สื่อสารด้วยสติ

เวลาพูดคุย สร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ หลายคนยิ่งพูดคุย
ก็ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์งอกเงยเติบโต แต่อีกหลายคนยิ่งพูดคุย
ก็ยิ่งทำให้แตกร้าว

“ยิ่งคุยยิ่งเข้าใจผิด เพราะมีบางอย่างขาดหายไป” ไดอาน่า ลารา เทเลอร์ เจ้าของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ที่ทำงานเผยแพร่แนวคิด ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการสื่อสาร
ชี้ประเด็นปัญหาก่อนหน้านี้

ไดอาน่าเป็นเทรนเนอร์ให้กับนักธุรกิจที่อเมริกา
ฝึกอบรมพนักงานด้วยหลักสูตรการสื่อสารเพื่อสร้างความ เข้าใจที่จากการค้นคว้าวิจัยของมิสเตอร์ แอลรอน ฮับบาร์ด
นักมนุษยวิทยา และช่วงหลังเธอย้ายมาอยู่ที่เมืองไทย
หลังจากทำการฝึกอบรมให้กับพนักงานในบริษัทของสามีเมื ่อสิบปีก่อน จนธุรกิจลงตัว
จึงหันมาเผยแพร่หลักสูตรการสื่อสารผ่านการทำงานในรูป แบบองค์กรไม่หวังผลกำไรมานานกว่า 7 ปี

ไดอาน่าชวน วินิตา อัศวเมธี อดีตผู้เข้าร่วมอบรมเมื่อสิบปีก่อน
มาร่วมงานด้วย ปัจจุบันเป็นวิทยากรหลักในการอบรม เธอมาช่วยเล่าให้ฟังถึงการค้นหาบางอย่างที่ขาดหายไป
จากการสื่อสาร แทนที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกลับเข้าใจผิด

บทบาทสมมติ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรม
พบสิ่งที่หายไปจากการสื่อสารเพราะเท่าที่ผ่านมา
เราเคยชินกับวิธีการสื่อสารที่ไม่สมประกอบทั้งกับคนแ ปลกหน้า
เพื่อนร่วมงาน และคนในครอบครัว

วินิตาทดลองให้เราพูดคุยเรื่องอากาศ ในวันนี้กับเธอ 3 ครั้งด้วยกัน
ครั้งแรกก่อนที่เราจะพูดจบประโยค เธอชิงพูดเรื่องอื่นขึ้นมาแทน ครั้งที่สองเธอไม่ได้พูดอะไร แค่มองมาที่เรานิ่งๆ สายตาไม่มีปฏิกิริยา
ว่าได้ยินเรื่องที่เราพูดออกไป และครั้งที่สามเธอฟังเราพูดจนจบว่า
“วันนี้อากาศดีนะคะ” และชวนเราออกไปเดินเล่นทันทีที่พูดจบ

การทดลองพูด 2 ครั้งแรกทำให้เรารู้สึกแย่ๆได้จริงๆ “ขนาดเป็นเรื่องสมมติ เรายังรู้สึกแย่เลย
ถ้ามันเป็นสถานการณ์จริงๆมันแย่มากกว่านี้” วินิตา ว่า

วิทยากรทั้งสองคนช่วยกันอธิบายว่า การพูดคุยกันไม่ได้มีแต่แค่คำพูด
ยังมีองค์ประกอบอีกหลายอย่าง ทั้งหมดเรียกว่าการ “ตอบรับ” ไม่ว่าจะเป็นการตอบรับด้วยสีหน้าและแววตา
หรือคำพูด และต้องเป็นการตอบรับที่เหมาะสมด้วย
วินิตาขยายความเข้าใจด้วยการทดลองให้เราบอกข่าวดีว่า
เราถูกลอตเตอรี่ครั้งแรกๆเธอพูดเสียงเรียบๆ ว่า “เหรอ”
เมื่อทดลองพูดอีกครั้ง เธอตอบว่า “เหรอ” ด้วยเสียงสูง แล้วตามด้วย
“ดีใจด้วยนะ”

การตอบรับอย่างเหมาะสม ก็สร้างความรู้สึกที่ดี
แต่ต้องมีพื้นฐานในการเรียนรู้ การตอบรับเป็นขั้นบันไดหนึ่ง
ถ้าจะทำได้ก็ต้องผ่านบันไดพื้นฐานก่อน แม้เรื่องนี้จะเป็นเพียงสามัญสำนึก
แต่เรามักจะลืมและไม่ได้ทำ คนส่วนมากจะไม่รู้ว่าการตอบรับสำคัญ
“เวลาเราตอบรับได้อย่างเหมาะสมคนก็อยากจะคุยกับ เรา ดีกับเรา
ถ้าเราไม่ได้ทำมัน คนที่คุยกับเราก็รู้สึกไม่ดี”
สถานการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาสั้นๆบางครั้ งแค่เสี้ยววินาที
แต่ก็สามารถส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดีได้ บางครั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื้อรัง
เมื่อลองนึกเชื่อมโยงถึงปัญหาในครอบครัวที่ไม่อาจสื่ อสารกันได้
เด็กๆมักรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจ ฝ่ายพ่อแม่ก็รู้สึกว่าลูกดื้อไม่ยอมเชื่อฟัง
หรือความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาที่สื่อสารกันแบบแห ว่งวิ่นหรือเพื่อนร่วมงานที่ไม่สามารถประสานงานกันได ้
ถ้าทำให้การสื่อสารระหว่างกันพังลงบ่อยๆก็ไม่ต้องแปล กใจที่ลูกจะเก็บตัวเงียบไม่คุยกับพ่อแม่
หรือความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาหรือคนรักก็เช่นเดี ยวกัน

ไดอานาบอกว่า ที่ผ่านมาผู้เข้าอบรม มีทั้งเป็นพ่อแม่ เป็นลูก
นักธุรกิจ พระสงฆ์ ผู้ต้องขัง และเด็กๆในความดูแลของสถานพินิจต่างๆ
ที่ได้เข้ามาเรียนรู้เรื่องการสื่อสารผ่านการฟังในแง ่ของทฤษฎีราวๆ20% ส่วน 80% เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ

ในเวิร์คชอปจึงมีส่วนที่ต้องที่อธิบายถึงความสำคัญใน การสื่อสารเพื่อให้รู้จักรูปแบบการสื่อสารและทดลอง
ให้ทำแบบฝึกหัดอย่างที่เราได้ทำไปแล้วส่วนหน ึ่งผู้เข้าอบรมต้องพบส่วนที่หายไปของการสื่อสารด้วยตัวเอง
ก่อนที่เรียนรู้ฝึกหัดเพื่อที่จะแก้ไข

“จะสอนบางอย่างที่จะเป็นการป้องกันการสื่อสารที่ไม่เ ข้าใจกัน
ซึ่งเป็นพื้นฐาน แต่ถ้าจะให้สมบูรณ์แบบจะมีอีกเวิร์คชอปหนึ่ง
แต่อันนี้จะแนะนำว่าเวลาที่เราสื่อสารอะไรกับใคร มันจะมีบางสิ่งบางอย่างที่เราควรจะรู้
ในฐานะที่เป็นผู้สื่อสารจะทำอย่างไรให้คนเข้าใจ คอยดูตัวเองในฐานะผู้สื่อสาร
ทำสีหน้าหรืออะไรที่สามารถสร้างความเข้าใจผิดให้กับค นตรงหน้าได้ด้วย”
ไดอานาบอกอย่างนั้นเธอยืนยันว่าเมื่อผู้เข้าอบรมเห็นข้อบกพร่องของตัวเอ งแล้ว
ทุกคนก็จะแก้ไขเพราะอยากพัฒนาการสื่อสารของตัวเอง ต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น

เมื่อขอให้ไดอานายกตัวอย่าง การเผชิญหน้ากับคนที่มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร
บางคนมีท่าทีไม่ตอบรับหรือแย่งพูด เธอตอบว่า “คนที่มีความบกพร่องอยากแก้ไขตัวเอง
ต้องรู้ได้ด้วยตัวเองก่อน จึงต้องมีบทบาทสมมติสะท้อนให้ผู้เข้าอบรมเห็นว่าตัวเ องเป็นอย่างไร

ฟังแล้วจะรู้ว่าเราลืมทำ ก็จะอยากแก้ไข ไม่ได้ชี้ว่าใครผิดตรงไหนต้องแก้ตรงไหน
แต่ส่งให้เต็มๆเขาจะเริ่มมองเห็นว่าอันนี้ทำบ่อยๆเขา จะเริ่มฝึกและแก้ไข” แต่อย่างไรก็ตามแม้จะรู้ว่าตัวเองสื่อสารบกพร่อง
ก็ไม่ได้ทำให้กลายเป็นคนสมบูรณ์แบบได้ทันที

“ไม่ได้หมายความว่าคุณจะสมบูรณ์แบบ ถ้ารู้แล้วว่าการสื่อสารแต่ละส่วนคืออะไร
ลืมทำอะไรไป ต่อให้รู้แล้ว บางครั้งก็สร้างความรู้สึกที่ไม่ดีให้แก่คนอื่นโดยไม ่ได้ตั้งใจก็ได้แต่ถ้าเราเรียนรู้ไปแล้ว
เราจะรู้แล้วว่ามันเกิดขึ้นแล้วนะ แล้วจะแก้ไขอย่างไร เราจะฝึกทำ”เวลาเราจะสื่อสารกับใคร
คุณจะต้องรู้สึกว่ากายและใจอยู่ตรงนั้นกับคู่สนทนา อย่างที่ผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรนี้คนหนึ่งสะท้อนไว้ ว่า

“หลักสูตรการสื่อสารทำให้เรารู้จักการ “อยู่ตรงนั้น” เป็นสิ่งที่สำคัญ
เพราะถ้าเราไม่ทราบว่าเราอยู่ตรงนั้น จะทำให้เราไม่มีสติสื่อสารไม่เข้าใจกับบุคคลอื่น
ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อเรา เพื่อจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเผชิญหน้า
ทำให้เรามีความกล้า เข้าใจในการสื่อสารที่ดี สามารถเผชิญหน้ากับบุคคลอื่นได้ดี
และทำให้เราสนใจคู่สนทนาด้วยว่าเขาเป็นอย่างไรโดยไม่ มองข้าม
จะทำให้เกิดสิ่งดีๆกับเรา ทำให้การสื่อสารต่อกันดีขึ้น” อานนท์ มาลี ผู้เข้าร่วมอบรมกล่าว

แม้แต่วิทยากรหลักอย่างวินิตาที่เล่าถึงตัวเองก่อนหน ้านี้ว่า
แม้จะเป็นคนช่างคุยในหมู่เพื่อนฝูง แต่ก็ขี้อายมากในหมู่คนแปลกหน้า
ในห้องเรียน หรือแปลกที่ เธอจะนั่งเงียบๆถ้ามีคนถามก็จะตอบคำหนึ่ง
หลังจากที่เข้าเรียนหลักสูตรนี้ และได้ทดลองนำแบบฝึกหัดนั้นไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆและ สังเกตผล

“อย่างเวลาคุยกัน แล้วไม่มีคนตอบรับก็จะสังเกตว่ามันเกิดอะไรขึ้นในวงส นทนา
ถ้าเราตอบรับเขาเร็วจะเป็นอย่างไร ช้าเป็นอย่างไร ไม่ตอบเป็นอย่างไร
แล้วเริ่มเอาไปใช้ได้ เห็นว่าเราสามารถสร้างบรรยากาศดีๆได้ด้วยการสนทนา
ใช้ไปเรื่อยๆจนวันหนึ่ง มันกลายเป็นตัวเอง”

การสื่อสารด้วยสติ นอกจากจะทำให้ส่งสารได้ครบถ้วน
ไม่เข้าใจผิด ยังทำให้เกิดสิ่งดีๆงอกงามอีกด้วย

“อย่างในครอบครัว สมาชิกสนิทกัน ก็จะทำให้ไม่เกรงใจกัน
ก็เผลอทำให้เขาเสียน้ำใจ ทำลายน้ำใจเขา ถ้ามีสติในการสื่อสาร
มันก็ง่ายขึ้น เราคุยกับใครก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม อย่างซื้อขนมแม่ค้า
เห็นหน้าตาเขาเหนื่อยๆก็บอกว่าขนมน่ากินจัง ช่วยซื้ออันหนึ่งจะได้หายเหนื่อย
ทำให้แม่ค้าอารมณ์ดีขึ้น เราก็แฮปปี้ ได้เพื่อนเพิ่มขึ้นอีกคน” วินิตาทิ้งท้าย

หมายเหตุ : ผู้สนใจสามารถสอบถามหลักสูตรการสื่อสร้างความเข้าใจท ี่ดีด้วยการสื่อสารได้ที่
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เบอร์โทรศัพท์ 02-751-4260-1

จากหน้า เรียนไม่รู้จบ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 มกราคม 2551
เรื่องโดย รมณ รวยแสน