วันนี้ขออนุญาตนำบทความเกี่ยวกับการสานกระติบข้าว หรือก่องข้าวเหนียวอีสาน ที่ถือว่าเป็นของใช้ประจำบ้านที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นการวิวัฒนาการเกี่ยวกับการถนอมข้าวเหนียวให้มีความนุ่ม และเก็บไว้รับประทานได้นานขึ้น จนพัฒนามาเป็นกระติบข้าว หรือที่ทางภาคอีสานเรียกกันว่า “ก่องข้าวน้อย”
และมีเรื่องราวเกี่ยวกับก่องข้าวน้อยมาเล่าสู่กันฟังเล็กน้อย คือเรื่อง “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” ที่ไอ้ทองต้องฆ่าแม่เพราะด้วยความหิว บวกกับแม่เอาข้าวมาส่งช้า และเห็นเอาข้าวใส่ก่องข้าวน้อยมา ซึ่งหมายถึงกระติบข้าวใบน้อยที่แม่ใส่ข้าวมาให้ไอ้ทอง ไอ้ทองกลัวจะไม่อิ่มเพราะความเหนื่อยหิวจนขาดสติ จึงฆ่าแม่ตัวเองตาย แล้วจึงมากินข้าวในก่องข้าวน้อยที่แม่นำมาส่ง
แต่หารู้ไม่ว่าด้วยความที่แม่กลัวว่าลูก(ไอ้ทอง) ทำงานเหนื่อยจะกินไม่อิ่ม แม่จึงใส่ข้าวเหนียวใส่ก่องข้าวน้อยมาจนแน่น พอได้ทองกินข้าวในกระติบไปเรื่อยๆ และรู้สึกอิ่มแต่ปรากฏว่าข้าวเหนียวยังเหลืออีกเยอะ
เอกสารเผยแพร่ความรู้ เรื่อง การสานกระติบข้าว
จัดทำโดย
นายสุรศักดิ์ ทวีบุตร
ครู ชำนาญการโรงเรียนบ้านหนองเป้า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เรื่อง
การสานกระติบข้าว(ก่องข้าวเหนียว) ภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวอีสาน
ความรู้เรื่องกระติบข้าว และวิธีสานกระติบข้าว
กระติบข้าว(หรือก่องข้าวเหนียว)เป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่รับประทานข้าวเหนียว โดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย ซึ่งชาวอีสานนิยมบริโภคข้าวเหนียว
เหตุผลที่ทำให้นิยมใช้ กระติบข้าวบรรจุข้าวเหนียว
1. ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุไม่เหนียวแฉะไม่ติดมือ
2. พกพาสะดวก หิ้วไปได้ทุกหนทุกแห่ง
วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว
กระติบข้าวสามารถทำได้จากวัสดุหลายอย่าง เช่น ใบจาก ใบตาล ใบลาน เป็นต้น แต่ที่นิยมใช้ทำมาก และมีคุณภาพดีที่สุด ต้องทำจากไม้ไผ่
ไม้ไผ่มีหลายชนิด แต่ละชนิด เหมาะกับงานแต่ละอย่าง และไม้ไผ่ที่นิยมนำมาทำกระติบข้าว คือไม้ไผ่บ้าน หรือไม้ไผ่ใหญ่ อายุประมาณ 10 เดือน ถึง 1 ปี เพราะมีปล้องใหญ่และปล้องยาว เนื้อไม้เหนียวกำลังดี ไม่เปราะง่าย ทำเป็นเส้นตอกสวย ขาว
ขั้นตอนการสานกระติบข้าว
1. นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก ผ่าเป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ2-3 ม.ม. ขูดให้เรียบและบาง
2. นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมี 2 ฝา มาประกอบกัน
3. นำกระติบข้าวที่ได้จากข้อ (2.) มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันพอดี เรียกว่า 1 ฝา
4. ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายตามะกอก และลายขัด
5. นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง
6. ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย
7. นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว
8. นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันแมลงเจาะ และเพื่อความสวยงาม ทนทาน ไม่เกิดราดำ
9. นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.ม. ความยาวรอบ บางเท่ากับฝากระติบพันด้วยด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน เพื่อความสวยงาม
10. เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม 2 รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรูที่เจาะเชิงไว้
11. ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้
วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว
1. ไม้ไผ่บ้าน
2. ด้ายไนล่อน
3. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่
4. กรรไกร
5. มีดโต้
6. เลื่อย
7. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)
8. ก้านตาล
9. เครื่องขูดตอก
10. เครื่องกรอด้าย
ประโยชน์ที่ได้จากกระติบข้าว
1. ใช้บรรจุข้าวเหนียว
2. เป็นของชำร่วย
3. ประดับตกแต่ง
4. กล่องเอนกประสงค์
5. กล่องออมสิน
6. แจกัน
7. กล่องใส่ดินสอ
ข้อเสนอแนะ
1. การเลือกไม้ไผ่ ควรเลือกไม้ไผ่ ที่มีปล้องยาวอายุประมาณ 10 เดือน ถึง 1 ปี
2. การจักตอก ต้องมีขนาดความกว้าง ความยาวให้เท่า ๆ กันทุกเส้น เพื่อจะได้กระติบรูปทรงสวยงาม
3. ก่อนที่จะเหลาเส้นตอก หรือขูดให้นำเส้นตอกที่จักแล้ว แช่น้ำประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้เส้นตอกอ่อนนุ่ม จะได้ขูดเหลาง่ายขึ้น แล้วนำไปตากแดด ให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันเชื้อราก่อนลงมือสาน
จุดเด่น ของการสานกระติบข้าว
1. สานเป็นลวดลายต่าง ๆ หรือเป็นตัวหนังสือทั้งไทยและอังกฤษ จะได้ราคาดี
2. หาอุปกรณ์ในการทำง่าย
3. ทำให้เกิดอัตราการว่างงาน และเป็นอาชีพที่สุจริต และเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว
4. วิวัฒนาการเป็นของชำร่วยได้มากมาย เช่น กล่องใส่กระดาษชำระ กระเป๋า แจกัน
การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำกระติบข้าว
1. มีการนำเอาใสไม้ไฟฟ้า ที่เลิกใช้แล้วมาดัดแปลงทำเป็นเครื่องขูดตอกที่อ่อนบาง
2. ได้นำสีย้อมไหม ใช้ในการย้อมเส้นตอกเพื่อทำลวดลาย ให้สีสันสวยงามยิ่งขึ้น
3. นำวิธีการประดิษฐ์ เป็นลายประยุกต์และตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
4. มีการตกแต่งฝาบน ด้วยการทำคิ้วเพื่อความสวยงาม และคงทน
5. มีการทำเครื่องกรอด้ายไนล่อน ที่นำมาพันคิ้ว ด้วยเครื่องมือ ทำให้กรอได้เร็วและละเอียดสวยงามยิ่งขึ้น
เอกสารเผยแพร่ความรู้ เรื่อง การสานกระติบข้าว
จัดทำโดย
นายสุรศักดิ์ ทวีบุตร
ครู ชำนาญการ โรงเรียนบ้านหนองเป้า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ขอบคุณข้อมูลรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต และ
http://guru.sanook.com/pedia/topic/ภูมิปัญญาชาวบ้าน_อีสาน_การสานกระติบข้าว/
https://www.baanmaha.com/community/thread39760.html