กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1

    ความเยือกเย็น ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ

    ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ

    ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ

    พิธีสู่ขวัญ บางทีเรียกว่า "พิธีบายศรี" หรือ "บายศรีสู่ขวัญ" เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสาน ประเพณีสู่ขวัญทำกันแทบทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดี ชาวอีสานถือว่าเป็นประเพณีเรียกขวัญ ให้มาอยู่กับตัว พิธีสู่ขวัญนี้เป็นได้ทั้งการแสดงความชื่นชมยินดี และเป็นการปลอบใจให้เจ้าของขวัญจากคณะ ญาติมิตรและบุคคลทั่วไป

    ผู้ได้ดีมีโชคหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือมาเยี่ยมเราก็ยินดีจัดพิธีสู่ขวัญให้ ประเพณีสู่ขวัญจึงเป็น ประเพณีทำกันอย่างกว้างขวาง คำว่า"ขวัญ"นั้นเชื่อว่าเป็นสิ่งไม่มีตัวตนคล้ายกับจิตหรือวิญญาณแฝง อยู่ในตัวคนและสัตว์ ตั้งแต่เกิดมาทุกคนมีขวัญกันทั้งนั้นและในบางแห่งเรามักแปลว่า "กำลังใจ" ก็มีคำว่า "ขวัญ" ยังมีความหมายอีกว่าเป็นที่รักที่บูชา เช่นเรียกเมียที่รักว่า "เมียขวัญ" หรือ "จอมขวัญ" เรียกลูกรักหรือลูกแก้วว่า "ลูกขวัญ" สิ่งของที่ผู้เคารพรักใคร่นับถือกันนำมาฝาก นำมาให้เพื่อเป็นการทะนุ ถนอมน้ำใจกันเราก็เรียกว่า "ของขวัญ"

    "ขวัญ" อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ขน หรือผม ที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย พิธีสู่ขวัญเป็นพิธีเก่า แก่ของชาวไทยเราแทบทุกภาค การทำพิธีก็ผิดเพี้ยนกันไปบ้างแต่ก็ยังยึดหลักใหญ่อยู่เหมือนกัน พิธีสุ๋ขวัญในบทความนี้ จะกล่าวถึงพิธีของชาวอีสานเป็นส่วนใหญ่ การทำพิธีสู่ขวัญเราอาจทำได้ถึง ๒ วิธีพร้อม ๆ กัน คือวิธีทางพุทธศาสนาและวิธีทางพราหมณ์ศาสนา

    วิธีทางพุทธศาสนา โดยการนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย ๕ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งบาตรน้ำมนต์ เสร็จแล้วประพรมน้ำมนต์ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาถ้ามีศรัทธาพอจะถวายภัตตาหารเช้า หรือเพลพระสงฆ์ด้วยก็ได้ ส่วนพิธีทางพราหมณ์ ก็คือการสู่ขวัญซึ่งจะได้อธิบายให้ละเอียดต่อไป

    การทำพิธีสู่ขวัญต้องเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ หลายอย่างดังนี้...

    ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ

    พาขวัญหรือพานบายศรี
    คำว่า "บายศรี" นี้น่าจะมาจากภาษาเขมร คือคำว่า บาย + ศรีข้าว (สุก) ที่เป็นมงคลข้าวนี้จะ เป็นส่วนประกอบของการจัดพานบายศรี จะขาดไม่ได้ การจัดพาขวัญนี้ ปกติต้องจัดด้วยพาน ทองเหลืองและมีสัมฤทธิ์ (ขันลงหิน) หลาย ๆใบ ซ้อนกัน มีใบตอง ดอกไม้สด ด้ายสำหรับผูกข้อมือ (ผูกแขน) ปัจจุบันเริ่มมีการนำเอากระดาษสีต่างๆ แต่ก็ผิดธรรมเนียมของท้องถิ่นไป

    พาขวัญอาจจัดเป็นชั้นๆ จะเป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น แล้วแต่ความสามารถ แต่คนเก่าคนแก่ของเมืองอุบล ฯ กล่าวว่าพาขวัญ ๓ ชั้น ๕ ชั้น เป็นของบุคคลธรรมดา ส่วน ๗ ชั้น และ ๙ ชั้นนิยมจัดเฉพาะสำหรับเชื้อพระวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ชั้นล่างของพาขวัญจะเป็นพานมีบายศรี (ทำด้วยใบตอง) ดอกไม้ ข้างต้ม ไข่ต้ม ขนม กล้วย อ้อย ปั้นข้าว เงินฮาง มีดด้ามแก้ว ชั้น ๒ , ๓, ๔ จะได้รับการตกแต่งด้วยใบศรี และ ดอกไม้ซึ่ง มักจะเป็นดอกฝาง ดอกดาวเรือง ดอกรัก ใบเงิน ใบคำ ใบคูณ ใบยอป่า อย่างสวยงาม ส่วนชั้นที ๕ จะมีใบศรี และด้ายผูกข้อมือ เทียนเวียนหัว (ทำด้วยขี้ผึ้ง) ของเจ้าของขวัญ นอกจากพาขวัญแล้วจะมีเครื่องบูชาและอื่นๆ เช่น ขันบูชา มีพานขนาดกลางสำหรับวางผ้า ๑ ผืน แพร ๑ วา หวี กระจกเงา น้ำอบ น้ำหอม สร้อย แหวน ของผู้เป็นเจ้าของขวัญ

    ด้ายสำหรับผูกข้อมือ (ด้ายผูกแขน) นั้นต้องเป็นด้ายดิบนำมาจับเป็นวงยาวพอที่จะพันรอบข้อมือได้ โบราณถือว่า คนธรรมดา วงละ ๓ เส้นผู้ดีมีศักดิ์ตระกูล ๕ เส้น (อาชญา ๕ ขี้ข้า ๓)เมื่อวงแล้วให้เด็ดหรือดึงให้ขาด เป็นเส้นๆห้ามใช้มีดตัดจะใช้มีดตัดได้เฉพาะด้ายที่มัดศพเท่านั้น ถ้าเป็นพาขวัญงานแต่ง คนจะเริ่มจัดพาขวัญต้อง เป็นคนบริสุทธิ์ (ปลอด) คือเป็นคนดีผัวเดียวเมียเดียว ถ้าจัดไม่เป็นเพียงมาจับพอเป็นพิธีแล้วให้คนอื่นๆจัดต่อ ไปจนเสร็จต้องจัดทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง พาขวัญฝ่ายชายจะให้หญิงบริสุทธิ์ (เด็กหญิงยังไม่มีประจำเดือน) หาบด้วยไม้ม้วนผ้าทอหูกเพราะถือเคล็ดเอาความสามัคคีรักใคร่ของผ้าและไม้ และการสูตรขวัญต้องสูตรเวลา ค่ำประมาณ ๓ - ๔ ทุ่มหลังรับประทานอาหารค่ำเสร็จถือว่าเป็นเวลาหนูเข้ารู (ยามหนูเข้าฮู) พาขวัญงานแต่ง จะต้องมีอาหารคาวหวานเป็นส่วน ประกอบอีกด้วย

    พาขวัญแต่งเสร็จแล้วจะตั้งวางไว้ในที่อันเหมาะสมก่อนพอได้เวลาสูตรขวัญ คือจะทำพิธีจึงให้ยกไป ตั้งท่ามกลางญาติมิตรบนผ้าห่มหรือผ้าเช็ดตัวของเจ้าของขวัญ ข้างๆพาขวัญนอกจากจะมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ยังต้องมีแก้วน้ำเย็น แก้วใส่น้ำส้มป่อย (กระถินป่า) และแก้วเหล้าสำหรับหมอสูตรขวัญจะได้ดื่ม หรือพ่นหรือจุ่ด้วยดอกไม้สลัดใส่พาขวัญซึ่งเรียกว่า "ฮดฟาย"

    ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ

    การสวดหรือการสูตรขวัญ
    เจ้าภาพผู้จัดพิธีสู่ขวัญจะต้องจัดหาหมอนวดหรือสูตรขวัญซึ่งมักเรียกว่า "พราหมณ์" หรือ"พ่อพราหมณ์" ไว้ล่วงหน้า ปกตินี้พ่อพราหมณ์มักจะเป็นผู้ที่ทราบประเพณีสู่ขวัญเป็นที่นับถือของ ชาวบ้านในหมู่บ้านนั้น หมอสูตรขวัญสมัยก่อนๆ นุ่งห่มธรรมดาเพียงให้มีผ้าขาวหรือให้มีผ้าขาวม้าพาดบ่า ก็พอปัจจุบันนิยมนุ่งขาวห่มขาว นับว่าเป็นการพัฒนาให้เหมาะ สมกับสังคมสมัยใหม่

    ก่อนลงมือสวด เจ้าภาพต้องเตรียม "ด้ายผูกแขนพราหมณ์" ไว้เป็นด้ายผูกข้อมือธรรมดาเป็นแต่เพียง มัดธนบัตรเป็นค่าบูชาพราหมณ์จำนวนมากหรือน้อยแล้วแต่เจ้าภาพจะเห็นสมควร และเจ้าภาพจะเป็นคนผูกข้อ มือพราหมณ์ด้วยด้ายผูกแขนพิเศษนี้

    พราหมณ์จะจัดให้เจ้าของขวัญนั่งให้หันหน้าไปในทิศทางต่างๆ ตามตำรา เจ้าของขวัญนั่งลงแล้วยกมือไหว้ พราหมณ์เสร็จแล้วใช้มือขวาจับพาขวัญตั้งจิตรอธิฐานขอให้เทวดาบันดาลให้เป็นไปดังหมอขวัญหรือพราหมณ์สูตร ญาติพี่น้องจะนั่งล้อมเป็นวงด้านหลังตั้งจิตรอธิฐานให้เจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญ จงเกิดแก่เจ้าของขวัญแล้ว อ้อนวอนเทวดาเป็นภาษาบาลีว่า "สัค เค กา เม จ รูเป" … จบแล้วว่านโม ๓ จบแล้วกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย ครั้นจบแล้วจะสู่ขวัญอะไรก็เลือกว่าเอาตามต้องการให้เหมาะกับงาน การสวดต้องให้เสียงชัดเจน สละสลวย ไพเราะฟังแล้วเกิดความดีใจ ศรัทธาอุตสาหะ ในการทำความดียิ่งขึ้นจึงจะเป็นสิริมงคลแก่เจ้าตัวถ้าป่วยไข้ ไข้จะหาย ถ้าได้ดีได้เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่งก็จะรักษาความดีไว้ให้คงทนไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมจนลืมตัวเมื่อสวดเสร็จ จะว่า " สัพพพุทธานุภาเวน สัพพธัมมานุภาเวน สัพพสังฆานุภาเวนสัพพโสตถี ภวันตุ เต ยถา สัพพี ภวตุ สัพ " ฯลฯ การเข้านั่งล้อมพาขวัญถ้าเป็นการแต่งงานคู่บ่าวสาวพร้อมด้วยเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะเข้าร่วมพิธีด้วย จะจัดให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวนั่งชิดกันเวลาจับพาขวัญให้แขนเจ้าบ่าวทับแขนเจ้าสาวเพื่อนๆ เจ้าบ่าวจะ พยายามเบียดให้เจ้าสาวนั่งชิดกับเจ้าบ่าวให้มากๆ จะมีการแกล้งเจ้าบ่าวต่างๆ นานาเป็นที่สนุกสนาน

    การมาร่วมพิธีสู่ขวัญนี้คนโบราณได้เล่าว่าเมื่อครั้ง ๗๐ ปีก่อนบ้านเมืองอุบลฯ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยการเลี้ยงไหมของขวัญผู้มาร่วมพิธีขวัญจึงเป็นไหมเส้นเป็นไจๆนับว่าเป็นของขวัญที่พอ เหมาะพอควรและไม่เคยมีการนำเอาเงินมาเป็นของขวัญไหมที่เจ้าของขวัญรับไว้ก็จะนำไปทอเป็นผ้าได้ภายหลัง

    การเชิญขวัญ ก่อนสูตรขวัญถ้ามีเวลาพอก็ให้ว่าคำเชิญขวัญเสียก่อนทุกครั้งการเชิญขวัญเป็นพิธีที่ดีอย่าง หนึ่งคือเราขอความสำเร็จความศักดิ์สิทธิ์จากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทวดา อินทร์ พรหม ผู้มีอิทธิฤทธิ์มาประสิทธิ์ประสาทพรให้จะได้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์เพราะผู้สวดและผู้ฟังไม่ใช่คนมีอิทธิฤทธิ์เมื่อ เราขอท่านท่านก็คงเมตตาประทานให้ตามคำขอ

    คำเชิญขวัญ คำเชิญขวัญนั้นมีหลายสำนวนไม่มีแบบตายตัว ต่างหมอต่างสรรหาสำนวนที่เห็นว่า เหมาะกับเหตุการณ์เช่น คำเชิญขวัญสำหรับบุคคลธรรมดา ก็อีกสำนวนหนึ่ง สำหรับเชื้อพระวงศ์ก็อีกสำนวน หนึ่งเป็นต้น

    ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ

    การผูกแขนหรือข้อมือ
    เมื่อพราหมณ์สูตรขวัญจบแล้วญาติพี่น้องจะเอาข้าว ไข่ กล้วย ใส่มือเจ้าของขวัญมือซ้ายหรือมือขวา ก็ได้ให้พราหมณ์ผูกข้อมือให้ก่อนปกติจะผูกข้อมือซ้ายเพราะแขนซ้ายถือเป็นแขนขวัญ เป็นแขนที่อ่อนแอใช้งาน หนักไม่ได้ เป็นแขนที่น่ารักทะนุถนอม ในเวลาผูกข้อมือนั้นทุกคนยื่นมือขวาออกไปพยุง (โจม) แขนของเจ้าของ ขวัญที่พราหมณ์กำลังทำพิธีผูกข้อมือให้ถ้าอยู่ห่างก็ยื่นมือจับแขนหรือแตะตัวกันต่อๆ มาเป็นเส้นสายเหมือน เชือกส่อแสดงถึงความสัมพันธ์ทางกายและใจเป็นอย่างยิ่ง แล้วตั้งจิตอธิฐานขอให้เจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญเมื่อผูกข้อมือเสร็จแล้วให้ผู้เป็นเจ้าของขวัญมีความ สุขความเจริญเมื่อผูกข้อมือเสร็จแล้วให้ผู้เป็นเจ้าของขวัญประนมมือไหว้ผู้ให้พร เป็นการรับเอาพร เมื่อพราหมณ์ผูก เสร็จแล้ว ต่อไปก็เป็นโอกาสของญาติมิตรทั่วๆไปจะเข้ามาผูกข้อมือให้กับเจ้าของขวัญ

    ด้ายผูกแขน (ด้ายผูกข้อมือ) ถือเป็นของดี ของศักดิ์สิทธิ์ควร รักษา ไว้อย่าพึ่งดึงทิ้ง ให้ล่วง ๓ วันเสียก่อนจึงดึงออกเวลาทิ้งอย่าทิ้ง ลงที่สกปรก เพราะด้ายผูกแขนเป็นของขาวของบริสุทธิ์ เป็นจุดรวมแห่งจิตใจบริสุทธิ์หลาย ดวงจึงควรรักษาไว้ให้ดี ผู้เฒ่าผู้แก่เคยเล่าให้ฟังว่าด้ายผูกแขนที่เก็บรักษา ไว้เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ป้องกันอันตรายได้เช่น มีโจรมาปล้น อธิฐานขอให้จิต ทุกดวงช่วยก็ปลอดภัยจากอันตรายได้และเป็นเสน่ห์ดึงดูดจิต ใจให้คนรัก-ใคร่ชอบ พอได้

    การผูกแขน (ผูกข้อมือ) การผูกแขนที่จะอำนวยประโยชน์สุขให้แก่เจ้าของ ขวัญควรประกอบ
    ด้วยองค์ ๔ คือ :-

    - ผู้ผูก หรือพราหมณ์
    - ผู้รับผูก หรือเจ้าของขวัญ
    - ผู้เกี่ยวข้อง คือญาติมิตร
    - คำกล่าวขณะที่ผูก

    คำกล่าวขณะที่ผูกเป็นคำเรียกร้องเชิญขวัญซึ่งเป็นคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน สุภาพ เรียบร้อยมีความหมาย ไปในทางที่ดีงาม

    โอกาสจัดพิธีสู่ขวัญ มีหลายโอกาสเช่น คารวะพระพุทธรูป บายศรีพระสงฆ์ สู่ขวัญแม่ออกกรรม (คลอดบุตรออกไฟ) สู่ขวัญเด็กน้อย สู่ขวัญเฮือน สู่ขวัญคนธรรมดา สู่ขวัญแต่งงาน สู่ขวัญหลวง สู่ขวัญเกวียน สู่ขวัญขึ้นเล้า (ยุ้ง) สู่ขวัญน้อยก่อนแต่งงาน สู่ขวัญคนป่วย สู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ สู่ขวัญวัวขวัญควาย

    จะเห็นได้ว่าพิธีสู่ขวัญนี้เป็นประเภท "ขนบประเพณี" คือประเพณีชาวอีสานได้เคยตั้งหรือร่างเป็นระเบียบแบบ แผนขึ้นไว้เป็นธรรมดาของประเพณีที่อาจมีส่วนปลีกย่อย แปลก แตกต่างกันออกไปบ้างในลักษณะของการพัฒนาเป็นลักษณะของความเจริญให้เหมาะสมกับกาลสมัยแต่ส่วนสำคัญ อันเป็นมูลฐานของประเพณีนี้ก็ยังคงอยู่และเป็นหน้าที่ของพวกรุ่นต่อไปจะเป็นผู้รับช่วงระวังรักษาไว้ให้มรดก อันสำคัญนี้ยั่งยืนสืบไป เพื่อแสดงความเก่าแก่ของชาติบ้านเมืองเรา...ฯ


    ก่อนประกอบพิธีให้เอาคายบูชานี้มา ผูกแขวนพราหมณ์ก่อน (เมื่อสูตรขวัญแล้ว บางคนก็ให้ค่าตอบแทนอีกต่างหาก บางคนก็ให้ค่าคาย บูชาแล้วก็แล้วไป สำคัญอยู่ที่ค่าคายบูชาจะต้องให้ ไม่ให้ไม่ได้ ส่วนค่าตอบแทนนั้น เป็นเรื่องน้ำใจ ของผู้เชิญพราหมณ์มาสูตรขวัญจะให้ก็ได้ ไม่ให้ก็ได้) การเข้าสู่พาขวัญผู้จะรับการสู่ ขวัญนั้นให้นั่ง ผินหน้าไปทางทิศที่ราศีประจำวันตั้งอยู่ จึงจะเป็นมงคล ราศีประจำวันตั้งอยู่นั้น ดังนี้

    วันอาทิตย์ ราศีอยู่ทิศ ปัจจิม
    วันจันทร์ ราศีอยู่ทิศ พายัพ
    วันอังคาร ราศีอยู่ทิศ บูรพา
    วันพุธ ราศีอยู่ทิศ อุดร
    วันพฤหัสบดี ราศีอยู่ทิศ อิสาณ
    วันศุกร์ ราศีอยู่ทิศ ทักษิณ
    วันเสาร์ ราศีอยู่ทิศ อาคเนย์

    เมื่อนั่งแล้วให้ประณมมือไปทางทิศหัวใจเป็นอยู่ ถ้าไม่รู้ให้พราหมณ์ในพิธีบอก หัวใจนั้น อยู่ประจำทิศต่าง ๆ ดังนี้

    วันอาทิตย์ หัวใจเป็นอยู่ทิศ อุดร
    วันจันทร์ หัวใจเป็นอยู่ทิศ หรดี
    วันอังคาร หัวใจเป็นอยู่ทิศ อิสาณ
    วันพุธ หัวใจเป็นอยู่ทิศ บูรพา
    วันพฤหัสบดี หัวใจเป็นอยู่ทิศ อาคเนย์
    วันศุกร์ หัวใจเป็นอยู่ทิศ พายัพ
    วันเสาร์ หัวใจเป็นอยู่ทิศ ทักษิณ

    จำง่ายๆ ว่า ทิตย์อุ จันทร์หอ คารอิ พุธบู พหัสอา ศุกร์พา เสาร์ทัก ประณมมือไปทิศทาง หัวใจเป็นอยู่ ทำให้เกิดมงคลแล

    วันเวลาสู่ขวัญ

    การสู่ขวัญนี้ไม่นิยมทำเฉพาะในวันจมและวันเดือนดับ (ข้างแรม) นอกนั้นไม่ห้าม การสู่ขวัญมักทำในเวลากลางวัน แต่ตอนเย็นหรือกลางคืนก็เห็นมีการทำอยู่ จึงไม่สำคัญเรื่อง กลางวันกลางคืน แต่ให้เริ่มเวลาเป็นมงคลเท่านั้นก้พอ เวลาเป็นมงคลนั้นให้ดูในหมวดว่าด้วย ฤกษ์งามยามดี แล้วให้ถือปฏิบัติตามนั้นอย่างเคร่งครัด

    บุพกิจที่ควรทำก่อนสู่ขวัญ
    ก่อนที่จะทำการสู่ขวัญนั้น ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

    - เชิญผู้รับการสู่ขวัญ จุดธูปเทียน
    - กราบพระ ขอโอกาสก่อนค่อยสูตร (ถ้าพระอยู่ที่นั้น)
    - ขึงด้ายมงคลระหว่างพาขวัญกับผู้รับการสู่ขวัญและญาติ ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใช้ ให้จับพาขวัญ และจับเสื้อหรืออะไรต่อ ๆ กันไป โดยให้เริ่มจับตอนสูตรขวัญ ตอนอื่นนอกนั้นให้นั่งประณม มือ การจับพาขวัญให้เอามือขวาจับ
    - อัญเชิญเทวดาหรือชุมนุมเทวดา ด้วย คาถา
    - เริ่มสูตรขวัญ บอกให้ลูกหลานทุกคนนั่งประณมมือไว้ก่อน จนถึงคำว่า ศรี ศรี... จึงให้จับ พาขวัญ
    - วิดฟาย (พรมน้ำมนต์โดยพ่อพราหมณ์)




    [WMA]http://se-ed.net/esanthai/download/midi_sound/bisi.mid[/WMA]

  2. #2
    นักปราชญ์เมืองอีสาน
    ศิลปินนักแต่ง ผญา
    สัญลักษณ์ของ ศรีสะท้าน
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    กระทู้
    4,179
    ยอมาพร้อมขันหมากเบ็งพร้อมไข่หน่วย มีทั้งซวยดอกไม้สไบพร้อมแผ่นแพร ป็นมงคุณเที่ยงแท้เถ่าแก่เพิ่นพาทำ จำเอาเด้อซุมหลานสืบต่อกาลไปภายซ้อย เฮาเป็นคนวัยน้อยให้ศึกษาเฮียนฮ่ำ พากันจำสืบส่างอย่าไลม้างฮีตคลอง นั้นแหลว
    วรรณคดีล้ำลำนำเอื้อนเอ่ย เขยภาษาพากษ์เว้าลาวพื้นกล่าวไกล

  3. #3
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1
    วิดฟาย

    วิดฟาย เป็นภาษาหมอเฒ่าอีสาน หมายถึง การเอาดอกไม้จุ่มลงในน้ำมนต์ แล้วตวัด (ประพรม) ใส่ผู้จะรับการสู่ขวัญ ลักษณะของการวิดฟายจะแตกต่างจากการปะพรมน้ำพุทธมนต์ ของพระสงฆ์ ตรงที่อุปกรณ์ในการสลัดน้ำมนต์เป็นดอกไม้ ไม่ใช้ใบหญ้าแฝก หรือ ใบมะยมเช่น พระสงฆ์ การจับดอกไม้จุ่มลงในน้ำมนต์มือจะคว่ำลง แล้วยกขึ้นให้พ้นจากขอบภาชนะ ตวัดน้ำให้ กระเด็นออกจากตัวผู้วิดฟาย (พราหมณ์) สู่ผู้รับการสู่ขวัญ พิธีนี้นิยมทำก่อนสูตรขวัญ โดยที่พ่อ พราหมณ์เอาขันต์น้ำมนต์มาถือไว้ในมือซ้าย มือขวาเอาดอกไม้ 1 คู่ จุ่มลงในน้ำมนต์ ประพรมไป ยังผู้รับสูตรขวัญ พร้อมทั้งสวดคาถาว่า

    โอม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง อุทกัง น้ำอันนี้บ่แม่นน้ำธรรมดา พระยาแถนประทานมาแต่ ฟากฟ้า ว่าให้เอามาหดให้คนใต้ลุ่มฟ้า ให้ได้ดังคำมักคำปรารถนา
    กูจักซิดใส่คนถึกหว่านก้านหนา กูจักซิดใส่คนถึกยาก้านก่ำกะหาย กูจักซิดใส่คนถึกฝัง หุ่นฝังฮอยกะหาย กูจักซิดใส่คนผอมเหลืองเป็นพยาธิ กูจักซิดใส่คนเป็นเคราะห์คาดเถิงคีงกะหาย กูจักซิดใส่คนเห็นลางฟานเห่า กูจักซิดใส่คนที่นกเค้าฮ้องกูกเอาขวนกะหาย กูจักซิดใส่คนเห็นงูอยู่ ในบ้าน กูจักซิดใส่คนเบิดบ้านนึ่งข้าวสีแดงกะหาย สัพพะโรคระงับ สัพพะภัยระงับ สัพพะเคราะห์ ระงับ สัพพะเข็ญระงับ
    โอมพระพุทธัง อุทกัง กูจักซิดใส่คู่แต่งงาน คู่แต่งงานกะอายุยืนดอมกันเท่าเฒ่า มีลูกมี เต้าล้วนแต่ผู้ดี เป็นเศรษฐีมั่งมีบ่ไฮ้ กูจักซิดใส่คนทุกข์เกิดเป็นคนร่ำรวย กูจักซิดใส่ควาย ควายก็ เป็นควายเขาแก้ว กูจักซิดใส่ฮ้านค้าเปิดใหม่แล้ว ก็มั่งมีเงินคำ กูจักซิดใส่ผู้นำก็จักเป็นหลักไชยของ ประเทศ กูจักซิดใส่นคเรศร์ก็จักเป็นเมืองหลวง กูจักซิดใส่ปวงนักเรียนก็ได้เป็นดีบ่น้อย กูจักซิดใส่ ข่อยข้า ข้อยข่าก็กลับต่าวเป็นนาย กูจักซิดใส่ข้าราชการผู้น้อย ก็มาเกิดเป็นใหญ่เป็นโต กูจักซิดใส่ พระสังโฆและจัวน้อย ก็จักเป็นพระยอดแก้ว อมอ่านแล้วด้วยบาทพระคาถาว่า อุ อะ มุ มะ มูล มา มะหามูลมัง สวาหุมฯ
    วิดฟายนี้ ถ้าใช้แล้วก็ไม่ต้องใช้สูตรขวัญหลุ่มขวัญเทิง ถ้าใช้สูตรขวัญหลุ่มขวัญเทิงแล้ว ก็ไม่ต้องวิดฟาย หรือจะใช้ทั้งหมดก็ขอให้อยู่ในดุลพินิจของพ่อพราหม

  4. #4
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บักเซียงเหมี่ยง
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    ที่อยู่
    ยโสธร
    กระทู้
    215
    ดีหลายคับ ได้ความรู้หลาย:g

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •