หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 13

หัวข้อ: เหตุที่เลิกใช้ ข.ขวด กับ ค.คน

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มเมืองกาญจน์
    วันที่สมัคร
    Dec 2007
    กระทู้
    565

    เหตุที่เลิกใช้ ข.ขวด กับ ค.คน

    ไม่มีเหตุผลอื่น แต่เกิดจากเมื่อครั้ง สร้างพิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้นมาอันแรก ปรากฏว่า แป้นพิมพ์มันบ่พอ บ่สามารถบรรจุอักษรได้ครบทั้ง 44 ตัว คณะกรรมการจั่งได้ประชุม แล้วเห็นตรงกันว่า หากต้องเอา พยัญชนะ ออกไป 2 ตัว แล้วความหมาย บ่ได้แตกต่างมากนัก กะมาสรุปไดที่ ข.ขวด กับ ค.คน แล้วให้มาใช้ ข.ไข่ กับ ค.ควายแทนครับ

  2. #2
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ Sweet_M
    วันที่สมัคร
    Oct 2007
    ที่อยู่
    USA
    กระทู้
    1,097
    เป็นจั๋งซี้นี้เองเนาะจ๊ะ๊เนาะ ฮู้ไว้บ่เสียหาย
    .....โลกหมุนไป ใจอยู่กับเสียงเพลง ชีวิตฉันคืออิสระ I am what I am.....

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,212
    กะหยอน คนกับควาย มันไม่ต่างกัน


    พะนะสู อิอิอิ

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวดอนโบม
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,421
    กะหยอนนนนนนนนนนน พะนะ เนาะ

  5. #5
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ ใจปลาซิว
    วันที่สมัคร
    Nov 2007
    ที่อยู่
    Nongkhai
    กระทู้
    7
    ว่าแหม่น ย้อนหยังซั่นดอก เป็นจั่งซี่นี่เองเนาะ

  6. #6
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ มั่วหน่าฮ่าน
    วันที่สมัคร
    Jan 2007
    กระทู้
    1,781
    ฃ-ฅ-ฦ-ฦๅ
    "ตัวอักษรไทยที่ไม่ใช้แล้ว"


    มีคำถามว่า ฦ ฦๅ เดี๋ยวนี้ไม่มีใช้แล้วหรือ มีใช้ในคำอะไรบ้าง เพราะเห็นแต่ ฤ ฤๅ กับอีกคำถามว่า ฃ ฅ เมื่อไม่ใช้แล้วทำไมต้องให้นักเรียนท่องจำอยู่ หรือคิดจะนำกลับมาใช้อีก

    ข้อแรก ฦ ฦๅ นั้น ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว คนสมัยก่อนท่านใช้เขียนบางคำเช่น ที่รฦก (=ที่ระลึก) น้ำฦก (=น้ำลึก) ฦๅชา (=ลือชา) ฦๅสาย (ลือสาย = ผู้เป็นใหญ่)


    ข้อสอง ส่วน ฃ-ฅ นั้น มีผู้เข้าใจผิดและอยากนำมาใช้ อย่างรายการโทรทัศน์ที่ใช้ว่า "ฃอคิดด้วยฅน" ซึ่งดูเก๋ ทำให้เป็นที่น่าสังเกตของคนทั่วไปพยัญชนะทั้ง 2 ตัวนั้น คนสมัยก่อนท่านใช้อย่างมีหลักเกณฑ์ มิใช่ใช้ส่งเดชอย่างที่เราบางคนเข้าใจ

    ฃ ใช้สำหรับคำที่ออกเสียง ขอ แต่หมายถึง ขอที่เป็นเหล็กหรือไม้โค้งๆ สำหรับเกี่ยวของ เช่น ฃอ สำหรับบังคับช้าง (ที่เรียกว่าที่สำหรับสมเด็จพระนเรศวรชนช้างกับพระมหาอุปราชา ก็ใช้ พระแสงฃอง้าว คือ ง้าวที่เป็นอาวุธเหมือนมีด ด้ามยาวๆ แต่มี ฃอ อยู่ตรงกลาง เพื่อใช้เกี่ยวหูช้าง เวลาจะบังคับให้ช้างเดินตามคำสั่ง) คำที่ใช้ ฃ นั้น เข้าใจว่าคงมี ฃอง้าว ขอฉาย (ไม้สำหรับสงฟางในเวลานวดข้าว บางทีก็เรียก ต้นฉาย) ขอช้าง (ขอเหล็กมีด้ามสำหรับสับช้างที่มีปลายโค้งเรียกว่า ขอเกราะ ที่มีปลายยอดเป็นปิ่น เรียกว่า ขอปิ่น) ขอสับ (โลหะที่ปลายงอเป็นตาขอสำหรับเกี่ยวขอสับ)

    ทั้ง 5 - 6 คำนี้ คือความรู้ที่ได้จากพจนานุกรม ซึ่งเข้าใจว่า คนโบราณใช้คอว่า ฃอ ในความหมายเช่นนี้ส่วน ขอ ที่เป็นคำกิริยาที่หมายความว่า "พูดให้เขาให้สิ่งที่ต้องการ" นั้น คงจะใช้ "ข" กันโดยทั่วไป รวมถึงคำอื่นๆ ที่มีเสียง ขอ ด้วย แต่ปัจจุบันใช้ ข-ไข่ทั้งหมด ก็ดี ไม่มีการสับสน แต่เราจำเป็นจะต้องรู้ว่า ในอดีต คนโบราณของเราท่านเคยมี "มรดก" ทางวัฒนธรรมคือตัวอักษรนี้อย่างไรบ้าง เพียงแค่ไม่กี่ตัวคงไม่ทำความสับสนให้เท่าไรนัก

    ส่วน ฅ (คอ-คน) นั้น ผู้รู้ท่านบอกว่าคนโบราณท่านใช้ในความหมายถึง คอ (ของคน) คือ เมื่อเขียนคำว่า คอ ที่หมายถึงอวัยวะเป็นส่วนต่อของศีรษะกับตัวของคนและสัตว์ ท่านจะเขียนว่า ฅอ ดังนั้น ที่ว่า ฅ ไม่มีความหมาย (เหมือน ฃ) นั้นไม่ใช่ คนโบราณท่านทำอะไรมักมีเหตุมีผล (แม้ว่าบางครั้งอาจใช้วิธีอ้อมๆ เช่น "อย่าขี่หมาฟ้าจะผ่าเอา" ความจริงถ้าบอกตรงๆ ว่า หมาจะกัด ก็อาจไม่เชื่อ เพราะจะเถียงว่าหมานั้นเชื่อง ตนรู้จักดี อะไรทำนองนี้)แต่คนยุคใหม่เรามักง่าย อะไรที่ซับซ้อนอาจทำให้สับสนก็เลยเลิกใช้ ก็ไม่วุ่นวาย สบายดี เราจึงพลอยได้รับผลพวงของความมักง่ายนั้น คือคำไหนที่ออกเสียง ขอ เราก็ใช้ ข-ไข่ เขียนเสียทั้งหมดคำไหนที่ออกเสียง ค-ฅ เราก็ใช้ ค-ควาย เสียทั้งหมด เราจึงใช้ ข-ค จน ฃ-ฅ คลายความสำคัญจนไม่มีใครใช้

    แต่ก็ยังมี เสียง ฆ-ระฆัง อีก เสียงหนึ่งซึ่งในภาษาบาลี-สันสกฤตนั้น ความจริงเขาออกเสียงเป็นพยัญชนะไทยโฆษะหรือพยัญชนะเสียงก้อง เหมือนพยัญชนะลำดับที่ 4 ในวรรคอื่นๆ คือ ฌ-ในวรรคจะ ฒ-ในวรรคฎะ ธ-ในวรรคตะ และ ภ-ในวรรคปะ ถ้าภาษาอังกฤษจะเห็นว่ามีเสียง h เข้ามาช่วยอย่างเช่น ท ภาษาอังกฤษใช้ d (ซึ่งบาลีสันสกฤตจะออกเสียง ด๊ะ) ถ้าเป็น ธ ภาษาอังกฤษก็จะ dh อย่างคำว่า พุทธ ก็จะเขียน Buddha ดังนี้เป็นต้น


    คำไทยที่ใช้ ฆ เป็นพยัญชนะต้นก็มีอยู่ประมาณ 10 กว่าคำ เช่น ฆน (อ่าน คะ นะ=แท่งก้อน) ฆราวาส (=ผู้ครองเรือน คนทั่วไปที่ไม่ใช่นักบวช) ฆ้อง (=เครื่องโลหะที่ตีให้เกิดเสียงดัง และลูกคำย่อยออกไปอีก เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องปากแตก)


    ที่มา : สกุลไทยรายสัปดาห์. ประจำวันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2542. ฉบับที่ 2354
    www.sakulthai.com
    ไม่เข้าถ้ำมอง เหตุไฉนจะได้มอง...http://img198.google.co.th/img198/6016/iinjiisjiisj.gif

  7. #7
    บ่าวไทยบ้าน
    Guest

    เรื่องฮิตน่าอ่าน

    แหล่มเลยอ้ายมั่วมาชี้ชัดๆๆแล้วกะแหล่มก่าเก่าอีกเนาะ8)

  8. #8
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ kamatep
    วันที่สมัคร
    May 2009
    กระทู้
    116
    ครับผม ผบ.หมู่

  9. #9
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ wundee2513
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    ตามภารกิจ
    กระทู้
    1,108
    บล็อก
    11
    ...เพราะคน... กลัวหัวจะแตกหรือเปล่า...ก็เลยเลิกใช้...
    ทั้งนี้เพราะชอบดื่มทีละหลายๆขวด...
    เสรีภาพ เสมอภาค ยุติธรรม

  10. #10
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ เสือ
    วันที่สมัคร
    Oct 2009
    ที่อยู่
    จีน เชี้ยงไฮ้
    กระทู้
    110
    แล้วตัวไหนนะ ที่ใช้บ่อยสุด
    แป้นคีบอร์ดผม ย. น. หายไปก่อนใคร 555+

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •