ม่วนดีครับ มักหลายคักครับ....ขอบคุณเด้อครับ...
เคยชมผลงานการแสดงแบบสดๆมาหลายครั้งแล้วครับ สำหรับประถมบันเทิงศิลป์ในยุคสมัยที่หมอลำเวียงรุ่งเรือง(หมอลำขอนแก่น) นิทานอิงพุทธประวัติ...ลีลาวดี..กามนิต. มหากฐิน..โด่งดังมากครับ ศิลปินที่เป็นผลผลิตจากประถมบันเทิงศิลป์ ยังมีสืบทอดต่อมาสู่ยุคปัจจุบันในอีกหลายรูปแบบ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จ อย่างตรงไปตรงมา และนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ...
ขอแสดงความเห็นเป็นส่วนตัว ว่าชา_ชั่_โมอัมมาร์กัดดาฟี่ สมควรตายตกนรกขุมอเวจี กัดดาฟี่มันเข่นฆ่าประชาชน ...
อลังการงานสร้างจริงๆครับสำหรับนกยูงทอง ผลงานการแสดงแสงเสียงสีเคยดูสดสดมาแล้วครับสุดยอด :l-:,1-:l-
ใคเติบ เฒ่าขึ้นเนาะ แต่กะยังม่วนยู่
เปลี่ยนลุค เสียงเปลี่ยน หน้าตาก็เปลี่ยนนิดหน่อยเนาะจ้า แต่กะม่วนคือเก่า จากแฟนคลับ อิอิ
ก็นั้นนะสิครูเล็กหมูน้อยก็ งง ข่าวออกจัง..จนไม่อยากเปิดทีวีเลยทุกวันนี้ มีแต่ข่าวอะไรก็ไม่รู้..ดูแล้วทำให้เครียดไปด้วย.. นั่งอ่านหนังสือ..เล่นเกมส์หนุกกว่าเยอะเลยเนาะครูเล็กว่าไหม สบายดีไหมค่ะ..ปิดซัมเมอร์ยัง...ที่นี้ปิดซัมเมอร์แล้ว..และเปิดเทอมแล้ว ฮาๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆประมาณว่ามีซัมเมอร์ไว้ทำไมๆๆๆ..คริๆๆ..แวะมาจอบคนน่ารัก..แต่ไม่เคยเจอเลย..
แล้วแต่จะเข้าใจ เพราะนี่คือข่าว ณ ปัจจุบัน ที่เกิดกับประเทศลิเบีย และกัดกาฟี่ เขียนไรก็ได้ไม่ใช่หรือบล็อกอะ
เหอๆๆตีแผ่ให้สังคมรับรู้ถึงความเป็นอมนุษย์ของสิ่งมีชีวิตสิ่งหนึ่ง เมื่อตอนเขาทำร้ายล้างทุกสิ่ง...ตีแผ่เพื่ออะไร.
โหด.... เลว.... ไม่มีดี....โมอัมมาร์ กัดดาฟี่ ............
ลิเบีย ลิเบีย (อาหรับ: ليبيا; อังกฤษ: Libya) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย (อังกฤษ: Socialist People's Libyan Arab Great Jamahiriya) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ มีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอียิปต์ไปทางตะวันออก ประเทศซูดานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศชาดและประเทศไนเจอร์ไปทางใต้ และประเทศแอลจีเรียและตูนิเซียไปทางตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อตริโปลี ในกรีกโบราณ ชื่อ "ลิเบีย" ใช้ในความหมายที่กว้างขวางกว่า คือ แอฟริกาเหนือทั้งหมดที่อยู่ทางตะวันตกของอียิปต์ และในบางกรณีก็ใช้อ้างถึงแอฟริกาทั้งทวีป 3 ส่วนของประเทศนี้ตามประเพณีคือตริโปลิเตเนีย (Tripolitania) เฟซซัน (Fezzan) และไซเรไนกา (Cyrenaica) ในวรรณคดีกรีก ไดโดอาศัยอยู่ในลิเบีย 1. การเมืองการปกครอง 1.1 ลิเบียอยู่ภายใต้การปกครองของต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง เช่น เคยอยู่ภายใต้กรีก อาณาจักรโรมัน อาณาจักรไบแซนไทน์ อาณาจักรออตโตมาน และท้ายสุด ตั้งแต่ปี 2454 ลิเบียอยู่ภายใต้การปกครองของอิตาลี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2492 สมัชชาใหญ่ขององค์การสหประชาชาติจึงได้มีข้อมติให้ลิเบียได้รับเอกราชจากอิตาลี ทั้งนี้ กษัตริย์ Idris ซึ่งเป็นผู้นำในการต่อต้านการปกครองของอิตาลี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นผู้นำในการเจรจาจนนำไปสู่การประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2494 ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ และต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2512 กลุ่มนายทหารนำโดยพันเอกกัดดาฟี ได้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากกษัตริย์ Idris และขึ้นเป็นผู้นำประเทศสืบมาจนปัจจุบัน 1.2 นับแต่พันเอกกัดดาฟี ขึ้นปกครองประเทศ ได้ดำเนินนโยบายตามแนวทางการเมืองของตน ซึ่งเรียกว่า ทฤษฎีสากลที่ 3 (Third Universal Theory) อันเป็นการผสมผสานระหว่างแนวทางสังคมนิยมกับแนวคิดของศาสนาอิสลาม รวมทั้งดำเนินแนวทางต่อต้านชาติตะวันตก เช่น การปิดสำนักงานของสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรในลิเบีย การผลักดันให้สหรัฐฯ และอังกฤษถอนทหารที่ประจำอยู่ในลิเบียออกนอกประเทศ และการเวนคืนกิจการน้ำมันของชาติตะวันตก เป็นต้น ขณะเดียวกัน ลิเบียได้ขยาย ความร่วมมือกับสหภาพโซเวียต ในด้านการเมือง การทหาร และการซื้ออาวุธ 1.3 ลิเบียเคยถูกเพ่งเล็งว่าให้การสนับสนุนการก่อการร้าย โดยเฉพาะแก่กลุ่มต่าง ๆ ของปาเลสไตน์ เมื่อปี 2512 สหรัฐอเมริกา ได้บรรจุลิเบียไว้ในบัญชีรายชื่อประเทศที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย (state sponsor of terrorism) ทั้งนี้ เหตุการณ์ก่อการร้ายที่สำคัญซึ่งลิเบียถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ การก่อวินาศกรรมโดยกลุ่มปาเลสไตน์ที่กรุงโรมและกรุงเวียนนาเมื่อปี 2528 และการก่อวินาศกรรมสถานบันเทิง La Belle ที่กรุงเบอร์ลินเมื่อปี 2529 เป็นผลให้สหรัฐอเมริกาใช้มาตรการทางเศรษฐกิจและทางทหารกดดันลิเบียให้ยุติการสนับสนุนการก่อการร้าย และประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ได้สั่งการให้กองเรือรบสหรัฐอเมริกา เข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนเกิดการปะทะกับฝ่ายลิเบีย 2 ครั้ง ในเดือนมีนาคมและเมษายน 2529 พร้อมทั้งได้ส่งเครื่องบินรบเข้าทิ้งระเบิดกรุงตริโปลี และเมืองเบงกาซีด้วย ลิเบียถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมเครื่องบิน 2 ครั้ง ได้แก่ การวางระเบิดเครื่องบิน Pan Am เที่ยวบินที่ 103 เหนือเมือง Lockerbie ของสกอตแลนด์ในปี 2531 และการวางระเบิดสายการบิน UTA เที่ยวบินที่ 772 ของฝรั่งเศสที่ไนเจอร์ในปี 2532 แต่ลิเบียปฏิเสธที่จะส่งตัวผู้ต้องสงสัยชาวลิเบียให้แก่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ทำให้ต่อมาในปี 2535 และ 2536 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 748 (1992) และ 883 (1993) คว่ำบาตรลิเบีย ซึ่งมีมาตรการต่างๆ รวมทั้ง การอายัดทรัพย์ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจของลิเบียในต่างประเทศ การห้ามการขายเครื่องบินและยุทธภัณฑ์แก่ลิเบีย การห้ามส่งอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่ใช้ในการขนส่งและกลั่นน้ำมันแก่ลิเบีย และการเรียกร้องให้นานาประเทศลดระดับและจำนวนผู้แทนทางการทูตในลิเบีย ในส่วนของสหรัฐอเมริกานั้น ได้ออกกฎหมาย Iran-Libya Sanctions Act หรือ D’ Amato Act ในปี 2539 ห้ามบริษัทต่างประเทศลงทุนในภาคน้ำมันในลิเบียในโครงการมูลค่าเกิน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลให้ลิเบียประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และหันไปใช้แนวทางโดดเดี่ยวตนเองจากประชาคมระหว่างประเทศ 1.4 ลิเบียเริ่มปรับเปลี่ยนแนวทางการเมืองของตนในปี 2546 โดยได้ยินยอมมอบตัวนาย Abdelbaset Ali Mohamed al-Megrahi และนาย Al Amin Khalifa Fhimah ผู้ต้องสงสัยชาวลิเบียในคดี Lockerbie ไปขึ้นศาลที่เนเธอร์แลนด์ และเมื่อศาลได้ตัดสินจำคุกตลอดชีวิตนาย Megrahi แล้ว (นาย Fhimah ถูกตัดสินให้พ้นผิด) ลิเบียได้แสดงความรับผิดชอบโดยจ่ายเงินสินไหมทดแทนแก่ญาติของผู้เสียชีวิต รวมเป็นเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลให้ลิเบียเริ่มได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมากขึ้น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรลิเบียเมื่อเดือนกันยายน 2546 ต่อมาในเดือนธันวาคม 2546 พันเอกกัดดาฟี ได้ประกาศยุติโครงการพัฒนาอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction - WMD) และประกาศจะปฏิบัติตามสนธิสัญญาว่าด้วยการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty) และอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพ (Biological Weapons Convention) พร้อมทั้งยินดีที่จะให้ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency - IAEA) เข้าไปตรวจสอบ รวมทั้งการประกาศต่อต้านการก่อการร้ายและให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ทำให้หลายประเทศในยุโรปรวมทั้งอิตาลีและสหราชอาณาจักรหันไปฟื้นฟูความสัมพันธ์กับลิเบีย ในขณะที่สหรัฐอเมริกา ได้ยกเลิกการใช้มาตรการตามกฎหมาย D’ Amato Act ต่อลิเบียในปี 2547 และถอนชื่อลิเบียออกจากรายชื่อประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 สหรัฐฯ ได้ยกระดับสำนักงานประสานงาน (Liasison Office) ของสหรัฐฯ ในลิเบีย ขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูต ขณะที่ลิเบียก็ได้ยกระดับสำนักงานประสานงานของตนในกรุงวอชิงตันขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 2549 นอกจากนี้ พันเอกกัดดาฟี ยังได้เดินทางเยือนฝรั่งเศสและสเปน เมื่อเดือนธันวาคม 2550 และนาย Abdulrahman Shalgam รัฐมนตรีต่างประเทศลิเบีย เดินทางเยือนสหรัฐฯ เมื่อเดือนมกราคม 2551 ซึ่งถือเป็นการเยือนสเปนและสหรัฐฯ ครั้งแรกในรอบกว่า 3 ทศวรรษของบุคคลระดับสูงของลิเบีย ขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ................................................................
... อยากให้เป็นเพียงฝันร้ายของต่างประเทศ และหวังอย่างยิ่งว่า...คงไม่มีฝันนี้ในผืนแผ่นดินไทย ...
เป็นอีกกำลังใจให้ทุกๆอาชีพเนาะจ้า เมื่อมันจนตรอกอิหลีกะบ่ว่ากันเนาะจ้า สู้ๆๆๆ ...
555รปภ.ท่านนายก รีบไปเพราะภัยมา
สุมื้อนี้ บ่ว่าประเทศได๋น้อค่ะ มะซ่างเป็นแท้น้อ ขอบคุณภาพข่าวจ้า
ขอบคุณข้อมูล ข่าวสารค่ะ เคยเห็นแต่ใน หนัง ละคร บ่คิดว่าสิเกิดขึ้นจริงๆๆ ปานนี่น้อค่ะ
เหอๆๆๆ...ตลกเนาะ ที่เข้าแถวรอนิ..เขาแจก..หรือเราไปซื้ออะ.. งง...ทำไมไม่ส่งเสริมให้คนกินน้ำมันหรือทำอาหารที่ต้องใช้น้ำมันน้อยลง เช่น ผัด ก็ผัดใช้น้ำมันน้อยหรือใช้น้ำผัดอร่อยดีและมีสุขภาพดีด้วย เหอๆๆๆ..สมัยก่อนพ่อเฒ่า แม่เฒ่า ก็ไม่ได้โตมากะน้ำมันพืชชะหน่อย .....ขำดีอะ...
เข้าแถวซื้อน้ำมันปาล์มแล้วค่ะ ที่พะเยา เขาแถวซื้อน้ำมันปาล์ม นครสวรรค์ นครราชสีมา …………………………………………….
เหตุการณ์คาร์บอมบ์กลางเมืองยะลา (13 ก.พ. 2554) ใต้ป่วนหนัก คนร้ายใช้กระบะ “คาร์บอมบ์” เข้ากลางยะลา ก่อนจุดชนวนระเบิดตูมสนั่นดังก้องทั้งเมืองหวังถล่มรถทหารที่แล่นผ่าน ชาวบ้านรับเคราะห์ด้วยเจ็บ 17 ราย เพลิงเผาบ้านเรือนและอาคารพาณิชย์วอด 15 คูหา โดยใช้บึ้มถังแก๊ส 4 ลูก ถังน้ำมันอีก 8 ถังยัดปิคอัพ เป็นคาร์บอมบ์ลูกแรกของปี 54 คนร้ายได้ก่อเหตุรุนแรงขนาดใหญ่ โดยเมื่อเวลา 09.45 น.วันอาทิตย์ที่ 13 ก.พ.2554 ได้เกิดระเบิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวไปทั่วเมืองยะลา โดยจุดเกิดเหตุอยู่ที่สี่แยก ณ นคร หรือที่เรียกกันว่าสี่แยกธนาคารนครหลวงไทย สาขายะลา ในเขตเทศบาลนครยะลา บริเวณหน้าร้านเฮนเบเกอรี่ เลขที่ 33 ถนน ณ นคร ต.สะเตง อ.เมืองยะลา แรงระเบิดทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 17 ราย มีรายชื่อดังนี้ 1) ส.อ.ชานนท์ สองแก้ว อายุ 26 ปี 2) จ.ส.ท.ประสิทธิ์ อิสโร อายุ 35 ปี 3) พลทหารวรินทร์รัตน์ จันทร์ดี อายุ 22 ปี มาจากค่ายวชิราวุธ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 4) ส.ต.อ.ชาติ ประไมยะ อายุ 31 ปี สังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา (บก.ภ.จว.ยะลา) 5) น.ส.อังคณางค์ ภัทรพงศ์ อายุ 20 ปี 6) นายเดชณรงค์ พันโท อายุ 25 ปี 7) น.ส.ชลัยพร เรือนธรรม อายุ 42 ปี 8) นายสมศักดิ์ รักษ์พงษ์ อายุ 35 ปี 9) นางศิริพร เรือนธรรม อายุ 38 ปี 10) นางทักษิณา วงศ์จุมปู อายุ 30 ปี 11) นายหมู แซ่เสี้ยว อายุ 59 ปี 12) ด.ช.นิลพัทธ์ แก้วเกาะสะบ้า อายุ 5 ปี 13) นายสุวัฒน์ ไตรรงค์เจริญสุข อายุ 31 ปี 14) นายสมมาตร บุญรุ่ง อายุ 42 ปี 15) นายธนันต์ ฉั่วพานิชย์ อายุ 54 ปี 16) นางปภาดา ผิวเกลี้ยง อายุ 61 ปี 17) นางเตือนใจ กลัดทอง อายุ 44 ปี ผู้บาดเจ็บทั้งหมดถูกลำเลียงส่งโรงพยาบาลศูนย์ยะลา โดยในจำนวนนี้มีผู้ที่อาการสาหัส 4 ราย คือ นายเดชณรงค์ พันโท ส.อ.ชานนท์ สองแก้ว พลทหารวรินทร์รัตน์ จันทร์ดี และ จ.ส.ท.ประสิทธิ์ อิสโร ตรวจสอบที่เกิดเหตุอย่างละเอียดพบว่า ตรงจุดที่มีการระเบิดมีซากรถกระบะยี่ห้อโตโยต้า รุ่นดีแม็กซ์ ยังไม่ทราบหมายเลขทะเบียน อยู่ในสภาพพังยับเยิน คาดว่าเป็นรถที่คนร้ายใช้บรรทุกวัตถุระเบิดมาก่อเหตุ มีเศษซากถังแก๊สหลายถัง ห่างออกไปประมาณ 10 เมตร พบรถกระบะยี่ห้ออิซูซุ หมายเลขทะเบียน บต 6817 ปัตตานี จอดเสียหลักอยู่กลางถนน เป็นรถของเจ้าหน้าที่ทหาร ในกระบะท้ายมีเครื่องอุปโภคบริโภคบรรทุกอยู่เต็ม โดยที่คนร้ายได้ขับรถบรรทุกระเบิดเข้ามาในเขตเทศบาลนครยะลาแล้วไปจอดที่หน้าร้านเฮนเบเกอรี่ตั้งแต่เวลา 07.30 น.โดยไม่มีผู้ใดสังเกตเห็นคนขับกับเพื่อนร่วมขบวนการที่ขี่รถจักรยานยนต์มารับตัวไป ก่อนเกิดระเบิดมีรถกระบะของทหารที่เข้าเมืองมาซื้อเสบียงแล่นผ่านสี่แยกดังกล่าว คนร้ายซึ่งคาดว่าเป็นคนละชุดกับที่ขับรถมา และได้ซุ่มดูพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ทหารมาก่อนแล้วจึงจุดชนวนระเบิดด้วยโทรศัพท์มือถือจนเกิดระเบิดขึ้นเสียงดังสนั่นหวั่นไหว ทำให้ทหารในรถจำนวน 4 นายได้รับบาดเจ็บ แรงระเบิดยังทำให้ชาวบ้านในละแวกดังกล่าวได้รับบาดเจ็บไปด้วยอีก 13 ราย และบ้านเรือนกับอาคารพาณิชย์ถูกเพลิงไหม้ได้รับความเสียหาย สำหรับวัตถุระเบิดที่คนร้ายใช้ก่อเหตุในครั้งนี้ เป็นระเบิดชนิดแสวงเครื่อง บรรจุไว้ในถังแก๊สจำนวน 4 ถัง น้ำหนักถังละประมาณ 30 กิโลกรัม จุดชนวนด้วยโทรศัพท์มือถือ แต่ระเบิดไม่ทำงาน 1 ลูก ส่วนสะเก็ดระเบิดคนร้ายใช้เหล็กตัดท่อนจำนวนมาก ขณะที่เพลิงที่ลุกไหม้บ้านเรือนและอาคารพาณิชย์เสียหายกว่า 15 คูหา เกิดจากภายในรถคาร์บอมบ์คนร้ายใส่ถังน้ำมันขนาด 5 ลิตรเอาไว้จำนวน 8 ถังด้วย ...................................................