กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: ประวัติและความเป็นมาของวันรัฐธรรมนูญ

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1

    เรื่องฮิตน่าอ่าน ประวัติและความเป็นมาของวันรัฐธรรมนูญ

    ประวัติและความเป็นมาของวันรัฐธรรมนูญ

    ความหมาย

    รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

    ประวัติและความเป็นมาของวันรัฐธรรมนูญ

    วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

    ความเป็นมา

    การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

    สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
    ๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

    ๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

    ๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

    ๔. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

    จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

    วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
    ๑. พระมหากษัตริย์

    ๒. สภาผู้แทนราษฎร

    ๓. คณะกรรมการราษฎร

    ๔. ศาล

    ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

    กระทั่งถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ้

    รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

  2. #2
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ lukhin_inter
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    ที่อยู่
    อิสานใต้ ประเทศไทย
    กระทู้
    1,860
    จาก 2475 จนลุล่วงจะหมดปี 2550 ประชาธิปไตยของไทย..เกือบจะก้าวพ้น 75 ปีแล้ว ทำอย่างไร บ้านเมืองเราจะมั่นคง คนมีการศึกษา ไม่ขายสิทธิ์ไม่ซื้อเสียง...มีรัฐธรรมนูญที่ดี ประชากรของประเทศมีคุณภาพ...สมกับที่เราได้รับอำนาจอธิปไตย มาไว้กับประชาชน สักที..........ขอบคุณข้อมูลดีดี จากอ้ายภู... นะคะ
    อุปสรรคเป็นได้ทั้งบันไดให้ก้าวขึ้นไป...หรือ
    เป็นภูผาที่ขวางกั้น...ขึ้นอยู่กับว่าจะมองมุมไหน

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ Thadjunior
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    กระทู้
    150
    75 ปีผ่านไป ไม่มีอะไรดีขึ้นเลยสำหรับรัฐธรรมนูญ ไม่รู้จะภูมิใจรึเสียใจดี เฮ้อ ประเทศชาติ

  4. #4
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    ๑๐ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  5. #5
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    วันสิทธิมนุษยชนของโลก

    วันที่ 10 ธันวาคม นอกจากเป็นวันรัฐธรรมนูญของไทยแล้ว สหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิทธิมนุษยชนของโลกด้วย ซึ่งประชาชนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบว่าวันที่ 10 ธันวาคมเป็นวันสิทธิมนุษยชน ยกเว้นกลุ่มสิทธิมนุษยชนในไทย ซึ่งคงมีการจัดงานภายในของตนเองรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้เน้นเรื่องสิทธิ และเสรีภาพค่อนข้างมาก และย้ำว่าศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง โดยไม่คำนึงถึงแหล่งกำเนิด เพศ ศาสนา และมีบทในหมวด 3 ว่าด้วย สิทธิและเสรีภาพของประชาชนไทยถึง 40 มาตรา แสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญของไทยฉบับปัจจุบันได้คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนยิ่ง กว่าครั้งใด ๆ นอกจากจะมีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดูแลอยู่แล้ว ยังมีองค์กรพัฒนาภาคเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายองค์กรทำงานควบคู่กันไป สอดคล้องกับการทำงานของคณะกรรมการว่าด้วย สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และองค์กรพัฒนาเอกชนสององค์กรหลักคือ องค์กรนิรโทษกรรมสากลของอังกฤษและ Human Right Watch ของอเมริกา

    สิทธิมนุษยชน(Human Right)นั้น หมายถึง สิทธิในความเป็นมนุษย์ทั่วๆไป อย่างถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ก็ย่อมถือว่ามี สิทธิอันติดตัวมาพร้อมกับการที่ได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์อยู่แล้ว อันถือเป็นที่ยอมรักในสากลนานาชาติ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ หรือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) ก็ได้เขียนไว้ในเรื่อง สิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน ในกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ นั่นคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย ก็ยังได้บัญญัติถึง หลักสิทธิมนุษยชน ว่าด้วยเรื่องสิทธิและ เสรีภาพของชนชาวไทย ซึ่งบัญญัติถึง สิทธิพื้นฐานของพลเมืองไทย


    ความเป็นมาของวันสิทธิมนุษยชน

    ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง ผู้นำประเทศต่างๆ ได้ตระหนักว่า การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิด สันติภาพแลความเจริญก้าวหน้าขึ้นในโลก ดังนั้น จึงได้ร่วมมือกันจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น เพื่อเป็นองค์การโลกที่จะคุ้มครองมนุษยชาติให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอ ภาคเท่าเทียมกัน สมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ และมีมติประกาศให้วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชน (Human Rights Day)

    หลังจากนั้นสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ ให้ร่างตราสารสิทธิมนุษยชนขึ้น ๒ ฉบับ โดยให้ใช้ชื่อว่า กติกา (convenant) ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและทางการเมืองฉบับหนึ่ง และอีกฉบับหนึ่งว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยผ่านการรับรองเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ และวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ตามลำดับ และต่อมาได้มีมติประกาศให้ปี ค.ศ. 1995-2004 เป็นทศวรรษแห่งสิทธิมนุษยชนศึกษาของสหประชาชาติ

    ในส่วนของประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ใช้กันมาในอดีต ได้กล่าวถึงสิทธิมนุษชนไว้เป็นบางส่วน จนกระทั่งได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา
    จักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน ได้เน้นเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ค่อนข้างจะสมบูรณ์ เช่น "มาตราที่ ๔ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับ
    ความคุ้มครอง" ซึ่งสอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๑ ที่กล่าวไว้ว่า "มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสรเสรีและเท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประ
    สิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง" นับได้ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์" เพิ่งได้รับการบัญญัตืในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นครั้งแรก ดังนั้น การ
    ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพย่อมขัดต่อรัฐธรรมนูญและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

    นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังได้บัญญัติองค์กรอิสระ เรียกว่า "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน" เข้าไว้ด้วยในมาตรา ๑๙๙ และ ๒๐๐ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีจำนวน ๑๑ คน มาจากการสรรหา อยู่ในวาระ ๖ ปี มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

    ๑. ตรวจสอบและรายงานการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือการที่ไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี

    ๒. เสนอมาตราการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคล หรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงาน ต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป

    ๓. เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฏหมาย กฏหรือข้อบังคับต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

    สหประชาชาติได้แสดงความห่วงใยต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะต่อผู้อพยพและผู้ลี้ภัย ผู้ไร้ที่อยู่ในประเทศ ชนกลุ่มน้อยและกลุ่มศาสนา ผู้เคลื่อนไหวทางการเมือง และสื่อมวลชน ต่อการกระทำทารุณเด็ก การใช้แรงงานเด็ก การเกณฑ์เด็กเป็นทหาร เด็กกำพร้าเด็กเร่ร่อน เด็กข้างถนน โสเภณีเด็ก เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีจากมารดา การลักลอบค้าอาวุธสงครามขนาดเล็ก กับระเบิด การทำทารุณต่อนักโทษ ความแออัดในเรือนจำ การขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกให้นักโทษ

    ------------------------------------------


    รางวัลด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่นปี 52 ไร้หน่วยงานภาครัฐ

    กรุงเทพฯ 3 ธ.ค.-“สุวิทย์ กุหลาบวงษ์” ผู้นำชาวบ้านต่อต้านเหมืองแร่โปแตช- “หอมหวล บุญเรือง” นักต่อสู้ปกป้องแหล่งต้นน้ำดอยแม่ออกฮู-คัดค้านทำโรงโม่หินภาคเหนือ “เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก” ปกป้องสิ่งแวดล้อมและชุมชนจากมลพิษนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้รับเลือกให้เป็นผู้มีผลงานด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่นประจำปี 2552 ขณะที่องค์กรภาครัฐไม่มีหน่วยงานใดเข้าเกณฑ์

    นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นประธานแถลงการมอบรางวัลบุคคลและองค์กรที่มีผลงานด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคคลและองค์กรที่อุทิศตนในการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะมีการมอบรางวัลในงานมหกรรมงานสิทธิมนุษยชน “รู้สิทธิ รักสิทธิ ไม่ละเมิดสิทธิ” วันที่ 14 ธันวาคมนี้

    โดยปี 2552 นี้ ผู้ที่ได้รับรางวัลประกอบด้วย ประเภทบุคคลชาย ได้แก่ นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ นักต่อสู้เพื่อปกป้องฐานทรัพยากร เป็นผู้นำชาวบ้านต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนในเขตภาคอีสาน ในการต่อต้านเหมืองแร่โปแตซ ประเภทบุคคลหญิง ได้แก่ นางหอมหวล บุญเรือง นักต่อสู้เพื่อปกป้องรักษาแหล่งต้นน้ำดอยแม่ออกฮู จ.เชียงราย และคัดค้านการทำโรงโม่หินในเขตภาคเหนือ ประเภทองค์กรภาคเอกชน ได้แก่ เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก องค์กรภาคประชาชนที่รวมตัวกันดูแลปกป้องสิ่งแวดล้อมและชุมชนจากปัญหามลพิษ ที่เกิดจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ขณะที่ประเภทองค์กรภาครัฐ ไม่มีหน่วยงานใดมีคุณสมบัติเหมาะสม

    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยังพิจารณาเห็นสมควรมอบรางวัลเกียรติยศ “ผู้อุทิศตนเพื่อสิทธิมนุษยชน” เป็นกรณีพิเศษ เพื่อมอบแก่บุคคลที่อุทิศตนเพื่อส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมาอย่างต่อเนื่อง 2 คน ประกอบด้วย ศ.วิทิต มันตาภรณ์ ผู้อุทิศตนเพื่อส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ด้านกฎหมายระหว่างประเทศและผู้ลี้ภัย และ รศ.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร ผู้อุทิศตนเพื่อส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ด้านสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ .-สำนักข่าวไทย


    ขอบคุณข้อมูลจาก: 10 �ѹ�Ҥ� ���ѹ�Է�����ª� : ʹ�ȹ�����
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  6. #6
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5
    รัฐธรรมนูญไทยนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ มาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๔) มีรัฐธรรมนูญไทยฉบับที่สำคัญ ๑๘ ฉบับดังนี้
    ๑. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช ๒๔๒๗ ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๕ เดือน ๑๓ วัน
    ๒. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑๓ ปี ๕ เดือน
    ๓. รัฐธรรมนูญฉบับราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ รวมอายุการประกาศและการบังคับใช้ ๑ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน
    ๔. รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๔๙๐ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ รวมอายุการประกาศใช้ ๑ ปี ๔ เดือน ๑๔ วัน
    ๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒ ประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๒ ปี ๘ เดือน ๖ วัน
    ๖. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕ ประกาศและบังคับใช้ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ รวมอายุและประกาศบังคับใช้ ๖ ปี ๗ เดือน ๑๒ วัน
    ๗. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๒ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๒ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๙ ปี ๔ เดือน ๒๐ วัน
    ๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๓ ปี ๔ เดือน ๒๐ วัน
    ๙. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๑๕ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี ๙ เดือน ๒๒ วัน
    ๑๐. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๗ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๒ ปี
    ๑๑. รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๙ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี
    ๑๒. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี ๑๓ วัน
    ๑๓. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑
    ๑๔. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช ๒๕๓๔
    ๑๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔
    ๑๖. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
    ๑๗. เปรียบเทียบบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ กับ พุทธศักราช ๒๕๔๐
    ๑๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ (รัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ)
    ปัจจุบันการเมืองไทยปกครองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยมีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของ ของประเทศ ซึ่งประกอบด้วยองค์กรสำคัญๆ คือ รัฐสภาไทย ศาลรัฐธรรมนูญ และพรรคการเมืองไทย
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 10-12-2011 at 09:53. เหตุผล: เพิ่มเติมข้อมูล
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •