งานประเพณีแห่เทียนพรรษา
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ของชาวอุบลฯ ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 และแรม 1 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา จัดให้มีขึ้นทุกปี
จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ความว่า ชาวอุบลราชธานี ได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่ พ.ศ.2470 จนเมื่อปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือ บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียน จะเคลื่อนขบวนจาก หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ไปตามถนน มาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่องานแต่ละปี ดังนี้
ปี พ.ศ. 2553 มีชื่องานว่า “ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบล”
งานแท่เทียน 2553
เนื่องจากเมืองอุบลราชธานี มี “ธรรม” 3 ประการ คือพุทธธรรม ชาวอุบลฯ มีความฝักใฝ่ในธรรม อารยธรรม คืออุดมด้วยอารยทรัพย์ อารยสงฆ์ และธรรมชาติ ตามถิ่นที่ตั้งเมืองอุบล คือ ดงอู่ผึ้ง จึงเป็นความรุ่งเรือง หรือ “ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม” และที่ตั้งเมืองของจังหวัดอุบลราชธานี คือ ดงอู่ผึ้ง ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญในการทำเทียนพรรษา รวงผึ้งอุดมสมบูรณ์มาก สำนักพระราชวัง ได้นำขี้ผึ้งจากจังหวัดอุบลฯ ไปเพื่อทำเทียนพระราชทาน ประกอบกับ อุบลราชธานีมีสกุลช่างทุกสาขาวิชาช่างศิลปะ จึงสามารถรังสรรค์เทียนพรรษา ออกมาได้อย่างวิจิตรบรรจงตามจินตนาการ งามล้ำเทียนพรรษา และเนื่องจากประเพณีแห่เทียนพรรษาเกิดจาก ภูมิปัญญาชาวอุบลฯ เป็น “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” สืบสานเป็น “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ก่อให้เกิด “ภูมิพลังเมือง” สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ประชาคมเป็นปึกแผ่นมั่นคง แก้ไขปัญหาสำคัญของชาติได้ในการร่วมเป็น “ภูมิพลังแผ่นดิน”
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.guideubon.com/candlefestival.php