Blog Comments

  1. สัญลักษณ์ของ บ่าวเขียว
    แม่นอีหลีเบาะครับ มันซอยได้อีหลีบ้อออ สิเซาเป็นไมเกรนกะบาดนี่หละ อิอิ
  2. สัญลักษณ์ของ lungyai1123









    ประเพณีลอยกระทง ลักษณะการจัดงานลอยกระทง ของแต่ละจังหวัด และแต่ละภาค จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน คือ

    ภาคเหนือตอนบน จะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า "ยี่เป็ง" อันหมายถึง การทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ โดยเดือนยี่ถ้านับตามล้านนา จะตรงกับเดือนสิบสอง ในแบบไทย ชาวเหนือจะนิยมประดิษฐ์ โคมลอย หรือที่เรียกว่า "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" โดยการใช้ผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ ให้โคมลอยขึ้น ไปในอากาศ เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุตต์ ซึ่งเชื่อกันว่า ท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถา อยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า

    จังหวัดตาก จะประดิษฐ์ กระทงขนาดเล็ก แล้วปล่อยลอย ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เรียงรายเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"

    จังหวัดสุโขทัย ลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ซึ่งจำลองบรรยากาศงาน มาจากงานลอยกระทงสมัยกรุงสุโขทัย มีทั้งการจัดขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล และไฟพะเนียง

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานลอยกระทงจะเรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ โดยจัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ ทุกปี ในจังหวัดนครพนม มีการนำหยวกกล้วย หรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเรือ และประดับไฟ อย่างสวยงาม และตอนกลางคืน จะมีการจุดไฟปล่อยกระทงให้ไหล ไปตามลำน้ำโขง

    กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานลอยกระทง หลายแห่ง แต่ที่เป็นไฮไลท์อยู่ที่ "งานภูเขาทอง" ที่จะเนรมิตงานวัด เพื่อเฉลิมฉลอง ประเพณีลอยกระทง ส่วนใหญ่จัดอยู่ราว 7-10 วัน ตั้งแต่ก่อนวันลอยกระทง จนถึงหลังวันลอยกระทง

    ภาคใต้ มีการจัดงานลอยกระทงในหลาย ๆ จังหวัด เช่น หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีงานยิ่งใหญ่ทุกปี
  3. สัญลักษณ์ของ lungyai1123


    โรคคาโรชิ ภัยของคนบ้างาน....เสียชีวิตจากการทำงานหนัก

    โรคคาโรชิ หรือ Karochi syndrome ฟัง ดูแล้วก็คงไม่คุ้นชื่อเท่าไหร่ แต่ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษจะหมายถึง Death from Overwork หรือ การเสียชีวิตจากการทำงานหนัก พูดง่าย ๆ ก็คือ ทำงานหนักจนตาย หรือบ้างานจนตายนั่นเอง
    นั่นหมายความว่า โรคคาโรชิ คือโรคที่เกิดกับคนขยัน ใครที่บ้างาน โหมทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ จนร่างกายรับไม่ไหว ในที่สุดก็ถึงแก่ชีวิต โอ้ว...ฟังดูชักน่ากลัวขึ้นมาแล้ว อย่าเพิ่งวิตกไป มารู้จักเจ้าโรคนี้กันหน่อยดีไหม

    โรคคาโรชิ คืออะไรนะ? - แค่ ฟังชื่อ "คาโรชิ" ก็พอเดาได้ว่า โรคนี้มีที่มาจากประเทศญี่ปุ่น เราคงเคยได้ยินข่าวว่า พนักงานชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุบ่อยมาก บาง คนนั่งรถไฟกลับบ้านอยู่ดี ๆ ก็เสียชีวิตเอาดื้อ ๆ ทางการแพทย์จึงฟันธงว่า สาเหตุการเสียชีวิตน่าจะมาจากโรคคาโรชินี่แหละ ที่เกิดจากการทำงานหนักมาก ๆ จนร่างกายทนต่อไปไม่ได้
    โรคนี้มีประวัติมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1970 หลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศญี่ปุ่นถูกกองทัพสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิด ทำให้บ้านเมืองเสียหายยับเยิน หลังจากนั้น คนญี่ปุ่นจึงต้องทำงานหนักมากขึ้นกว่าเดิมหลายสิบเท่าเพื่อฟื้นฟูประเทศ ซึ่งภายหลัง ประเทศญี่ปุ่นก็กลายเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจจะบอกได้ว่า อดีตที่แสนเจ็บปวดได้ปลูกฝังให้คนญี่ปุ่นเป็นคนขยันขันแข็ง อดทน และผูกพันกับองค์กรมาก อีกทั้งการทำธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก ทำให้ชาวญี่ปุ่นทำงานหามรุ่งหามค่ำ พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่กลับบ้านกลับช่อง สุดท้ายเกิดความเครียด โรคต่าง ๆ ก็ถามหา ไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง แม้กระทั่งอัมพาต

    หลายคนไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้แล้ว จึงยังคงทำพฤติกรรมเดิม ๆ ทำงานหนักจนเครียด พอเครียดแล้วก็ไปดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือทานอาหารคลายเครียด ทีนี้ทานมาก ๆ เข้า ไขมันในเลือดสูงขึ้น โรคอื่น ๆ ก็ตามมาอีก สะสมไปเรื่อย ๆ นานวันเข้าร่างกายก็น็อก นี่แหละภัยเงียบของการบ้างาน.. ดูแล้วมีใครทำพฤติกรรมแบบนี้บ้างเอ่ย ลองมาเช็กอาการกันหน่อยซิ เราเริ่มมีสัญญาณอันตรายหรือยังนะ

    มาป้องกันโรคคาโรชิกันดีกว่า - จริง ๆ เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้ง่าย ๆ แค่คุณรู้จักจัดสรรเวลาในการทำงานให้ถูกต้อง ต้องรู้ว่าเวลาไหนที่ควรจะพักผ่อนได้แล้ว ไม่ควรตรากตรำทำงานหนักมากเกินไป ต้องรู้จักปรับเวลาการทำงาน และการพักผ่อนให้สมดุลกัน ตระหนักไว้ก่อนเลยว่า สุขภาพเราสำคัญที่สุด ถ้าเป็นอะไรขึ้นมามันไม่คุ้มกันเลยนะ อย่าง เช่น แต่ละวันที่คุณนั่งทำงานอยู่ ก็ควรจะพักผ่อนบ้าง ทุก ๆ ชั่วโมง สองชั่วโมง ควรหาวิธีผ่อนคลายให้ตัวเอง เช่น เดินออกไปสูดอากาศข้างนอก หรือหลับตา นั่งนิ่ง ๆ สักพัก เพื่อผ่อนคลายความเครียดก็น่าจะดี และ ถ้าเลิกจากงาน วันหยุดสุดสัปดาห์ มีเวลาว่างเมื่อไหร่ ลองหากิจกรรมอื่น ๆ ทำ เช่น เล่นกีฬา ดูหนัง ฟังเพลง ก็จะช่วยได้มากเลย แต่ถ้าใครเริ่มมีอาการเครียดมาก ๆ ไม่รู้ว่าจะผ่อนคลายความเครียดได้อย่างไร และหาทางออกไม่ได้ ลองปรึกษาแพทย์ หรือขอคำปรึกษาที่สายด่วนสุขภาพจิต 1667 ก็ได้ค่ะ…. ขี้ เกียจไปก็ไม่ได้ ขยันมากเกินกำลังก็ใช่ว่าจะดี เพราะฉะนั้นเลือกทางสายกลางดีกว่านะคะ อย่าให้การทำงานมาเป็นภัยคุกคามสุขภาพ และชีวิตของคุณเลยนะ







    แหล่งอ้างอิง : http://health.kapook.com/view44066.html
    ขอบคุณ... https://sites.google.com/site/finolem/karochi-syndrome (ขนาดไฟล์: 32950)
    (Finolemออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
  4. สัญลักษณ์ของ lungyai1123



    เตือนภัยสาวบ้างานระวังถึงตาย

    สุขภาพของคนในวัยทำงานนั้น หรือสาวทำงานที่ชอบทำงานหนักนอกจากการแข่งขันแล้ว สภาวะความเครียดก็ยังมีอยู่มาก ดังนั้นจึงทำให้คนในวัยทำงานจำเป็นจะต้องแข่งขันกันตัวเองเพื่อให้ได้มา จนบางทีอาจลืมดูแลสุขภาพของตัวเองไป โรคติดงาน (Workaholic) หรือ โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) มักถูกเหมาเรียกรวมว่า “โรคบ้างาน” ที่ผ่านมาพบมากในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีให้เห็นเยอะแยะในประเทศไทย

    โรคนี้มักเกิดกับผู้มีบุคลิกเป็นคนสมบูรณ์แบบ เจ้าระเบียบ ชอบแข่งขัน มีความทะเยอะทะยาน เอาจริงเอาจัง จิตใจสุขสมเมื่อได้ทำงาน หมกมุ่นคิดวนเวียนอยู่กับการทำงาน กว่าค่อนของความคิดผูกติดอยู่กับงาน งาน งาน และก็งาน
    อาการเบื้องต้นด้านร่างกาย เริ่มจากปวดหัว ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดท้ายทอย สายตาพร่ามัว ปวดกล้ามเนื้อตา นำมาซึ่งโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคกระเพาะ เบาหวาน และความดัน
    อาการเบื้องต้นด้านอารมณ์ เริ่มจากมองอะไรขวางหูขวางตา เกรี้ยวกราดกับเพื่อนร่วมงาน การพูดคุยไม่เหมือนเดิม จะให้ความสนใจแต่เฉพาะในเรื่องของการทำงาน จนส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว

    หนทางเยียวยา เริ่มรักษาได้ด้วยตนเอง ต้องปรับพฤติกรรมลดความเครียดจาก การทำงานที่หนักเกินพอดี ใช้เวลาทำงานกับเวลาพักผ่อนให้สมดุลกัน และควรมีการผ่อนคลายในระหว่างการทำงาน เช่น หลับตาหายใจลึกๆ สักพัก และระหว่างเวลาทำงานในทุก 1 ชั่วโมง ควรใช้สมอง 45 นาที แล้วพัก 10-15 นาที เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพของเราไม่ให้ทำงานหนักจนเกินไป
    ว่าไปแล้ว “โรคบ้างาน” ยังน้อยเกินไป ถ้าเทียบกับโรค Death from Overwork หรือโรคคาโรชิ โรคนี้เป็นแล้วตาย ต้องตายสถานเดียว!





    ขอบคุณ... http://variety.teenee.com/foodforbrain/57551.html
    (teenee.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
  5. สัญลักษณ์ของ lungyai1123


    แพทย์เตือนหญิงตั้งครรภ์ดื่มเหล้าหนัก ลูกเสี่ยงพิการ

    นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวถึงกรณีที่ละครที่มีตัวละครเอกของเรื่องดื่มเหล้าขณะตั้งครรภ์ว่า สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์แล้วมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในทางการแพทย์เป็น เรื่องต้องห้าม แม้แต่ในต่างประเทศก็มีการตระหนักในเรื่องนี้ เนื่องจากหากแม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็จะมีผลกระทบต่อเด็กทั้งในด้านของการสร้างอวัยวะส่งผลให้เด็กพิการทางกาย และยังจะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กอีกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่ง ดังนั้น หากมีฉากหญิงตั้งครรภ์แล้วดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ควรหารือกันว่าควรออกมาตรการใดมาควบคุมหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีการให้ความรู้ต่อสังคม อาจต้องมีการขึ้นคำเตือนเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสังคม

    ผลเสียจากการที่หญิงตั้งครรภ์ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีการพิสูจน์เรียบร้อยแล้วว่าจะทำให้เด็กที่คลอดออกมาสมองเล็ก ไอคิวต่ำ เป็นออทิสติก ไฮเปอร์แอ็กทีฟ กลายเป็นปัญหาต่อสังคมภายภาคหน้าอย่างมหาศาล และมีการศึกษาในประเทศแคนาดา พบว่า การเลี้ยงดูเด็กที่มีปัญหาดังกล่าว 1 คน ใช้เงินราว 10 ล้านเหรียญแคนาดา หรือราว 300 ล้านบาท

    www.nextsteptv.com

  6. สัญลักษณ์ของ lungyai1123


    ในชาติปัจจุบัน ของ พระเจ้าเดือนเด่นฟ้า (พระบาทสมเด็จภูมิพลอดุลยเดชมหาราช)

    หลวงพ่อเคยถวายพระพรไว้ ณ พระตำหนักภุพิงค์ราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๐... ในตอนหนึ่งที่พระองค์ทรงตรัสถามหลวงพ่อว่า

    "เขาพูดกันว่าผมปรารถนาพุทธภูมิเป็นความจริงไหมครับ..?"

    หลวงพ่อถวายพระพรว่า...เรื่องปรารถนาพุทธภูมินี่ พระองค์ปรารถนามานาน..แต่เวลานี้บารมีเป็น "ปรมัตถบารมี" แล้ว ก็เหลืออีก ๕ ชาติ และที่พระองค์ปฏิบัติมามันเลยแล้ว..ไม่ใช่ไม่สำเร็จ..!

    "พุทธภูมิ" นี่ต้องบำเพ็ญกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระองค์เป็น "วิริยาธิกะ" วิริยาธิกะนี่..ต้องบำเพ็ญบารมีถึง ๑๖ อสงไขยกำไรแสนกัป นี่บำเพ็ญมาเกิน ๑๖ อสงไขยแล้ว "แสนกัป" อาจยังไม่ครบ จึงต้องเกิดอีก ๕ ชาติ"

    ในขณะนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้ตรัสถามหลวงพ่อว่า "พระเจ้าอยู่หัวก็ดี หม่อมฉันก็ดี ก็มีความเคารพในพระคุณ พระราชวงศ์จักรี อยู่ตลอดเวลา ที่ท่านจะทรงสามารถจะทรงความเป็นเอกราชไว้ได้ ก็อยากจะทราบว่าทั้งสององค์นี่..จะทรงชาติกับศาสนาไว้ได้ไหม..? "

    หลวงพ่อถวายพระพรว่า "ก็ได้..ประเทศเราไม่มีเกณฑ์จะต้องตกเป็นเหยื่อคอมมิวนิสต์"

    แล้วพระองค์ก็ตรัสถามอีกว่า "ฉันทั้งสององค์นี่ ทั้งพระเจ้าอยู่หัวด้วยและฉันด้วย จะต้องตายเพราะการที่เขามุ่งจะฆ่าไหม..? "

    พอตรัสถามตรงนี้ หลวงพ่อท่านบอกว่าพระดลใจให้ตอบว่าดังนี้..

    "ก็เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี่ เป็นนักรบฝีมือดีมาจากสุโขทัย และมาเกิดคราวนี้ ต้องการจะเกิดเพื่อจรรโลงให้คงอยู่ให้ชาติมีความร่มเย็นเป็นสุข แล้วเรื่องอะไร..ที่ต้องตายเพราะคมอาวุธล่ะ..ถ้าจะเจ็บตายเอง.งเป็นเรื่องธรรมดา และต้องตายด้วยเรื่อง "คมอาวุธ" อันนี้ไม่มี..!"

    สรุป..ในหลวงเกิดเป็น พระเจ้าเดือนเด่นฟ้า ในสมัยสุวรรณภูมิ และเกิดเป็น พระเจ้าเดือนแจ่มฟ้า ในสมัยเชียงแสน ปรารถนา พุทธภูมิ ประเภท วิริยาธิกะ ตอนนี้บารมีใก้ลเต็ม และต้องเกิดสร้างบารมีอีก ๕ ชาติ




    ที่มา : facebook.com/Chantira Beverley
  7. สัญลักษณ์ของ lungyai1123






    การทอดกฐิน ที่ปฏิบัติกันมาในประเทศไทย ตามหลักฐานที่ปรากฏ นับตั้งแต่สมัย กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตราบเท่าถึงปัจจุบัน แยกเป็นประเภทใหญ่ได้ดังนี้ คือ

    กฐินหลวง คือ กฐินที่พระเจ้าแผ่นดิน เสด็จพระราชดำเนินทอดถวาย ณ พระอารามหลวงที่กำหนดไว้เป็น กรณีพิเศษ ปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน ๑๖ วัด เช่น ๑. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ๒. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ๓. วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร ๔. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ๕. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร ๖. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร ๗. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร ๘. วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร ๙. วัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร ๑๐. วัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร ๑๑. วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร ๑๒. วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร ๑๓. วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม ๑๔. วัดสุวรรณดาราราม พระนครศรีอยุธยา ๑๕. วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ พระนครศรีอยุธยา ๑๖. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก

    กฐินต้น คือ กฐินที่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงมีพระราชศรัทธา พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนิน ทอดถวายตามพระอาราม ที่ทรงพอพระราชหฤทัย โดยจะเป็นพระอารามหลวง หรือวัดชั้นราษฏร์ก็สุดแท้แต่พระราชอัธยาศัย

    กฐินพระราชทาน คือ กฐินที่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้ข้าราชบริพาร หรือหน่วยราชการต่าง ๆ นำไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวงต่าง ๆ แทนพระองค์ เช่น วัดอนงคาราม วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น

    กฐินราษฏร์ คือ กฐินที่ราษฏร หรือประชาชนจัดขึ้น เป็นการส่วนตัว หรือเป็นหมู่คณะ แล้วนำไปทอดถวายตามวัดต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด และวัดนั้นเป็นวัดที่ราษฏรสร้างขึ้น

    กฐินสามัคคี คือ กฐินที่พุทธศาสนิกชน ร่วมแรงร่วมใจจัดขึ้น เป็นหมู่คณะและนำไปทอดถวาย ยังวัดใดวัดหนึ่ง ด้วยความพร้อมเพรียงกัน

    กฐินทรงเครื่อง คือ กฐินที่มีผ้าป่าไปทอดสมทบ เรียกว่า ผ้าป่าหางกฐินมีมหรสพสมโภชน์เป็นที่ เอิกเกริกสำราญใจในบุญพิธีกฐิน

    กฐินโจร คือ กฐินที่เจ้าภาพนำไปทอด โดยมิได้ให้ทางวัดทราบล่วงหน้า พอผ่านไปพบ วัดใดวัดหนึ่งที่ยังไม่มีกฐิน ไม่มีผู้จองกฐินจวน จะหมดเขตกฐินอยู่แล้ว ก็จู่โจมเข้าไปทอดถวาย คล้ายกับโจรปล้น มิให้เจ้าของทรัพย์รู้ตัว หรือจะเรียกอีกอย่างว่า
    กฐินตกค้าง

    จุลกฐิน คือ กฐินน้อย หมายถึง มีเวลาทำน้อย ต้องทำด้วยความรีบร้อนด่วน เป็นกฐินฉุกละหุก เพราะต้องการทำทุกอย่าง ให้แล้วเสร็จภายในวันเดียว นับตั้งแต่หาฝ้ายมาปั่น ด้วยทอทำเป็นผ้า และเย็บย้อมให้สำเร็จ เป็นจีวรแล้วนำไป ทอดถวายสงฆ์ที่จำพรรษาในอาวาสนั้น ตลอดไตรมาส หรือสามเดือน





    ที่มา : http://www.facebook.com/siriwanna.jill
  8. สัญลักษณ์ของ lungyai1123


    ถั่วลิสง ช่วยบรรเทาฝีในท้อง

    ถั่วลิสง (Peanut) คือพืชปีเดียวตระกูลถั่ว ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Arachis hypogaea เมล็ดในฝักเจริญอยู่ใต้ดินจนโตเต็มวัยได้ แต่ละฝักมีเมล็ดรูปกลมรีจำนวน 1-3 เมล็ด พร้อมกับเปลือกหุ้มเมล็ดสีขาวหรือม่วงคล้ำ ถั่วลิสงมีโปรตีน แร่ธาตุ และวิตามินมากกว่าตับวัว มีไขมันมากกว่าครีมเข้มข้น และมีแคลอรีมากกว่าน้ำตาล

    ถั่วลิสง เป็นพืชสารพัดประโยชน์ นอกจากเมล็ดจะรับประทานได้แล้ว เปลือก ลำต้น และใบยังใช้ทำปุ๋ยหรือเลี้ยงสัตว์ได้

    ในหนังสือ สมุนไพร 91 ชนิด พิชิตโรค ชุด ตำรายาล้ำค่าของหมอโฮจุน ที่ยูเนสโก คัดเลือกให้เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก จากสำนักพิมพ์อินสปายร์ บันทึกไว้ว่า...

    ถั่วลิสงช่วยบำรุงม้าม กระเพาะอาหาร ปอด ช่วยเพิ่มน้ำนมแม่ แก้อาการไอเรื้อรังและคลื่นไส้ ถั่วลิสงต้มกับเกลือ จะช่วยบรรเทาโรคฝีในท้อง ส่วนถั่วลิสงคั่ว ช่วยรักษาอาการไอเรื้อรัง

    นอกจากนี้ ในถั่วลิสงยังมีผลดีต่อโรคไอกรนในเด็ก และรักษาโรคเกล็ดเลือดต่ำได้ด้วย โดยนำเปลือกถั่วลิสง 10 กรัม ต้มกับน้ำ เมื่อดื่มทุกวัน จะช่วยรักษาโรคดังกล่าวได้ กรณีที่แม่มีน้ำนมน้อย ให้ต้มถั่วลิสง 120 กรัม กับขาหมู 1 ขา กินแล้วจะช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้น

    ข้อควรระวัง! ถ้ามีอาการของโรคที่เกิดจากความชื้นเย็น ซึ่งหมายถึง เมื่อสภาพอากาศมีความหนาวเย็น และมีความชื้นร่วมอยู่ด้วย ทำให้ร่างกายเกิดเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเลือดจะไหลเวียนทั่วร่างกายได้ไม่ดี มีอาการเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ ข้อต่อมีอาการตึงและปวด หากมีอาการรุนแรง หรือกำลังท้องเสีย ห้ามกินถั่วลิสงเด็ดขาด





    เดลินิวส์ออนไลน์, พฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2556
    http://www.dailynews.co.th/article/822/230790
    Updated 20-10-2013 at 16:34 by lungyai1123
  9. สัญลักษณ์ของ พวงพยอม
    ขอบคุณหลายๆสำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปันจ้า
  10. สัญลักษณ์ของ lungyai1123


    คำบูชาพระรัตนตรัย

    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
    พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
    ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สังฆัง นะมามิ (กราบ)

    พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้โดยชอบได้โดยพระองค์เอง
    ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
    พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
    ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระ




    คำอาราธนาศีล ๕

    มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
    ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
    ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอศีล ๕ ข้อพร้อมทั้งพระรัตนตรัยเพื่อประโยชน์แก่การจะรักษาต่างๆกัน)



    คำถวายพระพุทธรูป

    อิมัง มะยัง ภันเต พุทธะรูปัง ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
    อิมัง พุทธรูปัง ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย พระพุทธรูปแด่พระภิกษุสงฆ์
    ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งพระพุทธรูปนี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ)



    คำถวายข้าวพระพุทธ

    อิมัง สูปะพยัญชะนะสัมปันนัง สาลีนัง โภชะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ
    (ข้าพเจ้าขอบูชาด้วยโภชนะข้าวสาลี พร้อมด้วยแกงกับและน้ำอันประเสริฐนี้แด่พระพุทธเจ้า)



    คำถวายดอกไม้ ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ

    อิมานิ มะยัง ภันเต ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ
    ระตะนัตตะยัสเสวะ อะภิปูเชมะ
    อัมหากัง ระตะนัตตะยัสสะ ปูชา ทีฆะรัตตัง
    หิตะสุขาวะหา โหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา
    (ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาธูปเทียนและดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้ แก่พระรัตนตรัย ขอจงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์สุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เพื่อให้ถึงซึ่งนิพพานที่ซึ่งสิ้นอาสวะกิเลสเทอญ)
    พำไ

    คำถวายของใส่บาตร

    อิทัง ทานัง สีละวันตานัง ภิขูนัง นยาเทมิ สุทินัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง นิพานะปัจจะ
    (ข้าพเจ้าขอน้อมถวายทานอันนี้ แด่พระสงฆ์ผู้มีศีลทั้งหลาย ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นปัจจัยให้ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ)
    หรืออาจกล่าวเป็นภาษาไทยเวลาจบขันข้าวใส่บาตรดังนี้
    ข้าวของข้าพเจ้า ขาวดังดอกบัว ยกขึ้นเหนือหัว ถวายแด่พระสงฆ์ จิตใจจำนง ตรงต่อพระนิพพาน



    คำถวายสังฆทาน


    อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ
    อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายซึ่งภัตตาหารกับของที่เป็นบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับซึ่งภัตตาหารกับของที่เป็นบริวารทั้งหลาย เหล่านี้เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)


    คำถวายผ้าป่า

    อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ
    อิมานิ ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆารัตตัง หิตายะ สุขายะ
    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้าบังสุกุล จีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิษุสงฆ์ ขอพระภิษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุล จีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)



    คำถวายผ้าอาบน้ำฝน

    อิมานิ มะยัง ภันเต
    วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ
    ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ
    สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
    อิมานิ วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ
    ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอาบน้ำฝนกับบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย
    เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)



    คำกรวดน้ำ

    อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตาโหตุ ญาตโย
    (ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายจงมีความสุขกายสุขใจเถิด)


    คำถวายข้าวสาร

    อิมานิ มะยัง ภันเต ตัณฑุลานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
    อิมานิ ตัณฑุลานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายข้าวสารกับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ข้าวสารกับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)



    คำถวายยาพระสงฆ์


    อิมานิ มะยัง ภันเต คิลานะเภสัชชานิ สะปะริวารานิ สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ
    อิมานิ คิลานะเภสัชชานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญจะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ญาตะกานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายยาบำบัดความป่วยไข้ กับทั้งเวชภัณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับยาบำบัดความป่วยไข้ และเวชภัณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ญาติทั้งหลาย มีมารดาและบิดาเป็นต้นด้วย สิ้นกาลนานเทอญ)
    [/COLOR]





    ขอบพระคุณ แหล่งข้อมูล

    http://ayutthaya.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=538986257&Ntype=3

    http://www.prapayneethai.com/th/tradition/north_east/view.asp?id=0513

    http://www.palungdham.com/t1046.html

    Thaidreamhos.com
  11. สัญลักษณ์ของ lungyai1123



    ตักบาตรธูปเทียน


    ตักบาตรขนมกระยาสารท







    ที่มา

    ประเพณีตักบาตรธูปเทียนนั้น ถือเป็นหนึ่งในประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองนคร และเป็นประเพณีเก่าแก่ต้นแบบคู่มากับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อย่างน้อยก็มีกล่าวไว้แต่
    ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ครั้งสุโขทัยแล้วว่ประเพณีตักบาตรธุปเทียนอันมีต้นกำเนินที่เมืองนคร
    ได้เผยแพร่ไปสู่สุโขทัย ทั้งนี้เป็นเพราะพุทธศาสนาได้แพร่ขยายเข้ามาที่เมืองนครก่อนเป็น
    แห่งแรก
    ประเพณีตักบาตรธูปเทียนเป็นส่วนหนึ่งของพิธีถวายสังฆทานเนื่องในโอกาสเข้าพรรษา
    ณ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เมื่อถึงวันดังกล่าวชาวเมืองนครจะต่างพากันไปที่วัดในชุมชนของตน
    พร้อมทั้งนำเทียนพรรษาขนาดใหญ่พอที่จะใช้ได้ตลอดพรรษา กับดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าอาบน้ำฝน
    ดั่ง เตียง ตะเกียง ยา และอาหารแห้ง ไปถวายพระที่วัดด้วย
    แต่เดิมนั้น การตักบาตรธูปเทียนจัดกันที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเพียงแห่งเดียว
    ตั้งแต่เมื่อครั้งที่วัดพระมหาธาตุฯ ยังไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา เมื่อปรากฏว่าเครื่องสังฆทานที่
    ชาวบ้านนำมาถวายมีมากเกินไป ใช้ทั้งปีก็ไม่หมด จึงมีการอาราธนาพระจากวัดอื่นๆ
    รอบวัดพระมหาธาตุฯ มารับเครื่องสังฆทานด้วย โดยนิมนต์ให้มายืนเข้าแถวยาวเหยียดที่
    หน้าวิหารทับเกษตร ชาวบ้านจะได้นำเครื่องสังฆทานพร้อมทั้งกำดอกไม้ธูปเทียนที่เตรียมมา
    ไปใส่ลงในย่ามพระที่เรียงแถวอยู่นั้น เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะพากันไปจุดเปรียงหรือ
    ที่เรียกว่า "จองเปรียง" (เปรียงตามศัพท์แปลว่าไขข้อโค คือไขมันสัตว์นั่นเอง) ตามหน้าพระพุทธรูปและฐานเจดีย์ในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยใช้วิธีการง่ายๆ
    คือใส่ด้ายดิบลงไปในภาชนะเล็กๆ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ เปลือกหอยแครง หยอดน้ำมันมะพร้าว
    หรือไขมันสัตว์ลงไปแล้วจุดไฟ
    ปัจจุบัน รายละเอียดของพิธีบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปบ้าง อย่างเช่น สถานที่ที่พระจะมารับบิณฑบาตดอกไม้ธูปเทียนนั้นนอกจากจะเป็นบริเวณหน้าวิหารทับเกษตร
    เช่น ในอดีตแล้ว ยังขยายต่อออกมาที่ลานหน้าวัดในตัวเมืองนคร ด้วยเหตุนี้ในตอนบ่ายวันเข้าพรรษา จะได้เห็นพระสงฆ์จำนวนมากมายออกมารับบิณฑบาตดอกไม้ธูปเทียนกันเป็นทิวแถว ดอกไม้ที่นำมาตักบาตรนั้นก็กลายเป็นดอกไม้สดที่พ่อค้าแม่ค้าจัดเตรียมมาเพื่อการนี้ แทนที่จะเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ที่ชาวบ้านต่างคนต่างทำกันมาสำหรับวันนี้โดยเฉพาะ และการจุดเปรียงนั้นก็เปลี่ยนจากที่เคยจุดในเปลือกหอยมาเป็นการจุดเทียนไขแทน และจำกัดเฉพาะในบริเวณวิหารพระม้าแห่งเดียวต่างจากเดิมที่เคยจุดหรือจองเปรียงกันทั่วไปทั้งวัด

    ความสำคัญ


    เป็นการทำบุญด้วยธูปเทียนและดอกไม้ เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาเพื่อให้พระสงฆ์ที่จำพรรษา ได้นำธูปเทียนใช้บูชาพระรัตนตรัยตลอดพรรษา ๓ เดือน




    พิธีกรรม

    วันประกอบพิธีตักบาตรธูปเทียน เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มพิธีเข้าพรรษา พิธีการตักบาตรธูปเทียน
    จึงเริ่มในตอนบ่าย โดยพระภิกษุสงฆ์และสามเณร ต่างพากันมายืนเรียงแถวในบริเวณลานวัด โดยมี
    ย่ามคล้องแขนทุกรูป เพื่อเตรียมบิณฑบาต เมื่อถึงเวลาบ่ายประมาณ ๑๖ นาฬิกา พุทธศาสนิกชนจะ
    นำธูปเทียน ไม้ขีดไฟ และดอกไม้ มาใส่ย่ามถวายพระสงฆ์เป็นอันเสร็จพิธี

    แนวคิด/คุณค่า

    1.สะท้อนให้เห็ถึงความยึดมั่นในการนับถือศาสนา
    2.เพื่อความสุขใขจากบุญกุศลที่ได้ทำบุญตักบาตรธูปเทียน
    3.เป็นการอบรบให้ลูกหลานที่ไปร่วมพิธีตักบาตรธูปเทียนได้มีความรู้ความเข้าใจในประเพณีท้องถิ่น








    วันสารทไทย



    ทำบุญตักบาตร วันสารทไทยเป็นประเพณีไทยที่แตกต่างจากประเพณีอื่น ๆ โดยเฉพาะในส่วนของการทำบุญตักบาตร ด้วยมีความเชื่อว่าการทำบุญวันสารทเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่ง ลับไปแล้ว การตักบาตรจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ การตักบาตรที่สำคัญในแต่ละท้องถิ่นได้แก่


    ตักบาตรขนมกระยาสารท
    ขนมกระยาสารทเป็นขนมประจำวันสารทในทุกท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งจะขาดเสียมิได้ด้วยมีความเชื่อที่ว่า ถ้าไม่ได้ใส่บาตรขนมกระยาสารทในวันสารทไทยแล้ว ญาติผู้ล่วงลับก็จะไม่ได้ส่วนบุญส่วนกุศลที่กระทำในวันนั้น ขนมกระยาสารทมีส่วนประกอบ คือ ข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่ว งา และน้ำตาล นำทั้งหมดมากวนเข้าด้วยกัน เมื่อสุกแล้วจึงนำมาปั้นเป็นก้อนกลม หรือจะตัดเป็นแผ่นก็ได้


    ผลที่ได้รับจากประเพณี


    เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชนผู้มีพระคุณ

    ได้แสดงความเอื้อเฟื้อให้แก่เพื่อนบ้าน เป็นกาผูกมิตรไมตรีกันไว้

    เป็นการแสดงความเคารพ และอปจายนธรรมแก่ผู้หลักผู้ใหญ่

    เป็นการกระทำจิตใจของตนให้สะอาดหมดจดไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่ง
    ความโลภ ขจัดความตระหนี่ได้

    เป็นการบำรุงหรือจรรโลงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป






    แหล่งข้อมูล :





    http://student.nu.ac.th/jitrada/South2.html
    สามารถ จันทร์สูรย์ และ กรรณี อัญชุลี ประเพณีไทยในปัจจุบัน กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรไทย , 2536

    ศิริวรรณ คุ้มโห้ วันและประเพณีสำคัญ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด
  12. สัญลักษณ์ของ lungyai1123



    ตักบาตรข้าวเหนียว


    ตักบาตรเทโวโรหณะ






    ประเพณีที่คนเชียงคานปฏิบัติสืบต่อกันมา คือนึ่งข้าวเหนียวร้อนๆ ใส่บาตรทุกเช้า
    อาจจะมีขนมนมเนยบ้าง เช่น สังขยาที่ห่อด้วยใบตอง ข้าวหลามยาวที่ตัดเป็นท่อนสั้นๆ หรือ
    ขนมไทย เช่นข้าวต้มมัด ฯลฯ ที่ล้วนแล้วแต่ห่อด้วยใบตองทั้งสิ้น ที่สำคัญ... ที่เชียงคาน
    ไม่เอาเงินใส่บาตรพระ




    การใส่บาตรของไทเชียงคานมันเป็นสิ่งบ่งบอกถึงรากเง้าของความเป็นไทเชียงคาน
    ทุกคนที่ได้รับการปลูกฝังกันมาตั้งแต่ปู่ย่า, ตายาย




    การตักบาตรข้าวเหนียวของหลวงพระบางยุคใหม่ในวันนี้ จึงมีการผสมผสานกันระหว่าง
    ภาพพระ-เณรที่ออกบิณฑบาตเป็นแถวยาวเหยียดภาพญาติโยมชาวหลวงพระบางในชุดพื้นเมือง
    นั่งใส่บาตรอย่างนอบน้อมแต่ว่องไวในการจกข้าวเหนียวลงบาตร ภาพนักท่องเที่ยวร่วมตักบาตร
    ข้าวเหนียวด้วยความศรัทธาผสมความตื่นเต้นและอยากลองภาพนักท่องเที่ยวมาตั้งกล้องรอบันทึก
    ภาพตักบาตรข้าวเหนียว และภาพแม่ค้าหาบกะติ๊บข้าวเหนียวเร่ขายให้กับนักท่องเที่ยวที่นับวันยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ








    ช่วงเวลา วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ของทุกปี

    ความสำคัญ

    เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณที่ทรงมีต่อพุทธบริษัท และเพื่อสืบทอดประเพณี
    สำคัญในพุทธศาสนา

    พิธีกรรม

    ๑. จัดเตรียมขบวนรถทรงหรือคานหามพระพุทธรูป เพื่อชักหรือหามนำหน้า
    พระสงฆ์ในการรับบาตร หรือจะให้อุบาสกอุบาสิกาเป็นผู้เชิญพระพุทธรูปก็ได้
    ๒. พระพุทธรูปที่จะเชิญนิยมพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ถ้าไม่มีอาจใช้ปางอื่นๆ
    แต่ให้เป็นพระพุทธรูปยืน
    ๓. พุทธศาสนิกชนเตรียมภัตตาหารใส่บาตร โดยเฉพาะข้าวต้มลูกโยนที่ถือเป็น
    สัญลักษณ์ของพิธีทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ
    ๔. มีการแสดงพระธรรมเทศนา

    วันเทโวโรหณะ




    เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกหลังจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่ใน
    ดาวดึงส์พิภพถ้วนไตรมาสและการตรัสอภิธรรมเทศนาโปรดพระมารดาในเทวโลก
    นั้นมาตลอดเวลา3เดือนพออออกพรรษาแล้วก็เสด็จมายังโลกมนุษย์โดยเสด็จมา
    ทางบันไดสวรรค์ที่ประตูเมืองสังกัสนคร อันตั้งอยู่เหนือกรุงสาวัตถี วันที่เสด็จลง
    จากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า “ วันเทโวโรหณะ “ ตรงกับวันมหาปวารณาเพ็ญเดือน 11
    วันนั้นถือกันว่าเป็นวันบุญกุศล ที่สำคัญวันหนึ่งของพุทธบริษัท โบราณเรียกอีกอย่าง
    หนึ่งว่า”วันพระเจ้าเปิดโลก” รุ่งขึ้นจากวันนั้นเป็นวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จึงมี
    การทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ กันเป็นการใหญ่ เพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จลงจาก
    เทวโลกของพระพุทธเจ้าโดยพุทธบริษัทได้พร้อมใจกันใส่บาตรแด่พระสงฆ์ที่อยู่
    ทั้งหมดในที่นั้นกับทั้งพระพุทธองค์ด้วยโดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อนภัตตาหารที่
    ถวายในวันนั้นส่วนใหญ่เป็นเสบียงกรัง ของตนตามมีตามได้ปรากฏได้มีการใส่บาตร
    ในวันนั้นแออัดมาก ผู้คนเข้าไม่ถึงพระสงฆ์จึงเอาข้าวสาลีของตนห่อบ้าง ทำเป็นปั้นๆ
    บ้างแล้วโยนเข้าถวายพระนี่เองจึงเป็นเหตุหนึ่งที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยนเป็นส่วนสำคัญ
    ของการตักบาตรเทโวโรหณะเป็นประเพณีว่าถึงวันแรม1ค่ำเดือน11ทุกๆปีควร
    ทำบุญตักบาตรให้เหมือนครั้งดั้งเดิมเรียกว่า”ตักบาตรเทโวโรหณะ” จนทุกวันนี้
  13. สัญลักษณ์ของ lungyai1123




    หากพูดว่าตักบาตรน้ำผึ้ง บางคนอาจจะคิดว่าจะเป็นเพียงแค่การเอาเฉพาะ
    น้ำผึ้งมาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายอย่างเดียวเท่านั้นแต่มันก็ไม่ใช่จะเป็นอย่างนั้น
    เสียทีเดียว เพราะการตักบาตรน้ำผึ้งนั้นหาได้มีความยุ่งยากอะไรเลยการทำบุญใน
    วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน๑๐ นั้นก็เหมือนกับการทำบุญในวันพระทั่วๆไปกล่าวคือ เป็นการ
    ทำบุญตักบาตร โดยชาวมอญทั้งหลายก็จะนำเอาข้าวสวย ข้าวสาร อาหารต่างๆ
    มาถวายพระและที่ขาดไม่ได้ก็คือพระเอกในงานนี้อย่าง “น้ำผึ้งบริสุทธิ์” ที่ชาวมอญ
    นำมาใส่บาตรในวันนี้ด้วยศรัทธาอันแรงกล้านั่นเองในวันนั้น จะมีการเตรียมบาตรเอา
    ไว้เหมือนกับปกติแต่ก็คือ จะมีบาตรอีกอัน หรือภาชนะอื่นๆ ที่สามารถใส่น้ำผึ้งได้มา
    วางเคียงกันด้วย โดยบาตรน้ำผึ้งนั้นจะแยกออกจากอย่างอื่น ไม่รวมกับข้าวหรือว่า
    กับชนิดใดๆหลังจากนั้นเมื่อเวลาชาวบ้านก็จะนำน้ำผึ้งที่เตรียมมา ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว
    ก็จะจัดใส่ภาชนะมากัน หรือในปัจจุบันนั้นก็อาจจะนำมาใส่ขวดปากแคบแล้วก็ตัก
    น้ำผึ้งใส่ลงไปในบาตรแต่ละบาตรหรือว่ารินใส่บาตรทีละบาตรจนครบตามจำนวน
    ลักษณะของการตักบาตรน้ำผึ้งนั้นก็เหมือนกับการตักบาตรโดยการใส่ข้าวหรือว่า
    อาหารอื่นๆ เพียงแต่ว่าเปลี่ยนจากข้าวและอาหารชนิดอื่นเป็นน้ำผึ้งนั่นเองโดย
    ประเพณี ดังกล่าวนั้นก็มีสืบทอดกันมาช้านานซึ่งชาวมอญก็ได้ปฏิบัติต่อๆ กันมา
    เป็นประเพณีหนึ่งของชาวบ้านที่แสดงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และที่สำคัญ
    ก็คือ ความศรัทธาในพระสีวลี พระอรหันต์ผู้มีลาภมากนั่นเอง




    การที่ชาวมอญนั้นได้ถวายน้ำผึ้งแด่พระภิกษุสงฆ์ตามแบบอย่างที่ี่
    พระสีวลีเคยทำในชาติก่อนที่จะเป็นพระอรหันต์ในปัจฉิมชาติ ที่ได้เป็นเอตทัคคะ
    ทางด้านการมีลาภมากนั้น ก็เป็นเพราะว่า ชาวมอญเชื่อว่าการถวายน้ำผึ้งนั้นจะ
    เป็นทางที่จะทำให้ผู้ที่ถวายจะมีโชคมีลาภ เหมือนกับพระสีวลี แม้นหากไม่สมหวัง
    ในชาตินี้ ในชาติหน้านั้นก็คงจะได้อย่างแน่นอนโดยชาวมอญเชื่อว่า การถวาย
    น้ำผึ้งของพระสีวลีในชาติก่อนนั้นมีผลทำให้ท่านได้เป็นเอตทัคคะทางด้านการมี
    ลาภนั่นเองดังนั้น หากว่าผู้ใดอยากจะมีลาภเหมือนกับพระสีวลีก็ควรจะถวายน้ำผึ้ง
    ด้วยความเชื่อนี้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าประเพณีดังกล่าวนั้นจะมีมาถึงวันนี้ ซึ่ง
    ในปัจจุบันนั้นชาวมอญก็ยังสืบต่อประเพณีนี้กันอยู่โดยเราจะสามารถพบเห็นได้ใน
    ชุมชนของชาวมอญนั่นเอง
    การถวายน้ำผึ้งหรือประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งของชาวมอญนั้นเป็นความเชื่อ
    ที่มีผลพวงมาจากการที่ชาวมอญนั้นมีความเคารพ ศรัทธาในพระสีวลีไม่มีผิดเพี้ยน
    และความศรัทธานั้นก็ยังคงมีให้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้




    ช่วงเวลา

    กลางเดือน ๙ ของทุกปี


    ความสำคัญ

    การตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีการถวายน้ำผึ้งแก่ภิกษุและสามเณร ของชาว
    รามัญที่วัดพิมพาวาส อำเภอบางปะกง สืบเนื่องมาจากความเชื่อว่าในสมัยพุทธกาล
    พระพุทธเจ้าเสด็จประทับที่ป่าเลไลย์มีช้างและลิงคอยอุปัฏฐากโดยการนำเอาอ้อย
    และน้ำผึ้งคอยถวายต่อมาจึงทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุสามเณรรับน้ำผึ้งและน้ำอ้อย
    มาบริโภคเป็นยาได้




    พิธีกรรม

    การตักบาตรน้ำผึ้งมักจัดกันที่ศาลาวัด ขณะที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์นั้น
    ชาวบ้านจะนำน้ำผึ้งมาใส่บาตร และนำน้ำตาลใส่ในจานที่วางคู่กับบาตร ส่วนอาหาร
    คาวหวานจะใส่ในภาชนะที่วางแยกไว้อีกด้านหนึ่ง อาหารพิเศษที่นำมาใส่บาตร
    ได้แก่ ข้าวต้มมัด ถวายเพื่อให้พระฉันจิ้มกับน้ำผึ้งหรือน้ำตาล

    สาระ

    การตักบาตรน้ำผึ้งเป็นกิจกรรมที่น้อมนำให้ระลึกถึงองค์ผู้มีพระภาคเจ้าที่มีความ
    เกี่ยวข้องกับสัตว์เดียรัจฉานสัตว์ยังรู้คุณค่าของศาสนาด้วยการเสาะแสวงหาภิกษาหาร
    นำมาถวายพุทธองค์เพื่อได้สดับตรับฟังธรรมพุทธศาสนิกชนจึงนำรูปแบบของการนำ
    ปัจจัยมาถวายเพื่อจุดหมายการได้ฟังธรรมเทศนาเช่นกัน


  14. สัญลักษณ์ของ lungyai1123




    ประวัติความเป็นมา

    ความเป็นมาของการตักบาตรนั้น มีแจ้งในพุทธตำนานว่านายมาลาการ
    ผู้ทำหน้าที่ ดอกมะลิสดไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งเมืองราชคฤห์เป็น
    ประจำทุกวัน มาวันหนึ่งขณะที่นายมาลาการออกไปเก็บดอกมะลิอยู่ในสวน องค์
    สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์กำลังเสด็จออกบิณฑบาต
    ผ่านมา นายมาลาการเห็นดังนั้นจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธองค์ จึง
    นำดอกมะลิ ๘ กำมือ ไปถวายแด่พระพุทธองค์ พระเจ้าพิมพิสารราชาทรงทราบ
    ข่าวว่า พระศาสดาเสด็จออกบิณฑบาตรมาถึงใกล้ๆพระราชวังจนนายมาลาการ
    ได้พบปะและถวายดอกมะลิบูชา พระราชาจึงเสด็จพระราชดำเนินไปถวายบังคม
    ต่อพระศาสดา แล้วเสด็จตามพระศาสดาไป ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา พระเจ้า
    พิมพิสารเลยบำเหน็จรางวัลความดีความชอบและพระราชทานสิ่งของทั้งปวงให้
    กับนายมาลาการนับแต่นั้นมานายมาลาการก็อยู่อย่างร่มเย็นปราศจากทุกข์ใดทั้ง
    ปวงด้วยอานิสงส์ของการนำดอกมะลิบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    แทนการตักบาตรจากอานิสงส์ดังกล่าวแต่ครั้งพุทธกาลชาวพุทธทั่วไปจึงถือเป็น
    ประเพณี "ตักบาตรดอกไม้" เป็นประจำทุกปี ตลอดจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้




    กำหนดงาน

    ประเพณีตักบาตรดอกไม้กระทำในวันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี




    พิธี

    ชาวอำเภอพระพุทธบาท จ. สระบุรี มีประเพณีตักบาตรดอกไม้มาตั้งแต่
    ครั้งโบราณ โดยตอนเช้าคนแก่คนเฒ่าตลอดจนหนุ่มสาวพากันไปวัดเพื่อทำบุญ
    ตักบาตรข้าวสุกแด่พระภิกษุสงฆ์ที่วัดพระพุทธบาทราชวรวิหารเสร็จจากการทำบุญ
    ตักบาตรแล้วบรรดาหนุ่มสาวพากันออกจากบ้านขึ้นเขาไปเก็บดอกไม้ที่จะบานเฉพาะ
    ช่วงเข้าพรรษาจนได้ชื่อเรียกขานว่า"ดอกเข้าพรรษา"เพื่อเตรียมไว้สำหรับตักบาตร
    ดอกไม้ในตอนบ่ายของวันเดียวกัน
    ดอกเข้าพรรษานี้ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์อยู่ในสกุลกลอบบา (Globba)
    มีลักษณะคล้ายกับต้นกระชายหรือขมิ้น สูง ๑ คืบเศษๆ มักขึ้นตามท้องที่ป่าเขาที่มี
    ความชุ่มชื้นค่อนข้างสูง ลำต้นขึ้นเป็นกอจากหัวหรือเหง้าใต้ดิน ดอกมีขนาดเล็กออก
    เป็นช่อส่วนยอดของลำต้นมีหลายสี เช่น ขาวเหลืองเหลืองแซมม่วงและบางต้นก็มี
    สีน้ำเงินม่วงมีดอกรองรับในช่อดอกดูเป็นช่อใหญ่สวยงาม โดยเฉพาะชนิดดอกเหลือง
    จะมีกลีบรองสีม่วงสะดุดตามากซึ่งจะหายากมากกว่าสีอื่นชาวบ้านบางคนจึงเรียกว่า
    ดอกยูงทองหรือดอกหงส์ทองเมื่อเก็บดอกไม้มาแล้วก็นำมามัดรวมกับธูปเทียนชาวบ้าน
    จะมาตั้งแถวรออยู่ริมถนนทั้ง๒ ข้างเริ่มตั้งแต่วงเวียนถนนสายคู่ไปจนถึงประตูพระมณฑป
    พระพุทธบาทเมื่อถึงเวลาอันเป็นมงคลพระภิกษุสงฆ์จะออกบิณฑบาต โดยมีขบวนแห่
    กลองยาวพร้อมด้วยนางรำ รำหน้ากลองยาวอย่างครึกครื้น ถัดจากขบวนกลองยาว
    เป็นพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนรถแห่ตามด้วยขบวนพระสงฆ์เดินมาเพื่อบิณฑบาต
    ดอกไม้ ไปเรื่อยๆ ไปจนถึงประตูพระมณฑปพระพุทธบาท







    ต่อจากนั้นพระภิกษุสงฆ์ก็จะนำเอาดอกไม้เข้าไปในมณฑปพระพุทธบาทเพื่อ
    เป็นเครื่องสักการะวันทา"รอยพระพุทธบาท" จากนั้นนำเอาดอกไม้มาวันทาพระเจดีย์
    "จุฬามณี" เจดีย์ที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วจำลองขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีก สุดท้าย
    จึงนำไปสักการะพระเจดีย์พระมหาธาตุองค์ใหญ่ซึ่งชาวพุทธถือกันว่าเป็นเจดีย์ที่บรรจุ
    พระบรมสารีริกธาตุ(กระดูกซี่โครงของพระพุทธเจ้า)จากนั้นพระภิกษุสงฆ์และสามเณร
    ทั้งหมดก็จะเดินตรงไปเข้าอุโบสถสวดอธิษฐานเข้าพรรษาเพื่อเปล่งวาจาว่าจะอยู่ใน
    อาณาเขตที่จำกัดในระหว่างฤดูกาลเข้าพรรษา
    ในขณะที่พระภิกษุสงฆ์และสามเณรจะเข้าอุโบสถประชาชนนำน้ำสะอาดล้าง
    เท้าแด่พระภิกษุสงฆ์บริเวณบันไดด้วยความเข้าใจว่าเป็นการชำระล้างบาป ของตนที่ได้
    กระทำให้หมดสิ้นไป


  15. สัญลักษณ์ของ lungyai1123



    ตักบาตรขนมครก


    ตักบาตรข้าวต้มหาง


    ตักบาตรดอกไม้


    ตักบาตรน้ำผึ้ง

    http://student.nu.ac.th/jitrada/images/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%81.jpg



    ความเป็นมา

    ในสมัยพุทธกาล องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่
    ท่านอนาถปิณฑิกะคฤหบดีผู้เป็นเอตทัคคะ ในทางถวายทาน มีรับรอง
    อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ ชื่อ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาติ เป็น
    สุตตันตปิฎก ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒ วรรคที่ ๑ ชื่อ ปุญญาภิ
    สัณฑวรรคว่าด้วยความไหลมาแห่งบุญและทรงตรัสตอบปุจฉาของ
    พระนางสุมนาราชกุมารีพระราชธิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีบันทึก
    ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ ชื่อ อังคุตตรนิกาย ปัญจกฉักกนิบาติ
    เป็นสุตตันตปิฎก ปฐมปัณณาสก์ หมวด ๕๐ที่ ๑ วรรคที่ ๔ ชื่อ สุมณวรรค
    ว่าด้วยนางสุมนาราชกุมารี ความว่า การถวายอาหารโดยกุศลจิตที่ตั้ง
    ไว้ดีแล้ว ชื่อว่าให้ อายุ ผิวพรรณ ยศ สุข กำลัง ปณิธาน แล ความเป็น
    ใหญ่ย่อมได้รับผลตามเจตนาแห่งกุศลอันดีแล้ว เป็นความสุขอันหาได้
    ยากของคฤหัสถ์ประเพณีการทำบุญตักบาตรแด่หมู่สงฆ์ จึงปรากฏมีมา
    แต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน
    ครั้งแรกเมื่อเริ่มตั้งกรุงศรีอยุธยา มีบันทึกในกฏมณเฑียรบาลว่า
    ด้วยพระราชพิธี๑๒เดือน ปรากฏหลักฐานของสำนักใน การตักบาตรขนม
    เบื้อง ครั้นเมื่อถึงเดือนอ้ายด้วยมีกุ้งชุกชุมเป็นจำนวนมากให้เกณฑ์ผ่าย
    ในช่วยกันปรุงขนมเบื้องถวายพระบรมวงศาณุวงศที่ทรงผนวชแลพระ
    ราชาคณะ พระราชพิธีตักบาตรขนมเบื้องสืบทอดมาจนถึงปลายรัชสมัย
    รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี
    พ.ศ. ๒๔๔๙ หลวงปู่โห้ ภายหลังได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสุนทร
    สุตกิจเป็นเจ้าอาวาสวัดแก่นจันทน์เจริญได้ชักชวนทายกทายิการ่วมกัน
    ตักบาตรขนมครกใน วันขึ้น ๘ ค่ำเดือน๑๐ เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณี
    ทำบุญตักบาตรนับเนื่องแต่พุทธกาลอานิสงฆ์ที่ได้รับทำให้ยังสังขารและ
    ธาตุของคณะสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาพัฒนาฝึกฝนทั้งทางด้านจิตใจและความรู้
    ความสามารถในการปลูกสร้างตกแต่งซ่อมแซมอาคารต่างๆได้รับความรู้
    หลังจากลาสิขาบทไปแล้วยังได้นำปัจจัยไปบำรุงศึกษาทั้งทางสงฆ์และ
    ลูกหลานของทายกทายิกาน้ำตาลทรายที่ได้จากการตักบาตรให้ทายก
    ทายิกาได้สืบทอดการทำตังเมมาแต่โบราณเพื่อแจกจ่ายแก่คณะสงฆ์และ
    ผู้มาช่วยกิจการภายในวัดทั้งยังใช้ในการปรุงอาหารสำหรับผู้ที่มาทำบุญ
    เมื่อถึงคราวเข้าพรรษาของพระสงฆ์ แลยังถึงซึ่งความสามัคคีเข้มแข็ง
    ของทายก ทายิกาในชุมชนแลเครือข่าย ชุมชนตำบลบางพรมร่วมด้วย
    อบต.บางพรมมีความปรารถนาในการสืบต่อวัฒนธรรมประเพณีตักบาตร
    ขนมครกของตำบลบางพรม ให้เป็นตำนานยืนยาวสืบไปในอนาคตกาล




    ช่วงเวลาที่เหมาะแก่ท่องเที่ยว

    จัดขึ้นในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี

    ลักษณะของสถานที่

    ประเพณีตักบาตรขนมครกน้ำตาลทรายจัดขึ้นในวันขึ้น8ค่ำเดือน10
    ของทุกปีเพื่อสืบทอดประเพณีทำบุญตักบาตรที่มีมาแต่พุทธกาลโดย
    ประเพณีตักบาตรขนมครกนี้ได้มีการเลียนแบบมาจากประเพณีการตักบาตร
    ขนมเบื้องของพระราชพิธีในวังซึ่งเป็นพระราชพิธีที่สืบทอดมาตั้งแต่
    กรุงศรีอยุธยาจนถึงปลายรัชสมัยรัชกาลที่5ปัจจุบันชาวบ้านจะร่วมแรง
    ร่วมใจนำข้าวสารมาหมักค้างคืนไว้พอถึงรุ่งเช้าก็จะช่วยกันโม่แป้งเก็บ
    มะพร้าวมาคั้นกะทิหลังจากนั้นก็ช่วยกันหยอดแป้งทำขนมครกและ
    ร่วมกันตักบาตรพระสงฆ์




    ปัจจุบัน

    ประเพณี “ตักบาตรขนมครก-น้ำตาลทราย
    ณ วัดแก่นจันทร์ ต.บางพรม อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม




  16. สัญลักษณ์ของ lungyai1123


    การทำบุญตักบาตร

    เป็นการทำบุญที่ชาวพุทธทั่วไปรู้จักและปฏิบัติมากกว่าการทำบุญประเภทอื่นๆ
    การตักบาตรนั้น ยังถือว่าเป็นการทำบุญประจำวันของชาวพุทธ และชาวพุทธไทยเชื่อว่า การออกบิณฑบาตของพระสงฆ์เป็นการช่วยโปรดสัตว์ที่อยู่ในอบายภูมิ เช่น เปรตวิสัย
    ให้ได้รับส่วนบุญ ด้วยเหตุผลทางจิรยธรรม ในการทำบุญตักบาตรนั้น พอสรุปได้ดังนี้ ๑.เป็นการสั่งสมบุญในแต่ละวัน เพราะการสั่งสมเป็นเหตุนำความสุขมาให้
    ๒.เป็นการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการทำบุญทำให้จิตใจแจ่มใส เพื่อให้มีกำลังใจที่เข้มแข็ง เพราะผู้ที่ไม่มีบุญ เกื้อหนุนอยู่ในใจ ย่อมพ่ายแพ้ต่อบาปได้ง่าย
    ๓.เป็นการทำที่พึ่งคือบุญให้แก่ตนเองในอนาคต
    ๔.เป็นการช่วยรักษาพุทธประเพณี เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต และที่จะมาตรัสรู้
    ในอนาคต ด้วนแต่ดำรงพระชนม์ชีพด้วยอาหารบิณฑบาต
    ๕.เป็นการช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนา เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ศึกษา ปฏิบัติพระธรรมวินัย แล้วนำมาสั่งสอนให้ประชาชน ได้รับรสแห่งพระธรรมด้วย อีกทั้งยังดำรงตนเป็นตัวอย่างด้านความประพฤติิดีงามของสังคม ฉะนั้น ชาวพุทธควรทำบุญตักบาตรเป็นประจำทุกวัน เพื่อเป็นการสั่งสมบุญให้แก่ตนเองที่
    จะต้อง นำไป ดุจเสบียงเดินทาง ในการท่องเที่ยวเวียนเกิดและเวียนตายอยู่ใน
    วัฏฏสงสารอันไม่ปรากฏ เบื้องต้นและที่สุด และบุญที่สั่งสมไว้นี้ จะช่วยเกื้อกูลให้พ้น
    จากทุกข์ทั้งปวงได้
    อนึ่ง ประโยชน์ส่วนรวมที่จะเกิดขึ้น คือ เป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา เพระพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้นำของพุทธบริษัท ที่เป็นฐานกำลังสำคัญแห่งกองทัพธรรมนั้น ท่านดำรงชีพอยู่ได้ด้วยปัจจัยที่คฤหัสถ์จัดถวายท่านจึงสามารถมีกำลังกายกำลังใจที่จะ
    ศึกษาพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก ให้เข้าใจ ทรงจำ นำมาประพฤติปฏิบัติ และกล่าว
    สอนมวลมนุษย์ได้





    การทำบุญตักบาตรจะสมบูรณ์ได้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ

    ๑.ต้องเตรียมใจให้พร้อม ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะบุญที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ใจของผู้ถวาย ท่านแนะนำให้รักษาเจตนาให้บริสุทธิ์ทั้ง ๓ ขณะ คือ
    ๑.๑ ก่อนถวาย ตั้งใจเสียสละอย่างแท้จริง
    ๑.๒ ขณะถวาย ก็มีใจเลื่อมใส ถวายด้วยความเคารพ
    ๑.๓ หลังจากถวายแล้ว ต้องยินดีในทานของตัวเองจิตใจเบิกบานเมื่อนึกถึงทานที่ตนเอง
    ได้ถวายไปแล้วการทำใจให้ได้ทั้ง ๓ ขณะดังกล่าวนี้ นับว่ายากมาก เพราะมีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้จิตใจของเราเศร้าหมองในขณะใดขณะหนึ่งได้

    ๒.ผู้รับ คือ พระภิกษุสามเณร เป็นผู้สำรวมระวัง มีข้อวัตรปฏิบัติที่ดีงามตามพระธรรมวินัย ใฝ่ศึกษาเล่าเรียน พระพุทธพจน์ ทรงจำ นำมาบอกกล่าว สั่งสอนได้ และเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติเพื่อบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ จนสามารถละขาดได้อย่างสิ้นเชิง

    ๓.สิ่งของที่ถวาย จะต้องได้มาด้วยวิธีที่สุจริต ไม่เบีดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน และที่สำคัญคือสิ่งนั้นต้องเหมาะสมแก่พระภิกษุสามเณรด้วย




    ทำบุญตักบาตรให้หมั่นอธิษฐาน

    เมื่อองค์ประกอบ ๓ อย่างข้างต้นบริบูรณ์ สิ่งที่จะต้องทำก่อนตักบาตร คือ
    "การอธิษฐาน" การอธิษฐานนี้นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะจะทำให้บุญของเราหนัก
    แน่นก่อให้เกิดความเชื่อมั่นมากขี้น และยังทำให้เราทราบเป้าหมายในการทำบุญด้วย
    นอกจากนี้ การอธิษฐานยังสามารภสร้างพลังขึ้นในจิตใจให้มากขึ้น เป็นการสั่งสมกำลัง
    แห่งความบากบั่น อดทน เพื่อเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ให้เราก้าวไปสู่สิ่งที่ปรารถนาได้ การอธิษฐานในขณะที่บำเพ็ญบุญนั้น ผลบุญย่อมหนุนส่งให้สำเร็จตามที่ปรารถนาไว้ ถึงแม้จะขึ้นอยู่กับเวลาและโอกาสบ้างก็ตาม แต่ความดีที่ทำไว้ย่อมไม่เสียหายไปแน่นอน

    ฉะนั้น ก่อนตักบาตร ควรอธิษฐานโดยนั่งหรือยืนก็ได้ แล้วแต่สถานที่จะอำนวย ยกสี่งของที่จะถวายขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วอธิษฐานตามที่ต้องการที่ชอบธรรม
    เป็นภาษาใดก็ได้ จะว่าในใจหรือออกเสียงเบา ๆ ก็ได้ จากนั้นจึงถวายอาหารบิณฑบาต
    ด้วยความเคารพ ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนให้ถวายหลังจากที่ถวายอาหารบิณฑบาตเสร็จแล้ว ถ้าเป็นสตรีให้วางดอกไม้ธูปเทียนไว้บนฝาบาตร เมื่อพระท่านปิดบาตรแล้ว






    ประเพณีตักบาตร ๔ ภาค

    ภาคเหนือ





    ตักบาตรเที่ยงคืน


    ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน หรือ พิธีตักบาตรเป็งปุ๊ด เป็นประเพณีของทางภาคเหนือ
    ในทุกปีที่มีวันขึ้น๑๕ค่ำที่ตรงกับวันพุธโดยไม่เจาะจงว่าต้องอยู่ในเดือนใดพระภิกษุสามเณร
    ในเมืองทุกรูปจะออกบิณฑบาตในตอนเที่ยงคืน โดยมีความแตกต่างของการนับเวลาคือ ที่
    จ.เชียงใหม่ จะตักบาตรคืนวันอังคารหลังเวลา ๐๐.๐๐ น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เข้าสู่วันพุธ ในขณะที่จ.เชียงราย ลำปาง และแม่ฮ่องสอน จะใส่ตักบาตรในคืนวันพุธเวลา ๒๔.๐๐ น. เป็นต้นไปบรรดาพุทธศาสนิกชนชาวเหนือจะเตรียมข้าวสารอาหารแห้งไว้คอยใส่บาตรตั้งแต่
    หลังเที่ยงคืน โดยจะไปคอยใส่บาตรที่หน้าบ้าน ตามถนนสายต่างๆหรือตามแยกใกล้ชุมชน คล้ายกับการใส่บาตร






    ในตอนเช้าตรู่ที่เราเคยเห็นจนชินตา ทั้งนี้ บางปีอาจมีครั้งเดียว หลายครั้ง หรือไม่มีเลย
    ก็ได้เป็นประเพณีนิยมที่มีเฉพาะในภาคเหนือเท่านั้น
    สำหรับประวัติความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ
    ใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่เข้าใจว่าทางภาคเหนือคงรับเอามาจากพม่าอีกต่อหนึ่ง
    พม่ามีความเชื่อว่า พระอุปคุตซึ่งเป็นภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ เมื่อสำเร็จ
    เป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เสด็จลงไปจำศีลภาวนาอยู่ ณ สะดือทะเล ในรอบ ๑ ปีจะขึ้นมา
    โปรดชาวเมืองก่อนเวลารุ่งอรุณชาวพม่ามักตื่นแต่ดึก เพื่อเตรียมอาหารไว้ใส่บาตรพระ
    อุปคุตโดยมีคติความเชื่อว่า หากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระอุปคุตแล้วจะได้บุญใหญ่หลวง
    เกิดโชคลาภและความเป็นสิริมงคลในชีวิต คติความเชื่อนี้จึงทำให้พุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติ
    สืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ ในประเทศไทยการใส่บาตรเที่ยงคืนนี้ชาวเหนือเชื่อกันว่า
    พระอุปคุตจะแปลงกายเป็นสามเณรออกมาโปรดสัตว์ถ้าผู้ใดได้ใส่บาตรกับพระอุปคุตแล้ว
    บุคคลนั้นจะประสบแต่ความสุขร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทองได้อานิสงส์แรงดังนั้นเมื่อถึง
    วันเพ็ญตรงกับวันพุธชาวเหนือทุกคนจะไปคอยใส่บาตรเป็นพิเศษ


  17. สัญลักษณ์ของ lungyai1123



    ในวันออกพรรษาประเพณีที่เกี่ยวข้องปฏิบัติสืบสานต่อเนื่องกันมาคือ
    การตักบาตรเทโว ซึ่งจะตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 หรือหลังจากออกพรรษา
    ไปแล้วหนึ่งวัน
    ประเพณีการตักบาตรเทโวในสมัย พุทธกาลตามที่มีกล่าวขานถึงนั้นเมื่อ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมและ เสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษา
    อยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลา 1พรรษาและเมื่อออกพรรษาพระองค์ได้เสด็จกลับ
    ยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนคร และการที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จลงมาจากสวรรค์
    ชั้นดาวดึงส์เรียกตามศัพท์ภาษา บาลีว่า "เทโวโรหนะ"




    ครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธา เลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่าง
    พร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณี
    ตักบาตรเทโวสืบต่อกันมาจวบปัจจุบัน ส่วนสิ่งที่นำมาใส่บาตรอาจแตกต่าง
    กันมีทั้งข้าวสารอาหารแห้ง อาหารคาวหวาน อีกทั้งบางชุมชนพื้นที่ยังนิยมทำ
    ข้าวต้มลูกโยน ตักบาตร เทโว ดังเช่นที่เขาพระงาม ตำบลหนึ่งในจังหวัด
    ลพบุรีชาวชุมชนที่นี่ร่วมกันสืบสานประเพณีการตักบาตรเทโวฯต่อเนื่อง
    มายาวนาน




    "ข้าวต้มลูกโยน" หรือ "ข้าวต้มหาง"

    ลักษณะคล้ายข้าวต้มมัดแต่มีขนาดเล็กกว่าอีกทั้งในรูปแบบการห่อมีเอกลักษณ์
    โดดเด่นโดยจะไว้หางยาวเพื่อความสะดวกในการใส่บาตรเสียงหนึ่งจากชุมชนบ้านบ่อ

    แก้วตำบลเขาพระงามถ่ายทอดเล่าถึงการทำข้าวต้มลูกโยนว่า ข้าวต้มลูกโยน หรือ
    ข้าวต้มหาง ทำมาจากข้าวเหนียว ซึ่งจะนำมาผัดกับกะทิคล้ายกับการทำข้าวต้ม มัด

    แต่จะมีขนาดเล็กกว่า ข้าวต้มลูกโยนที่นี่จะใส่กล้วยถั่วดำแล้วนำมาห่อซึ่งรูปแบบการ
    ห่อจะนำใบเตยหรือใช้ใบมะพร้าว ฯลฯทำเป็นกรวยม้วนพันไปจนหุ้มข้าวเหนียวโดยทิ้ง
    ชายไว้จากนั้นจะมัดด้วยตอกก่อนนำไปนึ่งให้สุกอีกครั้ง “การทำข้าวต้มลูกโยน หรือ
    ข้าวต้มหาง"จะนิยมทำขึ้นในวันออกพรรษาประเพณีนี้ชาวเขาพระงามได้ปฏิบัติสืบสาน
    มาอย่างต่อเนื่องอีกทั้งเป็นประเพณีเก่าแก่ของที่นี่ซึ่งทุกบ้านจะทำข้าวต้มลูกโยนเพื่อ
    นำไปทำบุญตักบาตรเทโวฯ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าตามตำนาน




    ข้าวต้มลูกโยนในวิธีการทำอาจคล้ายคลึงกันใช้ใบไม้ได้หลายชนิดในการห่อ
    อย่างที่นี่ใช้ใบเตยซึ่งเมื่อนำไปนึ่งก็จะมีกลิ่นหอมอีกทั้งการทำข้าวต้มลูกโยนยังถ่าย
    ทอดความสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจในการสืบรักษาประเพณีของชุมชน”








    http://student.nu.ac.th/jitrada/main
  18. สัญลักษณ์ของ lungyai1123




    ตะกร้อ

    ตะกร้อ เป็นชื่ออุปกรณ์การเล่นกีฬาอันเก่าแก่ชนิดหนึ่งของชาติไทย และในปัจจุบันตะกร้อก็เป็นกีฬายอดนิยมประเภทหนึ่งของคนไทย ในการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ

    เรื่องของตะกร้อนี้ นายขวัญชัย เชาว์สุโข และนายณรงค์ แดงสะอาด ได้ให้คำอธิบายไว้ในสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑๒ โดยเริ่มจาก ลูกตะกร้อ ว่า ลูกตะกร้อใช้หวายที่จักเป็นเส้นเล็ก ๆ ตามขนาดที่ต้องการ สานให้เป็นลูกกลมคล้ายลูกบอล มีตาโปร่งโดยรอบ ภายในกลวง ขนาดวัดโดยรอบยาว ๓๕–๔๕ เซนติเมตร หนัก ๑๔๐–๑๖๐ กรัม

    ในกลุ่มประเทศแถบภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นอกจากประเทศไทย ก็มีพม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ ลาว เขมร อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น ต่างนิยมเล่นตะกร้อกันมาเป็นเวลานานแล้วเช่นกัน เนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าร้อนชื้น มีหวายป่าขึ้นทั่วไป

    ต่อมาสมาคมกีฬาสยามได้ดัดแปลงกติกาแบดมินตันมาใช้กับวิธีเล่นตะกร้อ และให้ชื่อใหม่ว่า “ตะกร้อข้ามตาข่าย” และเล่นเป็นกีฬาประจำชาติประเภทหนึ่ง ตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ ต่อมาอีก ๑๕ ปี มาเลเซียได้ดัดแปลงนำไปเล่นบ้าง แต่เล่นแบบกีฬาวอลเลย์บอล

    ประเทศไทยได้พยายามเสนอให้มีการแข่งขันตะกร้อในกีฬาแหลมทองครั้งที่ ๑ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒ และครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๐๔ แต่ไม่สำเร็จ ต่อมาประเทศมาเลเซียได้เสนอบ้าง และข้อเสนอของมาเลเซียเป็นผลสำเร็จ จึงได้มีการจัดแข่งขันตะกร้อเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ ๓ ซึ่งมาเลเซียเป็นเจ้าภาพ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นต้นมา กติกาการแข่งขันส่วนใหญ่ ยึดถือตามแบบของมาเลเซีย แต่ลูกตะกร้อซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญของเกมยังคงต้องใช้ของไทย

    เพราะจากมติการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกีฬาตะกร้อระหว่างประเทศ รับรองว่าตะกร้อไทยมีข้อบกพร่องน้อยที่สุด จึงใช้เป็นอุปกรณ์การแข่งขันมาตรฐานมาจนทุกวันนี้ และเรียกเกมนี้ใหม่ว่า “เซปักตะกร้อ” ชื่อของเกมนี้เป็นคำผสมระหว่างภาษามาเลเซีย (เซปัก) กับภาษาไทย (ตะกร้อ)

    นอกจากการเล่นตะกร้อข้ามตาข่ายและเซปักตะกร้อแล้ว ประเทศไทยยังมีการเล่นตะกร้อประเภทอื่น ๆ คือ ตะกร้อเตะทนวงเล็ก กับ ตะกร้อเตะทนวงใหญ่ ซึ่งผู้เล่นทั้งสองจะโต้ลูกส่งให้กันไปมาด้วยส่วนต่าง ๆ ของร่างกายรวมทั้งศอก (นอกจากมือและแขน) โดยไม่ให้ลูกตะกร้อตกถูกพื้น ตะกร้อลอดห่วงและตะกร้อพลิกแพลง หรือตะกร้อส่วนบุคคล ปัจจุบันการเล่นดังกล่าวนี้ค่อย ๆ หมดความนิยมไป.

    องค์ความรู้ภาษาไทย, โดย นฤมล บุญแต่ง
    เดลินิวส์ออนไลน์, อังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2555
  19. สัญลักษณ์ของ lungyai1123


    ตะลึง ... สมาคมดาราศาสตร์อเมริกัน ในรัฐโคโลราโด ระบุว่า ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ อาจมีปรากฏการณ์ฝนตกเป็นเพชร ซึ่งอาจทำให้พื้นผิว ของดาวมีแอ่งทะเลเพชรขนาดย่อมๆ เลยทีเดียว !

    ปรากฏการณ์เพชรมหาศาล บนดาวเคราะห์ขนาดยักษ์ เกิดขึ้นจาก การก่อตัวของพายุฝนฟ้าคะนอง ในบรรยากาศชั้นบน ของดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งเปลี่ยนก๊าซคาร์บอน ให้เกิดปฏิกิริยาแข็งตัว เมื่อคาร์บอนในสภาพสสารของแข็ง ตกลงสู่ชั้นบรรยากาศของดาว แรงกดอากาศ ก็ทำให้มันเปลี่ยนสภาพอีกครั้งเป็นแร่แกรไฟต์ อันเป็นสภาพมูลฐานเดียว กับที่ก่อให้เกิดเพชรบนโลกของเรา เมื่อผ่านชั้นบรรยากาศ ในระยะทางกว่า 6,437 กม. แกรไฟต์จะเริ่มเปลี่ยนเป็นเพชรโดยสมบูรณ์แบบ

    หากมีปรากฏการณ์ฝนตก เป็นเพชรจริงตามสมติฐาน พายุขนาดมหึมา ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งบนดาว ทั้งสองดวงคงผลิตเพชร อย่างล้นเหลือ จนมนุษย์เก็บกันแทบไม่หวาดไม่ไหวในอนาคต




    facebook.com/Siriwanna Jill
  20. สัญลักษณ์ของ lungyai1123






    ประเพณีวันออกพรรษา ภาคใต้ ประเพณีชักพระเป็นประเพณี ท้องถิ่นของชาวใต้ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญ ในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จมา ยังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนจึงมารอรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธ เจ้าขึ้นประทับบน บุษบกแล้วแห่ไปรอบเมือง ซึ่งก็คือพระพุทธรูปนั่นเอง โดยมี 2 กรณี คือ ชักพระทางบก กับ ชักพระทางน้ำ

    พิธีชักพระทางบก ... ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนวันชักพระ 2 วัน จะมีพิธีใส่บาตรหน้าล้อ นอกจาก อาหารคาวหวานแล้ว ยังมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของงาน คือ "ปัด" หรือข้าวต้มผัดน้ำกะทิ ห่อด้วยใบมะพร้าว บางที่ห่อด้วยใบกะพ้อ ซึ่งเป็นปาล์มชนิดหนึ่ง ในภาคกลาง เรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน ก่อนจะถึงวันออกพรรษา 1 - 2 สัปดาห์ ทางวัดจะทำเรือบก คือ เอาท่อนไม้ขนาดใหญ่ 2 ท่อนมาทำเป็นพญานาค 2 ตัว เป็นแม่เรือที่ถูกยึดไว้ อย่างแข็งแรง แล้วปูกระดาน วางบุษบก บนบุษบกจะนำพระพุทธรูปยืน รอบบุษบก ก็วางเครื่องดนตรีไว้บรรเลง เวลาเคลื่อนพระไปสู่บริเวณงาน พอเช้าวัน 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะช่วยกันชักพระ โดยถือเชือกขนาดใหญ่ 2 เส้นที่ผูกไว้ กับพญานาคทั้ง 2 ตัว เมื่อถึงบริเวณงาน จะมีการสมโภช และมีการเล่นกีฬา พื้นเมืองต่างๆ กลางคืนมีงานฉลอง อย่างมโหฬาร อย่างการชักพระที่ปัตตานี ก็จะมีชาวอิสลามร่วมด้วย

    พิธีชักพระทางน้ำ .... ก่อนถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ทางวัดที่อยู่ริมน้ำ ก็จะเตรียมการต่างๆ โดยการนำเรือมา 2 - 3 ลำ มาปูด้วยไม้กระดาน เพื่อตั้งบุษบก หรือพนมพระประดับประดา ด้วยธงทิว ในบุษบกก็ตั้งพระพุทธรูป ในเรือบางที่ ก็มีเครื่องดนตรีประโคมตลอดทาง ที่เรือเคลื่อนที่ไปสู่จุดกำหนด คือบริเวณงานท่าน้ำ ที่เป็นบริเวณงาน ก็จะมีเรือพระหลายๆ วัดมาร่วมงาน ปัจจุบันจะนิยมใช้เรือยนต์จูง แทนการพาย เมื่อชักพระถึงบริเวณงาน ทั้งหมด ทุกวัดที่มาร่วม จะมีการฉลองสมโภชพระ มีการละเล่นต่างๆ อย่างสนุกสนาน เช่น แข่งเรือปาโคลน ซัดข้าวต้ม เป็นต้น เมื่อฉลองเสร็จ ก็จะชักพระกลับวัด บางทีก็จะแย่งเรือกัน ฝ่ายใดชนะก็ยึดเรือ ฝ่ายใดแพ้ต้องเสียค่าไถ่ให้ฝ่ายชนะ จึงจะได้เรือคืน

    ในเขตที่มีบ้านเรือนอยู่ใน เขตแม่น้ำลำคลอง ก็จะมีพิธีรับพระเช่นกัน อย่างที่อำเภอบางบ่อ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทางวัดจะอัญเชิญ พระพุทธรูปยืนลงบุษบก ในตัวเรือ แล้วแห่ไปตามลำคลอง ชาวบ้านก็จะโยนดอกบัว จากฝั่งให้ตกในเรือหน้าพระพุทธรูป แล้วโยนข้าวต้ม และยังมีการแข่งขัน เรือชิงรางวัลอีกด้วย หรือจะเป็นประเพณีตักบาตร พระร้อย ที่เป็นการใส่บาตรพระร้อยรูป ส่วนมากจะจัดพิธีขึ้น ทางน้ำเนื่องจากแต่ก่อนบ้านเรือน จะอยู่ติดแม่น้ำลำคลอง การสัญจรไปไหนมาไหนก็จะใช้เรือ พระส่วนใหญ่จึงใช้เรือในการออกบิณฑบาต








    ที่มา : facebook.com/Siriwanna Jill