กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: ขันหมากเบ็ง

  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1

    ความเยือกเย็น ขันหมากเบ็ง

    ขันหมากเบ็ง

    ขันหมากเบ็ง

    ขันหมากเบ็ง หรือ ขันหมากเบญจ์ คือพานพุ่มดอกไม้ที่ใช้เป็นพานพุ่มบูชาในพิธีกรรม และบูชาพระรัตนตรัยในวันอุโบสถ หรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการนำไปบูชาวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยนำไปวางไว้ตามเสารั้ววัด หรือหลักเส (ธาตุ ทำด้วยไม้แก่น แกะสลักสวยงามเจาะให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมขนาดสี่นิ้วฟุต สำหรับบรรจุอัฐิ) ซึ่งนิยมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และวันสงกรานต์

    ขันหมากเบ็ง คือพานพุ่มใส่ดอกไม้ หรือเครื่องบูชา 5 อย่าง ได้แก่ หมาก พลู ธูป เทียน ข้าวตอก ดอกไม้ อย่างละ 5 คู่ ใช้ใบตองทำเป็นซวย (กรวย) – บายศรี ใช้ใบตองรีดซ้อนกันให้เป็นรูปคล้ายเจดีย์ ทำเป็นสี่มุมรวมทั้งตรงกลางเป็น 5 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว สูง 6- 8 นิ้ว ประดับประตูด้วยเครื่อง 5 อย่าง ดังได้กล่าวแล้ว ไว้บนยอดแหลมของบายศรี-กรวย-ซวย เรียงลดหลั่นลงมาตามลำดับเพื่อความสวยงาม

    ดอกไม้ซึ่งเป็นที่นิยม เช่น ดอกดาวเรือง (จะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง) ดอกสามปีบ่อเหนี่ยว(ดอกบายไม่รู้โรย) เชื่อว่าจะทำให้อายุมั่น ขวัญยืน แต่ปัจจุบันเห็นนิยมใช้ดอกรัก (ทำให้เกิดความรัก)

    วิธีการใช้ขันหมากเบ็ง-เบญจ์

    -ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย

    -ใช้เป็นเครื่องสักการะอยู่ในเครื่องพลีกรรม ไหว้ครู บอกผี (เซ่นสรวงดวงวิญญาณ)

    -บูชาวิญญาณบรรพบุรุษ โดยนำไปบูชาตามหลักเส (ธาตุ) ที่บรรจุอัฐิ (กระดูก)

    -เป็นเครื่องให้พิจารณาเตือนคนได้ พิจารณาเบญจขันธ์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    รูป คือ ร่างที่คลุมรวมกันไว้ด้วยธาตุ 4 อันเป็นส่วนที่ปรากฏด้วยตา

    เวทนา การเสวยอารมณ์ รู้สึกสุข เดือดร้อน เจ็บ แค้นใจ เบิกบาน เฉยๆ

    สัญญา รู้และจำอารมณ์ที่ผ่านอวัยวะทั้ง 6 เข้ามาแล้วบันทึกไว้ในใจ

    สังขาร สภาวะปรุงแต่งวิญญาณ ผู้ก่อกรรมเกิดรูปนามติดต่อไป

    วิญญาณ รู้แจ้งอารมณ์ภายในที่สัมผัสปัจจัยภายนอก

    พ่อบำเพ็ญ ณ อุบล ได้อรรถาธิบายเพิ่มเติมว่า นอกจากใช้ขันหมากเบ็ง เป็นเครื่องสักการระบูชาพระรัตนตรัยแล้ว ยังใช้ในการกราบไหว้ผู้ที่เคารพอย่างสูงอีกด้วย โดยมีเหตุผลว่า

    -การกราบโดยทั่วไป เป็น “ นามธรรม ” (เพราะเมื่อกราบเสร็จเหตุการณ์ก็ผ่านไป)

    - การกราบบูชาด้วยขันหมากเบ็ง เป็น “ รูปธรรม ” เพื่อให้การกราบคงอยู่ในรูปขันหมากเบ็ง

    ดังนั้น การกราบบูชาด้วยขันหมากเบ็ง จึงเสมือนการกราบด้วยเบ็ญจางคประดิษฐ์ เป็นเครื่องเบ็ญจขันธ์

    เวลาหลายปีที่ผ่านมา ชาวอุบลฯ ได้ใช้ขันธ์หมากเบ็งเพื่อสักการบูชา ตามความหมายดังกล่าวข้างต้น ในงานต่างๆ เช่น

    -สักการะเทียนหลวงพระราชทาน งานประเพณีแห่เทียนพรรษา

    -การบวงสรวงสักการะพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ผู้สร้างเมืองอุบล/เจ้าเมืองคนแรก

    -ถวายสักการะ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ งานพิธีบายศรีเฉลิมพระขวัญฯ ภาพจำลองเคลื่อนที่ งานแห่เทียนพรรษาฯ

    -ถวายสักการะ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ “ งานราชภัฎมหกรรมวิชาการ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชินี ด้านวัฒนธรรม ” 13 สิงหาคม 2547

    นอกจากนี้ยังใช้ขันหมากเบ็ง เป็นเครื่องสักการบูชาในวาระสำคัญต่างๆ อีกด้วย

    อาจจะกล่าวโดยสรุปด้วยได้ว่า “ การบายศรีสู่ขวัญ ” และการสักการบูชาด้วย “ ขันหมากเบ็ง ” ชาวอีสานได้ยึดถือเป็นประเพณี และปฏิบัติสืบเนื่องมาตลอดถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ทรงคุณค่ายิ่งของชาวอีสาน แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ชำนาญการในการจัดทำ “ พานบายศรี ” หรือ “ พาขวัญ ” และ “ ขันหมากเบ็ง ” มีจำนวนน้อย และอายุมากแล้ว ควรที่จะมีการสืบทอดจัดกิจกรรม “ การพัฒนาอาชีพบายศรีอีสานแบบบูรณาการสู่ชุมชน ” เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานโดยนำมาประยุกต์กับศิลปะยุคใหม่ให้เกิดความประณีตสวยงาม อ่อนช้อย สร้างอาชีพ ให้เกิดรายได้แบบยั่งยืน เป็นการส่งเสริม “ วัฒนธรรมาชีพ ” ก่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ตลอดไป

    ความสำคัญในการ “ บายศรี ” หรือ “ พาขวัญ ” และ “ ขันหมากเบ็ง ” สิ่งที่ต้องใช้มากที่สุดคือ “ ใบตอง ” ซึ่งต้องใช้ฝีมือ ความชำนาญ ความประณีตเป็นพิเศษ การเลือกใบตองจะต้องอ่อน แก่ พอๆ กัน สีจะได้เสมอกัน ต่อด้วยการพับ การรีดตองให้เป็นรูปที่ต้องการ พับตองสวยงามแล้วเอาแช่น้ำสารส้มไม่ให้ใบตองเปลี่ยนสี ถึงเวลาเอามาผึ่ง แล้วทาน้ำมันมะกอกให้ใบตองขึ้นเงา

    สภาวะของ “ ใบตอง ” ในพานบายศรีกับเมื่อเสร็จงานแล้ว แตกต่างกันอย่างไร เห็นได้ดังนี้

    “ พานบายศรี ” เป็นสิ่งที่บ่งบอกคติธรรมทางพุทธสาสนา 2 ประการ คือ “ สัจธรรม ” ความจริงแท้แน่นอน กับ “ อนิจจัง ” ความไม่เที่ยงแท้ ไม่แน่นอน ไม่ถาวรมั่นคง ไม่จีรังยั่งยืน ดังคำกลอน “ สุนทรภู่ ” ที่ร้อยกรองไว้ว่า

    “ เหมือนบายศรี มีงาน ท่านถนอม เจิมแป้งหอมกระแจะจันทร์ เครื่องหรรษา

    พอเสร็จงาน ท่านทิ้ง ลงคงคา ต้องลอยมา ลอยไป เป็นใบตอง ”

    ช่วงเป็นใบตอง ระยะเวลา ยาวนาน ช่วงเป็นบายศรีระยะเวลาสั้น เพราะฉะนั้น อย่าทะนงตัวหรือทะนงศักดิ์ในช่วงที่เ



  2. #2
    นักปราชญ์เมืองอีสาน
    ศิลปินนักแต่ง ผญา
    สัญลักษณ์ของ ศรีสะท้าน
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    กระทู้
    4,179
    ดีครับดี สำหรับการนำเสนอเรื่องขันหมากเบ็ง แต่ก่อนผมกะเคยเฮ็ดอยู่ แต่บ่องามท่อพ่อแม่ ผู้เถ่าเพิ่นเฮ็ดดอก เฮ็ดเพราะอยากเฮียน เฮ๊ยนเพราะอยากฮู้ ซื่อๆ คันมีเวลาหาข้อมูล กะเอามาลงแหน่เด้อ เกี่ยวกับหมากเบ็ง(อีสาน/ลาว)ประเภทต่างๆ หมากเบ็งแบบโบราณ และปัจจุบันจั่งซี้แมะ ผมบ่อค่อยได้เมือบ้าน เลยหาข้อมูลยาก
    วรรณคดีล้ำลำนำเอื้อนเอ่ย เขยภาษาพากษ์เว้าลาวพื้นกล่าวไกล

  3. #3
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8
    พอดีมีข่าวดีจากสมาชิกบ้านมหาเฮาผุ้พิ่นพึ่งได้ใช้ ขันหมากเบ็งในงานอันเป็นมงคล สะออนฝีมือผุเฒ่าผุเเก่เพิ่นเอามาสุกันเบิ่งนำค่ะ ...

    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  4. #4
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1
    สาวไก่น้อยอันนั้นเขาเอิ้น พานบายศรี หรือ พาขวัญ เด้อครับ ถ้ามีขนาดเล็กเขาจั่งเอิ้นขันหมากเบ็ง



    อันนี้เขาเอิ้น พาขวัญ หรือ พานบายศรี



    ถ้าน้อยๆแบบนี้เขาเอิ้นขันหมากเบ็งครับ

  5. #5
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8
    เอ่า..ติ ฮ่าๆๆ ทางกาสินเพิ่นคือเอิ่น ไปเย็บขันหมากเบ็งยาม เข้าพาขวัญ สั่นหนะ อิ อิ

    ปล.. บ่เเม่นนางรำผิดละติ บาดนิ .. ::)
    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •