หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 20

หัวข้อ: ครกกระเดื่อง (โรงสีข้าวสมัยโบราณ)

  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1

    ความเยือกเย็น ครกกระเดื่อง (โรงสีข้าวสมัยโบราณ)

    ครกกระเดื่อง ครกมอง(โรงสีข้าวสมัยโบราณ)

    ครกกระเดื่อง (โรงสีข้าวสมัยโบราณ)

    ครกกระเดื่อง ครกมอง
    ก่อนที่จะมีโรงสีข้าวนั้น ครกกระเดื่องเป็นเครื่องมือ
    สำคัญในการแปรรูปข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารโดยวิธีการ
    ตำข้าว วิธีการตำข้าวแบบเดิมของชาวอีสานนั้นเป็นการ
    กระเทาะแยกเอาเปลีอกหุ้มจากเมล็ดข้าว เริ่มแรกใช้วิธีการ
    ทุบข้าว ต่อมาใด้ทำครกตำข้าวขึ้นสองรูปแบบคือครกซ้อม
    มือหรือครกกระเดื่องหรือครกมองมีรายละเอียดดังนี้
    ครกมือ เป็นครกตำข้าวที่ใช้มืจับสากตำข้าวเปลือก
    ส่วนประกอบของครกมือมีดังนี้
    1. ตัวครอ เป็นท่อนไม้ขนาดใหญ่ ที่มีความยาวประ
    มาณ 80-90 เซนติเมตรมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ50-60
    เซนติเมตรเจาะตรงกลางเป็นร่องลึกโดยใช้ขวานฟันเอา
    แกลบใส่เป็นเชื้อและจุดไฟเผาส่วนกลางของท่อนไม้ เผาเป็น
    โพรงให้มีขนาดลึกตามต้องการ ขัดภายในให้เกลี้ยงเกลา
    ตัวครกมีสองขนาด คือครกขนาดใหญ่ และครกขนาดเล็ก
    ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง
    2. สาก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีความยาวขนาดสองเมตร
    มีลักษณะปลายทั้งสองข้างโค้งมน หัวสากทุ่มนใหญ่ ปลาย
    สากมนเรียวเล็ก ตรงกลางลำตัวสากคอดกลมกลึงพอดีกับมือ
    กำอย่างหลวม ปลายสากมีไว้ตำข้าวตำ หัวสากมีไว้ตำข้าว
    ซ้อม ผู้ตำข้าวซ้อมมือนี้ ตำกันเป็นกลุ่มครั้งละ 2-3 คน ผู้ตำ
    ข้าวส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน วิธีตำข้าวมีลำดับดังนี้
    1. นำข้าวที่จะตำไปผึ่งแดดหนึ่งวันเพื่อให้ข้าวแห้ง
    จะบุบเปลือกง่ายขึ้น
    2. นำข้าวมาเทลงในครกจำนวนพอเหมะ ใช้คนตำ
    สองสามคนมีจังหวะการตำที่ไม่พร้อมกัน
    3. ใช้เวลาในการตำข้าวนาน จนกว่าจะเหลือข้าว
    เปลือกจำนวนน้อยที่ปนอยู่ในข้าวสาร แล้วเก็บกากออก


    ข้อดีของการตำข้าวด้วยครกมือคือ
    เลือกสถานที่และเคลื่อนย้านที่ตำได้ตามต้องการเพราะครก
    มือไม่ได้ฝังลงในดิน นอกจากนี้ครกมือใช้คนตำจำนวนน้อย
    ประมาณ 2-3 คน ข้อเสียของครกมือคือใช้เวลาการตำนาน
    ออกแรงมาก ทำให้เหนื่อยเร็วและได้ ข้าวจำนวนน้อย การ
    ตำข้าวด้วยครกมือนิยมมากเขตอีสานใต้ แถบจังหวัดสุรินทร์
    และบุรีรัมย์ปัจจุบันมีผู้นำสากมาเป็นอุปกรณ์ประกอบการละเล่น
    พื้นเมืองเรียกว่าเรือนอันเร ซึ่งมีลัษณะคล้ายกับรำลาวกระทบ
    ไม้
    ครกกระเดื่องหรือครกมอง ครกกระเดื่อง เป็นเครื่องใช้
    ที่มีแทบทุกครัวเรือนโดยชาวบ้านนิยมทำไว้ข้างยุ้งข้าวเพื่อ
    ความสะดวก โดยมุงหลังคายื่นออกมากันแดดกันฝนเรียกว่า
    เทิบมองรหรือเพิงมอง ถ้าบ้านใต้ถุนสูงจะตั้งครกไว้ใต้ถุน
    บ้าน ครกกระเดื่อง เป็นครกตำข้าวที่มีพัฒนาการสูงกว่าครก
    มือคือทุ่นแรงมากกว่า ตำข้าวได้ปริมาณมากและเร็วกว่าการ
    ตำด้วยครกมือ


    ส่วนประกอบของครกกรเดื่องได้แก่

    1. ตัวครก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง นิยมใช้ไม้สะแบง
    ไม้แคน ไม้จิก ไม้แดง ซึ่งเป็นไม้เนื้อดี ทนทานต่อการ
    ฝังดิน ตัวครกทำจากท่อนไม้กลมยาวพอประมาณ มี
    เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เมตร เจาะเป็รร่องลึกตรงกลาง
    เหมือนครกทั่ว ๆ ไป โดยใช้ขวานฟันตรงกลา เอาแกลบ
    ใส่เป็นเชื้อและจุดไฟเผา ถ้ายังไม่ลึกพอก็ใช้ขวานฟัน
    และเผาต่อจนได้หลุมครกลึกตามต้องการ ขัดภายใน
    ให้เรียบร้อยและสวยงาม เหนือจากก้นครกถึงส่วนล่าง
    สุดของไม้ประมาณหนึ่งศอก ฝังลงในดินให้แน่น

    2. แม่มองหรือตัวมอง ทำจากไม้เนื้อแข็งทั้งต้น
    นิยมใช้ไม้สมอไทยเพราะเนื้อแข็ง เหนียวและทนทาน
    เพื่อไม่ให้หักแล แตกง่ายเวลาตอกลิ่นที่หัวแม่มองหรือ
    ได้รับการกระแทกเวลาตำข้าว ตัวมองแบ่งเป็นส่วน
    สำคัญสองส่วนคือหัวแม่มองและหางแม่มอง
    หัวแม่มอง คือส่วนที่เป็นโคนของต้นไม้เป็นส่วน
    ที่เพิ่มน้ำหนักในการตำข้าวทำให้เปลือกหุ้มข้าวที่ตำ
    กระเทาะเร็วหรือช้าได้ ถ้าหัวแม่มองสั้นน้ำหนักกระแทก
    ลงน้อยเปลือกจะกะเทาะช้า ถ้าหัวแม่มองยาวจะทำให้
    ออกแรงตำมากเปลือกข้าวจะกะเทาะเร็ว การเจาะรูทะลุ
    สำหรับใส่สากมอง ควรกะระยะห่างจากหัวแม่มองพอ
    สมควร ไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป

    หางแม่มอง คือส่วนที่อยู่ปลายของลำต้นและเป็นส่วนที่
    ใช้เท้าเหยียบเพื่อจะให้แม่มองกระดกขึ้นเวลาตำข้าวหาง
    แม่มองจะบากหรือถากออกเล็กน้อยกันไม่ให้ลื่นดินบริเวณ
    ใต้หางแม่มองจะขุดเป็นหลุมเรียกว่าหลุมแม่มอง ซึ่งเป็น
    ส่วนที่ช่วยให้การตำข้าว ได้ผลดี ถ้าไม่มีหลุมแม่มอหาง
    แม่มองจะยกไว้สูง
    สากมอง ที่ใช้กับครกมองต้องใช้ให้ถูกกับขั้นตอน
    ข้าว เวลาตำข้าวจะต้องออกแรงมาก

    3. เสาแม่มองและคานมอง
    เสาแม่มองอยู่ค่อนไปทางหางแม่มองประกอบด้วย
    เสาสองต้นปักดินให้แน่นเสาแม่มองเป็นไม้เนื้อแข็งเหนียว
    และทนทาน เพราะต้องรับแรงเสียดสีจากคานแม่มอง
    ทั้งรับน้ำหนักแม่มองและสากมอง ถ้าเสาทำจากไม้ไม่ดี
    จึงสึกและพังเร็ว
    คานแม่มอง
    เป็นส่วนของไม้ที่สอดเพื่อยึดตัวมองกับเสาแม่มอง
    อยู่ค่อนไปทางหางแม่มอง ซึ่งบางแห่งนิยมทำสลัก
    เืพื่อไม่ไห้ตัวมองเลื่อนไปทางใดทางหนึ่ง

    4. สากมอง สากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ การตำข้าว
    จะเสร็จและได้เมล็ดข้าวสวยหรือไม่ขึ้นอยู่กับสาก สากทำจาก
    ไม้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะคือมีน้ำหนักเหนียวแข็งและมัน ได้แก่
    ไม้ค้อและไม้หนามแท่ง ข้าวจะไม่ติดสากหากทำจากไม้ดังกล่าว
    สากมองมีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตรมีสามชนิดคือ
    สากตำ มีขนาดเล็กพราะต้องการให้กระแทรกถึงก้นครก
    ขณะที่ตำข้าวและข้าวจะกะเทาะเปลือกเร็ว
    สากต่าว มีขนาดใหญ่กว่าสากตำใช้ตำข้าว ให้เป็นข้าวกล้อง
    เปลือกข้าวจะออกมากกว่าข้าวตำ
    สากซ้อม เป็นสากที่มีขนาดใหญ่ ใช้ตำเพื่อขัดข้าวในชั้นสุด
    ท้าย การใช้สากทั้งสามชนิดนั้นใช้ตำข้าวแต่ละขั้นตอนที่แตก
    ต่างกัน ถ้าใช้สากผิดชนิดจะทำให้ข้าวที่ตำนั้นเป็นข้าวหักหรือ
    เมล็ดข้าวไม่สวย

    5. ลิ่มแม่มอง ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เหนียวและทนทาน
    เพราะได้รับแรงกระแทกอยู่ตลอดเวลา ใช้สำหรับตอกเสริม
    สากเพื่อยึดสากมองกับแม่มองให้แน่น ทุกครั้งที่ตำข้าวผู้ตำ
    จะต้องคอยตอกลิ่มให้แน่นอยู่เสมอ เพราะถ้าลิ่มไม่แน่นจะ
    ทำให้สากหลุดจาก หัวแม่มองที่เจาะเป็นรูทะลุ อาจกระเด็น
    ออกไปถูกผู้ที่อยู่บริเวณไกล้เคียง ทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือ
    อันตรายได้

    6. หลักจับ เป็นหลักไม้สำหรับผู้ตำข้าวใช้จับพยุงตัว
    เวลาตำข้าว หลักจับมักจะบักคร่อมที่หางแม่มองทำจากไม้ไผ่
    หรือไม้ที่หาได้ง่าย ๆ ในท้องถิ่น


    วิธีตำข้าวด้วยครกกระเดื่อง การตำข้าวเป็นงานประจำ
    ของสตรีทั้งแม่และลูกสาว อาจตำเวลาเช้าตรู่เมื่อไก่ขันหรือ
    ตำเวลากลางคืนก็ได้ การตำข้าวด้วยครกกระเดื่องจะใช้ผู้ตำ
    3-4 คน เหยียบที่หางแม่มองคนละข้าง น้ำหนักเท้าคนตำเมื่อ
    เหยียบ ที่หางแม่มองจะทำให้หางแม่มองลดต่ำลงไปในหลุม
    แม่มองแม่มองจะกระดกขึ้นและยกสากที่หัวแม่มองขึ้นด้วย
    เมื่อปล่อยเท้าหางแม่มองจะถูกยกขึ้น สากมองจะตกลงไปใน
    ครกทำให้สากกระทบข้าวเปลือกหลาย ๆ ครั้ง เปลื่อกข้าวจะ
    กะเทาะออกแยกเป็นเมล็ด ข้าวและแกลบการตำข้าวจะได้เมล็ด
    ข้าวสวยหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับจังหวะของการตำข้าวซึ่งมีอยู่
    สองจังหวะคือ
    ตำเป็นบาท คือจังหวะการตำช้า เป็นจังหวะเนิบ ๆทิ้ง
    ช่วงช้า ๆ จังหวะการตำข้าวเช่นนี้จะทำให้ข้าวหัก เมล็ดข้าว
    ไม่สวยเพราะจังหวะการกระแทกสากลงที่ครกจะมีน้ำหนัก
    มากและทิ้งช่วงนาน
    ตำสักกะลัน คือจังหวะการตำเร็ว เป็นช่วงจังหวะถี่ ๆ
    เร็วสม่ำเสมอจะทำให้ได้ข้าวเมล็ดสวย

    ขั้นตอนการตำข้าวมีดังนี้
    1. ตักขาวจากยุ้งใส่กระบุงหรือตะกร้าเทลงในครก
    กระเดื่อง ปริมาณที่ตำแล้วแต่ความต้องการ ส่วนใหญ่ตำ
    สำหรับ บริโภควันเดียว

    2. สวมสากตำ ตอกลิ้นเสริมสากให้แน่ใช้เวลาตำประ
    มาณ 15-20 นาที การตำตอนนี้เรียกว่า ตำแหลมเปลือก
    หรือตำบุบ ข้าวที่ตำเสร็จแล้วเรียกว่า ข้าวตำตักข้าวตำออก
    จากครกใส่เขิงร่อน แล้วเทออกจากเขิงใส่กระดังฝัดเรียกว่า
    ฝัดตำส่วนที่ได้จากการฝัดเป็นแกลบหรือเปลือกข้าว

    3. เปลี่ยนสากตำออก สวมสากต่าวแทน ตอกลิ้นให้แน่น
    เทข้าวตำที่ฝัดแล้วลงในครก การตำตอนนี้เรียกว่าตำต่าว ใช้
    เวลาในการตำมากกว่าครั้งแรกเล็กน้อย ข้าวที่ตำเสร็จแล้ว
    เรียกว่าข้าต่าวหรือข้าวกล้องตักข้าวออกใส่เขิงร่อน ส่วนที่
    ได้จากการร่อนจะเป็นแกลบละเอียด หรือรำ เทข้าวที่ร่อน
    แล้วใส่กระด้งฝัดเรียกว่าฝัดต่าว

    4. เปลี่ยนสากต่าวออก สวมสากซ้อมเข้าแทน ตอกลิ้น
    ให้แน่น เทข้าวต่าวหรือข้าวกล่องลงในครก ใช้เวลาตำประ
    มาณ 20 นาที จะได้ข้าวซ้อมมือ ซึ่งมีข้าวสารปนกับข้าว
    ปลายหักและข้าวเปลือกเล็กน้อยใส่เขิงร่อนจะได้ปล่อยข้าว
    และรำออ่นนำข้าวที่ร่อนแล้วไปทิกด้วยกระด้งเรียกว่าทิก
    ข้าว และฝัดเพื่อแยกข้าวสารออกจากข้าวเปลือก ผู้ทิกข้าว
    จะต้องอาศัยความชำนาญ เมื่อทิกข้าวแล้วส่วนที่ไม่ต้องการ
    เช่นข้าวเปลือกหรือปลายข้าวจะรวมอยู่ที่ส่วนปลายของ
    กระด้ง เพื่อสะดวกในกรเก็บข้าวเปลือกออกจากข้าวสาร
    เมื่อฝัดข้าวเสร็จแล้วจะได้ข้าวสารที่มีข้าวเปลื่อกปนอยู่เล็ก
    น้อยเรียกว่ากาก ผู้ตำข้าต้องเก็บกากออกถึงจะได้ข้าวสารที่
    ต้องการ

  2. #2
    บ่าวเมฆินทร์
    Guest
    ทางบ้านบ่าวเอิ้นว่า "ครกมอง" ซุมื่อนี่เอาไว้ตำเข่าเหม่ากับเข่าโป่ง:g

  3. #3
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8
    โอ่วว ทันยุๆอันนิเป็นเด็กน้อยไปยืนเบิ่งผุใหญ่เพิ่นตำข้าวเม่า ยุบ้านกาสินกะเอิ่น ครกกระเดื่องคือกันคร้าบบ :g
    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  4. #4
    นักปราชญ์เมืองอีสาน
    ศิลปินนักแต่ง ผญา
    สัญลักษณ์ของ ศรีสะท้าน
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    กระทู้
    4,179
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ ไก่น้อย
    โอ่วว ทันยุๆอันนิเป็นเด็กน้อยไปยืนเบิ่งผุใหญ่เพิ่นตำข้าวเม่า ยุบ้านกาสินกะเอิ่น ครกกระเดื่องคือกันคร้าบบ :g
    โอ๊ยย กะเอิ้น Look Krok นี้หล่ะแถวบ้านกะดาย แต่เป็นเด็กน้อยเคยหลอยเอาหมากตำแยไปใส่ไว้หางมองอยู่ ยามผู้สาวตำข้าวปุ้นยามมื้อคืน อิ อิ ม่วนขนาด เขาเจ้าป้อยว่าสั่น ข้าวปุ้นหยังมาคันแท้พะนะ เหอ ๆ ๆ
    วรรณคดีล้ำลำนำเอื้อนเอ่ย เขยภาษาพากษ์เว้าลาวพื้นกล่าวไกล

  5. #5
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,212
    อยู่เฮียนผมกะยังมีอยู่ครับ แต่วาบ่ได้ใช้มาโดนแล้ว

    ใอยู่ตะล่างเล่า ตะกี้ตำเข่าปุ้น ตำเข่าโป่ง


    กลอนลำเก่าๆเพิ่นว่า

    " ไปกินบักหว่านาโพนขี่บ่ออก ออกแต่ขี่ก่ำแพ่งสองก้อนทอสากมอง" พะนะ

    ผุคิดกลอนลำกะดาย อิอิ

  6. #6
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ ตรี ศรีเมืองใหม่
    วันที่สมัคร
    Apr 2006
    ที่อยู่
    หนุ่มอุบล คนศรีเมืองใหม่
    กระทู้
    4,490
    นี้ละครับบรรพบุรุษได้ใช้ตําข้าวแทนโรงสี จนพวกเฮาได้ใหญ่มาจนทุกวันนี้
    :welcome3"...ศรีเมืองใหม่แดนธรรมประเสริฐ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่มั่น ลือลั่นสวรรค์ภูหล่น ยลสวยหินผานางคอย ลอยล่องแก่งจุการ งามตระหง่านเสาธงวงกลมใหญ่...">>>>> www.muangmai.ob.tc

  7. #7
    อันครกมองนี่อยู่เฮือนเฒ่าพ่อ เฒ่าแม่ติ๋มยังมีอยู่จ้า เอาไว้ตำข้าวเม่า อิอิ
    ติ๋มเคยไปตำเบิ่ง ขึ้นงอยหางมองบ่ขยับย่อนเลย หนักแล้วกะแน่นคัก งึดสมัยโบราณเพิ่นตำข้าวได้กินย่อน8)
    คนที่กล้าจะพ่ายแพ้เท่านั้น...ที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

  8. #8
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ Boy_ubon
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    ลาดพร้าว...
    กระทู้
    213

    Re: ครกกระเดื่อง (โรงสีข้าวสมัยโบราณ)

    เอาใว้ถ่าตำข้าวเม่า เนาะ อาว.......::)

  9. #9
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มเหงาคนไกลบ้าน
    วันที่สมัคร
    May 2008
    กระทู้
    2,307

    Re: ครกกระเดื่อง (โรงสีข้าวสมัยโบราณ)

    เคยตำอยู่ครับกับเฒ่าแม่ตำข้าวกันกินบ่อทันนานดอกครับย้อนว่าอยากใด่ฮำให้หมูครับเดี่ยวนี่ครกกะยังอยู่แต่บ่อใด่ตำแล้วเอาไว้ตำข้าวเม่าครับ

  10. #10
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ลูกอิสาน
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    กระทู้
    460

    เรื่องฮิตน่าอ่าน Re: ครกกระเดื่อง (โรงสีข้าวสมัยโบราณ)

    เห็นทางบ้านเพิ่นเอาต่ำข้าวเม่า อยู่จ้าแต่สมัยนี้หาเบิ่งได้ยากแล้วน้อจ้า

    มีแต่เครื่องทุนแรง ขอบคุณค่าที่เก็บภาพดีๆๆมาให้เบิ่งจ้า :g:g

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •