มักน้องสาวหมู่

วันลอยกระทง

Rate this Entry




วันนี้วันลอยกระทง มาทำความรู้จัก ประเพณีลอยกระทง ให้ถ่องแท้กันก่อน ค่ะ จะได้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมาย ของประเพณีอย่างแท้จริง วันลอยกระทง จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติ ล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทิน สุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขึ้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำ ที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงาม เหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง

ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่า เริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ ได้สืบต่อกันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐาน จากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟ ว่าเป็นงานรื่นเริง ที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่า น่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน

ในสมัยก่อนนั้น พิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทง เป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนา เข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคม เพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า

ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วง จะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้น เป็นคนแรก แทนการลอยโคม

ประเพณีลอยกระทง สืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนขุนนาง นิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่ เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคน และเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็น การสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์ กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ ทำเรือลอยประทีปถวาย องค์ละลำ แทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีป ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำ เป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย

ความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่

1.เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณ ของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการ ขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด

2.เพื่อเป็นการสักการะ รอยพระพุทธบาท นัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปแสดงธรรม โปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับ รอยพระบาทไว้บน หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่ง อยู่ในแคว้นทักขิณาบถ ของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท

3.เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระท งเปรียบเหมือน การลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้าย กับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

4.เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือ ให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียร บริกรรมคาถา อยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่า พระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่ง ที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้

5.เพื่อรักษาขนบธรรมเนียม ของไทยไว้มิให้สูญหาย ไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริม การท่องเที่ยวให้เกิดขึ้น ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

6.เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทง เป็นการนัดพบปะสังสรรค์ กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน

7.เพื่อส่งเสริมงานฝีมือ และความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมี เทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวด กระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วม ได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญญา พื้นบ้านไว้อีกด้วย



เครดิต : https://www.facebook.com/siriwanna.jill/posts/386421901492051?notif_t=close_friend_activity

Submit "วันลอยกระทง" to แชร์ไปที่ Facebook Submit "วันลอยกระทง" to แชร์ไปที่ Twitter Submit "วันลอยกระทง" to แชร์ไปที่ Printerest

แท็ก: ไม่มี แก้ไข Tags คำค้นหา
Categories
Uncategorized

Comments

  1. สัญลักษณ์ของ lungyai1123









    ประเพณีลอยกระทง ลักษณะการจัดงานลอยกระทง ของแต่ละจังหวัด และแต่ละภาค จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน คือ

    ภาคเหนือตอนบน จะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า "ยี่เป็ง" อันหมายถึง การทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ โดยเดือนยี่ถ้านับตามล้านนา จะตรงกับเดือนสิบสอง ในแบบไทย ชาวเหนือจะนิยมประดิษฐ์ โคมลอย หรือที่เรียกว่า "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" โดยการใช้ผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ ให้โคมลอยขึ้น ไปในอากาศ เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุตต์ ซึ่งเชื่อกันว่า ท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถา อยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า

    จังหวัดตาก จะประดิษฐ์ กระทงขนาดเล็ก แล้วปล่อยลอย ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เรียงรายเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"

    จังหวัดสุโขทัย ลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ซึ่งจำลองบรรยากาศงาน มาจากงานลอยกระทงสมัยกรุงสุโขทัย มีทั้งการจัดขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล และไฟพะเนียง

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานลอยกระทงจะเรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ โดยจัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ ทุกปี ในจังหวัดนครพนม มีการนำหยวกกล้วย หรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเรือ และประดับไฟ อย่างสวยงาม และตอนกลางคืน จะมีการจุดไฟปล่อยกระทงให้ไหล ไปตามลำน้ำโขง

    กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานลอยกระทง หลายแห่ง แต่ที่เป็นไฮไลท์อยู่ที่ "งานภูเขาทอง" ที่จะเนรมิตงานวัด เพื่อเฉลิมฉลอง ประเพณีลอยกระทง ส่วนใหญ่จัดอยู่ราว 7-10 วัน ตั้งแต่ก่อนวันลอยกระทง จนถึงหลังวันลอยกระทง

    ภาคใต้ มีการจัดงานลอยกระทงในหลาย ๆ จังหวัด เช่น หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีงานยิ่งใหญ่ทุกปี

Trackbacks

Total Trackbacks 0
Trackback URL: