khonsurin

อเมซซิ่งสุพรรณบุรี

Rate this Entry
อเมซซิ่งสุพรรณบุรี






[wma]http://www.file2go.com/mrun.php?me=1289s1[/wma]














































*******************************


จังหวัดสุพรรณบุรี




จังหวัดสุพรรณบุรี




เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี


สุพรรณบุรีเป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทางโบราณคดีมีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500-3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสำริด ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี และศรีวิชัย สุพรรณบุรีเดิมมีชื่อว่า ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ พันธุมบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า สองพันบุรี ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกว่า อู่ทอง จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่ว เมืองนี้จึงถูกเรียกว่าชื่อว่า สุพรรณบุรี นับแต่นั้นมา


ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง สภาพเมืองตลอดจนโบราณสถานถูกทำลายเหลือเป็นซากปรักหักพัง จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองสุพรรณบุรีได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่ และตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน (ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้

ความสำคัญของสุพรรณบุรี


ความสำคัญของสุพรรณบุรีในด้านประวัติศาสตร์การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ ชัยชนะแห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอนเจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ในด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดีไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิ บ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์


สุพรรณบุรี ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่ราบภาคกลางสืบสานความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตเมื่อ พ.ศ. 1420 จากนามเดิมเมืองพันธุมบุรีในยุคทวารวดีตามหลักฐานทางโบราณคดีได้จารึกชื่อไว้ในพงศาวดารเหนือ และนาม "สุพรรณภูมิ" ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชระบุว่าเป็นนครรัฐที่มีความสำคัญมาก่อนกรุงศรีอยุธยา เมื่อมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมืองสุพรรณบุรีจึงจัดอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญอีกด้วย


คำขวัญประจำจังหวัด


คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง


ตราประจำจังหวัด


ตราประจำจังหวัด เป็น รูปยุทธหัตถี หมายถึง เป็นภาพยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราช และบริเวณที่ทำยุทธหัตถีย์อยู่ในท้องที่อำเภอดอนเจดีย์


ดอกไม้ประจำจังหวัด


ดอกไม้ประจำจังหวัด: สุพรรณิการ์


ต้นไม้ประจำจังหวัด


ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะเกลือ (Diospyros mollis)


สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด



หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อ.เมือง
หลวงพ่อดำ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อ.เมือง
หลวงพ่อเณรแก้ว วัดพระรูป อ.เมือง
พระไสยาศน์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.เมือง
พระนาคปรก วัดพระลอย อ.เมือง
พระนอน วัดพระนอน อ.เมือง
หลวงพ่อจักรเพชร วัดเขาดิน อ.เมือง
หลวงพ่อดำ วัดหนองเพียร อ.ศรีประจันต์
หลวงพ่อแก้ว วัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์
พระพุทธเทวเทพ วัดโพธิ์ศรีเจริญ อ.ศรีประจันต์
พระพุทธโสภิต วัดพังม่วง อ.ศรีประจันต์
พระนาคปรก วัดละหาร อ.ศรีประจันต์
หลวงพ่อวัดบางแอก วัดบางแอก อ.สามชุก
หลวงพ่อดำ วัดลาดสิงห์ อ.สามชุก
หลวงพ่อยิ้ม วัดหนองผักนาก อ.สามชุก
หลวงพ่อใหญ่ วัดลำพระยา อ.สามชุก
พระพุทธโคดม วัดไผ่โรงวัว อ.สองพี่น้อง
พระกกุสันโธ วัดไผ่โรงวัว อ.สองพี่น้อง
พระศรีสรรเพชญ วัดอัมพวัน อ.สองพี่น้อง
พระพุทธนิมิต วัดอัมพวัน อ.สองพี่น้อง
พระไสยาศน์ วัดอัมพวัน อ.สองพี่น้อง
หลวงพ่อจันทรังษี วัดอาน อ.บางปลาม้า
หลวงพ่อศรี วัดกำมะเชียร อ.เดิมบางนางบวช
หลวงพ่อชัยมงคล วัดท่ากุ่ม อ.ดอนเจดีย์
หลวงพ่อศรีสรรเพชญ์ วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม อ.อู่ทอง






********************************



Submit "อเมซซิ่งสุพรรณบุรี" to แชร์ไปที่ Facebook Submit "อเมซซิ่งสุพรรณบุรี" to แชร์ไปที่ Twitter Submit "อเมซซิ่งสุพรรณบุรี" to แชร์ไปที่ Printerest

Updated 03-10-2010 at 07:26 by khonsurin

Categories
Uncategorized

Comments

Trackbacks

Total Trackbacks 0
Trackback URL: