัน คือกระทุ่ม แต่ก็มีความแตกต่างกันในเรื่องของสายพันธุ์ออกไป แต่ละสายพันธุ์
จะมีลักษณะดอกและใบที่แตกต่างกันไปเล็กน้อยและมีทั้งสายพันธุ์ที่โตเร็วโตช้าแตกต่างกัน บางสาย
พันธุ์ก็เติบโตได้แต่เฉพาะในที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่บางสายพันธุ์ก็สามารถเติบโตได้ทั้งที่ใกล้น้ำ
และที่แล้ง การลงทุนปลูกูต้องเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตเร็วและจะให้ดีควรเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตได้ใน
ทุกสภาพพื้นที่ เช่นตะกู ก้านแดง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทางเราแนะนำ เนื่องจากมีการวิจัยและคัดเลือก
สายพันธุ์มาแล้ว ต้นกล้าที่ได้จะเป็นต้นพันธุ์คุณภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งไม้ที่คุ้มค้าสร้างผลกำไรที่แน่นอน
ต่อผู้ปลูก


ที่มา : http://tontagu.com/product.html