กำลังแสดงผล 1 ถึง 7 จากทั้งหมด 7

หัวข้อ: ภาวะความโศกเศร้าและการสูญเสีย [Mental Health]

  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1

    ภาวะความโศกเศร้าและการสูญเสีย [Mental Health]


    ภาวะความโศกเศร้าและการสูญเสีย

    สิ่งที่ปรากฎให้เห็นโดยทั่วไปเมื่อเกิดการสูญเสีย

    อาการความเศร้าที่ได้รับจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของการสูญเสีย ว่าเราสูญเสียผู้ใดไป ชีวิตของผู้ที่จากไปนั้นมีความสำคัญมากต่อเราเพียงใด การแสดงออกต่อการสูญเสียจึงปรากฎเป็นความทุกข์ซึ่งส่งผลกระทบในลักษณะเฉพาะตามรูปแบบและความสำคัญที่มีอยู่ของแต่ละคน อาทิเช่น ประสบการณ์ของการสูญเสียคู่ชีวิต บิดามารดา หรือพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน หรือเพื่อนรักที่รู้ใจ ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเป็นเวลานานซึ่งมีความหมายต่อเราเป็นพิเศษ

    เมื่อคิดถึงการอาการที่แสดงออกเมื่อเกิดการสูญเสียบุคคลที่เรารัก เรามักจะคิดถึงเพียงแค่การแสดง ปฎิกิริยาที่ตอบสนองต่อความรู้สึกทางด้านอารมณ์เท่านั้น แต่ความจริงแล้วยังมีการแสดงออกมาทางร่างกายและพฤติกรรมในลักษณะต่าง ๆ ด้วย ระดับความรุนแรงของความเศร้าโศกจะเปลี่ยนแปลงตามวันเวลา ตามการเติบโต และตามวุฒิภาวะของบุคคล ลักษณะที่สำคัญบางประการ ของการแสดงปฎิกิริยาทางอารมณ์ ร่างกาย และพฤติกรรมจะแสดงออกมาดังนี้

    ด้านอารมณ์
    ตื่นตระหนก / ตกใจ
    สับสน มึนงงไม่มีความรูสึกใดๆ
    ปฏิเสธไม่รับรู้ใดๆ
    ความรู้สึกว่างเปล่า

    ด้านร่างกาย
    นิ่ง ไม่มีการตอบสนอง
    หายใจเต้นระรัว
    อาการมึนงง
    ปล่อยร่างกาย ไม่สนใจดูแล อยู่นิ่งๆ
    แน่นหน้าอก
    ร้องให้
    อ่อนเพลีย

    พฤติกรรมที่แสดงออก
    เฉยเมย เย็นชา
    แยกตัวออกจากสังคม
    อารมณ์โกรธปะทุออกมา

    การแสดงออกภายหลังจากความตื่นตระหนกหายไป บุคคลนั้นจะกลับมามีความรู้สึกอีกครั้งหนึง

    ด้านอารมณ์
    โกรธ
    เจ็บหน้าอก
    กระวนกระวาย
    กลัว
    ไม่มีกำลัง
    หวาดระแวง
    ผู้สึกผิด
    ผวา/ตื่นกลัว
    อ่อนเปลี้ยเพลียแรง
    รู้สึกเหงาว้าเหว่
    รู้สึกโดดเดี่ยว
    ซึมเศร้า
    รู้สึกอยากจะตายเพื่อมีชีวิตใหม่

    ด้านร่างกาย
    มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง
    นอนไม่หลับ
    อ่อนเพลีย
    ไม่มีแรง
    ร่างกายอ่อนแอ
    มีอาการตึงเครียด

    ด้านพฤติกรรม
    มีพฤติกรรมลุกลี้ลุกลน
    แยกตัวออกจากสังคม

    การปรับตัวต่อสถานการณ์ - เมื่อถึงเวลาที่จะจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

    ด้านอารมณ์
    ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น
    มุ่งไปข้างหน้า
    ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ
    มุ่งสร้างชีวิตของเราขึ้นมาใหม่
    มุ่งทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อตัวเอง
    มองหาทางที่จะทำให้ชีวิตจำเริญขึ้น

    ด้านร่างกาย
    สร้างความสมดุลย์ให้กับร่างกาย
    บางครั้งร่างกายอาจยังเจ็บป่วยอยู่บ้าง

    ด้านพฤติกรรม
    กลับฟื้นคืนสู่สังคม และใช้ชีวิตที่ปรกติอีกครั้ง

    ปฎิกิริยาที่แสดงออกของ ความเศร้าโศก และความทุกข์ระทมของเราแต่ละคนนั้นจะแสดงออกไม่เหมือนกัน ส่วนที่กล่าวมาเบื้องต้นนั้นเป็นเพียงการแสดงออกมาเพียงบางส่วนซึ่งไม่อาจครอบคลุมได้ทั้งหมด ถ้ารู้สึกสงสัยปฎิกิริยาการแสดงออกของเราเองหรือคนที่เรารักที่อาจดูแปลกๆไป ใหัรีบปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรด้านสุขภาพจิต ได้ที่ ?ศูนย์ให้คำปรึกษาเพื่อชีวิตและครอบครัว?

    การปรับตัว
    หลายสัปดาห์หลังการจากการสูญเสีย คนใกล้ชิดรอบข้างและ เพื่อน ต่างก็จะพยายามอย่างเต็มที่จะใช้เวลาปลอบประโลมและให้กำลังใจกับเราเพื่อช่วยให้คลายความเศร้าโศก แต่ก็มีหลายครั้งที่เรายังรู้สึกว่าเรายังอยู่ในอาการตกตะลึงไม่หาย ในขณะที่รับการปลอบประโลมจากคนรอบข้างจิตใจเราก็ยังคงสับสนอยู่ เมื่อเพื่อนฝูงเหล่านั้นต่างก็ค่อย ๆ จากเราเพื่อไปใช้ชีวิตปกติของเขา จากสถานการณ์นี้เองจะนำเราเข้าสู่ความคิดที่ว่า ?ฉันเป็นคนโดดเดี่ยว? แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น มีคนมากมายที่เข้าใจความรู้สึกทีเราเป็นอยู่ในเวลานี้เขาพร้อมที่จะยืนเคียงข้างและช่วยเราเสมอ

    สุขภาพร่างกายและความโศกเศร้า

    ในระหว่างที่อยู่ในอาการทุกข์โศก อาจดื่มเหล้าหรือสูบบุหรีมากกว่าปกติ อาจใช้ยาระงับประสาทหรือยาอื่น ๆ มากเกินไป สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้สุขภาพเสื่อมลง ซึ่งจะทำให้เกิดความทุกข์มากขึ้น อาการความทุกข์เศร้าโศกนั้นมีผลต่อสุขภาพร่างกายฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดูแลร่างกายให้ดีมากยิ่งขึ้น ในขณะที่บางครั้งเราอาจคิดว่าเรื่องของสุขภาพร่างกายเป็นเรื่องเล็กน้อยกว่าหลายๆเรื่อง ที่เราต้องดูแลและให้ความสำคัญในระหว่างที่ทุกข์โศก เราจะต้องปรับความคิดใหม่และมองหาทางที่จะทำให้ร่างกายกลับสู่สภาพปรกติให้เร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เพราะสุขภาพร่างกายเป็นส่วนที่สำคัญที่จะช่วยให้เราปรับตัวได้เร็วและสามารถใช้ความคิดในการแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น

    อาการที่ควรเฝ้าระวัง
    ? ปวดท้อง ? การไม่อยากรับประทานอาหาร ? อาการท้องใส้ปั่นป่าน
    ? อาการนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ? อาการที่เหมือนกับไม่มีแรง

    มีหลายอาการจากที่กล่าวมานี้เกิดจากความทุกข์โศกอย่างเฉียบพลันและอาการเจ็บป่วยอื่นๆที่เป็นผลมาจากจิตใจที่มีความทุกระทมอย่างแสนสาหัส อาการเหล่านี้จะเริ่มหายและกลับสู่สภาพปกติเมื่อเราสามารถปรับตัวกับความสูญเสียนั้นได้ เราต้องระมัดระวังสัญญาณเหล่านี้และควรแจ้งอาการในด้านร่างกาย หรือภาวะทางอารมณ์ของเราแก่แพทย์ประจำตัวให้ทราบ

    ขั้นตอนการฟื้นฟูสุขภาพ

    1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    การเดิน การวิ่ง และการฝึกยกน้ำหนักเป็นกิจกรรมที่น่าจะปฏิบัติได้ง่าย เริ่มต้นด้วยการเดินรอบ ๆ สวนในบ้านเพียงวันละ 15 นาที หรืออาจเป็นสวนสาธารณะ โดยการชักชวนเพื่อน ๆ ไปด้วย

    2. การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์
    เมื่อมีการสูญเสีย อยู่ในช่วงของความเศร้าโศก มักจะมีความรู้สึกเบื่ออาหาร ไม่สามารถทำอาหารที่ง่ายๆรับประทานเองได้ บางคนรู้สึกแปลกๆและหดหู่ใจเมื่อนั่งลงเพื่อจะรับประทานอาหาร หรือไม่อาจนั่งลงรับประทานอาหารในโต๊ะที่มีเก้าอี้ว่างเปล่าตรงหน้าได้เพราะเก้าอี้นี้บุคคลที่เราสูญเสียเคยนั่งรับประทานอาหารร่วมกันกับเรา ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้เป็นสิ่งปกติที่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่พบกับความสูญเสีย จำเป็นต้องพยายามหาวิธีการที่จะสามารถรับประทานอาหารให้ได้ โดยอาจจะเปลี่ยนสถานที่ในการรับประทานหรือบางครั้งเราอาจชวนเพื่อนไปจ่ายตลาดหรือทำอาหารด้วยกันเพื่อจะได้พูดคุยซึ่งจะช่วยให้สามารถปรับตัวในการรับระทานอาหารได้ดียิ่งขึ้น

    3. การนอนหลับให้เพียงพอ
    การที่จะนอนหลับให้เพียงพอนั้นเป็นสิ่งยากสำหรับผู้ที่อยู่ในภาวะการสูญเสีย แต่ก็ต้องพยายามหาวิธีการนอนให้หลับโดยไม่ควรใช้ยานอนหลับใด ๆ หรือสารเสพติด เช่น เหล้า หรือยาระงับประสาท เพื่อจะช่วยทำให้นอนหลับได้ มีคนมากมายที่ใช้สิ่งเหล่านี้ในเวลาที่เกิดความทุกข์โศกแต่ก็ใช้ได้เพียงชั่วคราวเพียงแค่ยืดเวลาในการต่อสู้กับความเศร้าโศกออกไปเท่านั้น วิธีหนึ่งที่จะช่วยในการนอนหลับและผ่อนคลายความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นได้คือการหากิจกรรมต่างๆที่เราชื่นชอบทำในช่วงเวลากลางวันเช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ปลูกต้นไม้ ซึ่งกิจกรรมที่ทำนั้นควรได้ออกแรงอย่างพอเหมาะและไม่ต้องใช้ความคิดมาก เมื่อถึงตอนเย็นให้รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และรีบเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ การปรับตัวในการสูญเสียก็สามรถทำได้ดีและเร็วขึ้น



    อ้างอิง
    http://www.ncs-counseling.com

  2. #2
    jutathip
    Guest

    Re: ภาวะความโศกเศร้าและการสูญเสีย [Mental Health]

    ภาวะนี้..ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นค่ะ...ถ้าใครเป็น..ขอให้มันเป็นอดีตที่เคยผ่าน...แต่อย่าจำ..มันจะมีผลกับปัจจุบันและอนาคต..อยู่กับปัจจุบันเถอะนะ..และพัฒนาปัจจุบันให้ดีขึ้น...เพื่อความสำเร็จในอนาคต...สู้สู้.. 8) 8)

  3. #3
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1

    Re: ภาวะความโศกเศร้าและการสูญเสีย [Mental Health]

    ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น
    มุ่งไปข้างหน้า
    ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ
    มุ่งสร้างชีวิตของเราขึ้นมาใหม่
    มุ่งทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อตัวเอง
    มองหาทางที่จะทำให้ชีวิตจำเริญขึ้น


    เป็นวิถีทางที่เราต้องดำเนินต่อไป ชีวิตเราต้องก้าวไปข้างหน้าถึงแม้ว่าเราจะเจ็บปวดสักเพียงไร

  4. #4
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9

    Re: ภาวะความโศกเศร้าและการสูญเสีย [Mental Health]

    การปรับตัวต่อสถานการณ์ - เมื่อถึงเวลาที่จะจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

    ด้านอารมณ์
    ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น
    มุ่งไปข้างหน้า
    ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ
    มุ่งสร้างชีวิตของเราขึ้นมาใหม่
    มุ่งทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อตัวเอง
    มองหาทางที่จะทำให้ชีวิตจำเริญขึ้น
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  5. #5

    Re: ภาวะความโศกเศร้าและการสูญเสีย [Mental Health]

    ถ้าเจอปัญหา เจอภาวะที่โศกเศร้าและสูญเสีย สิ่งสำคัญที่สุดคือ กำลังใจจากคนรอบข้างเป็นยาที่ดีที่สุดค่ะ
    เคยเจอกับโตเองเมื่อหลายปีก่อน ถ้าคนรอบข้างบ่ให้กำลังใจ กะคือสิบ่มีติ๋มคนนี่ในมื้อนี่ อาจสิเป็นติ๋มขี่เหล้า เมายา เอิ๊กกๆๆ
    คนที่กล้าจะพ่ายแพ้เท่านั้น...ที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

  6. #6
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ บ่าวเม้า
    วันที่สมัคร
    Jun 2006
    กระทู้
    207

    Re: ภาวะความโศกเศร้าและการสูญเสีย [Mental Health]

    อ่านบ่จบคับ โทรมาเว้าให้ฟังแน่ครับ 081010101011001110 ว่างตลอดคับ

  7. #7
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1

    Re: ภาวะความโศกเศร้าและการสูญเสีย [Mental Health]

    นี่คือวิธีที่ดีที่สุดเมื่อเกิดการสูญเสีย ประสบการณ์จะสอนให้เราเข้มแข็งเอง

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •