พิณ หรือ ซุง เป็นเครื่องดนตรีประเภทสายชนิดดีด ( Plucked Stringed Instrument) ตระกูลเดียวกับ ซึง กระจับปี่ จะเข้ แมนโดลิน ใช้บรรเลงดำเนินทำนอง นิยมทำมาจากไม้ท่อนเดียว จึงเรียกว่า ซุง ปัจจุบัน เรียกว่า พิณ ไม้ที่ทำพิณนั้นส่วนมากใช้ไม้ขนุน เพราะง่ายแก่การขูด เจาะ บาก ได้ง่าย เมื่อไม้แก่เต็มที่ไม้จะมีสีสดใสเป็นสีเหลืองสวยงามตามธรรมชาติพิณ มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อ้างอิงได้จากข้อความในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ที่กล่าวถึงการละเล่นพื้นเมืองและการเล่นดนตรีในสมัยนั้นว่า ลางจำพวกดีดพิณและสีซอพุงตอและกรับฉิ่ง เริงรำจับระบำเต้นเล่น ซึ่งให้ความหมายว่า พิณ ใช้เล่นกับซอสามสาย ประกอบกับฉิ่ง กรับมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีอีกประการหนึ่ง ชาวไทยเรารู้จักคำว่าพิณมาพร้อมกับ พุทธประวัติ ตอนที่ พระอินทราธิราชเสด็จลงมาดีดพิณสามสาย ถวายเพื่อเป็นอนุสติแก่พระพุทธเจ้าก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ ว่าการบำเพ็ญเพียรแสวงหาโฆษกธรรมนั้นถ้าเคร่งครัดนักก็เปรียบเสือนการขึ้นสายพิณให้ตรึงเกินไปแล้วย่อมขาด ถ้าหย่อนยานนักไม่มีเสียงไพเราะ แต่ถ้าทำอยู่ในขั้น มัชฌิมาปานกลาง ก็เหมือนการขึ้นสายพิณแต่เพียงพอดีกับระดับเสียง ย่อมให้เสียงดังกังวานไพเราะ แจ่มใสดังใจความในวรรณคดีเรื่อง ?พระปฐมสมโพธิกถา? พระราชนิพนธ์ ของ สมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ว่า ?…ขณะนั้น สมเด็จอมรินทราธิราชทราบในข้อปริวิตก ดังนั้นจึงทรง พิณพาทย์ สามสาย มาดีดถวายพระมหาสัตย์ สายหนึ่งเคร่งนักพอดีดก็ขาดออกไปเข้าก็ไม่บันลือเสียง และสายหนึ่งนั้นไม่เคร่งไม่หย่อนปานกลาง ดีดเข้าก็บันลือศัพท์ไพเราะเจริญจิต พระมหาสัตย์ได้สดับเสียงพิณก็ถือเอานิมิตนั้นทรงพิจารณาเห็นแจ้งว่า ?..มัชฌิมาปฏิบัตินั้นเป็นหนทางพระโพธิญาณ….?
ข้อมูลจาก
วิชาดนตรีอีสาน สาขาดนตรีไทย
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ดนตรีพื้นบ้านอีสาน
- ฟังเสียงพิณ-sound-phin
- ฟังเสียงแคน(khaen solo)
- โปงลางบรรเลง
ศูนย์รวมเสียงพิณ ไม่ว่าจะป็นบรรเลงพิณ ในจังหวะหมอลำซิ่ง หรือจะเป็นพิณลายอื่นๆ อีกมากมาย listen sound phin