มักน้องสาวหมู่

โรงงานยาสมุนไพร - อินไซด์แคมปัส...เดลินิวส์

Rate this Entry
โรงงานยาสมุนไพร - อินไซด์แคมปัส...เดลินิวส์

ในวิกฤตมักมีโอกาสดีๆ เกิดขึ้นเสมอ.. เช่นเดียวกับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ต้องประสบกับความเดือดร้อน ไม่มีอาคารใดที่รอดพ้นจากการถูกน้ำท่วมขัง รวมถึงอาคารบริการชั่วคราว(อาคาร 16 ) ซึ่งเดิมเป็นห้องปฏิบัติการเภสัชอุตสาหกรรม.. “ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์” อธิการบดี ม.รังสิต เล่าว่า ภายหลังเหตุการณ์นั้นมหาวิทยาลัยได้ทำการปรับปรุงพื้นที่อาคารดังกล่าว เพื่อตอบสนองความมุ่งหวังสนับสนุนวิวัฒนาทางการแพทย์ จึงจัดตั้งเป็นโรงงานยาอุตสาหกรรมต้นแบบผลิตยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ภายใต้ชื่อโรงงาน “ซัน-เฮิร์บ ไทย ไชนีส” เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 พ.ย.55 โดยใช้งบประมาณ 2 ล้านบาท นำเข้าเครื่องจักรใหม่ 20 เครื่อง พร้อมปรับสภาพพื้นที่ให้เป็นห้องปฏิบัติการต่างๆ อาทิ ห้องเก็บวัตถุดิบ ห้องอบยา ผลิตยา ทั้งยาผง ยาเม็ด แคปซูล ยาลูกกลอน ฯลฯ




“โรงงานแห่งนี้ไม่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตยาแข่งกับภาคเอกชน แต่มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการเป็นต้นแบบของศูนย์เรียนรู้และฝึกอบรมอย่างครบ วงจรในการผลิตยาสมุนไพรไทยที่ได้มาตรฐานจีเอ็มพี เพื่อส่งให้แก่โรงพยาบาลรัฐและเอกชน รวมถึงคลินิกแพทย์แผนไทยทั่วประเทศ นอกจากนี้โรงงานดังกล่าวจะเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเภสัชศาสตร์ ระหว่างอาจารย์และนักวิจัยจากประเทศอาเซียนและประเทศแอฟริกาด้วย”



สอดคล้องกับ ศ.(พิเศษ)ภญ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานผลิตยาจำนวนมาก ทั้งโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบันประมาณ 2 พันแห่ง และโรงงานผลิตยาสมุนไพรอีก 5 พันแห่ง ดังนั้นเป้าหมายสูงสุดของการตั้งโรงงานนี้ จึงไม่ใช่เรื่องของผลกำไร เพราะกำลังการผลิตมีจำกัด แต่มีความต้องการสูงสุดคือ ให้คนไทยตระหนักถึงคุณสมบัติของยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคและอาการเจ็บป่วย ต่างๆ อย่างได้ผล ซึ่งหากจะบรรลุผลได้นั้น จะต้องเริ่มตั้งแต่มีกระบวนการผลิตยาสมุนไพรที่ถูกต้อง พร้อมกับมีการทดลองวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ฤทธิ์ของยาสมุนไพรเป็นที่ยอม รับในสากล



“สมุนไพร เป็นอนาคตของประเทศไทย แต่การทำยาสมุนไพรนั้นยากกว่าทำยาแผนปัจจุบัน เพราะวัตถุดิบที่จะนำมาทำยาเป็นสิ่งมีชีวิต เป็นพืช ดังนั้นจะต้องมีการควบคุมดูแลตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกและกระบวนการแปรรูปอย่าง ดีเพื่อไม่ให้กระทบต่อคุณภาพของยา จนถึงขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติ ก็ต้องมีการเอาดินเอาน้ำมาตรวจสอบ ไม่ใช่ตรวจสอบแค่ยาที่ผลิตออกมาสำเร็จรูปแล้วเท่านั้น ในส่วนของโรงงานแห่งนี้จะได้พืชสมุนไพรที่ส่งตรงมาจากแหล่งผลิตในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งตนได้ลงไปคลุกคลีเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการปลูกพืชสมุนไพรไว้เป็นอย่าง ดี นับเป็นช่องทางที่ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอีกทางหนึ่ง”




ศ.(พิเศษ)ภญ.ดร.กฤษณา กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันโรงงานแห่งนี้สามารถผลิตยาตำรับสมุนไพรที่ได้รับการรับรอง จากกระทรวงสาธารณสุข 27 ชนิด และยังมีผลวิจัยยาสมุนไพรที่สามารถยืนยันได้ว่า “ยาหอมเทพจิตร” ซึ่งเป็น 1 ในตำรับยา มีผลในการรักษาโรคนอนไม่หลับได้จริง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่กำลังทำอยู่เพื่อยืนยันผลในการรักษาโรคด้วย สมุนไพรอีก 4 โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดัน เกาต์ และสะเก็ดเงิน



โอกาสเดียวกันนี้ คณะเภสัชศาสตร์ ม.รังสิต ได้เปิดตัวห้องปฏิบัติการ การแพทย์ทางเลือก มีให้บริการด้านต่างๆ เกี่ยวกับแพทย์แผนไทย ผู้สนใจติดต่อใช้บริการหรือติดตามข่าวสารต่างๆ ได้ที่ โทร.0-2997-2200-30 ต่อ 1420-22
.



เครดิต : http://www.krisana.org/index.php/
http://www.baanmaha.com/community/blog_post.php?do=newblog

Submit "โรงงานยาสมุนไพร - อินไซด์แคมปัส...เดลินิวส์" to แชร์ไปที่ Facebook Submit "โรงงานยาสมุนไพร - อินไซด์แคมปัส...เดลินิวส์" to แชร์ไปที่ Twitter Submit "โรงงานยาสมุนไพร - อินไซด์แคมปัส...เดลินิวส์" to แชร์ไปที่ Printerest

แท็ก: ไม่มี แก้ไข Tags คำค้นหา
Categories
Uncategorized

Comments

Trackbacks

Total Trackbacks 0
Trackback URL: