เทศกาลสงกรานต์
สงกรานต์ เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ผ่าน หรือ เคลื่อนย้ายเข้าไป ซึ่งในที่นี้หมายถึงพระอาทิตย์ ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไปในจักรราศีใด ราศีหนึ่ง ก็เรียกว่าสงกรานต์ จักรราศี คือวงกลม เป็นรูปไข่อยู่บนท้องฟ้า?? ซึ่งสมมุติว่า? เป็นทางที่ พระอาทิตย์? พระจันทร์? ดาวพระเคราะห์โคจรผ่านเข้าไป โคจร แปลว่า ทางไปของโค แต่ในที่นี้ไม่ได้แปลว่า วัว แต่หมายถึงพระอาทิตย์ และใช้ได้ตลอดถึง พระจันทร์และดาวพระเคราะห์ด้วย?? จักรราศีนั้นแบ่งออกเป็นตามขวางออกเป็น? ๑๒? ส่วนเท่ากัน? หรือ? ๑๒ ราศี ซึ่งแต่ละราศีก็มีกลุ่มดาวอยู่ในนั้น เป็นเฉพาะของราศีหนึ่ง ๆ?? (แต่เดี๋ยวนี้เคลื่อนที่ไปแล้ว)? เหตุนี้ราศี จะแปลว่ากลุ่มดาว ก็ได้ เพราะคำว่าราศี ก็แปลว่า กอง ว่า หมู่? เช่น บุญราศี? ก็แปลว่า? กองบุญ กลุ่มดาวที่อยู่ในราศีหนึ่งๆ? มีดวงดาวในกลุ่มหลายดวงเรียงรายเป็นรูปต่างๆ? ไม่เหมือนกันและเขาสมมุติ รูปของกลุ่มดาวเหล่านี้? เช่น? เป็นกลุ่มดาวแพะ? กลุ่มดาววัว? และอื่นๆ? เป็นต้นจนครบ? ๑๒? ราศี พระอาทิตย์เมื่อโคจรเข้าไปในราศีใด? และกว่าจะผ่านพ้นราศีนั้นไปสู่อีกราศีหนึ่ง? ก็เป็นเวลาเดือนหนึ่ง เมื่อผ่านไปครบ? ๑๒? ราศีก็เป็นเวลาได้ปีหนึ่งโดยประมาณราศีนั้นถ้าแบ่งตามมาตราวัดของจักรราศีก็ เป็น ราศีละ ๓๐ องศา? รวมทุกจักรราศีก็เป็น ๓๖๐ องศา? กลุ่มดาวที่อยู่ในราศีหนึ่งๆ ไม่ใช่ว่าอยู่ในราศีที่แบ่งไว้โดยเด็ดขาด? เพราะมีดวงดาวบางดวงในกลุ่มของราศีหนึ่งคาบเกี่ยวหรือเหลื่อมล้ำเข้าไปใน ราศีอื่นก็มี เหตุนี้ในการแบ่งเดือนจึงมีจำนวนวันและเวลาไม่เท่ากันเสมอไป? ที่เราตั้งชื่อเดือนว่า? เมษายน? พฤษภาคม ฯลฯ? จนถึงมีนาคม? ก็ตั้งจากรูปของกลุ่มดาวในจักรราศี เมษายน ก็คือ กลุ่มดาวแพะ พฤษภาคม ก็คือ กลุ่มดาววัว? คำว่าแพะ? ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า? เมษ? เอาคำว่า? อายน? ซึ่งแปลว่า? การมาถึง?? เข้าไปต่อ เชื่อมกันก็เป็น เมษายน คำว่า วัว? ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า? พฤษภ? และนำคำว่า? อาคม? ที่แปลว่าการมาถึง? เช่นกัน มาเชื่อมกันเป็น พฤษภาคม ที่เราแยกคำเชื่อมต่อท้ายว่า? อาคมบ้าง? อายนบ้าง? ก็เพื่อแบ่ง วันที่มี ๓๐ วันบ้าง ๓๑ วันบ้าง ให้เป็นเครื่องสังเกตได้ง่าย อนึ่งที่ว่า พระอาทิตย์โคจรหรือ เคลื่อนไปใน อากาศนั้น? เป็นเรื่องที่คนโบราณเห็นอย่างนั้น? ถึงเดี๋ยวนี้เราก็เห็นว่าเป็นเช่นนั้น??? แต่ทางวิทยาศาสตร์บอกว่าโลกพิภพที่เราอยู่นี่ต่างหาก? ซึ่งเคลื่อนย้ายไปรอบดวงอาทิตย์? ถึงจะเป็นโลกพิภพเคลื่อนย้ายไป? หาใช่ดวงอาทิตย์ไม่ก็ดี?? แต่เมื่อว่าในทางคำนวณเกี่ยวกับเวลาก็ได้ผลลัพธ์เท่ากัน
Continue reading “เทศกาลสงกรานต์”