กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: ของดีเมืองยโสธรเด้อ.....

  1. #1
    บ่าวเมฆินทร์
    Guest

    ดูวีดีโอ YouTube ออนไลน์ ของดีเมืองยโสธรเด้อ.....

    ธ า ตุ ก่ อ ง ข้ า ว น้ อ ย

    ป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๙ กม. ไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๓ (ยโสธร - อุบลราชธานี) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ ๑๙๔ เลี้ยวซ้ายไปอีก ๑ กิโลเมตร ถึงบ้านตาดทอง พอพ้นบ้านตาดทองออกไปก็จะมองเห็นธาตุก่องข้าวน้อยสูงตระหง่านอยู่กลางทุ่งนา
    าตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพระพุทธศตวรรษที่ ๒๓ - ๒๕ ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สามฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๒ เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ ๑ เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้เป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อย ๆ สอบเข้าหากัน เป็นส่วนยอด รอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด ๕ x ๕ เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น
    าตุก่องข้าวน้อยมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่น ๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของธาตุก่องข้าวน้อยกลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนา โดยมีประวัติที่เล่าต่อ ๆ กันมาแต่โบราณกาลว่า ยังมีครอบครัวชาวนาครอบครัวหนึ่ง ชื่ออะไรไม่ปรากฏ ครอบครัวนี้มีแม่และลูกชายอยู่ด้วยกันเพียงสองคนแม่ลูก มีอาชีพทำนามาแต่ดั้งเดิม อยู่มาวันหนึ่ง ลูกชายออกไปไถนาแต่เช้าตรู่คนเดียว ฝ่ายแม่ก็ทำอาหารอยู่บ้านเพื่อนำไปส่งลูกชายที่นา ลูกชายไถนาได้หลายไร่จนตะวันสูงโด่งฟ้าแล้วแม่ก็ยังไม่นำอาหารมาให้กิน หิวก็หิว เหนื่อยก็เหนื่อย เหนื่อยกายอ่อนใจลงนั่งคอยแม่อยู่ใต้ต้นไม้ และทอดสายตามายังบ้านของตน คอยอาหารจากแม่ด้วยความหิวโหย ทันใดนั้นก็มองเห็นแม่หิ้วก่องข้าวน้อย (ก่องข้าวน้อยเป็นภาชนะใส่ข้าวเหนียวซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ ใช้กันทั่วไปในภาคอีสาน) เดินมาแต่ไกล ด้วยความหิวจนแสบท้องแลเห็นก่องข้าวน้อยกลัวจะไม่พอกิน พอแม่มาถึงก็โมโหต่อว่าต่อขานแม่เป็นการใหญ่ว่าทำไมแม่มาช้า มารดาตอบว่าวันนี้แม่มีงานที่บ้านมากจึงได้มาช้าไปหน่อย ได้ถามมารดาต่ออีกว่าทำไมไม่เอาก่องข่าวใหญ่ใส่ข้าวมาก่องนี้น้อยมีข้าวอยู่นิดเดียวจะพอกินอิ่มหรือ ด้วยความโมโหหิวจึงคว้าไม้แอกน้อยแล้วปรี่จะเข้าตีมารดา มารดาก็อ้อนวอนว่าให้ลองกินดูก่อนถึงเป็นก่องข้าวน้อยแต่เต็มแน่นในนะลูก มารดาอ้อนวอนอยู่หลายครั้งหลายหน ลูกก็ไม่ฟังเสียงเพราะอารมณ์ขุ่นมัว จึงทุบตีมารดาจนนิ่งฟุบไป เมื่อได้ก่องข้าวจากแม่แล้วก็เปิดออกกิน จนอิ่มแล้วข้าวก็ยังไม่หมดเหลืออีกค่อนก่อง ครั้นกินข้าวอิ่มแล้วจึงนึกถึงแม่ได้รีบลุกขึ้นไปดู แต่อนิจจาแม่ได้สิ้นใจไปเสียแล้ว เขาได้สติสำนึกถึงบาปกรรมอันหนักนั้น ร้องไห้คร่ำครวญมิได้ขาด เขาคิดว่าไม่มีทางใดจะช่วยระงับความผิดอันหนักนี้ได้ นอกจากจะสร้างธาตุอุทิศส่วนกุศลให้มารดาขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต จึงได้ทดแทนพระคุณแม่ด้วยการสร้างธาตุนี้ขึ้น บรรจุอัฐิแม่ไว้ ณ ที่นาของตนที่แม่ตาย เพื่อกราบไหว้บูชา
    อกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียง

  2. #2
    น้ำตาล
    Guest
    เป็นจั่งได่ละอ้ายธาตุก่องข้าวน้อยน้ำตาลคือบ่เคยเห็นหละอ้าย.........อิอิอิ:g:g

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ Tid Sri
    วันที่สมัคร
    Jul 2007
    กระทู้
    249
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ น้ำตาล
    เป็นจั่งได่ละอ้ายธาตุก่องข้าวน้อยน้ำตาลคือบ่เคยเห็นหละอ้าย.........อิอิอิ:g:g
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ บ่าวเมฆินทร์
    ธ า ตุ ก่ อ ง ข้ า ว น้ อ ย

    ป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๙ กม. ไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๓ (ยโสธร - อุบลราชธานี) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ ๑๙๔ เลี้ยวซ้ายไปอีก ๑ กิโลเมตร ถึงบ้านตาดทอง พอพ้นบ้านตาดทองออกไปก็จะมองเห็นธาตุก่องข้าวน้อยสูงตระหง่านอยู่กลางทุ่งนา
    าตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพระพุทธศตวรรษที่ ๒๓ - ๒๕ ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สามฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๒ เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ ๑ เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้เป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อย ๆ สอบเข้าหากัน เป็นส่วนยอด รอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด ๕ x ๕ เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น
    าตุก่องข้าวน้อยมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่น ๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของธาตุก่องข้าวน้อยกลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนา โดยมีประวัติที่เล่าต่อ ๆ กันมาแต่โบราณกาลว่า ยังมีครอบครัวชาวนาครอบครัวหนึ่ง ชื่ออะไรไม่ปรากฏ ครอบครัวนี้มีแม่และลูกชายอยู่ด้วยกันเพียงสองคนแม่ลูก มีอาชีพทำนามาแต่ดั้งเดิม อยู่มาวันหนึ่ง ลูกชายออกไปไถนาแต่เช้าตรู่คนเดียว ฝ่ายแม่ก็ทำอาหารอยู่บ้านเพื่อนำไปส่งลูกชายที่นา ลูกชายไถนาได้หลายไร่จนตะวันสูงโด่งฟ้าแล้วแม่ก็ยังไม่นำอาหารมาให้กิน หิวก็หิว เหนื่อยก็เหนื่อย เหนื่อยกายอ่อนใจลงนั่งคอยแม่อยู่ใต้ต้นไม้ และทอดสายตามายังบ้านของตน คอยอาหารจากแม่ด้วยความหิวโหย ทันใดนั้นก็มองเห็นแม่หิ้วก่องข้าวน้อย (ก่องข้าวน้อยเป็นภาชนะใส่ข้าวเหนียวซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ ใช้กันทั่วไปในภาคอีสาน) เดินมาแต่ไกล ด้วยความหิวจนแสบท้องแลเห็นก่องข้าวน้อยกลัวจะไม่พอกิน พอแม่มาถึงก็โมโหต่อว่าต่อขานแม่เป็นการใหญ่ว่าทำไมแม่มาช้า มารดาตอบว่าวันนี้แม่มีงานที่บ้านมากจึงได้มาช้าไปหน่อย ได้ถามมารดาต่ออีกว่าทำไมไม่เอาก่องข่าวใหญ่ใส่ข้าวมาก่องนี้น้อยมีข้าวอยู่นิดเดียวจะพอกินอิ่มหรือ ด้วยความโมโหหิวจึงคว้าไม้แอกน้อยแล้วปรี่จะเข้าตีมารดา มารดาก็อ้อนวอนว่าให้ลองกินดูก่อนถึงเป็นก่องข้าวน้อยแต่เต็มแน่นในนะลูก มารดาอ้อนวอนอยู่หลายครั้งหลายหน ลูกก็ไม่ฟังเสียงเพราะอารมณ์ขุ่นมัว จึงทุบตีมารดาจนนิ่งฟุบไป เมื่อได้ก่องข้าวจากแม่แล้วก็เปิดออกกิน จนอิ่มแล้วข้าวก็ยังไม่หมดเหลืออีกค่อนก่อง ครั้นกินข้าวอิ่มแล้วจึงนึกถึงแม่ได้รีบลุกขึ้นไปดู แต่อนิจจาแม่ได้สิ้นใจไปเสียแล้ว เขาได้สติสำนึกถึงบาปกรรมอันหนักนั้น ร้องไห้คร่ำครวญมิได้ขาด เขาคิดว่าไม่มีทางใดจะช่วยระงับความผิดอันหนักนี้ได้ นอกจากจะสร้างธาตุอุทิศส่วนกุศลให้มารดาขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต จึงได้ทดแทนพระคุณแม่ด้วยการสร้างธาตุนี้ขึ้น บรรจุอัฐิแม่ไว้ ณ ที่นาของตนที่แม่ตาย เพื่อกราบไหว้บูชา
    อกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียง
    http://img211.google.co.th/img211/2559/86060782ud5.jpg
    นี่ล่ะคับรูปทรงของพระธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่คับน้องน้ำตาล

  4. #4
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ Tid Sri
    วันที่สมัคร
    Jul 2007
    กระทู้
    249

  5. #5
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวดอนโบม
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,421
    นี่คือรูปลักษณ์ของธาตุก่องข้าวน้อย ถ้าบ่เป็นจั่งซี่แสดงว่าบ่แมน


กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •