มรดกอีสาน: อักษรธรรม
มรดกอีสาน: อักษรธรรม
อักขรวิธีของอักษรธรรมอีสาน

อักษรวิธีหรือการผสมอักษรธรรมอีสาน แตกต่างจากอักษรวิธีของอักษรไทยโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ อักษรไทยกำหนดให้วางพยัญชนะไว้บนบรรทัดเดียวกันหมด ทั้งพยัญชนะต้น พยัญชนะตัวสะกดและตัวควบกล้ำ ส่วนสระวางไว้รอบพยัญชนะต้น หรือวางไว้บน ล่าง หน้า หลังพยัญชนะได้

ส่วนอักขรวิธีของอักษรธรรมอีสานมีระเบียบวิธีที่แตกต่างออกไป แต่คล้ายคลึงกับอักษรวิธีของอักษรขอม โดยวางพยัญชนะต้นซึ่งใช้พยัญชนะตัวเต้มไว้บนบรรทัด ส่วนพยัญชนะซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตาม ในหลักสังโยคของภาษาบาลีซึ่งใช้รูปของพยัญชนะตัวเต็มบ้าง ตัวเฟื้องบ้างนั้นอาจวางไว้บนล่าง ข้างหน้า ข้างหลัง และหลังพยัญชนะได้

๑. พยัญชนะ อักษรธรรมอีสานมีพยัญชนะ ๒ แบบ คือ ตัวเต็ม และตัวเฟื้อง
๑.๑ ตัวเฟื้อง เป็นการตัดจากเชิงของตัวเต็มหรือสร้างขึ้นใหม่ บางครั้งเรียก "ตัวห้อย"
๑.๒ ตัวเต็ม เมื่อวางใต้พยัญชนะอื่นเมื่อเป็นตัวสะกดหรืออักษรประสม เรียกว่า "ตัวซ้อน"
๑.๓ บางตัวใช้เป็นพยัญชนะต้นอย่างเดียว จึงไม่มีตัวเฟื้องหรือตัวห้อย ขณะที่บางพยัญชนะมีตัวเฟื้องหลายแบบ เช่น ตัว ง ย ล เป็นต้น
๑.๔ อักษรธรรมที่ใช้เขียนบาลีใช้ตัว ป ตัวเดียว แต่ในภาษาถิ่นใช้แทนเสียง บ ด้วย จึงเขียนให้ต่างกันเล็กน้อย คือ ตัว ป ขอดหาง ตัว บ ไม่ขอดหาง
บางตำรา ตัว ป หางยาว (ธวัช ปุณโณทก.๒๕๔๐:หน้า ๖๙)
๑.๕ ตัว ฑ ใช้แทนเสียง ด ในภาษาถิ่น

พยัญชนะอักษรธรรมอีสาน ตัวเต็ม ตัวเฟื้อง ตัวซ้อน (ใช้เขียนบาลี ๓๒ ตัว)
มรดกอีสาน: อักษรธรรม

พยัญชนะอักษรธรรมอีสานที่ใช้เขียนภาษาไทยอีสาน เพิ่มตัว บ ฝ ฟ อ ฮ และ ย (หยาดน้ำ)

แบ่งเป็น ๓ หมู่ ดังต่อไปนี้
มรดกอีสาน: อักษรธรรม

คาถาจำอักษรกลาง ไก่ จิก เด็ก ตาย บิน ไป เอา ยา
อักษรต่ำ ควาย งัว ซ้าง ย่าง เทียว นา พ้า ฟัน ไม้ รถ แล่น ไว แฮง
อักษรสูง ขอ ถาม ใผ เฝ้า เสา หิน

จำอักษร ๓ หมู่นี้ได้ ก็อ่านวรรณกรรมอีสานได้เกือบหมด
ท่านที่มีคาถาช่วยจำอื่นๆ แบ่งปันกันด้วยนะครับ
หยิบกระดาษ ปากกาขึ้นมาเขียน ไม่กี่ครั้งก็จำได้หมด

ที่มา
http://ubon.obec.go.th/school/swws/t...am_roobluk.htm

เฮียนอักษรธรรมด้วยโตเองที่
http://ubon.obec.go.th/school/swws/tham/thamhome.htm
http://www.ubru.ac.th/ccu/thainoi/
http://www.isangate.com/index2.html

เจตจำนงค์ของผู้โพส: ขอมีส่วนฮ่วมในการอนุรักษ์ฮักษา มรดกอีสาน ส่งต่อ เสนอ เผยแผ่ เอกสาร ความฮู้ความเข้าใจเกี่ยวกับถิ่นฐานบ้านเกิดเผื่อให้ได้ตกทอดไปถึงหลุ่นหลัง เกิดความฮัก ความภูมิใจ ในถิ่นฐานบ้านเกิดเฮา