หนุ่มน้อย

วันมาฆบูขาพระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาตืโมกข์

Rate this Entry
พระพุทธเจ้าทรงเทศน์ "โอวาทปาติโมกข์"

โอวาทปาติโมกข์ หมายถึง หลักคำสอนคำสำคัญของพระพุทธศาสนา
อันเป็นไปเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต
เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือคำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา
หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ วิธีการ ๖ ดังนี้

หลักการ ๓

๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง
ได้แก่การงดเว้น การลด ละเลิก ทำบาปทั้งปวง
ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ
อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจความชั่วทางกาย
ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม
ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ
ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท
และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม
ได้แก่ การทำความดี ทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐
เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง
อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ
การทำความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น
มีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ มาเป็นของตน
มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม
การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ
และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง
พูดคำอ่อนหวาน พูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะ
การทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่น
มีแต่คิดเสียสละการไม่ผูกอาฆาตพยาบาท
มีแต่คิดเมตตาและปรารถนาดีและมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
ตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

๓. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส
ปราศจากนวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่
๑). ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
๒). ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
๓). ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
๔). ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ) และ
๕). ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดี
ความชั่วว่ามีผลจริงหรือไม่


อุดมการณ์ ๔
๑. ความอดทน
ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกายวาจา ใจ
๒. ความไม่เบียดเบียน
ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้ายรบกวน
หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
๓. ความสงบ
ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
๔. นิพพาน
ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา
เกิดขึ้นได้จาการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘


วิธีการ ๖

๑. ไม่ว่าร้าย
ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
๒. ไม่ทำร้าย
ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓. สำรวมในปาติโมกข์
ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎ กติกา กฎหมาย
รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม
๔. รู้จักประมาณ
ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหาร
หรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
๕. อยู่ในสถานที่ที่สงัด
ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
๖. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ
ได้แก่ ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพ คุณภาพ
และประสิทธิภาพที่
(ที่มา: http://www.dhammajak.net)

Submit "วันมาฆบูขาพระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาตืโมกข์" to แชร์ไปที่ Facebook Submit "วันมาฆบูขาพระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาตืโมกข์" to แชร์ไปที่ Twitter Submit "วันมาฆบูขาพระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาตืโมกข์" to แชร์ไปที่ Printerest

แท็ก: ไม่มี แก้ไข Tags คำค้นหา
Categories
Uncategorized

Comments

  1. สัญลักษณ์ของ หนึ่ง
    ขอบคุณจ้า รายละเอียดพวกนี่ ลืมไปโดนแล้ว นี่กะ ตรงสั้นเข้าใจง่ายดีเจ้า แต่นำไปปฏิบัตินั่นคือซิได้เป็นบางอย่าง
  2. สัญลักษณ์ของ หนึ่ง
    ขอบคุณจ้า รายละเอียดพวกนี่ ลืมไปโดนแล้ว นี่กะ ตรงสั้นเข้าใจง่ายดีเจ้า แต่นำไปปฏิบัตินั่นคือซิได้เป็นบางอย่าง
  3. สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    สาธุ...เป็นบทตวามธรรมที่เหล่ามวลวนุษย์ที่ยังไม่รู้ร้อนหนาวควรนำไปปฎิบัติเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจนำไปปฎิบัติให้พ้นทุกข์
  4. สัญลักษณ์ของ เเมงสะดิ้ง
    "โอปนยิโก" ขอน้อมสู่จิตสู่ใจ ร่วมโมทนาสาธุบุญด้วยค่ะอาจารย์หนุ่มน้อย
    แมงดิ้งกะเพิ่งกลับมาจากไปปฏิบัติธรรมเนื่องในวันแห่งความรักทางพุทธศาสนาตั้งแต่วันที่ 9-11 มีค.
    ตอนนี้ได้ข่าวว่าถูกยกให้เป็นวันกตัญญูแห่งชาติแล่วเนาะ ดีหลายที่พวกเฮายังเห็นความสำคัญของวันมาฆบูชา
    สิ่งดีๆ เหล่านี้สมควรยิ่งที่พวกเราท่านทั้งหลายควรน้อมนำมาสู่จิตสู่ใจเพื่อใช้เป็นหลักยึดเพื่อการประพฤติปฏิบัติต่อไป

Trackbacks

Total Trackbacks 0
Trackback URL: