ญา ทิวาราช

การเดินทางเริ่มต้นที่ก้าวแรกเสมอ

Rate this Entry


การเดินทางไกลนับหมื่นลี้

เราไม่ได้เกิดมา เพื่อแสวงหาความสำเริงสำราญให้กับชีวิตไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น

เราไม่ได้เกิดมา เพื่อลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในรสอร่อยของโลก คือ กิน กาม เกียรติ

เราไม่ได้เกิดมา เป็นทาสของชีวิตเราไม่ได้เกิดมา เพียงเพื่อศึกษาเล่าเรียน ทำงานทำการ ตั้งหลักปักฐาน มีครอบครัว มีลูกมีหลาน แล้วก็แก่ แล้วก็เจ็บ แล้วก็ตายไป

ถ้าเราเกิดมาเพียงแค่นั้น ก็เท่ากับว่า เกิดมาเพื่อเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารเท่านั้น เป็นเหยื่อหนอนไปชาติหนึ่งๆ ไม่พ้นโลกนี้ไปได้

แม้จะมั่งมีเงินทองสักปานใดก็ไร้ความหมาย แต่เราเกิดมาเพื่อที่จะปลดเปลื้องพันธนาการโซ่ตรวน

เครื่องร้อยรัดที่ผูกมัดจิตใจของเราไว้ไปสู่ความเป็นอิสระ เพื่อปลดปล่อยตัวเองให้พ้นจากอำนาจ ความครอบงำของกิเลส ตัณหา

เพื่อพัฒนาชีวิต และจิตวิญญาณให้สูงขึ้น เจริญขึ้นสู่ฐานะอันสูงสุดเท่าที่จะขึ้นถึงได้ นั้นคือ การทำให้จิตใจบริสุทธิ์ ข้ามแดนแห่งความมืดมนของชีวิต

เพื่อเข้าถึงจุดจบของชีวิต ที่สุดของชีวิต คือ พระนิพพาน

เริ่มต้นที่ก้าวแรก

ความสงบแห่งจิตใจเริ่มได้จากปลายนิ้ว จุดหนึ่งที่สงบจะเติมทุกส่วนของชีวิตให้สงบไปด้วย
ความสงบหรือความพร้อมที่จะปฏิบัติธรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งภายนอก แต่ขึ้นอยู่กับศรัทธาในจิตใจของตน

นี่แหละคือ "การปฏิบัติธรรม"

จิต กับ อารมณ์ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน จิตเป็นที่เกิดของอารมณ์สำหรับคนทั่ว ๆ ไป จิตกับอารมณ์ปนกันไปหมด
จิตเป็นไปตามเหตุการณ์ภายนอกอยู่ตลอดเวลา เหมือนหุ่นที่เขาจะเชิด เขาว่าดี ก็ดีใจ เขาว่าไม่ดี ก็เสียใจ
ไม่มีความอิสระ จิตกับอารมณ์จึงเหมือนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าเราฝึกให้จิตมันสงบ มันจะค่อย ๆ แยกจิต
ออกจากอารมณ์เอง
ฝึกจิต ก็คือ ฝึก เห็น จำ คิด รู้ ให้หยุดรวมเป็นจุดเดียวกัน
ฝึกใจ ก็คือ ฝึกใจให้ละวางขันธ์ 5 คือกาย ที่เกี่ยวเนื่องด้วยกายให้มากที่สุด หยุดนิ่งจนเกิดเป็นจิต
ณ ภายในบังคับจิต คือ ไม่หยุดก็บังคับให้หยุด วอกแวกก็บังคับให้นิ่ง เห็นด้วยใจในนิมิต
ไม่นิ่งก็ต้องบังคับให้มองด้วยใจให้นิ่งๆ ให้ได้

การมีสติอยู่กับปัจจุบัน

สติ คือ การระลึก แต่ไม่รู้สึก สัมปชัญญะ ทำหน้าที่รู้สึก แต่ไม่ได้ทำหน้าที่ระลึก พอเอาทั้งสองมารวมกัน เรียกว่า สติสัมปชัญญะ แปลว่า ระลึกรู้
ดังนั้น การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ก็คือการตามสังเกตใจ เพื่อพัฒนาการระลึกรู้
ถ้ามีสติระลึกถึง สัมปชัญญะก็เกิดขึ้นทำหน้าที่รู้สึก พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า สติสัมปชัญญะเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก
สติสัมปชัญญะเป็นธรรมที่มีอุปการะต่อการรู้ธรรมชาติจริงของจิต
สติสัมปชัญญะ มีอุปการะต่อปัญญา เพราะเมื่อมีสติสัมปชัญญะแล้วจะเกิดปัญญานั้นเอง

Submit "การเดินทางเริ่มต้นที่ก้าวแรกเสมอ" to แชร์ไปที่ Facebook Submit "การเดินทางเริ่มต้นที่ก้าวแรกเสมอ" to แชร์ไปที่ Twitter Submit "การเดินทางเริ่มต้นที่ก้าวแรกเสมอ" to แชร์ไปที่ Printerest

Comments

  1. สัญลักษณ์ของ เเมงสะดิ้ง
    "การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
    ก็คือการตามสังเกตใจ เพื่อพัฒนาการระลึกรู้"

    สาธุ....ขอน้อมรับมาด้วยใจยินดียิ่ง
    *วิ่งตามใจตัวเองให้ทันดีกว่าวิ่งไล่ตามให้ทันคนอื่น*
    ขอฝากไว้ให้บาดใจลึ๊กลึก...จากลมปากแปๆ ของยายดิ้งค่ะ
    :l-


Trackbacks

Total Trackbacks 0
Trackback URL: