มักน้องสาวหมู่

ปูเสฉวน

Rate this Entry

ปูเสฉวนบกไม่ทราบชนิด (Coenobita sp.)

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
อันดับย่อย: Pleocyemata
อันดับฐาน: Anomura
วงศ์ใหญ่: Paguroidea
Latreille, 1802


วงศ์
Coenobitidae
Diogenidae
Lithodidae
Paguridae
Parapaguridae
Parapylochelidae
Pylochelidae
Pylojacquesidae

ปูเสฉวน (อังกฤษ: Hermit crab) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ในไฟลัมอาร์โธรพอด ในไฟลัมย่อยครัสเตเชียน[2] ในอันดับฐานปูปลอม (Anomura) ในวงศ์ใหญ่ Paguroidea ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้อีก 7 วงศ์ (ดูในตาราง)
โดยรวมแล้ว ปูเสฉวนเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก ประมาณ 1-6 เซนติเมตร มีขาทั้งหมด 10 ขา ไม่มีเปลือกแข็งแบบปูหรือกุ้ง จึงต้องอาศัยในเปลือกหอยเปล่า โผล่เฉพาะหัวและขา 2 คู่ออกจากเปลือก ส่วนขาอีก 2 คู่ใช้ยึดกับเปลือกหอย กินซากพืช ซากสัตว์เป็นอาหาร มักอาศัยอยู่ตามหาดทรายชายทะเล บางชนิดอาจอาศัยอยู่ในน้ำลึก มีประมาณ 1,100 ชนิด บางสกุลอาศัยอยู่แต่เฉพาะบนบก ได้แก่ Coenobita[3]
ปูเสฉวนมีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ ด้วยการที่ตัวผู้จะต่อสู้กันด้วยก้ามเพื่อแย่งชิงตัวเมีย เหมือนกุ้ง หรือปูทั่วไป เมื่อตัวผู้ที่ชนะแล้วจะจับตัวเมียไว้ เมื่อตัวเมียลอกคราบ ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมบริเวณขาว่ายส่วนท้อง เกิดเมื่อการปฏิสนธิแล้ว ตัวเมียจะปล่อยไข่ไปในทะเลเพื่อปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปในทะเล ซึ่งลูกขนาดเล็กจะยังมีลักษณะไม่เหมือนตัวเต็มวัย จะต้องลอกคราบและมีพัฒนาการต่อไปเรื่อย ๆ ในปูเสฉวนบกก็มีพฤติกรรมเช่นเดียวกัน แต่กระทำกันบกบก และตัวเมียจะลงไปปล่อยในทะเล ก่อนที่ลูกเมื่อแรกเกิดจะกลับมาเติบโตและใช้ชีวิตอยู่บนบก
อ้างอิง

จักกริช พวงแก้ว สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิช วิภาพรรณ นาคแพน. นักสืบชายหาด: พืชและสัตว์ชายหาด. กทม. มูลนิธิโลกสีเขียว. 2549 หน้า 55
Jump up ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
Jump up ↑ Patsy A. McLaughlin, Tomoyuki Komai, Rafael Lemaitre & Dwi Listyo Rahayu (2010). Part I – Lithodoidea, Lomisoidea and Paguroidea (PDF). In Martyn E. Y. Low and S. H. Tan. "Annotated checklist of anomuran decapod crustaceans of the world (exclusive of the Kiwaoidea and families Chirostylidae and Galatheidae of the Galatheoidea)". Zootaxa. Suppl. 23: 5–107.
Jump up ↑ Land hermit crab จากเว็บไซต์โลกวันนี้
Jump up ↑ ปูเสฉวน จาก องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)






http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%89%E0%B8%A7%E0%B8%99

Submit "ปูเสฉวน" to แชร์ไปที่ Facebook Submit "ปูเสฉวน" to แชร์ไปที่ Twitter Submit "ปูเสฉวน" to แชร์ไปที่ Printerest

แท็ก: ไม่มี แก้ไข Tags คำค้นหา
Categories
Uncategorized

Comments

  1. สัญลักษณ์ของ lungyai1123

    ชนิด C. perlatus


    ปูเสฉวนบก (อังกฤษ: Land hermit crab) เป็นปูเสฉวนในสกุล Coenobita มีทั้งหมด 15 ชนิด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5 นิ้ว มีรูปร่างหน้าตาคล้ายปูเสฉวนทั่วไป และอาศัยอยู่ในเปลือกหอย แต่ไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ในน้ำได้ เนื่องจากระบบการหายใจถูกพัฒนาให้รับออกซิเจนโดยตรง ถ้าลงไปในน้ำจะสำลักน้ำตายได้เหมือนปูมะพร้าว (Birgus latro) แต่จะลงไปกินน้ำทะเลเพื่อต้องการเกลือแร่ อีกทั้งยังต้องการน้ำจืดอีกด้วย
    ปูเสฉวนบกมีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกาเหนือ, ทะเลแคริบเบียน, หมู่เกาะเบอร์มิวดา, ออสเตรเลียและอินโดนีเซีย จะอาศัยอยู่บนบกหรือในป่าริมชายทะเล กินอาหารจำพวกซากพืช ซากสัตว์เหมือนปูเสฉวนทั่วไป
    ปัจจุบันปูเสฉวนบกกำลังได้รับความนิยมในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้เลี้ยงนิยมใช้สีทาบนเปลือกหอยให้เป็นสีสันและลวดลายต่าง ๆ แต่เป็นปูที่ค่อนข้างมีความยุ่งยากในการเลี้ยง เนื่องจากถึงแม้ว่าจะอาศัยอยู่บนบกก็ตาม แต่ในสถานที่เลี้ยงต้องใช้ความชุ่มชื้นด้วย และปูพื้นด้วยกรวดทรายและขอนไม้ หรือมะพร้าวผุ และมีความจำเป็นต้องใช้แคลเซี่ยมเพื่อเป็นแร่ธาตุด้วย ไม่เช่นนั้นอาจตายได้


    ชนิด C. clypeatus

    ชนิด C. compressus

    การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

    อาณาจักร: Animalia

    ไฟลัม: Arthropoda

    ไฟลัมย่อย: Crustacea

    ชั้น: Malacostraca

    อันดับ: Decapoda

    อันดับฐาน: Anomura
    วงศ์ใหญ่: Paguroidea

    วงศ์: Coenobitidae
    สกุล: Coenobita

    Latreille, 1829



    ชนิด

    C. brevimanus
    พบได้ในประเทศไทย

    C. cavipes
    พบได้ในประเทศไทย

    C. carnescens

    C. clypeatus

    C. compressus

    C. olivieri

    C. perlatus

    C. pseudorugosus

    C. purpureus

    C. rubescens

    C. rugosus
    พบได้ในประเทศไทย

    C. scaevola

    C. spinosus

    C. variabilis

    C. violascens







    ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%89%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%81
    http://www.baanmaha.com/community

Trackbacks

Total Trackbacks 0
Trackback URL: