สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน

ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเป้า(3)

Rate this Entry
ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเป้า(3)



โรงเรียนบ้านเป้า(สำราญไชยวิทยา)ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2458 ที่วัดธาตุบ้านเป้า โดยรองอำมาตย์ตรีขุนอาสาณรงค์ นายอำเภอผักปัง (ภูเขียว) ซึ่งต่อมาได้เลื่อนยศและบรรดาศักดิ์เป็นรองอำมาตย์โทขุนสารการคณิต ใช้ศาลาการเปรียญวัดธาตุเป็นสถานที่เล่าเรียน ได้ชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลวัดธาตุบ้านเป้า จัดการเรียนการสอนอย่างประถมสามัญ ตามหลักสูตรกระทรวงธรรมการ(ศึกษาธิการ) แบ่งชั้นเรียนออกเป็น 3 ชั้นเรียน คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 2 – 3 การดำรงโรงเรียนใช้เงินเรี่ยไรจากครอบครัวที่มีเด็กเข้าเรียนครอบครัวละ 25 สตางค์ และครอบครัวที่ไม่มีเด็กเข้าเรียน ครอบครัวละ 12 สตางค์ ครูใหญ่คนแรกชื่อ นายวาน สุภาพเพชรวัดบูรพาราม

1. ประวัติความเป็นมาของวัด มีกำนันสิงห์ ฦๅศักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มพร้อมด้วยชาวบ้าน สร้างประมาณ พ.ศ.2482

2. ที่ตั้งของวัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 14 บ้านเป้า ต.บ้านเป้า อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ เนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน

3. สังกัด มหานิกาย

4. เสนาสนะของวัด มีศาลาการเปรียญยกพื้นสูงใต้ถุนโล่ง ทำด้วยไม้ จำนวน 1 หลัง กุฎี 3 หลัง

5. ทำเนียบเจ้าอาวาส ตั้งแต่องค์แรกถึงองค์ปัจจุบันมีดังนี้ 5.1 พระอาจารย์กวด พ.ศ.2485 - 24885.2 พระครูชัยสรโสภณ พ.ศ.2489 - 25215.3 พระคำพันธ์ โสภิโต พ.ศ.2521 – ปัจจุบัน(เมษายน พ.ศ.2549)

ประวัติวัดบ้านเป้า (ธ)

1.วัดบ้านเป้า (ธ) เดิมเป็นสำนักสงฆ์ชื่อ “สวนป่าวิเวกธรรม” ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2524 เจ้าอาวาสองค์แรกชื่อ หลวงปู่ชู ฐิติปญฺโญ (ชู ลบบำรุง) อดีตครูประชาบาลชาวบ้านเป้า ท่านชอบเขียนชื่อของท่นว่า ลปช ฐิติปัญโญ (หลวงปู่ชู ฐิติปญฺโญ) และ “ชู อนุสรณ์”

2. ผู้ริเริ่มก่อตั้ง มีดังนี้2.1 หลวงปู่ชู ฐิติปญฺโญ (เดิมจำพรรษาอยู่ที่วัดธาตุ)2.2 นายทองอินทร์ สุหญ้านาง ประธานสภาจังหวัดและสมาชิกสภาจังหวัดหลายสมัย2.3 นายสุพรรณ ฦๅชา อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านเป้า(สำราญไชยวิทยา)2.4 นายลี สนั่นเมือง อดีตครูใหญ่โรงเรียนบ้านโนนชาดหมู่ที่11ตำบลบ้านเป้า2.5 นายสมดี ลาภปรากฎ กำนันตำบลบ้านเป้า2.6 นายสง่า เสมอไวย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 บ้านโนนโก ตำบลบ้านเป้า2.7 นายเชษฐ์ สนั่นเมือง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านเป้า(สำราญไชยวิทยา)2.8 นายล้วน เสมาทอง คหบดี/อดีตครูประชาบาล บ้านเป้า2.9 นายบุญโฮม น้อยยาสูง คหบดี2.10 ชาวบ้านโนนโกและชาวบ้านเป้าต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2539 หลวงปู่ชูถึงแก่มรณภาพ (95 ปี) ได้มีภิกษุสามเณร สับเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาอาศัยจำพรรษาอยู่หลายรูป



3.ที่ตั้ง เลขที่ 204 หมู่ที่ 8 บ้านเป้า ตำบลบ้านเป้า อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ 36120 มีเนื้อที่ 9ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา

4.สังกัด ธรรมยุติ

5.สิ่งก่อสร้าง5.1 วันที่ 11 พฤษภาคม 2537 เริ่มก่อสร้าง ฌาปนสถาน (เมรุ) ไว้ที่วัดบ้านเป้า (ธ) ปลูกสร้างในที่ดินป่าช้าบ้านเป้า ขึ้น 1 หลัง กว้าง 4.50 เมตร ยาว 9.00 เมตร สูง 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้องสีแดง ฝาผนังทำด้วยอิฐมอญ บันไดขึ้นลง 3 ทาง ทางทิศเหนือ ทางทิดใต้ ทางทิศตะวันออก สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2539 สิ้นเงินก่อสร้าง 1,300,500 บาท5.2 สร้างประตูโขงทางเข้าวัด 2 ทาง คือทางทิศเหนือและทางทิศใต้ เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2537 เสร็จเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2537 สิ้นเงินก่อสร้าง 30,000 บาท5.3 วันที่ 20 สิงหาคม 2538 สร้างที่เก็บน้ำตามบริเวณวัด รวม 9 แห่ง ๆละ 700 บาท เสร็จเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2538 สิ้นเงินก่อสร้างทั้งหมด 6,300 บาท5.4 วันที่ 15 มิถุนายน 2537 สร้างกุฎีสงฆ์ขึ้น 1 หลัง กว้าง 6 ม. ยาว 8 ม. หลังคามุงกระเบื้องซีแพ็ค มีห้องน้ำอยู่ในอาคาร มีห้องพระบูชา 1 ห้อง มีห้องนอน 1 ห้อง เพดานยิบซั่มสีขาว หน้าต่าง 7 ช่อง กั้นด้วยเหล็กกระจกช่องลม ประตูเข้า 1 ทาง ด้านทิศตะวันตก เสร็จเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2538 สิ้นค่าก่อสร้าง 65,386 บาท5.5 ซ่อมกุฎีสงฆ์หลังเก่ารื้อใหม่ มุงสังกะสี ฝาผนังกั้นด้วยไม้กระดาน ซ่อมเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2538 เสร็จเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2538 รวมเงินก่อสร้างทั้งสิ้น 10,000 บาท5.6 สร้างพระประธานทองสัมฤทธิ์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2538 โดยเจ้าภาพทางกรุงเทพฯนำมาพร้อมผ้าป่า หน้าตัก 45 นิ้ว 2 องค์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2538 และเมื่อปี พ.ศ. 2540 เจ้าภาพจากกรุงเทพฯนำมาพร้อมกฐิน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2540 จำนวน 1 องค์ หน้าตักกว้าง 55 นิ้ว พระพุทธรูป 3 องค์ คิดเป็นราคาประมาณ 110,000 บาท5.7 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2538 สร้างโรงครัวขึ้น 1 หลัง และสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขึ้น 9 องค์ โครงเหล็กทำด้วยปูน หน้าตักกว้าง 60 นิ้ว สร้างเทอดพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวงขึ้นครองราชเป็นปีที่ 50 เสร็จเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2539สิ้นเงิน 54,000 บาท ฝีมือช่างโดยอาจารย์สรศักดิ์ พลประเสริฐ ขณะปฏิบัติงานประจำที่โรงเรียนบ้านเป้าวิทยา5.8 สร้างโรงครัวขึ้น 1 หลัง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2538 กว้าง 7 ม. ยาว 15 ม. 3 ห้องหลังคามุงกระเบื้องตราช้าง ฝาผนังอิฐบล็อก เสร็จเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2538 ค่าก่อสร้างรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 49,842 บาท5.9 ซ่อมศาลาหลังเก่า เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2538 ต่อให้กว้างด้านละ 2 เมตร มุงสังกะสีสีแดง เสาเหล็กกลม 8 ต้น เสร็จเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2538 สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน 25,000 บาท5.10 วันที่ 15 มีนาคม 2539 สร้างหอระฆังขึ้น



6.ทำเนียบเจ้าอาวาส 6.1 หลวงปู่ชู ฐิติปญฺโญ พ.ศ.2524 – 6กันยายน .2539(มรณภาพ) 6.2 พระครูเกษตรคณารักษ์ พ.ศ.2541 – ปัจจุบัน

7.ประวัติพระสังฆาธิการ พระครูเกษตรคณารักษ์ (ประภาส ปภาฌส) เจ้าอาวาสวัดบ้านเป้า (ธ) เจ้าคณะตำบลกุดเลาะ (ธรรมยุต) อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ สถานะเดิม ชื่อ ประภาส ดวงภมร เกิด 6 มิถุนายน 2465 ปีขาล ที่บ้านเป้า หมู่ 1 ต.บ้านเป้า อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ อุปสมบท เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวง เนื่องในงานพิธีรัชมังคลาภิเษก เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2531 ณ พัทธสีมาวัดอาวุธวิกสิตาราม (ธ) เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ชื่อและฉายา พระประภาส ปภาโส พระอุปฌาย์ พระเทพเมธากร (จันทร์ จนฺโท) เจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม (ธ) เขตบางพลัด กรุงเทพมหานครการศึกษา สายสามัญ พ.ศ.2488 จบมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมแพวิทยา อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่นสายปริยัติธรรม พ.ศ.2531 สอบได้นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2532 สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2533 สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ตำแหน่งหน้าที่ การงาน พ.ศ.2541 เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านเป้า (ธรรมยุต) พ.ศ.2544 เป็นเจ้าคณะตำบลกุดเลาะ (ธรรมยุต) ปกครองสงฆ์สายธรรมยุตในอำเภอเกษตรสมบูรณ์ทุกวัด พ.ศ.2456 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นตรี (จ.ต.,ช.ต.) สมณศักดิ์ที่ พระครูเกษตรคณารักษ์ (ประภาส ปภาโส) แต่งตั้งเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2546 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธย

ประวัติโรงเรียนประจำหมู่บ้านประวัติโรงเรียนบ้านเป้า(สำราญไชยวิทยา)

โรงเรียนบ้านเป้า(สำราญไชยวิทยา)ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2458 ที่วัดธาตุบ้านเป้า โดยรองอำมาตย์ตรีขุนอาสาณรงค์ นายอำเภอผักปัง (ภูเขียว) ซึ่งต่อมาได้เลื่อนยศและบรรดาศักดิ์เป็นรองอำมาตย์โทขุนสารการคณิต ใช้ศาลาการเปรียญวัดธาตุเป็นสถานที่เล่าเรียน ได้ชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลวัดธาตุบ้านเป้า จัดการเรียนการสอนอย่างประถมสามัญ ตามหลักสูตรกระทรวงธรรมการ(ศึกษาธิการ) แบ่งชั้นเรียนออกเป็น 3 ชั้นเรียน คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 2 – 3 การดำรงโรงเรียนใช้เงินเรี่ยไรจากครอบครัวที่มีเด็กเข้าเรียนครอบครัวละ 25 สตางค์ และครอบครัวที่ไม่มีเด็กเข้าเรียน ครอบครัวละ 12 สตางค์ ครูใหญ่คนแรกชื่อ นายวาน สุภาพเพชร



พ.ศ.2468 ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2464 ในตำบลนี้ เกณฑ์เด็กที่มีอายุ 10 ปี บริบูรณ์ถึง 14 ปี บริบูรณ์ เข้าเรียนเป็นนักเรียนประเภทในบังคับ อายุต่ำหรือสูงกว่านี้ที่เข้าเรียนเข้าเรียนอยู่แล้วให้เป็นนักเรียนนอกบังคับ และยกเลิกหลักสูตรเก่าใช้หลักสูตรใหม่ แบ่งชั้นเรียนออกเป็น 6 ชั้น คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 2 – 3 – 4 – 5 – 6 การสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 2 - 3 – 4 สอนอย่างประถมสามัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 สอนอย่างประถมศึกษาวิสามัญ คือสอนหนักไปทางอาชีวศึกษา ประเภทการกสิกรรม และเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนประชาบาลวัดธาตุบ้านเป้าเป็นโรงเรียนประชาบาลตำบลบ้านเป้า 1 (วัดธาตุ) การดำรงโรงเรียนใช้เงิน”ศึกษาพลี”ซึ่งเก็บจากราษฎรตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา คนละ 1 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆตามลำดับ พ.ศ.2483 ทางการใช้เงินงบประมาณเงินการจรมาก่อสร้างขึ้นเป็นโรงเรียนเอกเทศถาวร 1 หลัง ตามแบบ ป.1 ใต้ถุนเตี้ย ขนาด 6 x 9 เมตร จำนวน 5 ห้องเรียน มีมุขอยู่ตรงกลาง ในที่ดินปัจจุบัน เนื้อที่ 16 ไร่ 2 งาน 36 ตารางวา (แต่ในปัจจุบันเหลือเนื้อที่เพียง 15 ไร่ 1 งาน 96 ตารางวา เพราะถูกเวรคืนสร้างถนน 4 ช่องจราจร) สร้างเสร็จและเปิดเรียนในปี พ.ศ.2487 แต่การก่อสร้างติดขัดเพราะอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ราคาก่อสร้างสูงขึ้นและขาดแคลน จึงมีนายฉาบ ไชยชุมพร นายอำเภอเกษตรสมบูรณ์ และนายชำนาญ(บุญมา) สำราญวงษ์ กำนันตำบลบ้านเป้า ร่วมกันเป็นผู้นำคณะครู พ่อค้า ประชาชนชาวบ้านเป้า พร้อมใจกันหาทุนสมทบการก่อสร้างจนสำเร็จ ใช้เป็นอาคารเรียนหลังที่ 1 ตั้งแต่บัดนั้นมา และในปีนี้ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนประชาบาลตำบลบ้านเป้า 1 (สำราญไชยวิทยา) ซึ่งคำว่า “สำราญไชย” มาจากการนำนามสกุลของนายอำเภอและกำนันรวมกัน และมีการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ อาคารหลังนี้ถูกรื้อถอนเมื่อปี พ.ศ.2520เพราะสภาพทรุดโทรม พ.ศ.2507 ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการเป็นจำนวนเงิน 70,000 บาท สมทบกับของประชาชนซึ่งจัดหาวัสดุเป็นจำนวนเงิน 70,000 บาท รวมเป็นเงิน 140,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 พื้นสูง ขนาด 6 x 8 เมตร จำนวน 8 ห้องเรียน โดยมีพระครูเขมาภรณ์พิสุทธิ์ (พระครูหลี่) เจ้าคณะธรรมยุติกนิกาย วัดประสิทธิ์ไพศาล (วัดป่า) อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ตำบลบ้านเป้า ร่วมกับนายสิงห์ ฦๅศักดิ์ กำนันตำบลบ้านเป้า นำหัวหน้าหมวดหรือหัวหน้ากลุ่มประชาชนในบ้านเป้า คณะครู พ่อค้า รวมทั้งเจ้าอาวาสวัดธาตุ (พระครูชัยสรโสภณ) เรืออากาศตรีสกล ลือกำลัง เป็นกำลังสำคัญช่วยเหลือหาทุนสมทบจนแล้วเสร็จและใช้เป็นอาคารเรียนได้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา อาคารหลังนี้ถูกรื้อถอนเมื่อ พ.ศ.2537 เพราะสภาพทรุดโทรม ระยะนี้มีนายสุพรรณ ฦๅชาเป็นครูใหญ่

รายการเปลี่ยนแปลงชื่อโรงเรียน ครั้งที่ 1 ชื่อโรงเรียนประชาบาลวัดธาตุ พ.ศ.2458 ครั้งที่ 2 ชื่อโรงเรียนประชาบาลตำบลบ้านเป้า (วัดธาตุ) พ.ศ.2487 ครั้งที่ 3 ชื่อโรงเรียนสำราญไชยวิทยา พ.ศ.2495 ครั้งที่ 4 ชื่อโรงเรียนบ้านเป้า(สำราญไชยวิทยา) พ.ศ.2510 ผู้ที่มีบทบาท – อำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านเป้า(สำราญไชยวิทยา)จากอดีตถึงปัจจุบัน ทั้งผู้ที่ได้ถึงแก่กรรมแล้วและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ จำแนกออกเป็น 5 ประเภท คือ 1. ผู้บริหาร 2. ครู 3. นักการภารโรง 4. กำนัน 5. ศิษย์เก่าและผู้มีอุปการคุณ ผู้ที่มีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการก่อตั้งโรงเรียน ครั้งแรก คือรองอำมาตย์ตรี ขุนอาสาณรงค์ ต่อมาเลื่อนยศและบรรดาศักดิ์เป็นรองอำมาตย์โท ขุนสารการคณิต นายอำเภอผักปัง (ภูเขียว) ร่วมกับคณะครูและชาวบ้านทำการก่อสร้างทำการเรียนการสอนที่ศาลาการเปรียญวัดธาตุ ชื่อโรงเรียนประชาบาลวัดธาตุบ้านเป้า มีนายวาน สุภาพเพชร เป็นครูใหญ่ ครั้งที่ 2 คือ นายฉาบไชยชุมพร นายอำเภอเกษตรสมบูรณ์ ร่วมกับนายชำนาญ(บุญมา) สำราญวงษ์ กำนันตำบลบ้านเป้า ร่วมกับคณะครู พ่อค้า ประชาชนชาวบ้านเป้าทำการก่อสร้างให้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนประชาบาลบ้านเป้า 1 (สำราญไชยวิทยา) โดยงบของทางราชการและชาวบ้านหาทุนสมทบ ระยะนี้มีครูใหญ่ที่เกี่ยวข้องอยู่ทั้งหมด 3 คน คือ 1. นายเปลื้อง นามวิจิตร 2. นายสุข ฦๅชา 3. นายเรียง เส่งมูล ครั้งที่ 3 คือนายสิงห์ ฦๅศักดิ์ กำนันตำบลบ้านเป้า พระครูเขมาภรณ์พิสุทธิ์ พระครูชัยสรโสภณ เรืออากาศตรีสกล ลือกำลัง ร่วมกับคณะครู พ่อค้า ประชาชนทำการก่อสร้าง ระยะนี้มีนายสุพรรณ ฦๅชา เป็นครูใหญ่ ครั้งที่ 4 และครั้งต่อๆมา ได้รับจัดสรรงบประมาณทางราชการทั้งหมด ผู้บริหารมีทั้งหมด 12 คน เรียงตามลำดับและจำแนกได้ดังนี้

1. นายวาน สุภาพเพชร ตำแหน่ง ครูใหญ่ (พ.ศ.2458 – 2463)

2. นายจันทา ยุวนานนท์ ตำแหน่ง ครูใหญ่ (พ.ศ.2463 – 2468)3

. นายนิเวศน์ จันดาเขียว(ปลัดเพิด) ตำแหน่ง ครูใหญ่ (พ.ศ.2468 – 2470)

4. นายทอง จุลละนันทน์ ตำแหน่ง ครูใหญ่ (พ.ศ.2470 – 2473)

5. นายเลื่อน พลประเสริฐ ตำแหน่ง ครูใหญ่ (พ.ศ.2473 – 2480)

6. นายสุข ฦๅชา ตำแหน่ง ครูใหญ่ (พ.ศ.2480 – 2482)

7. นายเปลื้อง นามวิจิตร ตำแหน่ง ครูใหญ่ (พ.ศ.2482 – 2483)

8. นายสุข ฦๅชา ตำแหน่ง ครูใหญ่ (พ.ศ.2483 – 2485)

9. นายเรียง เส่งมูล ตำแหน่ง ครูใหญ่ (พ.ศ.2485 – 2491)

10. นายเลื่อน พลประเสริฐ ตำแหน่ง ครูใหญ่ (พ.ศ.2491 – 2504)

11. นายสุพรรณ ฦๅชา ตำแหน่ง ครูใหญ่/อาจารย์ใหญ่(พ.ศ.2504 – 2523)

12. นายเชษฐ์ สนั่นเมือง ตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่/ผู้อำนวยการ(พ.ศ.2523 – 2536)

13. นายสุรพงษ์ นิ่มสนิท ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ (พ.ศ.2536 – 2537)

14. นายศุภชัย ไตรณรงค์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ (พ.ศ.2537 – 2539)

15. นายเชษฐ์ สนั่นเมือง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ (พ.ศ.2539 – ปัจจุบัน)

บุคคลที่อยู่ในลำดับที่ 1 – 11 ปัจจุบันได้เสียชีวิตไปหมดแล้ว ส่วนผู้ที่อยู่ในลำดับที่ 12 – 15 ปัจจุบัน(เมษายน พ.ศ.2549)ยังมีชีวิตอยู่



ที่มาของแหล่งข้อมูล

1. เอกสารทางราชการ ได้แก่ 1.1 สมุดหมายเหตุรายวันของโรงเรียนบ้านเป้า(สำราญไชยวิทยา) เล่มที่ 1 (พ.ศ.2492) จนถึงปัจจุบัน 2. บุคคลในท้องถิ่น ได้แก่ 2.1 อดีตข้าราชการครูโรงเรียนบ้านเป้า(สำราญไชยวิทยา)2.1.1 พ่อครูล้วน เสมาทอง 2.1.2 แม่ครูสอน เสมาทอง 2.2 ผู้เฒ่าผู้แก่ บุคคลในชุมชน 2.2.1 คุณยายพิลา ฦๅชา 2.2.2 พ่อคง เหล่าภักดี 2.2.3 แม่สมควร ศิลคุ้ม 2.2.4 นายบุญเติม ลบบำรุง 2.2.5 คณะครู – นักการภารโรง โรงเรียนบ้านเป้า(สำราญไชยวิทยา)

มีต่อ...เรื่องเล่าบ้านเป้า(4)

Submit "ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเป้า(3)" to แชร์ไปที่ Facebook Submit "ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเป้า(3)" to แชร์ไปที่ Twitter Submit "ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเป้า(3)" to แชร์ไปที่ Printerest

แท็ก: ไม่มี แก้ไข Tags คำค้นหา
Categories
Uncategorized

Comments

Trackbacks

Total Trackbacks 0
Trackback URL: