maxwell007

"แพะรับบาป"

Rate this Entry
คำว่า "แพะรับบาป" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้อธิบายว่า "เป็นสำนวน ซึ่งหมายถึงคนที่รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทำกรรมนั้น"

ส่วนที่มาของสำนวน "แพะรับบาป" พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถานพิมพ์ครั้งที่ ๒ (แก้ไขเพิ่มเติม) ได้ระบุไว้ ดังนี้
ที่มาของคำว่า แพะรับบาป นี้ ปรากฏในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมซึ่งเป็นคัมภีร์ของชาวอิสราเอลผู้มีภูมิหลังเป็นผู้มีอาชีพเลี้ยงแพะ เลี้ยงแกะ แพะรับบาปเป็นพิธีปฏิบัติในวันลบบาปประจำปีของชาวอิสราเอล ซึ่งเริ่มต้นด้วยปุโรหิตถวายวัวเป็นเครื่องบูชาไถ่บาปของตนเองและครอบครัว เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ปุโรหิตจะนำแพะ ๒ ตัวไปถวายพระเป็นเจ้าที่ประตูเต็นท์นัดพบ และจับสลากเลือกแพะ ๒ ตัวนั้น
สลากที่ ๑ เป็นสลากสำหรับแพะที่ถวายพระเป็นเจ้า อีกสลากหนึ่งเป็นสลากสำหรับแพะรับบาป หากสลากแรกตกแก่แพะตัวใด แพะตัวนั้นจะถูกฆ่าและถวายเป็นเครื่องบูชาเพื่อไถ่บาปของประชาชน เรียกว่า "แพะรับบาป"

สลากที่ ๒ หากตกแก่แพะตัวใด แพะตัวนั้นเรียกว่า "แพะรับบาป" ซึ่งปุโรหิตจะถวายพระเป็นเจ้าทั้งยังมีชีวิตอยู่ แล้วใช้ทำพิธีลบบาปของประชาชน โดยยกบาปให้ตกที่แพะตัวนั้น เสร็จแล้วก็จะปล่อยแพะตัวนั้นให้นำบาปเข้าไปในป่าลึกจนแพะและบาปไม่สามารถ กลับมาอีก

ส่วนในศาสนาฮินดู เซอร์มอเนียร์ วิลเลียมส์ สันนิษฐานว่าการฆ่ามนุษย์บูชายัญคงไม่เป็นที่ถูกอัธยาศัยพื้นฐานของพวกอารยัน คัมภีร์พราหมณะจึงอธิบายว่าเทวดาฆ่ามนุษย์ ส่วนที่เหมาะสมจะใช้บูชายัญก็ออกไปจากมนุษย์เข้าสู่ร่างม้า ม้าจึงกลายเป็นสัตว์ที่เหมาะสมจะใช้บูชายัญ เมื่อฆ่าม้า ส่วนที่เหมาะสมจะใช้บูชาก็ออกจากม้าไปเข้าร่างโค เมื่อฆ่าโค ส่วนที่เหมาะสมจะใช้บูชาก็ออกจากโคไปสู่แกะ จากแกะไปแพะ ส่วนที่เหมาะสมจะใช้บูชา คงอยู่ในตัวแพะนานที่สุด แพะจึงกลายเป็นสัตว์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับใช้ฆ่าบูชายัญ

นอกจากนี้มีการกล่าวถึง "แพะรับบาป" ในนิทานชาดกด้วย กล่าวคือ

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภมตกภัต ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า…...กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในเมืองพาราณสี สมัยพระเจ้าพรหมทัต มีพราหมณ์ทิศาปาโมกข์ผู้หนึ่ง คิดจะทำมตกภัต (อุทิศคนตาย) จึงให้ลูกศิษย์จับแพะตัวหนึ่งไปอาบน้ำและประดับดอกไม้ แพะพอถูกลูกศิษย์จูงไปที่ท่าน้ำ ก็ทราบถึงวาระสุดท้ายชีวิตของตนมาถึงแล้วอันเนื่องจากกรรมเก่า จึงเกิดความโสมนัส ได้หัวเราะออกมาเสียงดัง และคิดเวทนาสงสารพราหมณ์ที่จะได้รับความทุกข์โศก จึงร้องไห้ออกมา แพะแสดงอาการเดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ออกมา ทำให้พวกลูกศิษย์แปลกใจ เมื่อนำแพะกลับมาถึงสำนักแล้ว จึงบอกเรื่องนี้แก่พราหมณ์ พราหมณ์จึงถามแพะถึงอาการนั้น
แพะจึงบอกพราหมณ์ว่า ” อดีตชาติเคยเป็นพราหมณ์เหมือนกัน เพราะได้ฆ่าแพะตัวหนึ่งทำมตกภัต จึงเป็นเหตุให้ถูกฆ่าตัดศีรษะถึง ๔๙๙ ชาติ นี่เป็นชาติที่ ๕๐๐ พอดี จึงหัวเราะดีใจที่จะสิ้นกรรมในวันนี้ และร้องไห้ เพราะสงสารท่านที่จะเป็นเช่นกับเรา ”
พราหมณ์ ได้ฟังแล้วเกิดความสลดใจ จึงยกเลิกไม่ฆ่าแพะ และสั่งให้ลูกศิษย์ทำการอารักขาแพะเป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้แพะเกิดอันตราย แพะจึงบอกพราหมณ์ว่า ” การอารักขาของท่านมีประมาณน้อย ส่วนบาปกรรมของเรามีกำลังมาก อะไรก็ห้ามไม่ได้ ”แพะพอเขาปล่อย ก็ชะเง้อคอจะกินใบไม้ใกล้แผ่นหินแห่งหนึ่ง ทันใดนั้นเอง ฟ้าได้ผ่าลงที่แผ่นหิน สะเก็ดหินชิ้นหนึ่งได้ปลิวไปตัดคอแพะที่กำลังชะเง้อคออยู่พอดี แพะล้มลงสิ้นใจตายทันที รุกขเทวดาที่อยู่ในที่นั้น ได้กล่าวสอนว่า ” มนุษย์ผู้กลัวตกนรก พึงพากันงดจากปาณาติบาต ตั้งอยู่ในเบญจศีลเถิด ” และกล่าวเป็นคาถาว่า ” ถ้าสัตว์ทั้งหลาย พึงรู้อย่างนี้ว่า ชาติภพนี้เป็นทุกข์ สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะว่าผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมเศร้าโศก ”
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "เกิดเป็นคนไม่พึงทำกรรมชั่วด้วยการฆ่าสัตว์ด้วยกัน มิเช่นนั้นจะได้รับความทุกข์เช่นแพะรับบาปนี้"

ส่วนคำศัพท์ที่มีความหมาย หมายถึง "แพะรับบาป" มีดังนี้

scapegoat (ซเคพ-โกท) n.ผู้ที่ถูกโอนความผิดให้, ผู้รับบาป

fall guy
n. ผู้ที่ถูกหลอกลวงได้ง่าย, แพะรับบาป

patsy (แพท'ซี่)
n. แพะรับบาป, ผู้ที่ถูกหลอกได้ง่าย

goat (โกท)
n. แพะ, แพะรับบาป, ผู้รับบาป, คนชั่ว, เสือผู้หญิง


แพะรับบาป
[WMA]http://www.fileden.com/files/2009/4/29/2422815/%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%20-%20%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%B0%20-01-%20%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%B0.mp3[/WMA]

Submit ""แพะรับบาป"" to แชร์ไปที่ Facebook Submit ""แพะรับบาป"" to แชร์ไปที่ Twitter Submit ""แพะรับบาป"" to แชร์ไปที่ Printerest

Updated 08-09-2010 at 16:13 by maxwell007

Categories
Uncategorized

Comments

  1. สัญลักษณ์ของ กำลังใจ
    ขอบคุณ่หลายเด้อ ที่นำสาระดีดีมีประโชน์มาให้ทราบกัน

Trackbacks

Total Trackbacks 0
Trackback URL: