หมอลำเรื่องต่อกลอน

หมอลำ เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ เช่น ลำเต้ย ลำกลอน ลำเรื่อง ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน ลำซิ่ง รวมทั้ง ลำตัดในภาคกลางก็จัดได้ว่าเป็นหมอลำประเภทหนึ่ง คำว่า “หมอลำ” มาจากคำ 2 คำมารวมกัน ได้แก่ “หมอ” หมายถึง ผู้มีความชำนาญ และ “ลำ” หมายถึง การบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองอันไพเราะ ดังนั้น หมอลำ จึงหมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองเพลง ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/หมอลำ

หมอลำซิ่ง

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

หมอลำซิ่ง หรือ หมอลำกลอนซิ่ง หมอลำกลอนซิ่งเป็นศิลปะการแสดงของชาวอีสานโดยได้นำเอาศิลปะที่มีมา ตั้งแต่เดิมมาดัดแปลงประยุกต์ให้ทันสมัย คือนำเอาหมอลำกลอนซึ่งแต่เดิมนั้น เป็นการลำประกอบ แคนเพียงอย่างเดียวมาประยุกต์เข้าดนตรีชิ้นอื่น ๆ เช่น พิณ เบส และกลองชุด จนได้รับความนิยมปัจจุบันได้มีการนำเอาเครื่องดนตรีสากลเช่น ออร์แกน คีย์บอร์ด มาประยุกต์เล่นเป็นทำนองหมอลำ ทำให้จังหวะสนุกคึกครื้น ประกอบกับการนำเพลงสากล เพลงสตริงเพลงลูกทุ่งที่กำลังฮิตมาประยุกต์เข้าด้วย หมอลำซิ่ง เป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คน) ใช้เครื่องดนตรี สากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว หมอลำกลอนซิ่งในปัจจุบัน ได้กลายเป็นธุรกิจความความบันเทิงที่ได้รับความนิยม อีกแขนงหนึ่ง ที่ชาวอีสานนิยมจ้างไปเป็นมหรสพสมโภชน์งานที่ได้จัดขึ้นในโอกาสต่าง ๆรูปแบบการแสดง จะเป็นการร้องรำทำนองหมอลำประยุกต์กับเพลงที่สนุก โดยมีหมอลำฝ่ายชายคอยร้องแก้กับ หมอลำฝ่ายหญิง พร้อมกับ การ โชว์ลีลา การร่ายรำที่อ่อนช้อยงดงามและมีหมอแคนเป่าแคนประกบอยู่ข้างๆ เพื่อคอยคลอแคนให้หมอลำไม่หลงคีย์เสียงของตนเอง ซึ่งหมอลำแต่ละคนจะมีหมอแคน ประจำตัวของตัวเองปัจจุบัน วงหมอลำซิ่งใหญ่ ๆ จะมีหางเครื่องเพื่อเพิ่มสีสันอีกด้วย การว่าจ้าง เจ้าภาพจะเป็นคนจับคู่หมอลำเอง เพื่อจะได้เห็นการร้องแก้กันด้วยความสนุกสนานและมีไหวพริบ เว็บบอร์ดหมอลำซิ่ง

คำผญา ปรัชญาภาษาอีสาน

คำผญา ปรัชญาภาษาอีสาน                คำผญา ปรัชญาภาษาอีสาน คือคำสอนเตือนใจ ในการดำรงชีวิต ให้สู้ คำผญา หรือปรัชญาในการดำรงชีวิต ของบรรพบุรุษชาวอีสาน ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งดึกดำบรรพ์ จนถึงชั่วลูกชั่วหลาน  คำผญา พร้อมคำแปลด้านล่างนี้ เป็นภูมิปัญญาของปราช์ญ ผู้รู้ได้ถ่ายทอดไว้เป็นหลักฐาน เพื่อเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมอีสานให้คงอยู่สืบไปเว็บไซต์บ้านมหาจึงขออนุญาตรวบรวมไว้เป็นข้อมูลเพื่อการศึกษาต่อไป ผญาคำสอนใจ 1. คันได้กินลาบซิ้นอย่าลืมแจ่วแพวผัก ได้กินพาเงินพาคำอย่าลืมกระเบียนฮ้าง 2. คันเจ้าได้อยู่ยอดฟ้าผาสาทประดับมุข อย่า ได้ลืมเฮียมทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า 3. คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า 4. คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มสัปทน อย่า ได้ลืมคนจนผู้แห่นำตีนซ้าง แปล ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้วก็ อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง 5. เกลี้ยงปากทางไหทางในเป็นปลาแดก เกลี้ยงปากบั้งขังข้อปากกะทอ 6. เกลี้ยงฮอดใบ ใส ฮอดลูก เกลี้ยง ฮอดเข้าปลูก เกลี้ยง ฮอดเข้าปัดลาน 7. กาบ่มักท่าน้ำสมุทรหลวงกะบ่ว่า กาบ่มักท่าน้ำกะตามถ้อนช่างกา 8. กินแกงแข้คางกะแจปากบ่ลั่น กิน กะท้างคางกระด้างปากบ่เป็นชั้นบ้อ 9.… Continue reading คำผญา ปรัชญาภาษาอีสาน

ประวัติ และความเป็นมาของประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี

งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติ และความเป็นมาของประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ของชาวอุบลฯ ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 และแรม 1 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา จัดให้มีขึ้นทุกปี จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ความว่า ชาวอุบลราชธานี ได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่ พ.ศ.2470 จนเมื่อปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือ บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียน จะเคลื่อนขบวนจาก หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ไปตามถนน มาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่องานแต่ละปี ดังนี้ งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2561… Continue reading ประวัติ และความเป็นมาของประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี

เนื้อเพลง อีสานบ้านเฮา

เนื้อเพลง อีสานบ้านเฮา ของ อ.เทพพร เพชรอุบล ชื่อเพลง :: อีสานบ้านเฮา ศิลปิน :: เทพพร เพชรอุบล อีสานบ้านเฮา เทพพร เพชรอุบล เนื้อเพลง หอมดอกผักกะแยง ยามฟ้าแดงค่ำลงมา แอ๊บๆ เขียดจะนา ร้องยามฟ้าฮ้อนหวนๆ เขียดโม้เขียดขาคำ เหมือนหมอลำพากันม่วน เมฆดำลอยปั่นป่วน ฝนตกมาสู่อีสาน หมู่หญ้าตีนกับแก ถูกฝนแลเขียวตระการ ควายทุยเสร็จจากงาน เล็มหญ้าอ่อนตามคันนา รุ่งแจ้งพอพุ่มพู ตื่นเช้าตรู่รีบออกมา เร่งรุดไถฮุดนา รีบนำฟ้าฟ่าวนำฝน อีสานบ้านของเฮา อาชีพเก่าแต่นานดล เอาหน้าสู้ฟ้าฝน เฮ็ดนาไร่บ่ได้เซา เฮ็ดนาไร่บ่ได้เซา.. * ม่วน..เอ๊ย..โอ… ม่วนเอยม่วนเสียงกบ ร้องอ๊บๆ กล่อมลำเนา ผักเม็ดผักกะเดา ผักกระโดนและผักยีฮีน ธรรมชาติแห่งบ้านนา ฝนตกมามีของกิน ฝนแล้งแห้งแผ่นดิน ห้วยบึงหนองแห้งเหือดหาย ** มาเด้อมาเฮ็ดนา มาเด้อหล้าอย่าเดินผ่าย นับวันจะกลับกลาย บ่าวสาวไหลเข้าเมืองกรุง เสียงแคนกล่อมเสียงซุง… Continue reading เนื้อเพลง อีสานบ้านเฮา

ศิลปะพื้นบ้านอีสาน

หมอลำ  ศิลปะพื้นบ้านอีสานที่ไม่มีวันตาย คำว่า “ลำ”  มีความหมายสองอย่าง  อย่างหนึ่งเป็นชื่อของเรื่อง อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของ การขับร้องหรือการลำ ที่เป็นชื่อของเรื่องได้แก่เรื่องต่าง ๆ  เช่น  เรื่องนกจอกน้อย  เรื่อง ท้าวก่ำกาดำ เรื่องขูลูนางอั้ว เป็นต้น เรื่องเหล่านี้โบราณแต่งไว้เป็นกลอน แทนที่จะเรียกว่า เรื่องก็เรียกว่า ลำ   กลอนที่เอามาจากหนังสือลำเรียกว่า   กลอนลำ อีกอย่างหนึ่งหมายถึงการขับร้อง หรือการลำ การนำเอาเรื่องในวรรณคดีอีสานมา     ขับร้อง หรือมาลำ เรียกว่า ลำ ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลายๆ เรื่องเรียกว่า “หมอลำ” วิวัฒนาการของหมอลำ ความเจริญก้าวหน้าของหมอลำก็คงเหมือนกับความเจริญก้าวหน้าของสิ่งอื่นๆ เริ่มแรก คงเกิดจากผู้เฒ่าผู้แก่เล่านิทาน นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม      โดยเรียกลูกหลานให้มาชุมนุมกัน ทีแรกนั่งเล่า เมื่อลูกหลานมาฟังกันมากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่น เรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็ไม่สนุก ผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็น พระเอก… Continue reading ศิลปะพื้นบ้านอีสาน