khonsurin

จากพันท้ายนรสิงห์สู่เพลงน้ำตาแสงใต้

Rate this Entry
จากพันท้ายนรสิงห์สู่เพลงน้ำตาแสงใต้




เป็นการอำลาครั้งสุดท้ายระหว่างพันท้ายนรสิงห์กับนวลเมียรัก

การอำลาไปสู่ความตายอย่างแท้จริง

อำลาอย่างกล้าหาญ

และรับผิดชอบในหน้าที่ของคนไทยที่มีต่อแผ่นดิน
รับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์

รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

ยอมสละชีวิตเพื่อธำรงคงไว้ซึ่งหน้าที่และกฎหมาย

ขอรำลึกและสดุดีแด่ดวงวิญญาณ ของท่านผู้กล้ามา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ










[wma]http://www.file2go.com/mrun.php?me=1226s2[/wma]






น้ำตาแสงใต้


นวลเจ้าพี่เอย คำน้องเอ่ยล้ำคร่ำครวญ
ถ้อยคำเหมือนจะชวน ใจพี่หวนครวญคร่ำอาลัย

น้ำตาอาบแก้ม เพียงแซมเพชรไสว
แวววับจับหัวใจ เคล้าแสงไต้ งามจับตา

นวลแสงเพชร เกล็ดแก้วอันล้ำค่า
ยามเมื่อแสงไฟส่องมา แวววาวชวนชื่นชม

น้ำตาแสงไต้ ดื่มใจพี่ร้าวระบม
ไม่อยากพรากขวัญภิรมย์ จำใจข่มใจไปจากนวล

นวลเจ้าพี่เอย..............นวลเจ้าพี่เอย



*****************************








คลองโคกขาม





********************************



ประวัติพันท้ายนรสิงห์



พันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้ายเรือในสมัยพระเจ้าเสือ หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พ.ศ. 2246 – 2251) วันหนึ่งพระเจ้าเสือได้เสด็จประพาสต้นด้วยเรือพระที่นั่งเอกชัย มาตาม คลองโคกขาม โดยมีพันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือ คลองนี้คดเคี้ยวและน้ำเชี่ยวมากไม่สามารถบังคับทิศทางเรือได้ ทำให้หัวเรือชนเข้ากับต้นไม้จนหัวเรือหัก พันท้ายนรสิงห์จึงขอให้พระเจ้าเสือประหารตน


พระเจ้าเสือจึงให้ประหารตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ แล้วจัดทำศาลขึ้นพลีกรรมพร้อมทั้งหัวเรือ ซึ่งเป็นไปตามกฎมณเฑียรบาล แต่ตามเกร็ดเล่าว่า พันท้ายนรสิงห์ทราบว่าจะมีพวกกบฏมาดักทำร้ายพระเจ้าเสือ เลยจำเป็นต้องทำให้หัวเรือหักเพื่อมิให้ไปถึงจุดที่กบฏวางแผนเอาไว้ โดยยอมให้ตนเองถูกประหารเพราะเป็นกฎมณเฑียรบาลที่ทำหัวเรือพระที่นั่งหักจะต้องถูกประหาร เมื่อพระเจ้าเสือทรงทราบจึงได้ให้บันทึกไว้ในพงศาวดาร และให้ตั้งศาลขึ้น ณ ที่แห่งนั้น ถ้าเรื่องตามละครพระเจ้าเสือไม่ยอมประหารแต่ให้ปั้นรูปปั้นแล้วทำการตัดหัวรูปปั้นแทน แต่พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอมเพราะจะเป็นการขัดมณเฑียรบาลจึงขอให้ประหาร มิให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง แต่ก่อนที่จะประหารพันท้ายนรสิงห์ซึ่งบ้านน่าจะอยู่ใกล้ ๆ แถวนั้นได้กลับบ้านไปล่ำลาภรรยา และพันท้ายนรสิงห์จึงถูกประหารในวันเดียวกัน


ภายหลังพระเจ้าเสือได้ทรงให้พระยาราชสงคราม คุมไพร่พลจำนวน 3000 คน ทำการขุดคลองลัดคลองโคกขามที่คดเคี้ยว ไปออกที่บริเวณแม่น้ำท่าจีน กว้าง 5 วา ลึก 6 ศอก สร้างเสร็จในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ. 2252 ได้พระราชทานนามคลองนี้ว่าคลองสนามไชย ต่อมาเรียกเป็นคลองมหาชัย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองมหาชัย แต่ชาวบ้านเรียกว่าคลองถ่าน ปัจจุบันชาวบ้านฝั่งธนบุรี เรียกชื่อว่า คลองด่าน



ศาลพันท้ายนรสิงห์



ศาลพันท้ายนรสิงห์ เป็นอนุสาวรีย์แห่งความซื่อสัตย์ รักษากฎระเบียบ กฎมณเฑียรบาลยิ่งกว่าชีวิตตน ตั้งอยู่ที่ บ้านพันท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร


เรื่องจากพระราชพงศาวดาร


พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ เมื่อปี พ.ศ. 2247 สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกชัย จะไปประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำ เมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ ซึ่งถือท้ายเรือ พระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้ว กราบทูลให้ทรงลงพระอาญา ตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในสองครั้งแรก สมเด็จพระเจ้าเสือทรง พระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุ สุดวิสัย แต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้ ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ แล้วสร้างศาลไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นศาลไม้ในสมัยปัจจุบัน หลังคามุงกระเบื้องดินเผาหางมน พื้นศาลเป็นไม้ยกชั้น 2 ชั้น มีเสารองรับ 6 เสา ฝาไม้ลูกประกนขนาดเล็ก



โบราณสถานของชาติ


ศาลพันท้ายนรสิงห์ถูกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 72 ตอนที่ 2 เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2498 กรมศิลปากรได้ดำเนินการจัดสร้างศาลพันท้ายนรสิงห์ขึ้น อยู่ถัดจากศาลเก่าที่พังลงมาไม่มากนัก

โดยกันอาณาบริเวณรอบๆ ศาลไว้ประมาณ 100 ไร่ เพื่อจัดตั้งเป็น "อุทยานพันท้ายนรสิงห์" ภายในศาลมีรูปปั้นของพันท้ายนรสิงห์ขนาดเท่าของจริงในท่าถือท้ายคัดเรือ


Submit "จากพันท้ายนรสิงห์สู่เพลงน้ำตาแสงใต้" to แชร์ไปที่ Facebook Submit "จากพันท้ายนรสิงห์สู่เพลงน้ำตาแสงใต้" to แชร์ไปที่ Twitter Submit "จากพันท้ายนรสิงห์สู่เพลงน้ำตาแสงใต้" to แชร์ไปที่ Printerest

Updated 03-10-2010 at 07:05 by khonsurin

Categories
Uncategorized

Comments

Trackbacks

Total Trackbacks 0
Trackback URL: