กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: เตาเผาถ่านภูมิปัญญาชาวบ้าน

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวดอนโบม
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,421

    เตาเผาถ่านภูมิปัญญาชาวบ้าน

    เตาเผาถ่านภูมิปัญญาชาวบ้าน

    ยามหน้าแล้งกะไปหาตัดต้นไม้แห้ง ตามท่งตามนา มาเผาถ่าน

    บางคนกะเผาขาย บางกะเอาไว้ใช้เอง

    ลักษณะของเตาที่ใช้เผา ทุกมื่อนี่กะหาเบิ่งยากแล้ว

    เตาเผาถ่านภูมิปัญญาชาวบ้าน

    อั่นนี่เตาเผาถ่าน ของพ่อบ่าวบ้านดอนเอง ไปหลอยถ่ายของเลามา ใช้ ทอสับถ่ายมา ย้อนแสงนำ รูปอาจสิบ่สวยงามปานได๋ แต่กะคือสิพอเบิ่งได้ยุดอก


    เตาเผาถ่านภูมิปัญญาชาวบ้าน

  2. #2
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ ตรี ศรีเมืองใหม่
    วันที่สมัคร
    Apr 2006
    ที่อยู่
    หนุ่มอุบล คนศรีเมืองใหม่
    กระทู้
    4,490
    อืม..บรรยากาศเก่าๆเผาถ่านขาย..หาดูยากสมัยนี้ ///แต่ว่าอย่าไปลักตัดต้นไม้เป็นๆมาเผาถ่านเด้อละครับ เดี๋ยวตํารวจสิจับเอา อิอิๆๆ ผิดกฎหมายเด้อนั้น
    :welcome3"...ศรีเมืองใหม่แดนธรรมประเสริฐ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่มั่น ลือลั่นสวรรค์ภูหล่น ยลสวยหินผานางคอย ลอยล่องแก่งจุการ งามตระหง่านเสาธงวงกลมใหญ่...">>>>> www.muangmai.ob.tc

  3. #3
    Super Moderator
    Guide & Photographer
    สัญลักษณ์ของ เจ้าซายน้อย
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    ที่อยู่
    อยู่ในใจเสมอ
    กระทู้
    1,412
    นึกว่าไผมาเฮ็ดห่มไห่จอมปลวกเนาะ อิ อิ

  4. #4
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1

    ความเยือกเย็น

    เตาเผาถ่านชนิดต่างๆ



    1.เตาดินเหนียวซึ่งการลงทุนก่อสร้างต่ำมากหรือไม่มีค่าวัสดุอุปกรณ์เลยก็ว่าได้ การก่อสร้างก็ใช้ดินเหนียวก่อ ซึ่งดินเหนียวหาได้ตามพื้นที่ต่างๆได้ตลอด คุณภาพถ่านที่ได้ก็ถือว่าคุณภาพดี แต่การสูญเสียจะมากกว่าเตาแบบอื่น


    2.เตาอิฐก่อ ซึ่งส่วนมากก่อสร้างเตาลักษณะนี้เพื่องานอุตสาหกรรม เป็นส่วนมากเนื่องจากว่า ผลิตถ่านได้ออกมาต่อการเปิดเตา 1 ครั้งได้จำนวน ถ่านมากกว่าเตาดินธรรมดา
    การลงทุนก่อสร้าง จะสูงกว่าเตาดินเหนียวเนื่องจากว่าต้องใช้อิฐก่อเป็นรูปเตา หลังจากนั้นก็ต้องใช้ดินเหนียวเป็นตัวประสารก้อนอิฐให้ติดกันเป็นรูปทรงของ เตา การก่อสร้างเตาอิฐก่อไม่ใช้ปูนซีเมนต์ เนื่องจากว่าสำประสิทธิ์การขยาย ตัวของอิฐกับปูนไม่เท่ากันเมื่อเตาร้อน จะทำให้เตาเผาถ่านแตกหรือว่าร้าวได้ ถ้าหากว่าเราใช้ดินเหนียวแทนปูนการขยายตัวก็จะน้อย รอยร้าว ร้อยแตกของเตาก็จะน้อย อายุการใช้งานของเตาก็นานด้วย


    3.เตาอิวาเตะ ซี่งรูปแบบเตาลักษณะนี้นำต้นแบบมาจากประเทศญี่ปุ่น เพราะว่าประเทศญี่ปุ่นเนี่ยเป็นเจ้าของเทคโนโลยีของการผลิตถ่านเลยก็ว่าได้ ดังนั้นเตารูปทรงนี้เป็นรูปแบบที่พัฒนาจากเตาดิน และเตาอิฐ ให้ผลผลิตถ่าน ออกมาได้คุณภาพดี ผลผลิตถ่านได้ปริมาณมาก ได้น้ำส้มควันไม้ออกมาเยอะ
    แต่การลงทุนก่อสร้างจะสูงกว่าเตาดินและเตาอิฐก่อ เนื่องจากว่าอิฐที่ใช้ก่อมีปริมาณ มากกว่า และการก่อสร้างยุ่งยากมาก ซึ่งต้องให้ผู้มีความรู้หรือว่า มีความเชีี่ยวชาญในการก่อสร้างเป็นคนทำ เตาที่สร้างได้ถึงจะมีคุณภาพดี

    ในงานเผาถ่านภาคอุตสาหกรรม ถ้าใช้เตาลักษณะนี้จะเป็นการการันตี คุณภาพด้วยว่าใช้เทคโนโลยีจากเจ้าตำหรับทำถ่านจากญี่ปุ่น เป็นการยืนยันคุณภาพของถ่านด้วยว่า คุณภาพดีชัวส์


    4.เตาเผาไฮเทค ของคุณ ณรงค์ นะครับ ยังไม่มีการวิจารณ์หรือว่าการันตีเรื่อง คุณภาพของถ่านนะครับ แต่พอทราบข้อมูลว่าใช้เวลาการเผาถ่านสั้นมากแค่ 1.5 ชั่วโมงก็ได้ถ่านออกมาใช้แล้ว น่าสนใจดีเหมือนกันครับ


    5.เตาเผาถ่านของบริษัทอุสา ก็ยังไม่มีบทวิจารณ์เกี่ยวกับเตานี้เหมือนกันกับของ คุณ ณรงค์นะครับ แต่เห็นบอกว่าระยะเวลาในการเผาถ่านเพียง 36 ชั่วโมง เตาหนึ่งก็ได้ถ่านประมาณ 7-10 กระสอบ ถ้าใครสนใจก็ติดต่อได้ที่บริษัท อุสาแล้วกันนะครับ


    6.เตาเผาถ่านรุ่นใหม่ ของคุณ ศิริรัตน์ ครับ
    รุ่น MES-20
    1. ระบบสามารถผลิตถ่านออกมาให้ได้ขนาดเล็กไม่ต้องนำมาบดก่อนที่จะทำ ถ่านอัดแท่ง
    2. เครื่องใช้เวลาเพียง 45 นาที ในการทำวัตถุดิบให้เป็นถ่าน
    3. ตัวเครื่องมีการติดตั้งตัวควบคุมอุณหภูมิอยู่ที่ 500+-(50) เมื่อเครื่องทำงาน ไปไ ด้ 1 ช.ม. โดยประมาณอุณหภูมิในเตาเผาจะถึง 550 เครื่องจะหยุดทำงาน จนกว่าอุณหภูมิจะลดลงมาที่ 450 ซึ่งใช้เวลา ประมาณ ? นาที เครื่องจะเริ่มทำงาน อีกครั้งเพื่อเพิ่มอุณหภูมิในเตา เมื่อผ่านไป 1 นาที อุณหภูมิในเตาจะกลับมาที่ 550 อีกครั้ง เครื่องจะหยุด เป็นอย่างนี้ไปตลอดการทำงานทำให้เราสามารถประหยัดไฟฟ้า และเชื้อเพลิงได้ประมาณ 30%
    4. เครื่องออกแบบให้สามารถเก็บควันจากการเผาไหม้มาควบแน่นเป็นน้ำส้มควันไม้ ได้ประมาณ 5-8 % ของวัตถุดิบซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างและเป็นที่ต้องการ ของท้องตลาด ถ้านำออกขายจะได้ราคาที่ประมาณกิโลละ 80-120 บาท
    5. ควันที่เหลือจากการควบแน่นส่วนหนึ่งระบบจะนำกลับมาเป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ ทำให้ไม่ต้อง ใช้เชื้อเพลิง ในการเผาไหม้ ต่อ(ใช้เชื้อเพลิงตอนเริ่มทำงานเท่านั้นพอผ่านไป 1 ช.ม.ไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงแล้วหรือเติมในปริมาณ ที่น้อยลง ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาเผา) หรือนำไปเป็น เชื้อเพลิงสำหรับต้นกำเนิดพลังงานชนิดอื่น
    6. ควันที่เหลือทิ้งมีเพียงเล็กน้อยไม่เป็นมลภาวะต่ออากาศ
    7. ถ่านที่ได้จะมีคุณภาพดีสม่ำเสมอเพราะสามารถตั้งอุณหภูมิของเตาให้อุณหภูมิของเตา ทั่วทุกจุด มีอุณหภูมิเท่าเทียมกัน กะลามะพร้าว 1 ตัน จะให้ผลผลิตดังนี้ ถ่าน 250 กิโล น้ำส้มควันไม้ 50 KG. ซึ่งเป็นกรดน้ำส้มที่มีประโยชน์หลายอย่าง อย่าง ราคาขายในท้องตลาดอยู่ที่ 70-120 บาท / กิโล ยางมะตอย 50 KG.
    เครื่องมีหลายขนาดให้เลือกตั้งแต่ กำลังการผลิต 20-1000 ก.ก. /ช.ม.
    เตาเผาถ่านรุ่นใหม่ครับ



    ก็อย่างที่เล่าให้ฟังแล้วกันนะครับว่า เตาแต่ละเตาเนี่ยเราจะใช้งานอย่างไร เลือกใช้ตามความเหมาะสมแล้วกันนะครับ เพราะว่าบางแห่ง บางพื้นที่ หรือว่าบางผู้ผลิตเนี่ย ใช้ไม่เหมือนกัน อาจเป็นเพราะว่าต้นทุนการผลิต คนงานที่ก่อสร้างเตา พื้นฐานความรู้ความเข้าใจการเผาถ่านหรือว่า ก่อสร้างเตาที่ไม่เหมือนกันทำให้ ผู้ผลิตแต่ละคนใช้ไม่เหมือนกัน แต่จะใช้เตาแบบไหนก็นะ ผลิตถ่านออกมาได้เหมือนกันใช่มั้ยครับ

    ความรู้พื้นฐานในเรื่องการเผาถ่าน


    การสร้างเตาเผาถ่าน
    1.ควรจะเป็นรูปไข่ ซึ่งจะมีผลช่วยให้การกระจายความร้อนเป็นไปได้ดีทั่วกัน
    2.ที่ตั้งของเตาเผาถ่าน ไม่ควรอยู่กลางแจ้ง ตากแดดตากฝนตำแหน่งที่ใช้เป็นที่จุดไฟหน้าเตา ควรจะอยู่ต่ำกว่าพื้นเตา
    3.ปล่องควันไฟในตอนล่าง ควรมีขนาดใหญ่กว่ตอนบนเพื่อป้องกันลมเข้าทางปล่องควันเตาสามารถได้รับการออกแบบ
    ให้สามารถควบคุม จำกัดปริมาณของอากาศภายในเตาได้ดี

    เตาเผาถ่านแบบถังแดง
    1.ถังน้ำมัน 200 ลิตร
    2.ท่อใยหิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว / ยาว 1 เมตร
    3.สามทางปูน หรือใยหิน
    4.อิฐมอญ 12 ก้อน
    5.ดินหรือดินเหนียว ? คิว
    6.ทราย ? คิว
    7.ขี้เถ้าหรือปูนซีเมนต์ 1 กก.
    8.ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม้น้อยกว่า 3 นิ้ว ยาว 5 เมตร เจาะรู
    9.กรวยรองน้ำฝน
    10.ไม้หรือเศษวัสดุที่ใช้ป้องกันดินพัง
    11.ดินหรือดินเหนียวผสมกับขี้แกลบ เพื่อใช้เป็นวัสดุเชื่อมข้อต่อ อุดรอยรั่วและปิดหน้าเตาเมื่อถ่านสุก

    การเผาถ่าน
    การเผาถ่านโดยใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร เป็นวิธีการเผาที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ การเผาถ่านในแบบถังแดงในแต่ละครั้งจะได้ถ่านประมาณ 15 กก. และเก็บน้ำควันไม้ได้ถึง 5 ลิตร การติดตั้งสามารถทำได้ดังนี้
    1.ตัดฝาถังด้านบน เพื่อใช้เป็นส่วนของฝาเตาที่สามารถเปิดปิดได้ เพื่อนำไม้เข้าในเตาและนำถ่านออกมาจากเตา
    2.เจาะรูในส่วนที่เป็นฝาถัง ขนาดประมาณ 20x25 cm. เพื่อทำหน้าที่เป็นปากเตา ใช้สำหรับปล่อยให้อากาศเข้า และเจาะรูด้านก้นถังใหม่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 ซม. เพื่อที่จะสามารถติดตั้งสามทางปูนขนาด 4 นิ้ว ซึ่งจะใช้ต่อกับท่อใยหินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร
    3.ขุดหลุมลึกขนาด 1/3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของถัง เพื่อติดตั้งถังลงในหลุมตามแนวนอนและติดตั้งปล่องควัน และกลบตัวถังด้วยดินหรือทรายเพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน
    4.ตัดไม้ที่จะใช้เผาถ่าน มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 80 ซม. บรรจุใส่ถังในแนวนอนตามยาวของถังไม้ที่มีขนาดใหญ่ก็ควรจะผ่าเสียก่อน
    5.ปิดฝาถังให้แน่นหนาอุดรอยต่าง ๆ ด้วยดินเหนียวไม่ให้เป็นช่องทางให้อากาศเข้าได้ นอกจากทางปากเตา
    6.จุดไฟที่ปากเตาเพื่อเริ่มต้นเผาถ่าน ระมัดระวังตำแหน่งของกองไฟหน้าเตาไม่ให้เข้าใกล้เตาจนเกินไป ตำแหน่งที่เหมาะสมคือประมาณ 1 ฟุต ปล่อยให้ไอร้อนเท่านั้นที่ไหลเข้าไปในเตา
    7.ดักเก็บน้ำส้มควันไม้ทางปล่องที่ควันออก โดยสังเกตจากสีของควัน
    8.ควันที่เกิดจากการเผาถ่าน จะแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะได้แก่
    - ควันสีขาว จะเป็นช่วงการระเหยของไอน้ำจากภายในเนื้อไม้
    - อุณหภูมิที่ปากปล่องช่วงนี้อยู่ระหว่าง 82 – 120 องศาเซลเซียส แต่การดักเก็บน้ำส้มควันไม้
    - กำหนดให้เก็บในช่วงอุณหภูมิ 82 –120 องศาเซลเซียส ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยจากสารทาร์ (Tar)
    9.เมื่อเวลาถ่านสุกให้สังเกตว่าไม่มีควัน ออกมาจากปากปล่องอีก ให้ทำการอุดปากเตาและปากปล่องด้วยดินเหนียวรวมทั้งรอยรั่วอื่น ๆ จนควันไม่สามารถเล็ดลอดออกมาได้โดยเด็ดขาด
    10.ทิ้งเตาไว้ 1 คืน เตาจะเย็นลงจนสามารถเปิดเตานำถ่านออกมาได้ในเช้าของวันถัดไป
    11.ปกติการเผาถ่านด้วยเตาถังแดงนี้จะใช้เวลาประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง

    การจุดไฟหน้าเตา
    - ก่อไฟหน้าเตาเพื่อให้ไอร้อนไหลเวียนเข้าไปในเตาซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการอบไในเตาให้แห้ง
    - เพื่อให้ไม้ในเตาถูกอบให้แห้งอย่างทั่วถึง พร้อมเพรียงกันการให้ความร้อนจากหน้าเตาจึงควรค่อยเป็นค่อนไป ไม่เร่งรัดโหมไฟจนเกินไป
    - ช่วงจุดไฟหน้าเตานี้ควรจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง สังเกตควันที่ปากปล่องจะมีสีขาว เนื่องจากเป็นการระเหยของความชื้นจากเนื้อไม้มาเป็นไอน้ำ

    การควบคุมเตา
    - เมื่อไม้ภายในเตาเริ่มลุกไหม้ เรียกได้ว่าเป็นขั้นตอนที่ไม้กลายเป็นถ่าน ควรหยุดเติมไฟจากภายนอก ลดช่องอากาศที่เข้าทางหน้าเตาให้เล็กลง ปล่อยให้เตาเผาไหม้ต่อไปด้วยความร้อนจากภายในเตาเท่านั้น
    - ช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 3 – 4 วัน สังเกตดูจะเห็นว่าควันที่ปากปล่องเป็นสีเหลืองเป็นช่วงที่น้ำส้มควันไม้จะระเหยออกมาเหมาะสมที่จะดักเก็บน้ำส้มควันไม้ ถ้าอุณหภูมิที่ปากปล่องอยู่ราว ๆ 82 องศาเซลเซียส

    การปิดเตา
    - เมื่อถ่านเริ่มสุก ควันที่ปากปล่องจะเปลี่ยนสีอีกครั้งที่ไม้กำลังกลายเป็นถ่านอย่างสมบูรณ์ อุณหภูมิที่ปากปล่องจะสูงเกิน 120 องศาเซลเซียส
    - เมื่อควันที่ปากปล่องหมดไป เหลือแต่เพียงไอร้อน แสดงว่าถ่านสุกหมดแล้วจะต้องปิดปากเตาปล่องควันและรอยรั่วอื่น ๆ ให้แน่นหนา ไม่ให้อากาศเข้าไปในเตาได้โดยเด็ดขาด

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ Tid Sri
    วันที่สมัคร
    Jul 2007
    กระทู้
    249
    ที่เว้ามาทั้งเบิ่ดยังขาดอยู่เตาหนึ่งเด้อคับ นั้นกะคือเตาแกลบ (ตามภาษาท้องถิ่น) ลักษณะกะคือ เขาสิเอาไม้ฟืนเรียงกันไห่เป็นระเบียบเรียบร้อยแล้วกะกลบทับด้วยแกลบ ก่อนสิจุดไฟเผา

  6. #6
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวดอนโบม
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,421
    กำลังไปเลาะหาหลอยถ่ายรูปมาฝากยุครับ

    ใจเย็นๆๆถ่าจักคาวเด้ออ้าย

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •