กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: พืชมีพิษ

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวดอนโบม
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,421

    พืชมีพิษ

    พืชมีพิษ
    คริสต์มาส

    ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia pulcherrima Willd.ex Klotzsch.
    วงศ์ : Euphorbiaceae
    ชื่อสามัญ : Poinsettia, Pointed Leaf, Lobster Plant, Chrismas Star
    ชื่ออื่น : บานใบ (ภาคเหนือ) โพผัน สองระดู (กรุงเทพฯ)
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร ใบ เดี่ยวรูปไข่ ปลายแหลม ขอบใบหยัก 2-3 หยัก ทุกส่วนมียางสีขาวเหมือนน้ำนม ดอก ช่อ ออกปลายกิ่ง ในหนึ่งช่อดอกมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ร่วมกัน มีใบประดับสีแดงรูปหอกขนาดใหญ่อยู่รอบๆ ช่อดอกเป็นจำนวนมาก

    ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาวจากใบ ต้น
    สารพิษ : resin สารออกฤทธิ์เป็นกลุ่ม diterpene ester
    การเกิดพิษ : น้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคืองมาก ผิวหนังเป็นปื้นแดง ต่อมาจะบวมพองเป็นตุ่มน้ำ ภายใน 2- 8 ชั่วโมง ถ้ารับประทานจะทำให้กระเพาะอักเสบ
    การรักษา : ล้างน้ำยางออกจากผิวหนังโดยใช้สบู่ และน้ำอาจให้ยาทา สเตียรอยด์ ถ้ารับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกใช้ activated charcoal ล้างท้อง หรือทำให้อาเจียร และรักษาตามอาการ


    พืชมีพิษ



    หมามุ่ย

    ชื่อวิทยาศาสตร์: Mucuna pruriens (L.) DC. ชื่อพ้อง M. prurita Hook.f.
    วงศ์ : Leguminosae - Papilionaceae
    ชื่อสามัญ : Cowitch , Cowhage
    ชื่ออื่น : บะเหยือง หมาเหยือง (ภาคเหนือ) โพล่ยู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) กลออื้อแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย ใบ ประกอบ คล้ายใบถั่วฝักยาว คือมี 3 ใบย่อย ใบย่อยรูปไข่ปลายแหลม มีขนทั่วไป ดอก ช่อ ดอกย่อย แบบดอกถั่ว สีม่วงแก่ ออกตามง่ามใบแถวปลายยอด ฝักแก่จัดสีเหลืองทองถึงเหลืองแก่ มีขนค่อนข้างยาว ถ้าสัมผัสจะคัน ฝักแก่จัดขนจะร่วงปลิวไป

    หมามุ่ยมีหลายชนิด
    ชนิดที่ 1 ฝักจะไม่ยาวมาก ประมาณ 5-7 เซนติเมตร ฝักตรง
    ชนิดที่ 2 ฝักจะยาวกว่าชนิดแรกเล็กน้อย แต่ปลายฝักจะงอนออก ยาว 5-8 เซนติเมตร
    ชนิดที่ 3 เป็นหมามุ่ยใหญ่ (หมามุ่ยช้าง, สะบ้าลิง) ฝักรูปทรงกระบอกค่อนข้างแบน ผิวผลย่นๆ เป็นสันและยาวกว่า 2 ชนิดแรก ยาว 10-12 เซนติเมตร ขนสีน้ำตาลแดง
    ส่วนที่เป็นพิษ : ขนจากฝัก
    สารพิษและสารเคมี : ขนมี mucunain enzyme สามารถย่อยโปรตีนได้ ในขนมี serotonin เป็นสารกระตุ้น ให้ร่างกายคนหลั่ง histamine ก่อให้เกิดการแพ้ผื่นคัน บวมแดง
    อาการเกิดพิษ : ผิวหนังเมื่อถูกขนหมามุ่ย จะคัน ระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อน บวมแดง
    การรักษา : ให้พยายามเอาขนออกให้หมด โดยใช้เทียนไขลนไฟ ให้นุ่ม หรือข้าวเหนียวที่นึ่งแล้ว คลึงจนกระทั่งขนหลุดหมด แต่ถ้าไม่มีของพวกนี้ อาจใช้ถูไปมาบนผม ถ้าเป็นผมสั้นๆ จะได้ผลดี เมื่อคลึงเอาขนหลุดหมดแล้ว ถ้ายังคันให้ทายาคาลาไมน์หรือครีมที่มีสเตียรอยด์ เช่น ครีมพวกเพนนิโซโลน และรับประทานยาแก้แพ้ทุก 6 ชั่วโมง

    พืชมีพิษ


    ตำแย

    ชื่อวิทยาศาสตร์: Laportea interrupta (L.) Chew
    วงศ์ : Urticaceae
    ชื่อสามัญ : -
    ชื่ออื่น : กะลังตังไก่ (ภาคใต้) ตำแยตัวเมีย (ภาคกลาง) ว่านช้างร้อง (เชียงใหม่) หานไก่ (ภาคเหนือ)
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 50 เซนติเมตร ทุกส่วนมีขน ใบ เดี่ยว รูปหัวใจปลายแหลม ขอบใบหยัก ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ ไม่มีกลีบดอก

    ส่วนที่เป็นพิษ : ทุกส่วนที่มีขน
    สารพิษ : สาร histamine, acetylcholine, formic acid, 5-hydroxy tryptamine, acetic acid ฯลฯ
    อาการเกิดพิษ : ขนเมื่อถูกผิวหนังจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน ระคายเคือง บวมแดง ถ้าเป็นบริเวณผิวหนังอ่อนนุ่มจะมีอาการรุนแรงยิ่งขึ้น
    การรักษา :

    *

    เอาขนที่ติดอยู่ออกก่อน โดยใช้วิธีเดียวกับเอาขนหมามุ่ยออก
    *

    ถ้ายังมีอาการคันให้ทายาคาลาไมน์ หรือครีมที่เข้าสเตียรอยด์ เช่น เพนนิโซโลน
    *

    ถ้ายังมีอาการปวดอยู่ ให้รับประทานยา chorpheniramine 4 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง



    พืชมีพิษ

    ตำแยช้าง

    ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocnide stimulans (L.f.) Chew
    วงศ์ : Urticaceae
    ชื่อสามัญ : -
    ชื่ออื่น : สามแก้ว (ภาคใต้) หานเดื่อ หานสา (ภาคเหนือ) เอ่โก่เปอ ไอ้ขุนา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 5 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทา และมีประช่องระบายอากาศทั่วไป ใบเดี่ยวเรียงสลับหรือเวียนกัน ทรงใบรูปหอกกลับ โคนใบสอบ ปลายสุดของใบเรียวแหลม ผิวใบด้านล่างเป็นคราบขาว ดอกเล็กสีขาวปนเหลือง หรือสีม่วงอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อยาวๆ ห้อยตามง่ามใบ ผลเล็ดกลมสีเขียว

    ส่วนที่เป็นพิษ : ขนหรือเกล็ดตามส่วนต่างๆ เช่น ใบ ช่อดอก จะทำให้เกิดอาการคัน ผิวหนังไหม้เกรียม หรือแดง เป็นผื่นและปวดมาก


    พืชมีพิษ



    หญ้าคา

    ชื่อวิทยาศาสตร์: Imperata cylindrica (L.) P.Beauv.
    วงศ์ : Poaceae (Gramineae)
    ชื่อสามัญ : Thatch Grass , Wolly Grass, Lalang, Alang-alang
    ชื่ออื่น : ลาลาง ลาแล (มลายู-ยะลา)
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินสีเหลืองอ่อน ยาวและแข็ง ลำต้นเทียมบนดินสูงได้ 0.3-0.8 เมตร ใบ เดี่ยว แทงออกจากเหง้า ใบเล็กยาว ขอบใบคม ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า ดอกย่อย ขนาดเล็ก รวมกันอยู่ช่อแน่น สีเงินอมเทาอ่อนๆ ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก

    ส่วนที่เป็นพิษ : ขอบใบคม อาจบาดทำให้เป็นแผล สัมผัสผิวหนังทำให้เกิดอาการคัน



    พืชมีพิษ

    พญาไร้ใบ

    ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia tirucalli L.
    วงศ์ : Euphorbiaceae
    ชื่อสามัญ : Pencil Plant, Milk Bush
    ชื่ออื่น : เคียะจีน พญาร้อยใบ (เชียงใหม่) เคียะเทียน (ภาคเหนือ)
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูง 1-3 เมตร ลำต้นสีเขียว กลมขนาดเล็ก อวบน้ำ มียางสีขาวทุกส่วน ส่วนบนจะแตกกิ่งก้านมากมาย ลำต้นต่อกันเป็นข้อๆ ใบ เดี่ยว ขนาดเล็กมาก ร่วงง่าย ดอก เป็นกระจุกตามข้อหรือปลายกิ่ง สีขาวอมเหลือง ส่วนใหญ่เป็นเพศเมีย ดอกสมบูรณ์เพศมีเล็กน้อย ผล ไม่ค่อยติด รูปร่างผลยาว มี 3 พู ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลเข้ม

    ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม
    สารพิษ : ยางมีสาร 4-deoxyphorbol และอนุพันธ์เป็นสารร่วมก่อมะเร็ง euphorbon, euphorone, resin, taraxasterol, tirucallol
    อาการเกิดพิษ :

    *

    ถ้าถูกผิวหนัง ทำให้เป็นผื่น อักเสบ บวมแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบแดง ถ้ารักษาไม่ถูกหรือทิ้งไว้ตาอาจบอดได้
    *

    ถ้ารับประทานเข้าไปมาก ช่องปากจะบวม คลื่นไส้ อาเจียน กระเพาะปัสสาวะและลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง อาจอุจจาระเป็นเลือด

    การรักษา :

    *

    ถ้าเข้าตาหรือถูกผิวหนัง ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง มียาสเตียรอยด์ให้ทาที่ผิวหนัง ถ้ามียาหยอดตาที่เข้าสเตียรอยด์ให้ยอดตา
    *

    ถ้ารับประทาน
    1. ให้ใช้ activated charcoal รับประทานเพื่อดูดเอาส่วนที่ยังไม่ดูดซึมออก
    2. ล้างท้องหรือทำให้อาเจียน
    3. ให้ดื่มนมหรือไข่ขาว เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ
    4. ส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น



    พืชมีพิษ
    ชวนชม

    ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenium obesum (Forsk.) Roem.&Schult.
    วงศ์ : Apocynaceae
    ชื่อสามัญ : Mock Azalea, Desert Rose, Impala Lily, Pink Bigmonia, Salsi Star
    ชื่ออื่น : ลั่นทมแดง ลั่นทมยะวา (กรุงเทพฯ)
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นอวบน้ำมียางขาวทุกส่วน ใบ เดี่ยว รูปช้อน เรียงแบบเวียน ดอก เดี่ยวหรือช่อสั้นๆ กลีบดอกสีแดง โคนกลีบดอกเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉก ผล เป็นฝักคู่รูปยาวรี แก่แตกได้ (ปัจจุบันมีต้นที่มีดอกสีขาวและสีชมพู)

    ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาว ถูกผิวหนังอักเสบ ถ้ากินมีพิษต่อหัวใจ
    สารพิษ : เป็นสารกลัยโคไซด์ เช่น abobioside, echubioside ฯลฯ
    การเกิดพิษ : ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบ กินเข้าไปจะเป็นพิษ แต่น้ำยางมีรสขมมาก โอกาสกินมีน้อย ถ้ากินจะมีผลต่อหัวใจ อาการเบื้องต้นจะทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาพร่า หัวใจเต้นอ่อน ความดันลดลงอาจตายได้
    การรักษา :

    *

    ทำให้อาเจียนโดยใช้ยาพวก ipecac
    *

    แล้วรับประทาน activated charcoal (ถ่าน)
    *

    ส่งโรงพยาบาลด่วน
    *

    ถ้ายางถูกผิวหนัง ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง ถ้าเข้าตาก็ล้างให้สะอาดเช่นกัน มียาที่เข้าสเตียรอยด์ให้ใส่หรือทา

  2. #2
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ ตรี ศรีเมืองใหม่
    วันที่สมัคร
    Apr 2006
    ที่อยู่
    หนุ่มอุบล คนศรีเมืองใหม่
    กระทู้
    4,490
    ขอบคุณข้อมูลที่มีประโยชน์ เอาไป 5 ดาวครับ กระทู้นี้
    :welcome3"...ศรีเมืองใหม่แดนธรรมประเสริฐ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่มั่น ลือลั่นสวรรค์ภูหล่น ยลสวยหินผานางคอย ลอยล่องแก่งจุการ งามตระหง่านเสาธงวงกลมใหญ่...">>>>> www.muangmai.ob.tc

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวดอนโบม
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,421
    ขอบคุณครับ

    สิพยายามหาข้อมูลใหม่ๆๆมาฝากอีกเด้อครับ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •