ไก่ชนไทย การเลี้ยงไก่ชน หรือการขุนไก่ตี เรียนรู้สายพันธุ์ไก่ชน

ไก่ชน

ไก่ชนไทย การเลี้ยงไก่ชน หรือการขุนไก่ตี เรียนรู้สายพันธุ์ไก่ชน ไก่ชนไทย วันนี้ขออนุญาตหยิบยกเรื่องราวเกี่ยวกับไก่ชน หรือไก่ตี มาเอาใจแฟนคลับบ้านมหาอีสานออนไลน์ ซึ่งสมาชิกเว็บไซต์ก็มีกลุ่มคนรักไก่ชนอยู่พอสมควร แต่ละท่านก็มีความรู้ความกับการเพาะเลี้ยงไก่ชนเป็นอย่างดี บางท่านก็มีฟาร์มเพาะเลี้ยงเป็นของตัวเอง ก็ถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับ ความรู้เกี่ยวกับ ไก่ชนไทย ไก่ชน เป็นไก่ที่มีลีลาฝีตีนแพรวพราว มีทั้งลูกล่อลูกชนยากจะหาไก่ชาติใดๆเสมอเหมือน คือ ทั้ง กอดขี่ บดบี้ ขยี้ ล็อก เท้าหุ่น ตีตัว มุดมัดและมุดลอดทะลุขา เมื่อเปรียบกับไก่ชาติอื่นๆแล้วถือว่าไก่ชนไทยมีภาษีดีกว่าไก่ชนชาติอื่นๆ แล้วทำไมไก่ชนไทยจึงตีต่อสู้ไก่ต่างชาติไม่ได้ หรือเป็นเพียงคำพูดที่กล่าวกันเล่นๆ หรือต้องการโปรโมทไก่ชนต่างชาติ แต่ข้อเท็จจริงแล้วมีดังนี้ 1. ไก่ชนไทยกับไก่พม่าลูก 100% ไม่มีโอกาสตีกันได้ หรือตีได้ก็น้อยคู่มาก เพราะขนาดของไก่ไทยกับไก่พม่าเป็นไก่คนละขนาด คือ ไก่พม่าแท้ๆจะมีขนาดเล็กและมีน้ำหนักไม่เกิน 2.5 กก. ตัวที่โต 3.00 กก. ขึ้นมีน้อย ส่วนไก่ไทยตัวที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 กก. ก็มีน้อยแทบนับตัวได้ ยกเว้นไก่ป่าก๋อยที่มีขนาดเล็ก ไก่พม่าที่นำมาตีกับไก่ไทยในทุกวันนี้ ส่วนมากเป็นลูกผสม หรือลูกผ่านที่นำไก่พม่ามาผสมกับไก่ไทย เป็นไก่ที่มีเลือดพม่า 50%… Continue reading ไก่ชนไทย การเลี้ยงไก่ชน หรือการขุนไก่ตี เรียนรู้สายพันธุ์ไก่ชน

นิทานพื้นบ้าน และความหมาย

นิทานพื้นบ้าน

นิทานพื้นบ้าน และความหมาย “นิทาน” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546, หน้า 588) อธิบายความหมายไว้ว่า “นิทาน คือ เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก และนิทานอีสป เป็นต้น” ภาพประนิทานพื้นบ้านเรื่อง โสนน้อยเรือนงาม นอกจากนี้ยังมีท่านผู้รู้อธิบายความหมายไว้คล้ายๆกัน เช่น กิ่งแก้ว อัตถากร (2519, หน้า 12) อธิบายว่า นิทาน หมายถึง เรื่องเล่าสืบต่อกันมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ส่วนใหญ่ถ่ายทอดด้วยวิธีมุขปาฐะ แต่ก็มีอยู่ส่วนมากที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ และนอกจากนี้ยังอธิบายว่านิทานเป็นเรื่องเล่าทั่วไป มิได้จงใจแสดงประวัติความเป็นมา จุดใหญ่เล่าเพื่อความสนุกสนาน บางครั้งก็จะแทรกคติเพื่อสอนใจไปด้วย นิทานมิใช่เรื่องเฉพาะเด็ก นิทานสำหรับผู้ใหญ่ก็มีจำนวนมาก และเหมาะสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น กุหลาบ มัลลิกะมาส (2518, หน้า 99-100) กล่าวถึง “นิทาน” ไว้ในหนังสือคติชาวบ้านว่า นิทานเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่เล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน เพื่อความสนุกสนานเบิกบานใจ ผ่อนคลายความตึงเครียด เพื่อเสริมศรัทธาในศาสนา เทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นคติเตือนใจ ช่วยอบรมบ่มนิสัย ช่วยให้เข้าใจสิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์ธรรมชาติ… Continue reading นิทานพื้นบ้าน และความหมาย

ประวัติความเป็นมาของเพลงลูกทุ่ง

ประวัติความเป็นมา เพลงลูกทุ่ง วันนี้ขออนุญาตหยิบยกเอาประวัติความเป็นมาของวงการเพลงลูกทุ่ง ที่ถือว่าอยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน รวมทั้งมีศิลปินในอดีตที่เป็นตำนานของวงการเพลงลูกทุ่ง ที่ได้กล่าวขานกันถึงปัจจุบัน และที่สำคัญเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินเพลงลูกทุ่งรุ่นหลัง ได้เอาเป็นแบบอย่างและโด่งดังมีชื่อเสียงมากมายหลายคน ข้อความด้านล่างนี้เป็นวิวัฒนาการของเพลงลูกทุ่ง ที่น่าศึกษาค้นคว้าไว้เป็นวิทยาทาน.. เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง ขุนวิจิตรมาตราบันทึกไว้ในหนังสือเรื่องของละคร และเพลง ว่าเพลงลูกทุ่งเป็นวงดนตรีแบบสากลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้ง ที่ 2 ประมาณปีหรือสองปี ลักษณะเพลงลูกทุ่งในระยะเริ่มแรก มาจากการร้องรำทำเพลงของไทยดั้งเดิม อาทิ แหล่เทศน์ สวดคฤหัสถ์ จำอวด ลิเก (ทรงเครื่อง) ลิเกลูกหมด (ไม่แต่งเครื่อง) ลิเกบันตน ลำตัด เพลงขอทาน เพลงพื้นเมืองบางเพลง ฯลฯ โดยเพลงลูกทุ่งนำมาดัดแปลงแล้วใส่ดนตรีแบบสากล เป็นลักษณะเพลงแบบใหม่ ส่วนคำว่า “เพลงลูกทุ่ง” อาจารย์จำนง รังสิกุล คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 เพลงลูกทุ่งมีความชัดเจนจากเพลงลูกกรุงโดยประกอบ ไชยพิพัฒน์ จัดรายการเพลงสถานีไทย โทรทัศน์… Continue reading ประวัติความเป็นมาของเพลงลูกทุ่ง