ฮีตสิบสอง คลองสิบสิบสี่

ความหมายของ ฮีตสิบสอง คลองสิบสิบสี่

คนอีสาน มีวัฒนธรรมประจำชาติและประจำท้องถิ่น มาแต่โบราณกาลแล้วนับศตวรรษ จนถือเป็นฮีตเป็นคลอง …ต้องปฏิบัติสืบกันมาจนเป็นประเพณีที่รู้จักกันดี และพูดจนติด ปากว่า “ฮีตสิบสอง คลองสิบสิบสี่”

ฮีตสิบสอง คำว่า ฮีต มาจากคำภาษาบาลีที่ว่า จารีตตะ แปลว่า ธรรมเนียมแบบแผนความประพฤติ ที่ดีงามปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี

ฮีต นั้นมี ๑๒ ประการ เท่ากับ ๑๒ เดือนใน ๑ ปี ตามระบบจันทรคติหรือพูดอีก นัยคือ การทำบุญ ๑๒ เดือนนั้นเอง

ฮีตสิบสองคองสิบสี่

ฮีตที่ ๑. บุญเข้ากรรม หรือ บุญเดือนเจียง
ภิกษุต้องอาบัติ.สังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นอาบัติ ญาติโยมแม่ออกแม่ตนผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทาน รักษาศิลฟังธรรมเกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุ เรียกว่า บุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยม ทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น 15 ค่ำเพราะเหตุมีกำหนดให้ทำในระหว่างเดือนเจียง จึงเรียกว่าบุญเดือนเจียง
Continue reading “ฮีตสิบสอง คลองสิบสิบสี่”