khonsurin

ลิเบียนองเลือด 20 - 21 กุมภาพันธ์ 2554

Rate this Entry


ลิเบียนองเลือด 20 - 21 กุมภาพันธ์ 2554
Libya 21 feb 11 part 1







ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=h6akvqWffLs




ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=rHqoBYtRm_w




ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=a3fh41kFoGw




ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=AhM7_fGxF-E




ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=DsY-c7_FoeM



.............................................................




สถานการณ์ในลิเบีย


20 กุมภาพันธ์ 2554



มีผู้ชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาลกัดดาฟี ถูกกองทัพขนอาวุธสงครามไล่สังหารไปแล้ว 104 ศพ บาดเจ็บจำนวนมาก ลือใช้สไนเปอร์ซุ่มยิงผู้ชุมนุม ปิดกั้นสื่อทุกรูปแบบ รวมถึงห้ามนักข่าวต่างชาติเข้าประเทศ คงมีแต่กระบอกเสียงรัฐโบ้ย "อเมริกา-ยิว" อยู่เบื้องหลังบงการผู้ชุมนุม


การชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่ลุกลามอย่างรวดเร็วไปทั่วภูมิภาคแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง หลังผู้คนได้รับแรงบันดาลใจจากกรณีรัฐบาลตูนิเซียและอียิปต์ถูกพลังมวลชนโค่นล้มนั้น


โดยวันที่ 20 ก.พ. 2554 ได้มีเหตุความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศต่างๆ ยังไม่มีท่าทีจะจบลงง่ายๆ โดยเฉพาะในประเทศลิเบีย ที่สถานการณ์รุนแรงทวีคูณ เกิดการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมขับไล่รัฐบาลกับกองทัพอีกครั้งบริเวณเมืองเบงกาซี อัล-ไบดา อัจดาบิยา และโตบรัค ทางภาคตะวันออกของประเทศ ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งสูงถึง 104 ศพ บาดเจ็บอีกจำนวนมาก


กลุ่มผู้ประท้วงจำนวนนับพันคน ซึ่งไม่มีแกนนำคอยควบคุมดูแล บุกเผาทำลายสำนักงานของรัฐและธนาคารต่างๆ รวมถึงค่ายทหาร




.............................................................




21 กพ. 2554 12:01 น.



การจะหาแหล่งข่าวอิสระมายืนยันสถานการณ์ในลิเบีย เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากรัฐบาลลิเบียมีการควบคุมอย่างเข้มงวดต่อการสื่อสาร และไม่ตอบรับคำของของผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ต้องการเข้าไปรายงานข่าวสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ต้องใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์ทางโทรศัพท์



ผู้เห็นเหตุการณ์ บอกว่า มีทหารบางส่วนในเมืองเบงกาซี เลิกภักดีต่อพันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟีซึ่งปกครองลิเบียมานานถึง 42 ปี แต่ซาอิฟ อัล อิลลาม กัดดาฟี บุตรชายของเขา ยืนยันว่า ทหารยังคงภักดีต่อรัฐบาลและจะขยายบทบาทในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบในอีกไม่กี่วันข้างหน้าผู้เชี่ยวชาญของ คาเนกี้ เอนดาวเม้นท์ ฟอร์ พีช ให้ความเห็นว่า คนที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตกอย่าง ซาอิฟ กัดดาฟี เคยผลักดันให้มีการปฏิรูปในลิเบีย เพียงแต่ไปได้ไม่ถึงไหน


เอกอัครราชทูตลิเบียประจำสันนิบาตอาหรับ ได้ลาออกจากตำแหน่ง เพราะเหตุการณ์สังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ และยังทำนายด้วยว่า ผู้นำเบียเหลือเวลาอยู่ในอำนาจแค่ 1 หรือ 2 วันเพราะเขาได้สูญเสียประชาชนไปแล้ว



...............................................................




Submit "ลิเบียนองเลือด 20 - 21 กุมภาพันธ์ 2554" to แชร์ไปที่ Facebook Submit "ลิเบียนองเลือด 20 - 21 กุมภาพันธ์ 2554" to แชร์ไปที่ Twitter Submit "ลิเบียนองเลือด 20 - 21 กุมภาพันธ์ 2554" to แชร์ไปที่ Printerest

Updated 23-02-2011 at 04:03 by khonsurin

Categories
Uncategorized

Comments

  1. สัญลักษณ์ของ wundee2513
    ... อยากให้เป็นเพียงฝันร้ายของต่างประเทศ และหวังอย่างยิ่งว่า...คงไม่มีฝันนี้ในผืนแผ่นดินไทย ...
  2. สัญลักษณ์ของ khonsurin

    ลิเบีย




    ลิเบีย (อาหรับ: ليبيا‎; อังกฤษ: Libya) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย (อังกฤษ: Socialist People's Libyan Arab Great Jamahiriya) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ มีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอียิปต์ไปทางตะวันออก ประเทศซูดานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศชาดและประเทศไนเจอร์ไปทางใต้ และประเทศแอลจีเรียและตูนิเซียไปทางตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อตริโปลี



    ในกรีกโบราณ ชื่อ "ลิเบีย" ใช้ในความหมายที่กว้างขวางกว่า คือ แอฟริกาเหนือทั้งหมดที่อยู่ทางตะวันตกของอียิปต์ และในบางกรณีก็ใช้อ้างถึงแอฟริกาทั้งทวีป 3 ส่วนของประเทศนี้ตามประเพณีคือตริโปลิเตเนีย (Tripolitania) เฟซซัน (Fezzan) และไซเรไนกา (Cyrenaica) ในวรรณคดีกรีก ไดโดอาศัยอยู่ในลิเบีย




    1. การเมืองการปกครอง




    1.1 ลิเบียอยู่ภายใต้การปกครองของต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง เช่น เคยอยู่ภายใต้กรีก อาณาจักรโรมัน อาณาจักรไบแซนไทน์ อาณาจักรออตโตมาน และท้ายสุด ตั้งแต่ปี 2454 ลิเบียอยู่ภายใต้การปกครองของอิตาลี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2492 สมัชชาใหญ่ขององค์การสหประชาชาติจึงได้มีข้อมติให้ลิเบียได้รับเอกราชจากอิตาลี ทั้งนี้ กษัตริย์ Idris ซึ่งเป็นผู้นำในการต่อต้านการปกครองของอิตาลี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นผู้นำในการเจรจาจนนำไปสู่การประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2494 ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ และต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2512 กลุ่มนายทหารนำโดยพันเอกกัดดาฟี ได้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากกษัตริย์ Idris และขึ้นเป็นผู้นำประเทศสืบมาจนปัจจุบัน



    1.2 นับแต่พันเอกกัดดาฟี ขึ้นปกครองประเทศ ได้ดำเนินนโยบายตามแนวทางการเมืองของตน ซึ่งเรียกว่า ทฤษฎีสากลที่ 3 (Third Universal Theory) อันเป็นการผสมผสานระหว่างแนวทางสังคมนิยมกับแนวคิดของศาสนาอิสลาม รวมทั้งดำเนินแนวทางต่อต้านชาติตะวันตก เช่น การปิดสำนักงานของสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรในลิเบีย การผลักดันให้สหรัฐฯ และอังกฤษถอนทหารที่ประจำอยู่ในลิเบียออกนอกประเทศ และการเวนคืนกิจการน้ำมันของชาติตะวันตก เป็นต้น ขณะเดียวกัน ลิเบียได้ขยาย ความร่วมมือกับสหภาพโซเวียต ในด้านการเมือง การทหาร และการซื้ออาวุธ



    1.3 ลิเบียเคยถูกเพ่งเล็งว่าให้การสนับสนุนการก่อการร้าย โดยเฉพาะแก่กลุ่มต่าง ๆ ของปาเลสไตน์ เมื่อปี 2512 สหรัฐอเมริกา ได้บรรจุลิเบียไว้ในบัญชีรายชื่อประเทศที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย (state sponsor of terrorism) ทั้งนี้ เหตุการณ์ก่อการร้ายที่สำคัญซึ่งลิเบียถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ การก่อวินาศกรรมโดยกลุ่มปาเลสไตน์ที่กรุงโรมและกรุงเวียนนาเมื่อปี 2528 และการก่อวินาศกรรมสถานบันเทิง La Belle ที่กรุงเบอร์ลินเมื่อปี 2529 เป็นผลให้สหรัฐอเมริกาใช้มาตรการทางเศรษฐกิจและทางทหารกดดันลิเบียให้ยุติการสนับสนุนการก่อการร้าย และประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ได้สั่งการให้กองเรือรบสหรัฐอเมริกา เข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนเกิดการปะทะกับฝ่ายลิเบีย 2 ครั้ง ในเดือนมีนาคมและเมษายน 2529 พร้อมทั้งได้ส่งเครื่องบินรบเข้าทิ้งระเบิดกรุงตริโปลี และเมืองเบงกาซีด้วย ลิเบียถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมเครื่องบิน 2 ครั้ง ได้แก่ การวางระเบิดเครื่องบิน Pan Am เที่ยวบินที่ 103 เหนือเมือง Lockerbie ของสกอตแลนด์ในปี 2531 และการวางระเบิดสายการบิน UTA เที่ยวบินที่ 772 ของฝรั่งเศสที่ไนเจอร์ในปี 2532 แต่ลิเบียปฏิเสธที่จะส่งตัวผู้ต้องสงสัยชาวลิเบียให้แก่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ทำให้ต่อมาในปี 2535 และ 2536 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 748 (1992) และ 883 (1993) คว่ำบาตรลิเบีย ซึ่งมีมาตรการต่างๆ รวมทั้ง การอายัดทรัพย์ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจของลิเบียในต่างประเทศ การห้ามการขายเครื่องบินและยุทธภัณฑ์แก่ลิเบีย การห้ามส่งอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่ใช้ในการขนส่งและกลั่นน้ำมันแก่ลิเบีย และการเรียกร้องให้นานาประเทศลดระดับและจำนวนผู้แทนทางการทูตในลิเบีย ในส่วนของสหรัฐอเมริกานั้น ได้ออกกฎหมาย Iran-Libya Sanctions Act หรือ D’ Amato Act ในปี 2539 ห้ามบริษัทต่างประเทศลงทุนในภาคน้ำมันในลิเบียในโครงการมูลค่าเกิน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลให้ลิเบียประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และหันไปใช้แนวทางโดดเดี่ยวตนเองจากประชาคมระหว่างประเทศ



    1.4 ลิเบียเริ่มปรับเปลี่ยนแนวทางการเมืองของตนในปี 2546 โดยได้ยินยอมมอบตัวนาย Abdelbaset Ali Mohamed al-Megrahi และนาย Al Amin Khalifa Fhimah ผู้ต้องสงสัยชาวลิเบียในคดี Lockerbie ไปขึ้นศาลที่เนเธอร์แลนด์ และเมื่อศาลได้ตัดสินจำคุกตลอดชีวิตนาย Megrahi แล้ว (นาย Fhimah ถูกตัดสินให้พ้นผิด) ลิเบียได้แสดงความรับผิดชอบโดยจ่ายเงินสินไหมทดแทนแก่ญาติของผู้เสียชีวิต รวมเป็นเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลให้ลิเบียเริ่มได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมากขึ้น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรลิเบียเมื่อเดือนกันยายน 2546 ต่อมาในเดือนธันวาคม 2546 พันเอกกัดดาฟี ได้ประกาศยุติโครงการพัฒนาอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction - WMD) และประกาศจะปฏิบัติตามสนธิสัญญาว่าด้วยการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty) และอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพ (Biological Weapons Convention) พร้อมทั้งยินดีที่จะให้ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency - IAEA) เข้าไปตรวจสอบ รวมทั้งการประกาศต่อต้านการก่อการร้ายและให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ทำให้หลายประเทศในยุโรปรวมทั้งอิตาลีและสหราชอาณาจักรหันไปฟื้นฟูความสัมพันธ์กับลิเบีย ในขณะที่สหรัฐอเมริกา ได้ยกเลิกการใช้มาตรการตามกฎหมาย D’ Amato Act ต่อลิเบียในปี 2547 และถอนชื่อลิเบียออกจากรายชื่อประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 สหรัฐฯ ได้ยกระดับสำนักงานประสานงาน (Liasison Office) ของสหรัฐฯ ในลิเบีย ขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูต ขณะที่ลิเบียก็ได้ยกระดับสำนักงานประสานงานของตนในกรุงวอชิงตันขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 2549 นอกจากนี้ พันเอกกัดดาฟี ยังได้เดินทางเยือนฝรั่งเศสและสเปน เมื่อเดือนธันวาคม 2550 และนาย Abdulrahman Shalgam รัฐมนตรีต่างประเทศลิเบีย เดินทางเยือนสหรัฐฯ เมื่อเดือนมกราคม 2551 ซึ่งถือเป็นการเยือนสเปนและสหรัฐฯ ครั้งแรกในรอบกว่า 3 ทศวรรษของบุคคลระดับสูงของลิเบีย










    ขอบคุณ
    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี







    ................................................................

Trackbacks

Total Trackbacks 0
Trackback URL: