กำลังแสดงผล 1 ถึง 8 จากทั้งหมด 8

หัวข้อ: มรดกอีสาน:จารึกวัดป่าใหญ่ (อายุ 200 ปี)

  1. #1
    ไทเฮา
    Guest

    มรดกอีสาน:จารึกวัดป่าใหญ่ (อายุ 200 ปี)

    มรดกอีสาน:จารึกวัดป่าใหญ่ (อายุ 200 ปี)

    จารึกวัดป่าใหญ่ (วัดมหาวนาราม)
    อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธาน


    จารึกอักษรธรรมอีสาน บนเสมาหินทราย สูง ๘๙ เซนติเมตร กว้าง ๕๙ เซนติเมตร อยู่ข้างฐานพระประธาน ในวิหารวัดป่าใหญ่ ชาวเมืองอุบลฯ เรียกว่า "พระเจ้าใหญ่อินแปง" เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง อนุมานว่าสร้างเมื่อศักราช ๑๖๙
    (พ.ศ. ๒๓๕๐)
    จารึกนี้ได้มีการศึกษาและพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในวารสารศิลปากร เดือนมกราคม ๒๕๒๔ อ่านโดย เทิม มีเต็ม และ ประสาร บุญประคอง ต่อมาพระทองแดง อตฺตสนฺโต (พุทธเกตุ) วัดป่าใหญ่ ได้อ่านและพิมพ์เป็นที่ระลึก ในงานทอดกฐินพระราชทาน เมื่อ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๒๗
    ที่นำมาเสนอนี้ เป็นการศึกษาของศาสตราจารย์ธวัช ปุณโณทก พิมพ์ในหนังสือ "ศิลาจารึกอีสาน" (ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๐) เนื้อความส่วนใหญ่ไม่ต่างจากการอ่านสองครั้งแรกมากนัก
    สาระสำคัญ กล่าวถึงนามเจ้าเมืองอุบลฯสองพระนามคือ พระปทุมและพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ และนามพระเถระผู้ใหญ่ คือ พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา ว่าได้สร้างวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์สัสดี และสร้างพระพุทธรูปอินแปง พร้อมทั้งได้อุทิศทาสโอกาสและที่นาแก่พระพุทธรูปด้วย ดังรายละเอียดต่อไปน
    ี้

    มรดกอีสาน:จารึกวัดป่าใหญ่ (อายุ 200 ปี)
    มรดกอีสาน:จารึกวัดป่าใหญ่ (อายุ 200 ปี)

    คำอ่าน

    บรรทัดที่ ( _ )
    (๑) จุลสังกราชได ๑๔๙ ตัวปีเมิงมดเจาพระปทุมไดมา
    (๒) ตังเมิงอุบนได๒๖ปีสังกราสได๑๔๒ตัวปีกดซงาจีง
    เถิงอนิจจ (๓) กำลวงไปดวยลำดับปีเดินหันแลสังกราสได๑๕๔
    ตัวปีเตาสันพระพรมมวอลราส ( ๔) สุริยะวงไดขึนเสวิยเมิง
    อุบนได๑๕ปีสังกราส๑๖๗ตัวปีฮวงเราจึงมาไดสางวิหาร อ-
    (๕) ารามไนวัดปาหลวงมณีโซสีสวัดสสดีเพอไหเป็นทีสำราน
    แกพุทธรูปเจาสังกราสไดรอย (๖) ๖๙ตัวปีเมิงเหมามหาราซคู
    สีสทธัมมวงสาภาลูกสิดสางพุทธรูปดินแลอิดซทายไสวัดลวง
    ศิลาจารึกวัดป่าใหญ่

    (๗) เดิน๕เพ็งวัน๑มืฮวงไคฤ๑๒ลุกซืวาจิตตายูไนรสีกันเบิก
    แลวยามแถไกคำจิงไดซืวาพระเจาอีนแปงไห (๘) คนแลเทวดา
    คอยลำแยงรักสาบูซายาไหมีอนาลายอันตายแกพุทธรูปเจาองวี
    เสดเพิอไหเป็นมุงคุ- (๙) รแกบานเมิงมหาราชคูตนสางจิงมีคำ
    เหลิมไสจีงทอดนองยีงซืวาแมปุยกับทังอีปูยหลานยีงไหเป็น
    ขาโอกาด (๑๐) แกพุทธรุปอินแปงเจาองนีลุกยีงซืวาสาวหลา
    สาวตวยสาวทุมไหเป็นขาโอกาดพุทธรุปเจาแลนางเพีย
    (๑๑) โคดกับทังลูกเป็น๔แลนางเพียแกวกับทังลูกเป็น๓แลแม
    เซียงทากับทังลูกเป็น๓แลแมกากับทังลูกเ- (๑๒) ป็น๕มอบตน
    เป็นขาโอกาดพุทธรุปเจาองนีแม่พระซาลีสาวดวงแลอีบุร๓คนนี
    มอบตนเป็นขาโอกาด (๑๓) ขอยโอกาดทังมวรนีเป็นซาว๓หาก
    ศิลาจารึกวัดป่าใหญ่
    (๑๔) ยยไทยทำไหสมควรคำ
    เหลิมไสบุซาพุทธรุปเจาจงออกเทิน บเป็นโทดเป็นกำแล พระยา
    ตนไดมากีนบานกีนเมิง (๑๕) ทีนีบไซเวียกบานกานเมิงแกขาโอ
    กาดฝุงนีไดซืวาคบรบพระเจาไนนึงซืวาประกอบซอบธำพระยา
    ตนได (๑๖) มานังเมิงอันนีมาดูสีลาเล็กอันนีรุวาพุทธรุปเจามี
    ขอยโอกาดจีงบใชเวียกบานกานเมิง (๑๗) พระยาตนนันบอกขา
    โอกาดไหปฏิบัดพุทธรุปเจาจักไดกุสละบุรกวางขวางเหดคบรบ
    ในพุทธรุป (๑๘) เจานันแลไนนึงพระยาตนไดมายูดินกินเมีงที
    นีไหบุซาคบรบพุทธรุปเจาองนีดวย (๑๙) เคิงสักกรบุซาเยิงได
    เยิงนึงคืมโหสบคบงันเมิอเดิน๕เพ็งดังนันจักไหคำวุฒิสีสวัสดี
    แก (๒๐) ซาวบานซาวเมิงเหดพุทธรุปประกอบดวยบุรลักขณ
    เหดทังนันเทวดาจีงไหคำวุฒิสีสวัสดีดวย
    (๒๑) เตซคุรพุทธรุปไนยนึงอาซญาเจาเมิงตนซืวาพระพมวรราสสุริยะวงไดสาง (๒๒) วิหารอารามไหทีสถีดแก
    พุทธรุปเจาจีงมีคำไสจีงปราสาทไหดินนาคืทงเบิงทายวัด (๒๓) นันเป็นทานแกพุทธรุปเจาทางรีสุดทงทางกวาง
    จุแดนดงคนผุไดผุนึงมาเฮ็ดนาไนดินโอกาดทีนี (๒๔) ผิวาไดเกียน๑ไหเก็บคาดินถังนึง๒เกียน๒ถังไหเก็บขึนตาม
    สำคันสัญญาดังหลังนันเทิน

    ถอดความ

    บรรทัดที่ ( _ )
    (๑) จุลศักราชได้ ๑๔๙ ตัวปีเมิงมด เจ้าพระปทุมได้มา (๒) ตั้งเมืองอุบลได้ ๒๖ ปี ศักราชได้ ๑๔๒ ตัวปีกดซง้า จึงถึงอนิจจ (๓) กรรม ล่วงไปด้วยลำดับปีเดือนหั้นแล ศักราชได้ ๑๕๔ ตัวปีเต่าสัน พระพรหมวรราช (๔) สุริยะวงศ์ได้ขึ้นเสวยเมืองอุบลได้ ๑๕ ปี ศักราช ๑๖๗ ตัวปีฮวงเล้า จึงมาได้สร้างวิหาร อ- (๕) ารามในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์สัสดี เพื่อให้เป็นที่สำราญแก่พุทธรูปเจ้า ศักราชได้ร้อย (๖) ๖๙ ตัวปีเมิงเหม้า มหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา พาลูกศิษย์สร้างพุทธรูปดินและอิฐซะทายใส่วัด ล่วง (๗) เดือน ๕ เพ็ญ วัน ๑ มื้อฮวงไค้ ฤกษ์ ๑๒ ลูกชื่อว่าจิตตา อยู่ในราศรีกันย์เบิกแล้วยามแถไกล้ค่ำ จึงได้ชื่อว่าพระเจ้าอินแปง ให้ (๘) คนแลเทวดาคอยล่ำแยงรักษาบูชา อย่าให้มีอนารายอันตายแก่พุทธรูปเจ้าองค์วิเศษ เพื่อให้เป็นมุงคุ- (๙) นแก่บ้านเมือง มหาราชครูตนสร้างมีคำเลื่อมใส จึงทอดน้องหญิง ชื่อว่าแม่ปุยกับทั้งอีปู้ยหลานหญิงให้เป็นข้าโอกาส (๑๐) แก่พุทธรูปอินแปงเจ้าองค์นี้ ลูกหญิงชื่อว่าสาวหล้า สาวตวย สาวทุม ให้เป็นข้าโอกาสพุทธรูปเจ้า แลนางเพีย- (๑๑) โคตรกับทั้งลูกเป็น ๔ แลนางเพียแก้วกับทั้งลูกเป็น ๓ แลแม่เซียงทากับทั้งลูกเป็น ๓ แลแม่ภากับทั้งลูก เ- (๑๒) ป็น ๕ มอบตัวเป็นข้าโอกาสพุทธรูปเจ้าองค์นี้ แม่พระชาลี สาวดวง แลอีบุญ ๓ คนนี้มอบตนเป็นข้าโอกาส (๑๓) ข้อยโอกาสทั้งมวลนี้เป็นซาว ๓ หากเป็นโอกาสด้วยคำเลื่อมใส บ่ได้เอาเข้าของพุทธรูปเจ้า ครั้นว่าใผอยากออกจากโอกาสให้ปัจจั- (๑๔) ยไทยธรรมให้สมควรคำเลื่อมใสบูชาพุทธรูปเจ้าจงออกเทอญ บ่เป็นโทษเป็นกรรมแล พระยาตนใดมากินบ้านกินเมือง (๑๕) ที่นี้บ่ใช้เวียกบ้านการเมืองแก่ข้าโอกาสฝูงนี้ได้ชื่อว่าคบรบพระเจ้านัย หนึ่งชื่อว่าประกอบชอบธรรม พระยาตนใด (๑๖) มานั่งเมืองอันนี้มาดูศิลาเลกอันนี้ รู้ว่าพุทธรูปเจ้ามีข้อยโอกาส จึงบ่ใช้เวียกบ้านการเมือง (๑๗) พระยาตนนั้นบอกข้าโอกาสให้ปฏิบัติพุทธรูปเจ้า จักได้กุศลบุญกว้างขวาง เหตุคบรบในพุทธรูป (๑๘) เจ้านั้นแล นัยหนึ่ง พระยาตนใดมาอยู่ดินกินเมืองที่นี้ ให้บูชาคบรบพุทธรูปเจ้าองค์นี้ด้วย (๑๙) เครื่องสักการบูชาเยื่องใดเยื่องหนึ่ง คือมโหรสพครบงัน เมื่อเดือน ๕ เพ็ญ ดังนั้นจักได้คำวุฒิศรีสวัสดิ์สัสดีแก่ (๒๐) ชาวบ้านชาวเมือง เหตุพุทธรูปประกอบด้วยบุญลักษณะ เหตุดังนั้นเทวดาจึงให้คำวุฒิศรีสวัสดิ์สัสดี ด้วย (๒๑) เดชคุณพุทธรูป นัยหนึ่งอาชญาเจ้าเมืองตนชื่อว่าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ ได้สร้างวิหารอารามให้ที่สถิตย์แก่พุทธรูปเจ้า จึงมีคำใส จึงประสาทให้ดินนา คือท่งเบื้องท้ายวัด (๒๓) นั้นเป็นทานแก่พุทธรูปเจ้า ทางรีสุดท่ง ทางกว้างจุแดนดง คนผู้ใดผู้หนึ่งมาเฮ็ดนาในดินโอกาสที่นี้ (๒๔) ผิว่าได้เกวียน ๑ ให้เก็บค่าดินถังหนึ่ง ๒ เกวียน ๒ ถัง ให้เก็บขึ้นตามสำคัญสัญญาดังหลังนั้นเทอญ

    อธิบายศัพท์

    ปีเมิงมด - ชื่อปีตามปฏิทินหนไทย ตรงกับปีมะแม นพศก
    ปีกดซง้า - ปีมะเมีย โทศก
    ปีเต่าสัน - ปีวอก จัตวาศก
    ปีรวงเล้า - ปีระกา สัตปศก
    ปีเมิงเหม้า - ปีเถาะ นพศก
    ซะทาย - ปูนสอ ปูนขาวที่ใช้โบกอิฐ
    ยามแถไกล้ค่ำ - เวลาประมาณ ๑๕-๑๖.๓๐
    ล่ำแยง - ดูแลรักษา สอดส่องดูแลอย่างเอาใจใส่
    อนารายอันตาย - อันตราย
    มุงคุน - มงคล
    ทอด - ยกให้ มอบให้
    ข้าโอกาส - ทาสที่อุทิศให้แก่วัด
    ซาว๓ - ๒๓
    เวียก - งาน
    คบรบ - เคารพ
    ศิลาเลก - ศิลาจารึก
    คำใส - เลื่อมใส
    เยื่องใด - อย่างใด
    เฮ็ด - ทำ
    ท่ง - ทุ่ง
    จุ - จรด

    ลำบาก ใจครับในการถอดความ ถ้าจะเปลี่ยนเป็นภาษาไทยกลางทั้งหมดก็เสียเค้าความเดิม ถ้าจะเขียนตามความเดิมก็จะลำบากในการทำความเข้าใจ ก็เลยพยายามเหลือความเดิมไว้บ้าง แต่สื่อความกันได้ทั่วไป ท่านมีความเห็นอย่างไร กรุณาเสนอแนะด้วยครับ ใน พบปะเสวนา
    กราบ ขอบพระคุณศาสตราจารย์ธวัช ปุณโณทก ที่กรุณาส่งหนังสือไปให้ มีจารึกในภาคอีสานมากมายที่น่าสนใจ จะนำเสนอในโอกาสต่อไปครับผม (ต้องเรียนขออนุญาตท่านก่อน)


    ที่มา
    http://ubon.obec.go.th/school/swws/tham/payai01.htm
    เจตนาของผู้โพส : ขอมีส่วนฮ่วมในการอุรักษ์ฮักษา มรดกอีสาน ส่งต่อ เสนอ เผยแผ่ เอกสาร ความฮู้ความเข้าใจเกี่ยวกับถิ่นฐานบ้านเกิด
    เผื่อให้ได้ตกทอดไปถึงหลุ่นหลัง เกิดความฮัก ความภูมิใจ ในถิ่นฐานบ้านเกิดเฮา

  2. #2
    นักปราชญ์เมืองอีสาน
    ศิลปินนักแต่ง ผญา
    สัญลักษณ์ของ ศรีสะท้าน
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    กระทู้
    4,179
    โฮ ดีครับดี เป็นการนำเอาศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นอีสานเฮามาเผยแพร่ และที่สำคัญเป็นการบอกถึงหลักฐานทางโบราณคดี ให้ฮู้ที่ไปที่มาของชนหรือสังคมนั้นๆ ดีครับดีมีประโยชน์

    ปล.ธรรมดาหล่ะ การถ่ายทอดจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งย่อมสิมีปัญหาเป็นเรื่องธรรมดา แต่เฮากะพยายาม ถอด แปล เปรียบเทียบให้ได้ใกล้เคียงที่สุด กะดีแล้วครับ การนับปีทางล้านนา ล้านช้าง อีสาน สมัยก่อนเพิ่นมีการนับแตกต่างจากปัจจุบันครับ แต่ก่อนบ่อนิยมนับปีนักษัตร ชวด ฉลู ขาล เถาะ ฯ แต่นับเป็นปีมด ปีสง่า ปีไจ้ ฯลฯ ผมกะจื่อบ่อได้ปานได๋ดอก และอีกอย่างอักษรธรรมโบราณเพิ่นบ่อมีวรรณยุกต์ใช้ การแปลหรือถอดความ ถ้าผู้บ่อชำนาญ สันทัดอิหลีกะอาจสิผิดเพี้ยนได้คือกัน คะรับ
    วรรณคดีล้ำลำนำเอื้อนเอ่ย เขยภาษาพากษ์เว้าลาวพื้นกล่าวไกล

  3. #3
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ หล่อร้อยเมตร
    วันที่สมัคร
    Feb 2007
    กระทู้
    1,808
    วัดป่าใหญ่อยู่ใกล้วัดป่าน้อย วัดป่าน้อยอยู่ใกล้วัดป่าใหญ่ เกิดได้ใหญ่มาหล่อไปวัดป่าใหญ่กะดู๋ยุบ่ฮู้นะนี่หว่ามีจารึกอยู่ ... ส่วนมากไปขอพรสื่อๆ ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ...
    คาดสิได้ลอยมาคือปลาเน่า ... สั่นแล๊ววว

  4. #4
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ ธิดายาเย็น
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    1,622

    รอบยิ้มพิมใจ

    วัดป่าใหญ่ เพิ่นเป็นวัดเก่าแก่ อยู่คู่บ้านคู่เมือง ของชาวอุบลมาแต่ได๋แต่ไรพู้นตั้ว ศักดิ์สิทธิ์นำเด้อจ้า ชาวอุบลมักไปกราบไหว้ ขอพรท่านเป็นประจำ

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นวรัตน์
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    687

    รอบยิ้มพิมใจ เพิ่มเติมวัดป่าใหญ่

    วัดมหาวนาราม


    พระเจ้าใหญ่อินทร์แปงวัดมหาวนาราม

    เพิ่มเติมวัดป่าใหญ่



    วัดมหาวนาราม ตั้งอยู่บนถนนสรรพสิทธิ์ อ.เมืองอุบล แต่ชาวบ้านนิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า "วัดป่าใหญ่"
    เป็นวัดเก่าแก่ และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี มีมูลเหตุการสร้าง คือ
    เมื่อพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนแรก ได้ก่อสร้างเมืองอุบลราชธานี
    บริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูล เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้ก่อสร้างวัดขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลนั้นเอง ตั้งชื่อว่า "วัดหลวง"
    เพื่อให้เป็นสถานที่ทำบุบำเพ็ญกุศลแก่ประชาชนทั่วไป วัดนี้จึงนับได้ว่าเป็นวัดแรกของเมืองอุบลราชธานี
    ภายหลังก่อสร้างวัดหลวงเสร็จแล้ว ได้นิมนต์ พระธรรมโชติวงศา ซึ่งเป็นพระมหาเถระ และพระภิกษุสามเณร
    มาอยู่จำพรรษา เพื่อสนองศรัทธาของประชาชน
    แต่เมื่อพระมหาเถระได้เข้ามาอยู่จำพรรษาแล้ว เห็นว่า วัดนี้เป็นวัดบ้าน หรือ "ฝ่ายคามวาสี"
    ตั้งอยู่กลางใจเมือง ไม่เหมาะแก่การปฏิบัติสมณธรรมวิปัสสนากรรมฐานจึงได้แสวงหาสถานที่
    ปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานใหม่ โดยพิจารณาเห็นว่า "ป่าดงอู่ผึ้ง"ห่างจากวัดหลวงไปทาง
    ทิศเหนือประมาณ 100 เส้น มีหนองน้ำ ชื่อว่า หนองสะพัง เป็นสถานที่อันสงบวิเวก เหมาะแก่การ
    ตั้งเป็นสำนักสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน หรือ "ฝ่ายอรัญญาวาสี" จึงได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์
    ชื่อว่า "วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์" เพื่อให้คู่กับวัดหลวง ซึ่งก่อตั้งขึ้นก่อนแล้วนั้น แต่ก็ยังไม่ทัน
    ได้ตั้งเป็นวัดให้เรียบร้อยสมบูรณ์ เจ้าเมือง คือ พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง) ก็ได้
    ถึงแก่อนิจกรรมลงเสียก่อน (พ.ศ.2323)

    ต่อมา สมัยเจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระพรหมวรราชสุริยะวงศ์ (ท้าวทิดพรหม) ได้มาก่อสร้างวิหารอา
    ฮาม ในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ นี้ เมื่อ พ.ศ.2348 หลังจากนั้น อีก 2 ปี (พ.ศ.2350) ได้
    ยกฐานะเป็นวัด และให้ถือเป็นวัดประจำเจ้าเมืองคนที่สองด้วย ให้ชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติ แต่
    ชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองตะพัง หรือ หนองสระพัง ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียง (มีหลักฐานการ
    สร้างวัดอยู่ที่ ศิลาจารึก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลัง ของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ระบุปีที่สร้างวัดนี้ ตรงกับ
    พ.ศ. 2350) โดยมีพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และเป็นผู้สร้างพระ
    พุทธรูป "พระอินแปง" หรือ พระเจ้าใหญ่อินแปลง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น วัดมหาวัน หรือ
    วัดป่าใหญ่ และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง ตามสมัยนิยมเรียกว่า "วัดมหาวนาราม" แต่ความหมายของ
    วัด ก็ยังคงเป็นเช่นเดิม คือ แปลว่า ป่าใหญ่ นั่นเอง
    ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดนี้คือ พระเจ้าใหญ่อินแปลง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูน
    พร้อมกับลงรักปิดทอง ลักษณะศิลปะแบบลาว ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ3 เมตร สูงจากเรือน
    แท่นถึงเปลวพระโมลี 5 เมตร ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดอุบลราชธานี
    ซึ่งตามตำนาน มีเรื่องเล่าขานต่อๆ กันมาว่า มีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัด
    อินทร์แปลงมหาวิหาร นครเวียงจันทร์ ประเทศลาว มีอายุประมาณ พันกว่าปี อีกองค์หนึ่ง
    ประดิษฐานอยู่ที่วัดอินแปลง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม มีอายุพันกว่าปีเช่นเดียวกัน
    องค์สุดท้าย คือ พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาวนาราม อำเภอเมือง
    อุบลราชธานี มีอายุประมาณสองร้อยกว่าปี ในวันเพ็ญเดือน 5 (ประมาณเดือนเมษายน) ของทุกปี
    จะมีการทำบุญตักบาตร เทศน์มหาชาติชาดก และสรงน้ำปิดทองพระเจ้าใหญ่อินแปลง ซึ่งถือเป็น
    ขนบธรรมเนียมประเพณีมาจนทุกวันนี้

    :) :) :)

  6. #6
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ หล่อร้อยเมตร
    วันที่สมัคร
    Feb 2007
    กระทู้
    1,808
    เดี๋ยวมื่อได๋ว่างๆ สิเข้าไปขอพร ไปหาข้อมูลมาฝากอีกครับ
    คาดสิได้ลอยมาคือปลาเน่า ... สั่นแล๊ววว

  7. #7
    ธีรวัฒน์ ผู้เจริญ
    Guest
    สาธุ ๆ ๆ ๆ ๆ 8)

  8. #8
    มิสบ้านมหา 2010
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ เขมราฐ
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    ที่อยู่
    กลางท่งเมืองเขมฯ
    กระทู้
    1,946

    Re: มรดกอีสาน:จารึกวัดป่าใหญ่ (อายุ 200 ปี)

    เคยฟังพ่อใหญ่ท่านหนึ่งเพิ่นเว้าให้ฟังว่า
    เหตุที่เอิ้นหลวงพ่ออินทร์แปง เพราะว่า องค์หลวงพ่อเป็นพระพุทธรูปที่งดงาม ปานว่าพระ

    อินทร์มาสร้าง คำว่าแปงในภาษาอีสาน แปลว่าสร้าง เพิ่นเลยตั้งชื่อว่า หลวงพ่ออินทร์แปง

    อั่นนี้น้องเขมกะฟังเพิ่นเว้าให้ฟังเด้อค่ะ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •