ตำนานโหวด ดนตรีพื้นบ้านอีสาน


โหวดเป็นเครื่องดนตรีของชาวอีสาน หรือ ของเล่นชนิดหนึ่งของชาวอีสาน ใช้แกว่งเล่นเหมือนธนู ต่อมาโหวดได้ดัดแปลงมาเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน โหวดเกิดขึ้นในสมัยใดนั้น ยังไม่สามารถบอกได้แน่นอนหรือยืนยันได้ แต่ก็มีประวัติที่เล่าเป็นนิยายปรัมปรา สืบต่อกันมา ดังนี้
ในสมัยก่อนพุทธกาล มีเมืองหนึ่งชื่อเมืองพันทุมาลัย เมืองนั้นมีพระโพธิสัตว์ เสวยชาติมาเป็นพระยาคางคก สมัยก่อนมีความเชื่อเรื่องพระยาแถน เรื่องฝน ฟ้า อากาศ เจ็บไข้ได้ป่วยก็ไปบนบานศาลกล่าวต่อพระยาแถน แต่พอมีพระยาคางคก ก็ทำให้คนและสัตย์หันไปนับถือพระยาคางคก ทำให้พระยาแถนไม่พอใจ ฝนฟ้าที่เคยตกต้องตามฤดูกาล ก็ทำให้เมืองนี้แห้งแล้งเป็นเวลา 7 ปี 7
เดือน คนและสัตย์รวมทั้งพืชพันธ์ธัญญาหารล้มตาย ทำให้มวลมนุษย์และสัตย์เดือดร้อนก็เลยทำสงครามกับพระยาแถน แต่มนุษย์ก็ไม่ชนะสักที จึงมาปรึกษากับพระยาคางคก พระยาคางคกก็รับอาสาจะไปสู้กับพระยาแถน พระยาคางคกก็นำทัพไปรบกับพระยาแถน แต่งตั้งให้พระยาปลวกทำสะพานดินเป็นถนนขึ้นสู่เมืองพระยาแถน ให้พระยามดขึ้นไปสู่เมืองพระยาแถนก่อนเพื่อไปเจาะดาบ
อาวุธยุทธโธปกรณ์ ให้จวนจะหัก และพระยาตะขาบ แมงป่อง อสรพิษทั้งหลายไปดักอยู่ตามเสื้อผ้า อุปกรณ์ต่างๆ ที่ทหารพระยาแถนใช้ พอถึงวันแรม 7 ค่ำ พระยาคางคกก็นำทัพขึ้นไปเจรจาขอฝนกับพระยาแถน พระยาแถนก็โกรธและไม่ประธานฝนให้ แล้วก็ประกาศสงครามกัน แผนต่างๆ ที่พระยาคางคก วางเอาไว้ก็เริ่มปฏิบัติการ ตะขาบ แมงป่อง ก็ออกมากัดทหารให้ล้มตาย ส่วนพระยาคางคกกับพระยาแถนก็ต่อสู้กันบนหลังช้าง สู้กันไปกันมา พระยาแถนใช้ดาบฟันพระยาคางคก ดาบก็หัก จะใช้ตะขอเกี่ยว ตะขอก็หัก ในที่สุดพระยาคางคกได้จังหวะ ก็ใช้บ่วงศ์ (บ่วงนาคบาศก์) ดับพระยาแถนได้จนตกจากหลังช้าง พระยาแถนจึงยอมตกลงตามสัญญา โดยมีเงื่อนไขกันอยู่ 3 ประการ คือ
ประการที่ 1 ให้พระยาแถน ประทานน้ำฝนให้เหมือนเดิม ถึงเดือนหก ถ้าฝนไม่ตกมนุษย์จะทำบั้งไฟ จุดขึ้นไปเป็นการบอกกล่าว เตือนพระยาแถนให้ประทานฝนลงมาให้มนุษย์
ประการที่ 2 การได้ยินเสียง กบ อึ่งอ่าง เขียดร้อง แสดงว่ามนุษย์ได้รับน้ำฝนแล้ว
ประการที่ 3 เมื่อใดที่ได้ฝนเพียงพอแล้วก็จะแกว่งโหวดขึ้นสู่ท้องฟ้าให้เกิดเสียงดังเป็นสัญญาณ ให้พระยาแถนทราบว่าได้รับน้ำฝนเพยงพอแล้วเพื่อให้ลดปริมาณฝนลง หรือให้ฝนหยุด
ปัจจุบันนี้โหวดเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมมาก และเป็นเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงเข้ากับเครื่องดนตรีอีสานได้ เช่น พิณ แคน โปงลาง กลอง และเกิดเป็นวงดนตรีพื้นเมืองอีสานดังปรากฏในปัจจุบันนี้

อ.สุรพล เนสุสินธ์
วิชาดนตรีอีสาน สาขาดนตรีไทย
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • ดนตรีพื้นบ้านอีสาน
  • ฟังเสียงพิณ-sound-phin
  • ฟังเสียงแคน(khaen solo)
  • โปงลางบรรเลง
แหล่งแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้านอีสาน พิณ แคน โปงลาง อื่นๆ