เซิ้งแหย่ไข่มดแดง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง เป็นการแสดงท่าทางการไปหาไข่มดแดง ซึ่งเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของชาวอีสาน เป็นการแสดงให้เห็นถึงอาชีพของชาวอีสานอย่างหนึ่ง จะเริ่มตั้งแต่ การออกไปหาไข่มดแดง ซึ่งมีความลำบากมาก จนถึงการนำมาล้าง ต่อมา ภาควิชานาฏศิลป์ สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์ และอาจารย์ประชัน คะเนวัน อาจารย์ดรรชนี อุบลเลิศ ได้นำมาเป็นการแสดงเรียกว่า เซิ้งแหย่ไข่มดแดง และได้เขียนรายละเอียดขั้นตอนการแหย่ไข่มดแดง ซึ่งเป็นการแสดงที่มีความสนุกสนาน และประทับใจคนดูเป็นอย่างมาก ข้อมูลอ้างอิง http://www.banramthai.com/html/surngyaekai.html http://www.youtube.com/ บันทึกการแสดง ดนตรีนาฏศิลป์อีสาน โครงการศูนย์สืบสานและเผยแพร่ศิลปะดนตรีนาฏศิลป์อีสาน ชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมือง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (โครงการตลาดประกอบฝันปีที่ 3)
Category: ศิลปวัฒนธรรมอีสาน
Culture northeast ศิลปะ วัฒนธรรมอีสาน
อีสานบ้านเฮา เป็นเขตหรือภาคหนึ่ง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
วีดีโออีสานบ้านเฮา ภาคอีสาน เป็นเขตหรือภาคหนึ่ง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไทย อยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือและภาคกลาง https://www.youtube.com/watch?v=Upk0hZepS40 การเกษตรนับเป็นอาชีพหลักของภาค แต่ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทางด้านสังคมเศรษฐกิจ ทำให้มีผลผลิตที่น้อยกว่าภาคอื่นๆ ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน แต่ภาษาไทยกลางก็นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมร ที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นอื่นๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น ภาคอีสานมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น ภาคอีสาน มีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง และภูกระดึง เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล ข้อมูลอ้างอิง… Continue reading อีสานบ้านเฮา เป็นเขตหรือภาคหนึ่ง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
รำศรีโคตรบูรณ์ เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในอดีต อาณาจักรหนึ่งแห่งภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
รำศรีโคตบูรณ์ ศรีโคตรบูรณ์ เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในอดีต อาณาจักรหนึ่งแห่งภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งศูนย์กลางอาณาจักร อยู่ในเขตนครพนมและสกลนคร มีเกล็ดประวัติศาสตร์เล่าว่า เมื่อครั้งศรีโคตรบูรณ์รุ่งเรือง บ้านเมืองสงบสุข ศิลปะต่างๆ เจริญเป็นอันดี ศิลปะด้านดนตรี และนาฏศิลป์ ตามหัวเมืองน้อยใหญ่ ก็รุ่งเรือง เป็นที่นิยมมาก อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์ จึงดำริให้มีการเล่นแอ่วแคนประกอบการฟ้อนรำประกวดประชันกัน ระหว่างคณะแอ่วแคนต่างๆ โดยทำนองเพลงและฟ้อนรำ ขอให้ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด ขอให้เป็นการแสดงใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน คณะแอ่วแคนต่างๆ ก็ส่งการแสดงเข้าประกวดมากมาย สุดท้าย เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์ ได้ตัดสิน ให้แอ่วแคนชุดนี้ ชนะการประชัน…. และต่อมา เพื่อเป็นการรำลึกถึงอาณาจักรนี้ จึงได้ตั้งชื่อชุดการแสดงนี้ว่า “ฟ้อนศรีโคตรบูรณ์”
รำภูไทยสามเผ่า ฟ้อนผู้ไทจังหวัดนครพนม เป็นฟ้อนที่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี
รำภูไทยสามเผ่า ฟ้อนผู้ไทจังหวัดนครพนม เป็นฟ้อนที่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี การฟ้อนภูไทสามเผ่า 1. ฟ้อนผู้ไทจังหวัดนครพนม เป็นฟ้อนที่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีคือ การฟ้อนผู้ไทของอำเภอเรณูนคร จนถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครพนม ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนม นายสง่า จันทรสาขา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในสมัยนั้นได้จัดให้มีการฟ้อนผู้ไทถวาย โดยมีนายคำนึง อินทร์ติยะ หัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอเรณูนคร ได้ปรับปรุงท่าฟ้อนผู้ไทให้สวยงามกว่าเดิม โดยเชิญผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ในการฟ้อนผู้ไทมาให้คำแนะนำ จนกลายเป็นท่าฟ้อนแบบแผนของชาวเรณูนคร ได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานสืบทอดต่อมา ท่าฟ้อนผู้ไทได้แก่ ท่าเตรียม ท่านกกระบาบิน ท่าลำเพลิน ท่ากาเต้นก้อน ท่ารำม้วน ท่าฉาย ท่ารำส่าย ท่ารำบูชา ท่าก้อนข้าวเย็น ท่าเสือออกเหล่า ท่าจระเข้ฟาดหาง ซึ่งการฟ้อนจัดเป็นคู่ๆ ใช้ชายจริงหญิงแท้ตั้งแต่ 10 คู่ขึ้นไป เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองกิ่ง กลองแตะ กลองยาว ฆ้องโหม่ง พังฮาด และกั๊บแก๊บ สำหรับเครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงนิยมใช้เสื้อสีน้ำเงินเข้มขลิบสีแดงทั้งเสื้อและผ้าถุง ผ้าสไบสีขาว เครื่องประดับใช้เครื่องเงินตั้งแต่ตุ้มหู สร้อยคอกำไลเงิน ผมเกล้ามวยสูงทัดดอกไม้สีขาว ห่มผ้าเบี่ยงสีขาว ซึ่งปัจจุบันใช้ผ้าถักสีขาว… Continue reading รำภูไทยสามเผ่า ฟ้อนผู้ไทจังหวัดนครพนม เป็นฟ้อนที่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี
เซิ้งโปงลาง Zeang pong lang
เซิ้งโปงลาง Zeang pong lang เซิ้งโปงลาง เซิ้งโปงลาง เป็นการแสดงของชาวไทยภาคอีสาน นิยมเล่นกันมากในจังหวัดกาฬสินธุ์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า (กาฬสินธุ์ถิ่นโปงลาง) การแสดงจะมีทั้งหญิงและชาย ใช้ท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นตามทำนองเพลง อันเกิดจากความบันดาลใจ ด้วยลีลาแคล่วคล่องว่องไว ใช้ดนตรีโปงลาง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ร้อยต่อกันเหมือนระนาดแต่ใหญ่กว่า ใช้ผู้ตีสองคน คนตีคลอเสียงประสาน เรียกว่า ตีลูกเสิฟ และอีกคนตีเป็นทำนอง เรียกว่า ตีลูกเสพ มีจังหวะที่เร้าใจและสนุกสนาน เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของศิลปวัฒนธรรมของภาคอีสาน เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ๑. โปงลาง ๒. แคน ๓. พิณ ๔. ซ่อ ๕. ฉาบ ๖. ฉิ่ง ๗. กลอง ข้อมูลอ้างอิง www.youtube.com/watch?v=7nm2SbVVJh4 http://www.banramthai.com/html/surngponglang.html
ลำตังหวาย Lum tung wai ฟ้อนตังหวายเป็นฟ้อนเพื่อบวงสรวงบูชา
ลำตังหวาย Lum tung wai การฟ้อนตังหวาย ฟ้อนตังหวายนั่นมีที่มาอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1 ฟ้อนตังหวายเป็นฟ้อนเพื่อบวงสรวงบูชา โดยเฉพาะชนชาติที่อาศัยอยู่ ตามแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีความเชื่อและยึดมั่นในการ นับถือเทวดาฟ้าดิน ภูติผีวิญญาณ ต้นไม้ใหญ่ จอมปลวก งูใหญ่ หนองน้ำใหญ่ เป็นต้น และเข้าใจว่าสิ่งที่ตนให้ความนับถือนั้นสามารถ จะบันดาลให้เกิดผลสำเร็จ หรือเมื่อเกิดอะไรที่ผิดจากธรรมดาขึ้นมาก็เข้าใจว่าสิ่งที่ตนนับถือโกรธจึงบันดาลให้เป็นไปอย่างนั้น จึงจัดให้มีการบวงสรวงบูชา หรือจัดให้มีพิธีขอขมาขึ้นมาเพื่อขอให้มีโชคลาภ โดยมีหัวหน้าเป็นผู้บอกกล่าวกับสิ่งนั้นโดยผ่านล่ามเป็นผู้บอกขอขมา มีการฆ่าสัตว์ ไก่ หมู วัว ควาย และสิ่งอื่นๆ ตามกำหนดเพื่อนำมาบูชาเทพเจ้าหรือเจ้าที่เจ้าทางที่ตนเองนับถือ เท่านั้นยังไม่พอได้มีการตั้งถวาย ฟ้อนรำถวายเป็นการเซ่นสังเวย พอถึงฤดูกาลชาวบ้านต่างจะนำเอาอาหารมาถวายเจ้าที่เจ้าทาง หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยถือว่าปีใด “ขนไก่ ไม่ตก ขนนก ไม่หล่น” ก็ถือว่าปีนั้นดี เทวดาจะให้ความคุ้มครอง จะต้องมีการจัดฉลองใหญ่โดยมีการ “ตั้งถวาย ฟ้อนรำถวาย” แต่ต่อมาคำว่า “ตั้งถวายฟ้อนถวาย” คำนี้ได้สึกกร่อนไปตามความนิยมเหลือเพียงคำสั้นๆ ว่า “ตั้งหวาย” หรือ “ตังหวาย” 2 ฟ้อนตังหวายกับลำตังหวาย… Continue reading ลำตังหวาย Lum tung wai ฟ้อนตังหวายเป็นฟ้อนเพื่อบวงสรวงบูชา