ญา ทิวาราช

การเดินทาง ตอนที่ 4

Rate this Entry


หนทางสู่นิพพาน เป็นที่ซึ่งความทุกข์ทั้งหลายเข้าไปไม่ถึง อยู่พ้นกฎของไตรลักษณ์ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีแก่ เจ็บ ตาย ทุกอย่างเป็นสุขัง เป็นนิจจัง เป็นอัตตา เป็นตัวตนที่แท้จริง บังคับบัญชาได้ เที่ยงแท้แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นด้วยอำนาจการปฏิบัติธรรม


การประพฤติธรรม คือ การประพฤติตนให้อยู่ในกรอบของความถูกต้องและความดี ทั้งปรับปรุงพฤติกรรมของตนให้ดีสมกับที่เกิดเป็นคนและให้มีความเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียง

การปรับปรุงตนให้พร้อมที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างผาสุก ไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและผู้อื่น ซึ่งได้แก่การประพฤติปฏิบัติตน 2 ลักษณะควบคู่กันไป คือ
1. ประพฤติเป็นธรรม
2. ประพฤติตามธรรม
ประพฤติเป็นธรรม คือ มีความเที่ยงธรรม มีความยุติธรรม
ความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของสังคมนั้น ขึ้นอยู่กับหลักธรรมอย่างหนึ่ง คือ “ความยุติธรรม” สังคมใดก็ตามแม้จะมีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์มั่นคั่งบริบูรณ์ แต่ถ้าขาด “ความยุติธรรม” เสียอย่างเดียว สังคมนั้นก็จะมีแต่ความเดือดร้อยวุ่นวาย
ความยุติธรรม คือ การกระทำที่ชอบด้วยเหตุผลนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกหนทุกแห่ง มีบางคนเข้าใจว่า ความยุติธรรมเป็นเรื่องมาจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เป็นผู้ให้ ตนเป็นผู้รับ ความเข้าใจเช่นนี้ผิด อันที่จริงความยุติธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนจะต้องให้แก่กัน
เราจึงต้องฝึกตนเองให้เป็นคนที่ปฎิบัติต่อผู้อื่นอย่างชอบด้วยเหตุผลมีความยุติธรรมไม่ลำเอียงเพราะอคติ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ไม่ลำเอียงเพราะรัก
2. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
3. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
4. ไม่ลำเอียงเพราะกลัวภัย
คุณสมบัติทั้ง 4 ประการนี้ คนทุกคนจำเป็นต้องมี ทุกคนจะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตน

ประพฤติตามธรรม คือ การประพฤติปฏิบัติตนตามธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ฝึกฝนอบรมตนเองให้คุณธรรมในตัวสูงขึ้นตามลำดับ ได้แก่ การปฏิบัติตามหลัก 10 ประการ ดังนี้
1. เว้นจากการฆ่าสัตว์
2. เว้นจากการลักทรัพย์
3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4 . เว้นจากการพูดเท็จ
5. เว้นจากการพูดส่อเสียด
6. เว้นจากการพูดคำหยาบ
7. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
8. ไม่โลภอยากได้ของเขา
9. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
10.ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม คือ
1. เห็นว่าการให้ทานดีจริง ควรทำ
2. เห็นว่าการบูชาบุคคลที่ควรบูชาดีจริง ควรทำ
3. เห็นว่ากฎแห่งกรรมมีจริง
4. เห็นว่าบิดามารดามีพระคุณต่อเราจริง
5. เห็นว่านรกสวรรค์มีจริง


“ทุกอย่างมีใจเป็นใหญ่ สำเร็จได้ด้วยใจ ถ้าใครมีใจชั่วเสียแล้ว การพูดการกระทำของเขาก็ย่อมชั่วตามไปด้วย เพราะการพูดชั่วทำชั่วนั้น ความทุกข์ก็ย่อมตามสนองเขา เหมือนวงล้อเกวียนที่หมุนเวียนตามบดขยี้รอยเท้าโคที่ลากมันไป
แต่ถ้ามีใจบริสุทธิ์ การพูด การกระทำ ก็ย่อมบริสุทธิ์ตามไปด้วย เพราะการพูด การกระทำที่บริสุทธิ์ดีงามนั้น ความสุขก็ย่อมตามสนองเขา เหมือนเงาที่ไม่พรากไปจากร่างฉะนั้น”


การกระทำใดก็ตามทั้ง กาย วาจา ใจ ที่เป็นความชั่ว ความร้ายกาจ ทำให้ใจเศร้าหมอง ถ้าเราเคยทำอยู่ก็จะงดเสีย ที่ยังไม่เคยทำก็จะเว้นไม่ยอมทำโดยเด็ดขาด คนเราประกอบขึ้นด้วยกายและใจ โดยใจจะเป็นผู้คอยควบคุมกายให้ทำหรือไม่ให้ทำสิ่งต่างๆ ตามที่ใจต้องการ ผู้ที่ปรารถนาหาความสุข ความก้าวหน้าทั้งหลาย จึงต้องฝึกใจตนเองให้งดเว้นบาป ซึ่งทำได้โดย ต้องฝึกให้ใจมีหิริโอตตัปปะเสียก่อน

หิริ คือ ความละอายบาป เป็นความรู้สึกรังเกียจ ไม่อยากทำบาป เห็นบาปเป็นของสกปรกจะทำให้ใจของเราเศร้าหมอง จึงไม่ยอมทำบาป


โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวบาป เป็นความรู้สึกกลัว กลัวว่าเมื่อทำไปแล้ว บาปจะส่งผลเป็นความทุกข์ทรมานแก่เรา จึงไม่ยอมทำบาป

การทำชั่ว เหมือนการเดินตามกระแสน้ำ เดินไปได้ง่าย ทุกๆ คนพร้อมที่จะ กระทำสิ่งต่างๆ ไปตามกระแสกิเลสอยู่แล้ว ถ้าไม่ควบคุมให้ดี ยอม ตกเป็นทาสของกิเลส กระทำสิ่งต่างๆ ตามอำนาจของความอยากก็จะประสบทุกข์ในบั้นปลาย


การทำดี เหมือนการเดินทวนกระแสน้ำ เดินลำบากต้องใช้ความอดทน ใช้ความมานะพยายามต้องระมัดระวังไม่ให้ลื่นล้ม การทำความดีเป็นการทวนกระแสกิเลสในตัว ไม่ทำสิ่งต่างๆ ตามอำเภอใจ คำนึงถึงความถูกความดีเป็นที่ตั้งไม่ยอมเป็นทาสของความอยากเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ต้องใช้ความสุขุมรอบคอบ ใช้ความมานะพยายามสูง แต่จะประสบสุขในบั้นปลาย




“ไฟใดเสมอด้วยราคะไม่มี โทษใดเสมอด้วยโทสะไม่มี ทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์ไม่มี สุขใดเสมอด้วยความสงบไม่มี ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง”





ธุจ้า ขอขอบคุณในมารับชมและติดตามครับ :l-

Submit "การเดินทาง ตอนที่ 4" to แชร์ไปที่ Facebook Submit "การเดินทาง ตอนที่ 4" to แชร์ไปที่ Twitter Submit "การเดินทาง ตอนที่ 4" to แชร์ไปที่ Printerest

แท็ก: ไม่มี แก้ไข Tags คำค้นหา
Categories
Uncategorized

Comments

  1. สัญลักษณ์ของ แจ่มใสยิ้มสวย
    ลำเอียงเพราะรัก
    ลำเอียงเพราะชัง
    ลำเอียงเพราะหลง
    ลำเอียงเพราะกลัวภัย

    มีครบทุกข้อ จึงขอแค่สุข ไมไปถึงนิพพาน

Trackbacks

Total Trackbacks 0
Trackback URL: