กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: ยูคาลิปตัส ไม้เศรฐกิจ อีกอย่างที่เกษตรกรไม่ควรมองข้าม

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวดอนโบม
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,421

    ยูคาลิปตัส ไม้เศรฐกิจ อีกอย่างที่เกษตรกรไม่ควรมองข้าม

    ปลูกง่ายได้ กำไรงาม
    ยูคาลิปตัส ไม้เศรฐกิจ อีกอย่างที่เกษตรกรไม่ควรมองข้าม
    ยูคาลิปตัส ไม้เศรฐกิจ อีกอย่างที่เกษตรกรไม่ควรมองข้าม
    ข้อดีของยูคาลิปตัส
    1. เป็นไม้โตเร็ว เมื่อปลูกและจัดการอย่างเหมาะสม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ประมาณ 4-5 ปี โดยการลงทุนค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้โตเร็วชนิดอื่น
    2. เป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย สามารถเจริญเติบโตในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื่องจากมีเห็ดรา ที่รากฝอย ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุฟอสฟอรัสและธาตุอาหารอื่นจากดินไปสะสมในส่วนต่างๆของต้นไม้เพื่อการเจริญเติบโตได้นานๆ
    3. ยูคาลิปตัสมีประสิทธิภาพสูงในการใช้น้ำและธาตุอาหารสำหรับการเจริญเติบโต ภายใต้การปลูกบำรุง และการจัดการอย่างระมัดระวัง ต้นยูคาลิปตัสมีความสามารถที่จะผลิตเนื้อไม้โดยใช้ธาตุอาหารในปริมาณที่น้อยกว่าไม้โตเร็วชนิดอื่นๆและน้อยกว่าพืชไร่ทั่วๆไปด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งมันสำปะหลัง
    4. ต้นยูคาลิปตัสช่วยปรับปรุงระบบนิเวศทีเสื่อมโทรมให้ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ดินเลว รกร้างว่างเปล่า ซึ่งไม่สามารถปลูกไม้อื่นได้ โดยการปลูกเป็นไม้เบิกนำและปลูกต้นไม้ชนิดอื่นเสริมในภายหลัง เพื่อความหลากหลายของพันธุ์พืช
    5. มีความสามารถในการแตกหน่อได้ดี โดยหน่อในรอบที่หนึ่งจะให้ผลผลิตเนื้อไม้สูงกว่าต้นไม้ที่ปลูกจากต้นกล้าเมื่ออายุเดียวกันถึง 3 เท่า เป็นอย่างน้อย
    6. เป็นไม้ขนาดเล็ก กิ่งก้านใช้ทำฟืน ถ่านที่มีคุณภาพดี ให้ความร้อนสูงไม่แตกขณะเผาและไม่มีควัน คุณภาพของถ่านใกล้เคียงกับไม้โกงกาง


    7. เป็นต้นไม้ที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นเปลาตรง กิ่งก้านน้อย ลำต้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางกว่าไม้โตเร็วชนิดอื่นๆ เช่นทำเสา รั้ว เสาเข็ม เสาต่อ โรงเรือน คอกปศุสัตว์ ตลอดจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง และประดิษฐกรรมต่างๆ เช่นไม้เสาเหลี่ยม ไม้แป หรือไม้กลอน เครื่องเรือน และเครื่องประกอบอาคารต่างๆ
    8. ยูคาลิปตัส อายุ 3-6 ปี เนื้อไม้เหมาะสมสำหรับผลิตเยื่อกระดาษประเภทใยสั้นได้เป็นอย่างดี
    9. เนื้อไม้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแผ่นใยไม้อัด แผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นชิ้นไม้อัดซีเมนต์และแผ่นไม้ประกอบต่างๆตลอดจนไม้ช่วงอายุ 6-10 ปี สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมไม้บาง และไม้อัดได้ ไม้ซุงยูคาลิปตัสอายุ 20 ปี มีสภาวะการแตกร้าวของท่อนซุงเพียงเล็กน้อย
    10.การปลูกยูคาลิปตัสเป็นแปลงผืนใหญ่ในพื้นที่ถูกทำลาย จะช่วยรักษาระดับความชื้นในบรรยากาศให้ดีขึ้น กล่าวคือ ปริมาณน้ำที่คายออกจากใบจะสะสมอยู่ในบรรยากาศและหมุนกลับสู่ดินในรูปของน้ำฝน ขณะเดียวกันยังช่วยควบคุมระดับแกซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศให้ต่ำลง ซึ่งเป็นการลดสภาวะอุณภูมิร้อนผิดปกติอนเนื่องมาจากเกิดสภาพเรือนกระจกในชั้นบรรยาก
    ข้อเสียของยูคาลิปตัสก็เหมือนกับต้นไม้ชนิดอื่นๆ ถ้ามีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ซึ่งมีดังนี้

    1. ยูคาลิปตัสแม้ว่าจะมีลักษณะพิเศษ โดยมีประสิทธิภาพสูงในการหาน้ำ คือ ใช้น้ำเพื่อสร้างเนื้อไม้ในปริมาณที่เท่ากันเมื่อเปรียบเทียบกับไม้โตเร็วอื่นๆ แต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วปรากฎว่ายูคาลิปตัสช้ำน้ำในแต่ละรอบปีในปริมาณที่สูงกว่าไม้ชนิดอื่น ทั้งนี้เนื่องจากไม้ชนิดนี้เจริญเติบโตมากกว่านั่นเอง จึงเป็นเหตุให้ความชื้นและระดับน้ำใต้ดินลดลงอย่างเด่นชัดในช่วงอายุ 5-10 ปี ซึ่งจะมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำและพืชข้างเคียงได้ ถ้าหากมีการจัดการไม่เหมาะสม เช่น การปลูกประชิดแหล่งน้ำ และปลูกชิดกับพืชอื่นมากเกินไป
    2. ยูคาลิปตัสเป็นต้นไม้ที่มีความสามารถในการแก่งแย่งทางด้านเรือนรากสูง โดยเฉพาะการแย่งแก่งความชื้นในดินเพื่อการเจริญเติบโตซึ่งในกรณีนี้ถ้าหากความชื้นในดินไม่เพียงพอ หรือฝนตกน้อย ยูคาลิปตัสจะดูดความชื้นจากดินไปใช้จนหมด ทำให้การเจริญเติบโตของพืชชั้นล่างและต้นไม้ข้างเคียงชะงักลงได้
    3. ใบสดของยูคาลิปตัสมีน้ำมันหอมระเหยสะสมอยู่ สารประกอบน้ำมันหอมเหล่านี้เมื่อสะสมอยู่ในดินปริมาณความเข้มข้นสูงๆ ตั้งแต่ 3 ใน 10,000 ส่วนขึ้นไป จะมีผลยับยั้งต่อการงอก และการเจริญเติบโตของพืชอื่นได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากสารเหล่านี้สามารถระเหยและละลายน้ำได้ง่าย ดังนั้นภายใต้สภาพภูมิอากาศซึ่งมีอุณภูมิสูง อากาศร้อนและฝนตกมากกว่า 750 มม./ปี จึงทำให้สารประกอบเหล่านี้ระเหย และถูกชะล้างไปหมด ดังนั้นภายใต้สภาพธรรมชาติจึงไม่น่าวิตก เว้นแต่การปลูกยูคาลิปตัสประชิดกับบ่อหรือแหล่งน้ำซึ่งมีเนื้อที่จำกัดอาจทำให้สารเคมีดังกล่าวละลายจากใบสะสมอยู่ในน้ำจนเป็นพิษต่อสัตว์น้ำได้

    4. เป็นต้นไม้ที่มีศักยภาพต่ำในการปลูกเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน เมื่อเปรียบเทียบกับไม้โตเร็วตระกูลถั่วชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับการประกอบเกษตรกรรมทั่วๆไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกมันสำปะหลังแล้ว ปรากฎว่ายูคาลิปตัสมีศักยภาพสูงกว่ามันสำปะหลัง
    5. คุณภาพเนื้อไม้ของยูคาลิปตัสเมื่อแปรรูปจะบิดงอได้ง่าย เนื้อไม้มีเสี้ยนบิดเป็นเกลียว และแตกร้าว อันเนื่องจากความเครียดของการเจริญเติบโต จึงเหมาะสมที่จะใช้ในรูปของไม้หน้าแคบและสั้น และถ้าต้องการใช้เป็นไม้ยาวจะต้องต่อเป็นไม้ประสาน อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาของการขาดแคลนไม้และไม้ที่มีคุณภาพดี ไม่สามารถปลูกและใช้ประโยชน์ภายในระยะเวลาอันสั้นได้ ดังนั้น ยูคาลิปตัสจึงสามารถแก้ปัญหาความต้องการใช้ไม้ในสภาวะกาลปัจจุบันได้เป็นอย่างดี


    การปลูกยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส ควรจะปลูกในพื้นที่และจัดการ
    ดังต่อไปนี้


    1. พื้นที่ดอน น้ำไม่ท่วมขัง
    2. พื้นที่แห้งแล้ง ใช้ประโยชน์อย่างอื่นแล้วไม่คุ้มค่า
    3. หากต้องการปลูกเพื่อขายทำชิ้นไม้สับ เพื่อผลิตเยื่อกระดาษ พื้นที่ปลูกควรอยู่ในรัศมีไม่เกิน 200 กิโลเมตร จากจุดรับซื้อหรือโรงงาน เพราะจะได้ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งไม้สูงจนไม่คุ้มค่ากับการลงทุนปลูกสวนป่า
    4. การปลูกควรทำสัญญากับบริษัทหรือโรงงานที่จะรับซื้อไม้ เพื่อประกันราคาและให้มีตลาดที่แน่นอน
    5. กรณีไม่ประสงค์ทำสัญญากับบริษัท หรือโรงงานที่จะรับซื้อ ผู้ปลูกควรรวมกลุ่มเพื่อจัดการเรื่องการตลาดไม้ เป็นการลดค่าใช้จ่าย ในการตัดไม้และขนส่งไม้ไปสู่โรงงาน
    6. ควรวางแผนการจัดการสวนป่า และใช้ประโยชน์ไม้อย่างเป็นระบบ เช่น อายุ 4-5 ปี ตัดสางขยายระยะขายโรงงานชิ้นไม้สับ ทำเยื่อกระดาษ ทำเสาเข็ม เศษไม้ปลายไม้เผาถ่านหรือนำมาเผาถ่านทั้งต้น ต้นที่เหลือปล่อยให้เจริญเติบโตเป็นไม้ใหญ่สำหรับแปรรูปเป็นการเพิ่มมูลค่าของไม้ให้เพิ่มสูงขึ้น

    ยูคาลิปตัส ไม้เศรฐกิจ อีกอย่างที่เกษตรกรไม่ควรมองข้าม
    ยูคาลิปตัส ไม้เศรฐกิจ อีกอย่างที่เกษตรกรไม่ควรมองข้าม

  2. #2
    บ่าวเมฆินทร์
    Guest
    มันกะดีอยู่ดอกครับ แต่บ่าวบ่ค่อยมักหม่องมันดูดน้ำไปหลายเฮ็ดให้เกิดความแห้งแล้ง
    สังเกตเบิ่งหม่องได๋มีต้นยูคาต้นไม้น้อยอื่น ๆ แทบสิบ่มี ย่อนว่ามันดูดน้ำดูดอาหารไปหมด
    ทางบ้านเฮาแห่งหาน้ำยากยุ คิดเบิ่งคันแม่นปลูกกันหลาย ๆ ในระยะยาวสิเกิดอีหยังขึ้น.....

  3. #3
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ บ่าววิทย์
    วันที่สมัคร
    Jun 2006
    กระทู้
    754
    บ่าววิทย์ว่ายูคาลิปตัสเป็นผลดีทาง ไม้เศรฐกิจ อยู่แต่ว่า เป็นผลเสียอย่างร้อยแรงต่อสภาพแวดล้อมในระยะยาวคับ ผมได้รับเมลล์ ฉบับบหนึ่งจากเพื่อนคับ


    Subject: ประเทศไทยจะกลายเป็นทะเลทราย
    เราไม่มีเจตนาที่จะทำลายหรือป้ายสีอะไรในบริษัท Double A ทั้งนั้น เพียงแต่ต้องการเปิดเผยความจริงแก่ทุกคน
    อย่างที่หลายๆคนคงจะเห็นในโฆษณาเชิญชวนให้พี่น้องเกษตรกรหลายคนหันมาปลูกต้น กระดาษ Double A โดยอ้างว่า ปลูกแล้วจะรวยขึ้นทันตาเห็น ก่อนอื่นอยากบอกก่อนว่าที่จริงต้นไม้ที่ว่านั้นก็คือ ต้นยูคาลิปตัสที่ได้ทำการดัดแปลงพันธุกรรมแล้วนั่นเอง

    เราเป็นนักท่องเที่ยวที่เพิ่งกลับมาจากแคมป์ปิ้งที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา ตามทิวเขาจะมีต้นไม้ที่ชาวบ้านนิยมปลูกกันมาก
    ต้นไม้เหล่านั้นจะเรียงตัวกันเป็นแถวๆดูแล้วสวยงาม สูงใหญ่ ภายหลังได้รู้ว่านั่นก็คือไร่ยูคาลิปตัสจากวิทยากรภายในอุทยานนั้น
    ท่านวิทยากรได้พูดให้เราฟังว่า

    การนำต้นยูคาลิปตัสหรือต้น Double A มาปลูกนั้นเป็นเรื่องร้ายแรงมาก ในหลวงท่านก็เคยดำรัสไว้ว่า ชาวบ้านไม่ควรนำต้นเหล่านี้มาปลูก เพราะมันเป็นพืชต่างถิ่น ท่านวิทยากรก็เสริมว่าต้นยูคาเป็นพืชเชิงเดี่ยว เมื่อปลูก! แล้วจะส่งผลให้พื้นแผ่นดินในบริเวณนั้น แห้งผาก เนื่องจากมันี้จะดูดซึมน้ำอย่างรวดเร็ว และต้องการน้ำมาก ทำให้รากของต้นๆหนึ่งอาจยาวได้ถึง20เมตรเลยทีเดียว เมื่อดินบริเวณนั้นถูกดูดน้ำจนหมด ผืนดินก็จะกลายเป็น ทะเลทรายในที่สุด ว่าแล้ววิทยากรก็หยิบดินให้เราดู แล้วโปรยลงพื้น มันคือทรายชัดๆ แทนที่จะเป็นดินในป่าแบบนี้

    แล้วเราอยากให้ทุกคนคิดดู ถ้ามีการปลูกต้น Double A เป็นจำนวนมาก ผู้คนได้ผลกำไรอย่างงอกงามในการทำธุรกิจกับแผ่นดินของชาติ แต่นานๆไปเล่า จะเกิดอะไรขึ้น ผืนแผ่นดินไทยในอนาคตก็มีโอกาสจะกลายเป็นทะเลทรายได้ไม่ใช่ว่าการปลูกต้นไม้ไม่ใช่เรื่องดีนะคะ แต่สำหรับเจ้าต้นยูคานี้ เป็นต้นไม้ที่ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะปลูกในภูมิภาคแบบประเทศไทยเลย

    ดิฉันเป็นแค่คนตัวเล็กๆไม่มีหน้าที่ใหญ่โตอะไรในวงสังคมไม่มีสิทธิ์ห้ามใครได้ แต่อยากให้ทุกคนช่วยเผยแพร่เรื่องนี้ด้วยนะคะ เพราะเราคิดว่าในหลวงท่านก็ทรงห่วงเรื่องนี้เหมือนกัน
    ขอบคุณค่ะที่อ่านมาจนถึงต! อนจบ.............
    [*] สื่อบันเทิงที่นำมาให้รับชม รับฟังเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น หากท่านชื่นชอบ สื่อใด โปรดซื้อสินค้าลิขสิทธิ์
    [*] เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
    [*] ทำเนียบกองทุนเว็บไซต์ บ้านมหา

  4. #4
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1
    ลองเบิ่งผลกระทบจากการปลูกยูคาลิปตัสเด้อครับ เท่าที่ผมสังเกตแถวบ้านผมเขามีแต่รณรงค์๋ให้ทำลายทิ้มเพราะต้นยูคาลิปตัสบ่เอาไผ สัตว์ต่างๆบ่สามารถอยู่ร่วมกับต้นยูคาลิปตัสได้ แม้แต่พืช มาเบิ่งผลกระทบจากการปลูกต้นยูคาลิปตัสเบิ่งครับ

    "ประเด็นที่ทางเครือข่ายป่าไม้ที่ดินภาคอีสานต้องการเสนอเพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้ นั้นเกิดจากประสบการณ์ของ
    ทางเครือข่ายและชาวบ้านเอง ซึ่งทำงานด้านนี้มาตั้งแต่ ปี 2528 โดยปัญหาหลักๆ ที่ศึกษาพบจากการปลูกยูคา
    ลิปตัสคือ

    1. มีผลกระทบต่อระบบนิเวศสูงมาก โดยเฉพาะเรื่องดิน น้ำและสัตว์ ซึ่งสัตว์นี่รวมแม้กระทั่งหมดแดงหรือแมลงต่างๆ
    ด้วยนะครับ สัตว์เหล่านี้แทบไม่มีอาศัยเลยในป่ายูคาลิปตัส เพราะป่ายูคาลิปตัสจะไม่เอื้อเลยต่อระบบนิเวศทางธรรม
    ชาติ

    2. ผลกระทบที่เกิดต่อโครงสร้างของดิน ซึ่งถ้าเราศึกษาดูจากพื้นที่ ที่เขาต้องการนั้น ส่วนมากแล้วพื้นที่เหล่านี้จะ
    เป็นดินปนทราย คล้ายภาคอีสาน และเมื่อผ่านการปลูกไปสัก 4-5 ปี ก็จะพบว่าดินแห้งมาก อันเนื่องมาจากว่า ป่ายูคา
    ลิปตัสนี้ไม่มีพืชต่างๆ เกิดแซมขึ้นมาได้เลย ดังนั้นเมื่อฝนตกลงมาก็จะเกิดการชะล้างหน้าดินสูง เมื่อเกิดการชะล้าง
    หน้าดินสูงน้ำก็เซาะโคนต้นยูคาลิปตัส ทำให้โคนต้นโผล่ เมื่ออายุประมาณ 4-5 ปี ก็จะเกิดอาการลักษณะที่ภาษา
    ชาวบ้านเรียกกันคือ ต้นขึ้นโคน นั่นก็คือ การที่น้ำเซาะรากจนโผล่ช่วงโคนและรากออกมาเหนือดิน นั่นเพราะว่าการ
    เกาะหน้าดินของยูคาลิปตัสมันไม่ได้ผลเลย อีกอย่างคือ ยูคาลิปตัสเป็นพืชที่โตเร็วมาก รากของมันจึงค่อนข้างดูด
    ซับปุ๋ยและธาตุอาหารต่างๆ ได้ดีมาก มากผิดปกติกับพืชชนิดอื่นๆ ทำให้แร่ธาตุต่างๆ ในดินถูกดูดซับจนหมด โดย
    ที่พืชชนิดอื่นไม่สามารถจะแย่งแร่ธาตุสู้กับต้นยูคาลิปตัสได้ ดังนั้นการปลูกยูคาลิปตัส เพื่อให้เป็นสวนป่านั้น ผมคิดว่า
    มันเป็นไปไม่ได้

    3.ระบบน้ำ เรื่องระบบน้ำนี้ โดยปกติ ถ้าเป็นต้นไม้ตามธรรมชาติในท้องถิ่นบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นสะเดา สัก กะถิน
    เหล่านี้ มันยังมีพืชชนิดอื่นงอกแซมขึ้นมาได้ และเมื่อมีพืชชนิดอื่นงอกแซมขึ้นมาได้ เวลาฝนตกลงมาการชะล้าง
    ของน้ำฝนที่ไหลผ่านไป ก็ไหลได้ไม่เร็วนัก เมื่อไหลผ่านได้ไม่เร็วนัก ก็ทำให้พืชสามารถดูดซึมน้ำลงสู่ดินได้มากขึ้น
    นั่นแสดงว่ามีความชุ่มชื้นในบริเวณนั้นสูงมาก ส่วนบริเวณที่ปลูกป่ายูคาลิปตัส จะมีข้อแตกต่างกันมากเพราะบริเวณ
    ที่ปลูกยูคาลิปตัสจะไม่คงสภาพความชุ่มชื้น เพราะระบบรากของยูคาลิปตัสไม่สามารถอุ้มน้ำลงสู่ชั้นใต้ดินได้ ซึ่งต่าง
    จากพืชที่เกิดเองตามธรรมชาติของแต่ละพื้นที่

    ปัญหาเหล่านี้ทางเครือข่ายได้จากการศึกษาป่ายูคาลิปตัส ที่ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ที่ออกมาชัดเจนมาก บนเนื้อ
    ที่ประมาณ 500-600 ไร่ ซึ่งปลูกในแปลงสวนป่าสาธารณประโยชน์ จนชาวบ้านมีการเคลื่อนไหวให้กำจัดออกไปจาก
    พื้นที่สวนป่าสาธารณประโยชน์ของชาวบ้าน หรือกรณีศึกษาที่บ้านหนองเยาะ จ.สุรินทร์ ที่ปลูกไว้จำนวนมาก แล้วก็มี
    การเคลื่อนไหวเจรจาต่อรองกันในสมัยรัฐบาลของ พล.อ.เชาวลิต ยงใจยุทธ ให้ยุติโครงการปลูกป่ายูคาลิปตัสในพื้น
    ที่บ้านหนองเยาะ ครั้งนั้นชาวบ้านเคลื่อนไหวกดดันจนกรมป่าไม้และรัฐบาลต้องออกมายอมรับมติ ให้มีการยกเลิก
    โครงการปลูกยูคาลิปตัส และยังสนับสนุนงบประมาณให้มีการถอนยูคาลิปตัสออกไป

    ต่อกรณีมีชาวบ้านเสียชีวิตเพราะได้รับสารพิษ จากการดื่มน้ำในแปลงปลูกป่ายูคาลิปตัส ซึ่งเกิดขึ้น ที่ อ.ปะคำนั้น
    นายวิพัฒนชัยได้กล่าวกับทางทีมงาน ไทยเอ็นจีโอว่า ตนยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนมากนักว่าสาเหตุการตายที่แท้จริง
    เกิดจากอะไรบ้าง แต่จากประสบการณ์ของชาวบ้านที่เขาค้นพบ จากป่ายูคาลิปตัสนั้นมีเยอะมาก

    "กรณีชาวบ้าน จาก อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์ คนหนึ่งที่ล้มป่วยและเสียชีวิต โดยก่อนตายได้กล่าวกับญาติว่า ได้ไปดื่มน้ำ
    จากร่องแปลงในสวนยูคาลิปตัส แล้วปวดหน้าอกนั้น

    เรื่องนี้เป็นเพียง กรณีเดียวที่เครือข่ายฯ พบ ซึ่งก็ยังสรุปชี้ชัดไม่ได้ชัดเจนมากนัก ว่าสาเหตุการตายเกิดจากอะไร
    หรือกรณีมีสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านดื่มกินน้ำจากร่องแปลงยูคาลิปตัส แล้ว ล้มป่วยตายก็ยังพิสูจน์ไม่ได้ชัดเจนอีก"

    ขณะเดียวกัน นายเดช คงทะราช ชาวบ้านจาก อ.แกดำ จ.มหาสารคาม ได้กล่าวยืนยันกับทางทีมงานไทยเอ็นจีโอ
    เช่นกันว่า ผลกระทบของป่ายูคาลิปตัสมีมากกว่านั้น และแตกต่างกันออกไป ซึ่งในส่วนที่ตนประสบมากับตัวเองนั้น
    ก็เป็นเรื่องของต้นข้าวที่แคะแกร็นไม่ติดเมล็ดกับเรื่องปลาเลี้ยงในนาข้าวไม่ยอมโตหรือโตช้ามาก

    "เป็นเรื่องจริงครับ ในแปลงนาของผมที่ปลูกยูคาลิปตัสตามคันนาทิ้งไว้ นั้น เมื่อเราปลูกข้าวลงแปลงนาข้าวก็ตาย
    หมดครับ ถ้าไม่ตายก็เหลืองแกร็น ไม่ติดเมล็ด ส่วนในบ่อพักปลาที่เลี้ยงไว้ก็ไม่ยอมโต พวกปลาธรรมชาติก็ไม่ค่อย
    เข้ามาหากินใกล้ๆ ผมไม่รู้เหมือนกันนะครับว่าเกิดอะไรขึ้น ถ้าไม่ใช่ต้นยูคาลิปตัส

    ยูคาลิปตัสมีประโยชน์กะจริงแต่ผลกระทบที่ตามมากะควรศึกษาไว้คือกันเด้อครับ ผมว่าน่าสิมีพืชที่ดีและเหมาะกับสภาพภูมิประเทศของประเทศไทยมากกั่วนี้ครับอย่างเช่น ยางพารา กะน่าสนใจเพราะสามารถปลูกพืชอื่นแซมได้ แถวบ้านผมเขาขุดทิ้มเบิ้ดแล้วครับอันต้นยูคาลิปตัสหนิ เขาหันมาปลูก ยางพาราแทนครับ

    ปล. เป็นความคิดเห็นส่วนโตเด้อครับ จั่งได๋กะพิจารณาเบิ่งเอาครับ

  5. #5
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1
    ผมเอาอีกด้านหนึ่งมาให้เบิ่งเด้อครับ

    มหันตภัย “ยูคาลิปตัส” ป่าดงใหญ่

    ประสิทธิ์ ไชยชมพู

    ศูนย์ข่าวไทอีสาน สำนักข่าวประชาธรรม : รายงาน

    ตามประกาศกฎกระทรวงฉบับที่ 58 ปี 2502 มาตรา 1 และ 26 ออกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองและสงวนสัตว์ป่า ปี 2497 มีการประกาศให้ "ป่าดงใหญ่" เนื้อที่ 631,250 ไร่ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ครั้นถึงปี 2531 กลับเหลือพื้นที่ป่าสมบูรณ์เพียง 212,500 ไร่เท่านั้น นอกนั้นกลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมถึง 418,750 ไร่ ประกอบด้วยไม้ใหญ่ เช่น ยาง ตะเคียน มะค่า พยุง ฯลฯ

    สภาพป่าที่หายไป มีสาเหตุจากรัฐให้สัมปทานเอกชนโค่นตัดมาตั้งแต่ปี 2509 และนายทุนได้ฉวยโอกาสรุกขยายลักลอบตัดไม้กันเป็นจำนวนมาก ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ชาวบ้านก็มีส่วนตัดไม้เพื่อปลูกเรือน และแปรรูปขายกันเองบ้าง ในสมัยที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนตามนโยบาย "บ้านล้อมป่า" ที่รัฐตอบโต้ยุทธศาสตร์ "ป่าล้อมเมือง" ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

    จนกระทั่งป่าเสื่อมโทรมแล้ว แทนที่รัฐจะดำเนินการปลูกไม้ป่าดั้งเดิมทดแทน หรือปล่อยให้ป่าฟื้นตัวเองตามธรรมชาติ แต่รัฐกลับส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนปลูกป่า "ยูคาลิปตัส" เสียอีก ซึ่งกรณีการใช้พื้นที่ป่าจำนวนมหาศาลเช่นนี้ ได้ถูกบัญญัติขึ้นจากผู้มีอำนาจในรูปลักษณาการดังนี้ : รัฐปลูกยูคาลิปตัส เพื่อต้องการทดแทนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม และเอกชนปลูกยูคาลิปตัส เพื่อสร้างไม้เศรษฐกิจ ขณะที่ป่าเสื่อมโทรมเนื้อที่เพียงเล็กน้อย ที่ชาวบ้านเข้าไปทำไร่ทำนามานานกว่า 30 ปีนั้น ถูกกล่าวหาว่าเป็น "ผู้บุกรุก" ไปโดยปริยาย!

    ยูคาฯ ตัวการทำลายป่าต้นน้ำ

    รุกรานที่ทำกินชาวบ้าน

    "ป่าดงใหญ่" มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ผืนป่ามีรอยต่อ 3 จังหวัดคือ อ.ประคำ อ.โนนดินแดง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา และ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว ไปจนจรดชายแดนกัมพูชา เป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำกำเนิดของลำนางรอง และลำมาศ ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำมูน เฉพาะบริเวณป่าเขาหัวน้ำผุด(เขตประคำต่อเสิงสาง)เนื้อที่ 2,500 ไร่ (อดีตพระประจักษ์ เคยบิณฑบาตเป็นเขตอภัยทานเพื่อรักษาป่าและปฏิบัติธรรม) เป็นแหล่งกำเนิดลำห้วย 6 สายคือ ห้วยหินเพลิง น้ำผุด ซับใหญ่ ซับน้อย โป่งลิง และซับหวาย ไหลรวมลงลำนางรอง

    เฉพาะป่าดงใหญ่เขต ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง มีลำนางรองไหลผ่าน และมีลำห้วยสาขามาสมทบอีกคือ ห้วยยาง ห้วยแรด ห้วยแจง ฯลฯ ความสมบูรณ์ของป่า จึงพอมีอยู่ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่เมื่อสัมปทานป่ายูคาลิปตัสเพิ่มมากขึ้นๆ แหล่งน้ำที่เคยไหลตามธรรมชาติทั้งปี กลับเหือดแห้ง เป็นเหตุให้ชาวบ้านต้องเดือดร้อน เพราะขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตร

    ระยะแรก บริษัท บุรีรัมย์ทำไม้ จำกัด ได้สัมปทานปลูกยูคาฯ แต่เมื่อปี 2536 ก็หมดอายุสัมปทาน และได้มี บริษัท สวนป่ากิตติ จำกัด เข้ามาดำเนินการต่อ และขยายพรมแดนออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น ด้วยการเปิดบริษัทลูก เช่น บริษัทบุรีรัมย์ บริษัทนางรอง ฯลฯ เข้ามารับช่วงสัมปทาน

    12 หมู่บ้านใน ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง เป็นชุมชนเก่าแก่อายุกว่า 50 ปีแล้ว ชาวบ้านได้จับจองพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เพื่อทำนาทำไร่ทำสวน โดยถือครองที่ดินครอบครัวละ 50-100 ไร่ เมื่อสถานการณ์สงครามลัทธิในประเทศได้ผ่อนเพลาลง ด้วยคำสั่งนายกรัฐมนตรี(พลเอกเปรม ติณสูลานนท์) 66/2523 ผู้เข้าป่าได้ทิ้งอาวุธออกมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ขณะเดียวกันรัฐบาลสมัยนั้นยังสัญญาว่าจะจัดสรรที่ดินทำกินให้ครอบครัวละ 15 ไร่ และบริเวณที่อยู่อาศัยอีกจำนวน 1 ไร่ แต่บางหมู่บ้านได้รับจัดสรรครอบครัวละ 12 ไร่ ที่อยู่อาศัย 1 ไร่ ต่อมาบางหมู่บ้านได้เจรจาขอเพิ่มพื้นที่อีกครอบครัวละ 6 ไร่

    ขณะที่อีกกว่า 1,000 ครอบครัวในเขตป่าดงใหญ่ ห้วยน้ำผุด ไม่ได้รับพื้นที่ทำกินตามสัญญา!

    ขณะเดียวกัน ชาวบ้านได้เจรจาขอสงวนที่ดินที่เคยทำกินเดิมของชุมชนแปลงใหญ่ ไว้เป็นที่สาธารณะประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น บ้านโคกเพชร จำนวน 1,600 ไร่ บ้านคลองหิน จำนวน 2,800 ไร่ ถือว่าเป็นการมองการณ์ไกลของชาวบ้านเพื่อให้ได้ผืนดิน อันเป็นปัจจัยการผลิตพื้นฐานที่สำคัญของชาวบ้าน ซึ่ง พท.สนั่น มะเริงสิทธิ์(ยศขณะนั้น) รับปากตามนั้น

    จากจุดนี้เอง เมื่อกาลล่วงเลยมา รัฐกลับบิดพลิ้ว โดยนำที่ดินที่ชาวบ้านขอสงวนไว้ อนุญาตให้บริษัทสัมปทานได้พื้นที่ไปปลูกยูคาลิปตัส ทับซ้อนกัน แน่นอน-ในทางกฎหมาย รัฐยังไม่ประกาศพื้นที่ขอสงวนของชาวบ้านดังกล่าว ให้เป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ แต่ชาวบ้านก็ถือสิทธิชุมชน สิทธิตามธรรมชาติ เข้าไปทำกินเพาะปลูกต่อไป จนเป็นข้อพิพาทกัน รวมถึงยังใช้กำลังขับไล่ชาวบ้านอีกด้วย

    สารพิษจากป่ายูคาฯ

    เจือปนลำน้ำธรรมชาติ

    จากการสำรวจพื้นที่ร่วมกับชาวบ้าน พบว่าบริษัทที่สัมปทานยูคาลิปตัส ได้พัฒนาการปลูกไปหลายขั้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์กำไรสูงสุดของบริษัท ตั้งแต่ปี 2536 ถึงปัจจุบัน บริษัทสวนป่ากิตติ เข้าดำเนินการจริงหลายหมื่นไร่

    ระยะแรก วิธีการไถพรวนแล้วปลูก บริษัทเอกชนก็ปลูกวิธีเดียวกับกรมป่าไม้ ผิดแต่ว่าบริษัทใส่ปุ๋ยเคมี ฉีดสารเคมีกำจัดหญ้าในแปลง อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง (ครั้งแรก พ.ย.-ธ.ค. ครั้งที่สอง เม.ย.-พ.ค.)

    ระยะต่อมา บริษัทเอกชนใช้วิธีการไถพรวนขุดร่องพูนดินแล้วปลูก ระหว่างต้น 3 เมตร จะมีร่องลึกราว 0.30-0.50 เมตร กล่าวคือ จะใช้รถไถใหญ่ 3 พาน เดินเครื่องรถไถแล้วยกพาน เป็นระยะ ๆ ลักษณะเช่นนี้จะเกิดร่องน้ำที่มีดินคั่นปิดหัวท้ายของร่อง

    ระยะต่อมา ใช้วิธีพรวนขุดดินเป็นร่องลึกพูนแปลง มักจะทำในพื้นที่ลุ่มน้ำขังเป็นส่วนมาก เช่น ถมหนองปรือ หนองตะเคียน (ที่โนนลาดเอียงก็ทำบ้างเช่นกัน) วิธีนี้เมื่อไถพรวนแล้ว จะใช้รถขุดระหว่างแปลง หน้าแปลงกว้างราว 10 เมตร ปลูกต้นยูคาฯ 6 แถว ระหว่างแปลงจึงจะคั่นด้วยร่องลึก 1-3 เมตร กว้างตั้งแต่ 1-4 เมตร

    วิธีการในระยะหลัง ๆ นัยว่าเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมแปลงยูคาลิปตัส และเพิ่มพื้นที่ปลูกยูคาฯ ไปพร้อมกัน (เดิมทีไม่นิยมปลูกยูคาฯในที่ลุ่มน้ำขัง) กับขังน้ำไว้หล่อเลี้ยงยูคาฯ

    ระบบป่าไม้ธรรมชาตินั้น จะดูดซับน้ำฝนที่ตกลงมาเพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจำนวนมากจะไหลบ่าหลากลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ก่อนจะไหลลงสู่หนอง ห้วย ลำธาร คลองและแม่น้ำสายใหญ่ตามลำดับ

    เป็นที่รู้กันดีว่า ยูคาลิปตัส ดูดซับน้ำมากอยู่แล้ว เมื่อขุดดินพูนแปลงเป็นร่องน้ำลึกและกว้างหลายขนาดเช่นนี้ ทำเสมือนที่กักน้ำฝนไว้จำนวนมากแต่เพียงผู้เดียว ลำน้ำต้องแห้งขอดในฤดูแล้ง ทั้ง ๆ ที่อดีตไม่เคยแห้งขอด ดังที่ชาวบ้านพบความผิดปรกติชัดเจน เช่น ห้วยหนองปรือ เป็นต้น

    ร่องน้ำแปลงปลูกยูคาฯ

    หลุมดักสัตว์ใหญ่

    เมื่อไม่นานมานี้ ชาวตำบลลำนางรองพบ "หมี" ใหญ่ตกลงในร่องแปลงยูคาฯ ไม่สามารถไต่ขึ้นได้ต่อมา ถูกพรานสังหาร ไม่เพียงเท่านั้น "ช้างป่า" ไม่กล้าผ่านแปลงยูคาฯ ฝ่าเข้าไปหากินในป่าธรรมชาติ เนื่องจากแปลงยูคาฯ ขนาดใหญ่มีสลับซับซ้อนทั่วไปกับป่าธรรมชาติ ขนาดของร่องหลุมกักน้ำ แปลงยูคาฯ ได้กลายเป็นกับดักสัตว์ป่าประเภทหมีและช้างไปเสียแล้ว

    โดยเฉพาะพื้นที่เรียกว่า "ป่าห้าพันไร่" มีโป่งดิน 3 แห่ง ช้างป่าเคยเข้ามากินอยู่เป็นประจำ จนบริเวณนี้ถูกเรียกชื่อว่า "โป่งช้าง" ผลกระทบสืบมาคือ ช้างป่าต้องอพยพไปหากินนอกเขตตามสัญชาติญาณการอยู่รอด คือ ออกจากป่าดงใหญ่ทิศตะวันตกเขตติดบ้านโคกเพชร ข้ามไปหากินด้านทิศตะวันออก เลยเขตบ้านลำนางรอง และบ้านคลองหิน ดังที่ชาวบ้านได้พบเห็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2539-2544 อันเป็นช่วงปัญหายูคาฯ ส่งผลกระทบรุนแรง โดยสรุป เหตุที่ช้างป่าไปหากินนอกเขตเดิมมีอย่างน้อย 3 ประการ

    แหล่งอาหารธรรมชาติขาดแคลน ต้นไม้พืชกินได้ตามธรรมชาติถูกทำลาย หญ้าถูกกำจัดด้วยสารเคมี รวมทั้งเข้าไปหาดินโป่งกินไม่ได้
    ช้างกลัวตกหลุมลึกในแปลงยูคาฯ
    ขาดแคลนแหล่งน้ำในฤดูแล้ง ลำน้ำธรรมชาติแห้งขอดเร็วกว่าปรกติ
    ยูคาฯ ผลกระทบต่อสุขภาพคน

    พื้นที่ปลูกยูคาฯ แทบทั้งหมดทับที่ทำกินของชาวบ้าน แม้กระทั่งพื้นที่ชาวบ้านขอสงวนไว้เป็นสาธารณะประโยชน์ให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานในอนาคต ไม่เพียงเท่านั้น แหล่งน้ำยังถูกเจือปนไปด้วยสารเคมีเข้มข้นในต้นฤดูฝน ทำให้คนและสัตว์ที่บริโภคน้ำในลำธารล้มป่วย เจ็บ และตาย ชาวบ้านระบุว่า ระหว่างปี 2540-2543 มีคนป่วย 30 คน จะมีอาการตาเหลือง ผิวหนังพุพอง คอบวม ทรุดประมาณ 3 เดือน ก็ตาย 1 ราย ส่วน วัว ควาย ก็ป่วยตาย 1 ตัว อีก 9 ตัว รักษาชีวิตไว้ทัน

    เมื่อบริษัทฉีดสารเคมีกำจัดหญ้าในแปลง ในระยะ 7 วันหญ้าในแปลงจะเหี่ยวแห้งตายสนิทพร้อม ๆ กัน เมื่อฝนตกลงมาจะชะล้างสารเคมีตกค้างในแปลง ไหลรวมกันลงสู่ลำน้ำ เมื่อน้ำนิ่งจะเป็นสีเขียว มีปลาตายและปริมาณปลาลดลง นอกจากนี้ลำน้ำแห้งขอด น่าจะมาจากการขุดไถคันดิน เพื่อปรับพื้นที่ปลูกยูคาฯ ซึ่งมีพบทั่วไป เช่น หนองตะเคียน และคลองหิน หนองปรือ เขต หมู่ 1 และหมู่ 9

    จากพฤติกรรมปลูกยูคาฯ เช่นนี้ ทำให้ขาวบ้านตั้งข้อสังเกตว่า :

    สัญญาสัมปทานได้ให้สิทธิต่อการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์รุนแรงเช่นนี้ด้วยหรือ เพราะไม่เพียงแต่สร้างแอ่งกักน้ำไว้กระจัดกระจายทุกหนทุกแห่งแล้ว ยังส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อสัตว์ป่า ต้องโยกย้ายไปหากินยังแหล่งที่ไม่คุ้นเคยและปลอดภัย แหล่งน้ำทำการเกษตรแห้งขอดไม่พอเพียง คนสัตว์เจ็บป่วย เนื่องจากบริโภคน้ำที่เจือปนด้วยสารพิษ ปลาในลำน้ำลดลง
    ยังมีแนวโน้มว่า รูปแบบการปลูกเชิงทดลองเพื่อเร่งการเจริญเติบโต 2 แบบหลังนั้น โดยเฉพาะแบบที่สาม เมื่อตัดโค่นยูคาฯ แล้ว รู้ข่าวเลา ๆ ว่า บริษัทจะไถพลิกกลับสลับใหม่อีกรอบ ซึ่งถือว่า เป็นการทำลายหน้าดิน และคุณภาพดินอุ้มน้ำเลื่อมลงอย่างล้างผลาญอีกด้วย
    ความจริงอีกประการหนึ่ง คือ บริษัทปลูกยูคาฯ ยังถือสิทธิเอาแต่ได้ โดยเปิดทำนบฝายกั้นน้ำล้นของชาวบ้าน หรือ "ฝายประชาอาสา" ทำไว้อาศัยน้ำเพื่อการเกษตร และหากินปูปลาในลำน้ำ ทำประหนึ่งว่า เป็นเจ้าของทรัพยากรทุกสิ่งทุกอย่างในพื้นที่ติดสัมปทานอีกด้วย


    ปล. โฆษณากระดาษ Double A เรื่องการปลูกต้น Double A หรือต้นยูคาลิปตัส โดนแบนไปแล้วครับ เพราะโฆษณาเกินจริงเอาด้านเดียวมาเสนอ

  6. #6
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวดอนโบม
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,421
    โฮ้ เป็น ตา ย่าน เนาะ

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •