หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า 123 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 21

หัวข้อ: ขอเชิญสมาชิกทุกท่านร่วมส่งคำขวัญ และ ประวัติของจังหวัดท่านไว้ที่ตรงนี้เพื่อเป็นวิทยาทาน ด้วยครับ

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวดอนโบม
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,421

    สว่างใจ ขอเชิญสมาชิกทุกท่านร่วมส่งคำขวัญ และ ประวัติของจังหวัดท่านไว้ที่ตรงนี้เพื่อเป็นวิทยาทาน ด้วยครับ

    จังหวัดยโสธร

    คำขวัญ
    "ยโสธรเมืองประชาธิปไตย บั้งไฟโก้แตงโมหวาน
    หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ"

    ประวัติและความเป็นมา
    ยโสธร ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำชี ซึ่งได้ชื่อว่า เมืองบั้งไฟ เป็นดินแดนที่มีอดีตอันล้ำค่าและยาวนานกว่า ๒๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว
    ยโสธร มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานเกี่ยวพันกับเมืองหนองบัวลุมภู "นครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้วบัวบาน" (อดีตอำเภอหนองบัวลำภูในจังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) และเกี่ยวพันกับเมืองอุบล กล่าวคือ ประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ พระเจ้าตา เจ้าพระวอ เสนาบดีเก่านครเวียงจันทน์ อพยพครอบครัวและบริวารหนีมาเพื่อตั้งรกรากใหม่ เนื่องจากไม่พอใจเจ้านครคนใหม่ โดยใช้ชื่อเมืองใหม่ว่าเมืองหนองบัวลุมภู ขณะเดียวกัน พระเจ้าศิริบุญสาร ซึ่งเป็นเจ้านครเวียงจันทน์อยู่เกิดหวาดระแวงจึงยกกองทัพจากนครเวียงจันทน์มาปราบปราม พระเจ้าตาถูกข้าศึกยิงด้วยอาวุธปืน และฟันด้วยดาบจนถึงแก่พิราลัยในที่รบ เจ้าพระวอ เจ้าคำผง และเจ้าฝ่ายหน้าผู้เป็นน้องทั้ง ๒ ของเจ้าพระวอ อีกทั้งเจ้าก่ำ เจ้าทิดพรมได้ยกทัพฝ่าหนีออกจากเมืองหนองบัวลุมภูไปพึ่งพาเจ้านครจำปาศักดิ์ ขบวนทัพของเจ้าพระวอได้เดินทางตามลุ่มน้ำชีมาพักกับเจ้าคำสูผู้ปกครองบ้านสิงห์ท่า (ปัจจุบัน คือ จังหวัดยโสธร ) ภายหลังต่อมาเจ้าพระวอดำริว่าหากอยู่กับเจ้าคำสูแล้ว ถ้าเวียงจันทน์ยกทัพมาก็จะเป็นการลำบาก และจะเกิดศึกสงครามกันต่อไป เมื่อประชุมตกลงกันแล้วจึงได้พาไพร่พลอพยพลงไปตามลำน้ำมูล และสร้างเมืองใหม่ที่ดอนวังกองเขตนครจำปาศักดิ์ ตามรับสั่งของพระเจ้าองค์หลวงเจ้านครจำแาศักดิ์ โดยเจ้าพระวอให้ขุดคูสร้างค่ายขึ้นเรียกว่า "ค่ายบ้านดู่บ้านแก" ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๒๑ เมื่อพระเจ้าศิริบุญสารทราบเรื่อง จึงได้ยกทัพมาปราบอีกจนเจ้าพระวอถึงแก่ความตาย เจ้าคำผงน้องเจ้าพระวอและบริวารจึงได้อพยพต่อไปยังเกาะกลางลำน้ำมูลเรียกว่า "ดอนมดแดง" แต่เนื่องจากเป็นที่ต่ำไม่เหมาะสมที่จะสร้างเมืองจึงอพยพขึ้นมาตามลำน้ำมูลถึงห้วยแจระแมแล้วมาสร้างเมืองใหม่ที่ดงอู่ผึ้งเมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๓๒๒ แล้วมีหนังสือกราบบังคมทูลขอขึ้นอยู่ในขอบขัณฑสีมาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองที่ตั้งว่า "เมืองอุบล" เพื่อเป็นการรำลึกถึงเมืองเดิมของตน(เจ้าคำผง) คือเมืองหนองบัวลุมภู จากนั้นเจ้าคำผงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองอุบล และได้รับพระราชทินนามว่า "พระปทุมสุรราช"
    หลังจากนั้นต่อมา เจ้าฝ่ายหน้าน้องพระปทุมสุรราชเจ้าเมืองอุบล พร้อมกับนางอูสา ไพร่พลญาติวงศาอีกส่วนหนึ่งได้ขอแยกตัวไปอยู่ บ้านสิงห์ท่าซึ่งเจ้าคำสูปกครองอยู่ พระปทุมสุรราชไม่ขัดข้องจึงได้แยกย้ายกันไปทำมาหากินที่บ้านสิงห์ท่า ได้ปรับปรุงและสร้างบ้านสิงห์ท่าจนเจริญรุ่งเรือง
    จากเรื่องราวดังกล่าว จังหวัดยโสธรจึงมีความเกี่ยวพันกับจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอุบลราชธานี
    พ.ศ. ๒๓๒๕ หลังจากที่เจ้าฝ่ายหน้าได้ไปช่วยปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วเขาโองที่นครจำปาศักดิ์ ตามใบบอกของพระปทุมสุรราช เจ้าฝ่ายหน้าก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "เจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศา" ครองนครจำปาศักดิ์ตามบัญชาของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    พ.ศ. ๒๓๕๔ เจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศาถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้เจ้าหนู หลานเจ้านครจำปาศักดิ์ ครองนครจำปาศักดิ์สืบไป ฝ่ายเจ้าราชวงศ์สิงห์ บุตรเจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศากลับมาอยู่บ้านเดิมคือบ้านสิงห์ท่า และได้นำเอาอัฐิของเจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศากลับมาด้วย แนะนำมาก่อเจดีย์บรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุ ใกล้กับพระธาตุพระอานนท์ซึ่งยังปรากฏอยู่จนปัจจุบัน
    พ.ศ. ๒๓๕๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า "เมืองยศสุนทร" (คำว่า "ยศสุนทร" ต่อมากลายเป็น "ยะโสธร" มีความหมายว่า "ทรงไว้ซึ่งยศ" แต่การเขียนหรือการเรียกสั้น ๆ ว่า "ยะโส" ไม่เป็นที่ไพเราะหูและไม่เป็นมงคลนาม ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยะโสธร (พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๑๓) ได้มีหนังสือขอให้เขียนชื่อเสียใหม่เป็น "ยโสธร" และได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของราชบัณฑิตยสถานให้เปลี่ยนได้ และใช้มาจนบัดนี้) ให้เจ้าราชวงศ์สิงห์เป็นเจ้าครองเมืองมีราชทินนามว่า "พระสุนทรราชวงศา" เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองยโสธร
    พ.ศ. ๒๔๓๓ สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการจัดรูปการปกครองใหม่ หัวเมืองอีสานชั้นเอก โท ตรีและจัตวา ถูกรวมเข้าด้วยกันเรียกว่า "กอง" สำหรับเมืองยโสธรถูกรวมเข้าอยู่ในหัวเมืองฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีข้าหลวงตั้งกองว่าราชการอยู่ที่เมืองอุบล ประกอบด้วยหัวเมือง ๑๒ หัวเมือง คือ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สุวรรณภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภูแล่นช้าง กมลาไสย เขมราฐ นองสองคอนดอนดง ยโสธร และศรีสะเกษ ซึ่งขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ
    พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้ยุบเลิกมณฑลอีสาน เมืองยโสธรได้รวมเข้ากับเมืองอุบล โดยแยกออกเป็น ๒ อำเภอ คือ อำเภออุทัยยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอ คำเขื่อนแก้ว และอำเภอประจิมยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอยโสธร
    พ.ศ. ๒๔๙๔ กระทรวงมหาดไทยได้ริเริ่มขอตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัด จนกระทั่งถึงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕ จึงได้มีประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๗๐ ตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๑๕ โดยแยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ของจังหวัดอุบลราชธานี รวมกันเป็นจังหวัดยโสธร เป็นจังหวัดที่ ๗๑ ของประเทศไทย


    ข้อความใดที่ไม่ถูกต้องกระผมต้องขอกราบขออภัยมา
    ณ ที่นี้ด้วย

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    ดูวีดีโอ YouTube ออนไลน์ ดอกไม้ประจำจังหวัดยโสธร

    ของแถม

    ดอกบัวแดง

    เป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ยโสธร
    ชื่อสามัญ Water Lily
    ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea lotus Linn.
    วงศ์ NYMPHACACEAE
    ชื่ออื่น
    ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
    การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
    สภาพที่เหมาะสม ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นวรัตน์
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    687

    ความเยือกเย็น

    :) คำขวัญและประวัติจังหวัดศรีสะเกษ :)



    ดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกลำดวน

    คำขวัญ

    ศรีสะเกษ แดนปราสาทขอม หอมกระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี


    ประวัติเมืองศรีสะเกษ
    ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา

    ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดศรีสะเกษ
    ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฎหลักฐานแน่นอน มีการจด
    บันทึกไว้พอสังเขป ส่วนมากได้จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุ
    เล่าต่อๆ กันมา เอาความแน่นอนไม่ได้นัก นักประวัติศาสตร์
    และนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า พื้นที่ภาคอีสานในปัจจุบันเคย
    เป็นที่อยู่ของพวกละว้าและลาว มีแว่นแคว้นอาณาเขตปกครอง
    เรียกว่า "อาณาจักรฟูนัน"
    ประมาณปี พ.ศ.1100 พวกละว้าที่เคยมีอำนาจปกครอง
    อาณาจักรฟูนันเสื่อมอำนาจลง ขอมเข้ามามีอำนาจแทนและตั้ง
    อาณาจักรเจนละหรืออิศานปุระขึ้น พวกละว้าถอยร่นไปทาง
    เหนือ ปล่อยให้พื้นที่ภาคอีสานรกร้างว่างเปล่าเป็นจำนวนมาก
    เขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียงจึงถูกทิ้งให้เป็น
    ที่รกร้างและเป็นป่าดง ขอมได้แบ่งการปกครองเป็น 3 ภาค
    โดยมีศูนย์การปกครองอยู่ที่ละโว้(ลพบุรี) พิมาย(นครราชสีมา)
    และสกลนคร มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นตรงต่อศูนย์
    กลางการปกครองใหญ่ที่นครวัด
    ในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ ศรีสะเกษน่าจะเป็นดินแดนแห่ง
    หนึ่งที่ขอมใช้เป็นเส้นทางไปมาระหว่างเมืองประเทศราชดัง
    กล่าวแล้ว เพราะปรากฎโบราณสถานโบราณวัตถุของขอมซึ่งกรม
    ศิลปากรสำรวจในจังหวัดศรีสะเกษเมื่อ พ.ศ.2512 จำนวน
    15 แห่ง ไม่รวมเขาพระวิหารซึ่งเป็นเทวะสถานของขอมที่ยิ่ง
    ใหญ่แห่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีปราสาทหินสระกำแพงใหญ่
    สระกำแพงน้อย ปราสาทลุมพุก ปราสาทบ้านทามจาน(บ้านสมอ)
    ปราสาทเยอ ปราสาทโดนต็วล (ช่องตาเฒ่า อ.กันทรลักษ์)
    สันนิษฐานว่าโบราณสถานเหล่านี้มีอายุประมาณ 1,000 ปีเศษ
    มีอยู่ตามท้องที่อำเภอต่างๆ ของจังหวัดศรีสะเกษ ขอมคงสร้างขึ้น
    เพื่อเป็นที่พักและประกอบพิธีทางศาสนาระหว่างเดินทางจาก
    นครวัด นครธมข้ามเทือกเขาพนมดงรักษ์มาสู่ศูนย์กลางการ
    ปกครองภาคอีสานทั้ง 3 เมืองดังกล่าวแล้ว
    เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง ไทยเริ่มมีอำนาจครอบครองดินแดน
    เหล่านี้ ขณะเดียวกันจังหวัดศรีสะเกษมีสภาพเป็นป่าดงอยู่นาน
    เพราะแม้แต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางก็มิได้บันทึกกล่าวถึง
    จังหวัดศรีสะเกษในเอกสารใด เพิ่งจะได้มีการบันทึกหลัก
    ฐานในพงศาวดารกล่าวถึงเมืองสุรินทร์ด้วย

    สมัยกรุงศรีอยุธยา
    ในสมัยกรุงศรีอยุธยาอาณาจักรไทยกว้างขวางมาก มีชาว
    บ้านป่าซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ( MINORITY TRIBE )อาศัยอยู่แถบ
    เมืองอัตปือแสนแป แคว้นจำปาสักฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ประเทศ
    สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน ชนพวกนี้เรียก
    ตัวเองว่า "ข่า" ส่วย" "กวย" หรือ "กุย" อยู่ในดินแดนของราช
    อาณาจักรไทย โดยสมบูรณ์ (เพิ่งเสียให้ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.2436
    หรือ ร.ศ.112) พากนี้มีความรู้ความสามารถในการจับช้างป่ามา
    เลี้ยงไว้ใช้งาน ชาวส่วยหรือชาวกวยได้อพยพย้ายที่ทำมาหากิน
    ข้ามมาฝั่งขวาแม่น้ำโขง เนื่องจากชาวเมืองศรีสัตนาคนหุต
    (เวียงจันทน์) ได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานแย่งที่ทำมาหากิน
    ในปี พ.ศ.2260 ชาวส่วยได้อพยพแยกออกเป็นหลายพวก
    ด้วยกัน แต่ละพวกมีหัวหน้าควบคุมมา เช่น เซียงปุม เซียงสี
    เซียงสง ตากะจะและเซียงขัน เซียงฆะ เซียงไชย หัวหน้าแต่
    ละคนก็ได้หาสมัครพรรคพวกไปตั้งรกรากในที่ต่าง ๆ กัน
    เวียงปุม อยู่ที่บ้านที เซียงสีหรือตะกะอาม อยู่ที่รัตนบุรี เซียงสง
    อยู่บ้านเมือลีง (อำเภอจอมพระ) เซียงฆะ อยู่ที่สังขะ เวียงไชย
    อยู่บ้านจารพัด (อำเภอศรีขรภูมิ) ส่วนตากะจะและเซียงขัน อยู่
    ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน(บ้านดวนใหญ่ปัจจุบัน)
    พวกส่วยเหล่านี้อยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ หาเลี้ยงชีพด้วย
    การเกษตรและหาของป่ามาบริโภคใช้สอย มีการไปมาหาสู่ติด
    ต่อกันระหว่างพวกส่วยอยู่เสมอ มีสภาพภูมิประเทสติดต่อเขต
    กัมพูชา และมีเทือกเขาพนมดงรักเป็นเส้นกันเขตแดน ป่าดง
    เขตนี้มีฝูงสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ โขลงช้างพัง ชางพลาย ฝูงเก้ง
    กวาง ละมั่งและโคแดงอยู่มากมายตามทุ่งหญ้าและราวป่า เหมาะ
    กับการทำมาหาเลี้ยงชีพของชาวส่วยอย่างยิ่ง
    ลุ พ.ศ.2302 ปีเถาะ จุลศักราช 1181 ตรงกับสมัยแผ่นดิน
    พระบรมราชาที่ 3 หรือพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์
    (พระเจ้าเอกทัศน์) กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุง
    ศรีอยุธยา พระยาช้างเผือกของพระองค์ได้แตกออกจากโรงช้าง
    ต้นในกรุงศรีอยุธยา เดินทางมาทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โปรด
    ให้ทหารเอกคู่พระทัยสองพี่น้อง (เข้าใจว่าสมเด็จเจ้าพระยามหา
    กษัตริย์ศึก พระนามเดิมทองด้วง และกรมพระราชวังบวรมหา
    สุรสิงหนาท พระนามเดิมบุญมา) คุมไพร่พล 30 นาย ออกติด
    ตามผ่านมาแขวงพิมาย ทราบจากเจ้าเมืองพิมายว่า ในดงริมเขา
    พนมดงรักมีพวกส่วยชำนาญใชการจับช้าง เลี้ยงช้าง สองพี่น้อง
    กับไพร่พล จึงได้ติดตามสองพี่น้องไปเซียงสีไปที่บ้านกุดหวาย
    (อำเภอรัตนบุรี) เซียงสีจึงได้พาสองพี่น้องและไพร่พลไปตามหา
    เซียงสง ที่บ้านเมืองลีง เซียงปุ่มที่บ้านเมืองที เซียงไชยที่บ้าน
    กุดปะไท ตากะจะและเซียงขัน ที่บ้านโคกลำดวน เซียฆะที่บ้าน
    อัจจะปะนึง (เขตอำเภอสังขะ) ทุกคนร่วมเดินทางติดตาม
    พระยาช้างเผือก สองพี่น้องและหัวหน้าป่าดงทั้งหมด ได้ติดตาม
    ล้อมจับพระยาช้างเผือกได้ที่บ้านหนองโชก ได้คืนมาและนำส่ง
    ถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยความดีความชอบในครั้งนี้สมเด็จพระเจ้า
    อยู่หัวสริยามรินทร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หัวหน้า
    บ้านป่าดงมีบรรดาศักด์ทั้งหมด ตากะจะหัวหน้าหมู่บ้านโคกลำ-
    ดวน ได้เป็นหลวงแก้วสุวรรณเซียงขันได้เป็นหลวงปราบอยู่กับ
    ตากะจะ
    ต่อมาหัวหน้าหมู่บ้านป่าดงทั้ง 5 ได้พากันไปเฝ้าสมเด็จพระ
    เจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา โดยนำสิ่งของไปทูลเกล้าฯ ถวาย คือ
    ช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นกระมาด (นอแรด) งาช้าง ขี้ผึ้ง
    น้ำผึ้ง เป็นการส่งส่วยตามพระราชประเพณี สมเด็จพระเจ้าอยู่
    หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ทรงพิจารณาเห็นความดีความชอบ
    เมื่อครั้งได้ช่วยเหลือจับพระยาช้างเผือก และเมื่อหัวหน้า
    หมู่บ้านได้นำสิ่งของไปทูลเกล้าฯ ถวาย จึงทรงพระกรุณาโปรด
    เกล้าฯ แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้หัวหน้าหมู่บ้านสูงขึ้นทุกคน
    ในปี พ.ศ.2302 นี้เอง หลวงแก้วสุวรรณ(ตากะจะ) บ้านโคก
    ลำดวนได้บรรดาศักดิ์เป็นเป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน
    มีพระบรมราชโองการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ซึ่งเดิม
    เรียกว่า "เมืองศรีนครลำดวน" ขึ้นเป็นเมืองขุขันธ์แปลว่า
    "เมืองป่าดง" ให้พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนเป็นเจ้าเมืองปกครอง

    สมัยกรุงธนบุรี
    เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ.2310 แล้ว สมเด็จ
    พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงกอบกู้อิสรภาพ
    และทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี
    พ.ศ.2321 ปีจอ จุลศักราช 1140 กรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์)
    เป็นกบฎต่อไทย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ
    เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    มหาราช) กับเจ้าพระยาสุรสียห์เป็นแม่ทัพยกขึ้นไปทางเมืองพิมาย
    แม่ทัพสั่งให้เจ้าเมืองพิมายแต่งข้าหลวงออกมาเกณฑ์กำลังเมืองประ
    ทายสมันต์ (จังหวัดสุรินทร์) เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองรัตนบุรี เป็น
    ทัพบกยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองจำปาศักดิ์ ได้ชัยชนะยอมขึ้นต่อ
    ไทยทั้งสองเมือง กองทัพไทยเข้าเมืองเวียงจันทน์ ได้อัญเชิญพระแก้ว
    มรกต และพระบางพร้อมคุมตัวนครจำปาศักดิ์ไชยกุมารกลับกรุงธนบุรี
    ในการศึกครั้งนี้เมื่อเดินทางกลับ หลวงปราบ(เซียงขัน) ทหารเอกใน
    กองทัพ ได้หญิงม่ายชาวลาวคนหนึ่งกลับมาเป็นภรรยา มีบุตรชายติด
    ตามมาด้วยชื่อท้าวบุญจันทน์
    พ.ศ.2324 เมืองเขมรเกิดจราจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
    กับพระยาสุรสีห์ ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นแม่ทัพยกกองทัพ
    ไปปราบจราจลครั้งนี้ โดยเกณฑ์กำลังของเมืองปะทายสมันต์ เมืองขุ-
    ขันธ์ และเมืองสังฆะ สมทบกับกองทัพหลวงออกไปปราบปราม กองทัพ
    ไทยยกไปตีเมืองเสียมราฐ กำพงสวาย บรรทายเพชร บรรทายมาศ
    และเมืองรูงตำแรย์(ถ้ำช้าง) เมืองเหล่านี้ยอมแพ้ ขอขึ้นเป็นขอบขัณฑ-
    สีมา เสร็จแล้วยกทัพกลับกรุงธนบุรี
    เมื่อเสร็จสงครามเวียงจันทน์ และเมืองเขมรแล้ว ได้ปูนบำเหน็จ
    ให้แก่เจ้าเมืองปะทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะ เลื่อนบรรดา
    ศักดิ์ให้เป็นพระยาให้พระยาทั้งสามเมือง เจ้าเมืองขุขันธ์ ได้บรรดา
    ศักดิ์ใหม่ จากพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เป็นพระยาขุขันธ์ภักดี
    ในปีเดียวกันนั้นเอง พระยาขุขันธ์ภักดี(ตากะจะ) ถึงแก่อนิจกรรม
    จึงโปรดให้หลวงปราบ (เซียงขัน) ขึ้นเป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำ-
    ดวน เจ้าเมืองขุขันธ์ ต่อมาเมืองขุขันธ์ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน
    กันดารน้ำ พระยาไกรภักดีฯ จึงอพยพเมืองย้ายมาอยู่บ้านแตระ (แตระ)
    ตำบลห้วยเหนือ ที่ตั้งอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน

    สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
    ลุ พ.ศ.2325 ปีขาล จุลศักราช 1144 พระบามสมเด็จพระพุทธยอด
    ฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ
    พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน(เซียงขัน) ได้บรรดาสักดิ์เป็นพระยา
    ขุขันธ์ภักดี ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลข้อตั้งท้าวบุญจันทร์ เป็นพระยา
    ไกรภักดีศรีนครลำดวน ผู้ช่วยเจ้าเมือง อยู่มาวันหนึ่ง พระยาขุขันธ์
    ภักดี เผลอเรียกพระยาไกรภักดีฯ(บุญจันทร์) ว่า"ลูกเชลย" พระยาไกร
    ภักดีจึงโกรธและผูกพระยาบาทภายหลังมีพ่อค้าญวน 30 คน มาซื้อโค
    กระบือที่เมืองขุขันธ์ พระยาขุขันธ์ภักดีอำนวยความสะดวกและจัดที่พัก
    ให้ญวนตลอดจนให้ไพร่นำทางไปช่องโพย ให้พวกญวนนำโค กระบือ
    ไปยังเมืองพนมเปญได้สะดวก พระยาไกรภักดีฯ (บุญจันทร์) ได้กล่าว
    โทษมายังกรุงเทพฯ และโปรดเกล้า ให้เรียกตัวพระยาขุขันธ์ไปลงโทษ
    และจำคุกไว้ที่กรุงเทพฯ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาไกรภักดีฯ-
    (บุญจันทร์) เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์แทน
    ในปี พ.ศ.2325 นี้ พระภักดีภูธรสงคราม(อุ่น) ปลัดเมืองขุขันธ์ กราบ
    บังคมทูลขอแยกจากขุขันธ์ไปตั้งที่บ้านโนนสามขาจึงทรงพระกรุณาโปรด
    เกล้าฯ ให้ยกบ้านโนนสามขาขึ้นเป็นเมือง "ศรีสระเกศ" ต่อมาปี พ.ศ.2328
    ได้ย้ายเมืองศรีสระเกศจากบ้านโนนสามขา มาตั้ง ณ บ้านพันทาเจียงอี
    อยู่ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษทุกวันนี้
    พ.ศ.2342 มีโปรดเกล้าฯ ให้เกณฑ์กำลังเมืองสุรินทร์ เมืองขุขันธ์
    เมืองสังฆะ เมืองละ 100 รวม 300 ยกทัพไปตีพม่าซึ่งยกมาตั้งในเขตนคร
    เชียงใหม่ กองทัพไทยมิทันไปถึง กองทัพพม่าก็ถอยกลับ จึงโปรดเกล้าฯ
    ให้กองทัพไทยยกกลับ
    พ.ศ.2350 ทรงพระราชดำริว่า เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมือง
    ขุขันธ์ เป็นเมืองเคยตามเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชสงคราม
    หลายครั้งมีความชอบมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทั้ง 3 เมือง ขึ้นตรงต่อ
    กรุงเทพฯ มีอำนาจชำระคดีได้เอง ไม่ต้องขึ้นต่อเมืองพิมายเหมือนแต่ก่อน
    พ.ศ.2369 รัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์ เมือง
    เวียงจันทน์แต่งตั้งให้เจ้าอุปราช(สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทรน์
    คุมกองทัพบกเข้าตีเมืองรายทางเข้ามาจนถึงเมืองนครราชสีมา ฝ่ายทาง
    เมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์(เจ้าโย่) เกณฑ์กำลังยกทัพมาตีเมืองขุขันธ์
    จับพระไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์ กับพระภักดี
    ภูธรสงคราม (มานะ) ปลัดเมืองกับพระแก้วมนตรี(ทศ)ยกกระบัตรกับกรม
    การได้ ฆ่าตายทั้งหมด เจ้าเมืองสังฆะ และเมืองสุรินทร์หนีได้ทัน กองทัพ
    จำปาศักดิ์ ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านส้มป่อย แขวงเมืองขุขันธ์ค่ายหนึ่ง และค่ายอื่น ๆ
    สี่ค่าย กวาดต้อนครอบครัวไทยเขมรไปเมืองจำปาศักดิ์ จากนั้นมา
    เมืองขุขันธ์ ไม่มีข้าราชการปกครอง โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสังฆะ ไป
    เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมือง ให้พระไชยเป็นพระภักดี
    ภูธรสงครามปลัดเมือง ให้พระสะเทื้อน (นวน) เป็นพระแก้วมนตรียก
    กระบัตรเมือง ให้ท้ายหล้า บุตรพระยาขุขันธ์(เซียงขัน) เป็นมหาดไทย
    ช่วยกันรักษาเมืองขุขันธ์ต่อไป จากนั้นมาได้มีการเปลี่ยนแปลงตำ
    แหน่งเจ้าเมืองและนามเจ้าเมืองหลายครั้ง
    พ.ศ.2426 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระ
    ยาขุขันธ์(ปัญญา) เจ้าเมืองกับพระปลัด(จันลี) ได้นำช้างพังสีประหลาด
    หนึ่งเชือกลงมาน้อมเกล้าฯ ถวายที่กรุงเทพฯ
    พ.ศ.2433 มีสารตราโปรดเกล้าฯ ให้เมืองศรีสระเกศ(ชื่อเดิม) ไป
    อยู่ในบังคับบัญชาของข้าหลวงใหญ่ได้โปรดให้หลวงจำนงยุทธกิจ(อิ่ม)
    กับขุนไผทไทยพิทักษ์(เกลื่อน) เป็นข้าหลวงเมืองศรีสระเกศ
    พ.ศ.2435 โปรดเกล้าฯ ให้จัดรูปการปกครองแบบมณทลเมืองศรีสiะเกศ
    ขึ้นอยู่กับเมณฑลอีสานกองบัญชาการมณฑลอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธาณี
    พ.ศ.2445 เปลี่ยนชื่อมณฑลอีสานเป็น มณฑลอุบลมีเมืองขึ้น 3 เมือง
    คือ อุบลราชธานี ขุขันธ์ และสุรินทร์ ไม่ปรากฎชื่อเมืองศรีสระเกศ
    สันนิษฐานว่าเมืองศรีสระเกศถูกยุบลงเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองขุขันธ์
    ซึ่งเป็นเมืองเก่ามาแต่เดิม
    พ.ศ.2447 ย้ายที่ตั้งเมืองขุขันธ์ (ซึ่งอยู่ที่บ้านแตระ ตำบลห้วยเหนือ
    อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน) มาอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า(ปัจจุบันคือตำบลเมืองเหนือ
    ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน) และยังคงใช้ชื่อ"เมืองขุขันธ์"
    ยุบเมืองขุขันธ์เดิมเป็นอำเภอห้วยเหนือ(อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันนี้)
    พ.ศ.2459 กระทรวงมหาดไทย มีประกาศให้เปลี่ยนชื่อเมืองทุก
    เมืองเป็นจังหวัด เมืองขุขันธ์จึงเป็นเป็นจังหวัดขุขันธ์ เมื่อวันที่ 9
    พฤศจิกายน พ.ศ.2459 เปลี่ยนผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ว่าราชการ
    จังหวัด
    พ.ศ.2481 มีพระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นจังหวัด
    ศรีสะเกษ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน



    ที่มา: หนังสือ งานวันดอกลำดวนบาน 17-18 มีนาคม 2532
    ครั้งที่พิม์ : พิมพ์ครั้งที่ 3
    ปีที่พิมพ์: กุมภาพันธ์ 2532
    จำนวนพิมพ์ :1,500 ฉบับ
    พิมพ์ที่ :บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 413/27-36
    อรุณอมรินทร์ บางกอกน้อย กทม.10700 โทร.4242800-1
    นายชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ผู้พิมพ์โฆษณา
    ผู้จัดพิมพ์: สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษและศูนย์วัฒนธรรม
    จังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย

    :):):)

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ โด้ไดอารี่
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    ที่อยู่
    Manchester, Uk
    กระทู้
    637
    ให้แซวจังหวัดจะของแน่

    ศรีสะเกษ แดนปราสาทขอม หอมกระเทียมลีบ มีสวนหมากผีผ่วน หลากล้วนหมากเล็บแมว

  5. #5
    ส.มักม่วน
    Guest
    เอาเลยเด้อไทศรีสะเกษ ตามสบายสาวมักม่วนกะอยู่ศรีสะเกษคือกัน สิถ้าอ่านเอาดอกเด้อจ้า

  6. #6
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวดอนโบม
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,421
    คำขวัญศรีสะเกษ คือว่าแนวนี่น้อบ่าน

    ศรีสะเกษ แดนปราสาทขอม หอมกระเทียมลีบ มีสวนหมากผีผ่วน หลากล้วนหมากเล็บแมว

    พะนะ
    ว่าไปทั่วเนาะ

  7. #7
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ bootchai
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    114

    ไม่ฮิตเท่าไหร่ อุดร

    คำขวัญจังหวัดอุดร มีคนไพสแล่วไป๊น้อ บ่าวอุดรไปไหนอ้าย::)

  8. #8
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวดอนโบม
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,421
    ยังเลยครับอุดรยังบ่มีครับ
    พึ่งมีแต
    ยโสธรกับ ศรีสะเกษ ครับ
    จัดมาแนครับ

    ขอบคุณหลายๆครับ

  9. #9
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ วิกรรัตน์ แก้วดี
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    103
    ส่วนจังหวัดข่อย สกลนคร ครับ

    ฮู่จักแต่คำขวัญ ส่วนประวัติรอคนไทบ้านเดียวกันมาบอกตืม

    "พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน
    พระตำหนักภูพานคู่เมือง
    งามลือเลื่องหนองหาร
    แลตระการปราสาทผึ้ง เซิ้งภูไท
    ถิ่นมั่นในพุทธธรรม"

  10. #10
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นวรัตน์
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    687

    ความเยือกเย็น

    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ วิกรรัตน์ แก้วดี
    ส่วนจังหวัดข่อย สกลนคร ครับ

    ฮู่จักแต่คำขวัญ ส่วนประวัติรอคนไทบ้านเดียวกันมาบอกตืม

    "พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน
    พระตำหนักภูพานคู่เมือง
    งามลือเลื่องหนองหาร
    แลตระการปราสาทผึ้ง เซิ้งภูไท
    ถิ่นมั่นในพุทธธรรม"
    ข่อยบ่แมนคนสกลดอกตะวาข้อมูลประวัติกะพอสิหาได้แนยู

    สกลนคร เป็นเมืองพุทธศาสน์ พระธาตุห้าแห่ง แหล่งอารยธรรมสามพันปี ตามตำนานเล่าว่า เมืองหนองหานหลวงในอดีต หรือสกลนครในปัจจุบันนั้น สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 ในยุคที่ขอมมีอำนาจในดินแดนนี้ ต่อมาเมื่ออิทธิพลขอมเสื่อมลง เมืองหนองหานหลวงตกไปอยู่ในความปกครองของอาณาจักรล้านช้าง เรียกชื่อเมืองว่า “เมืองเชียงใหม่หนองหาน” และเมื่อมาอยู่ในความปกครองของไทย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองสกลทวาปี” ต่อมา ในปี พ.ศ. 2373 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เปลี่ยนชื่อจากเมืองสกลทวาปี เป็น “เมืองสกลนคร” ในปัจจุบัน จังหวัดสกลนครยังได้รับการขนานนามว่าเป็น"แอ่งธรรมะแห่งอีสาน" ดังเห็นหลักฐานได้จากวัดวาอารามเก่าแก่ที่มีอยู่มากมาย แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่มีมาตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นถิ่นกำเนิดและพำนักของอริยสงฆ์ที่สำคัญเป็นที่เคารพบูชาของชาวไทยหลายท่าน อาทิ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัน อุตตโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เป็นต้นจังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 647 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 9,605 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอกุดบาก อำเภอ พรรณานิคม อำเภอวาริชภูมิ อำเภอส่องดาว อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานรนิวาส อำเภออากาศอำนวย อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอคำตากล้า อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอเต่างอย อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอโพนนาแก้ว และอำเภอภูพาน

    :)

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า 123 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •