มักน้องสาวหมู่

วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๖

Rate this Entry




วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๖ หรือ "วันมหาปวารนา" คำว่า "ปวารนา" นั้นแปลว่า อนุญาตหรือยอมให้ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ถือเป็นการสิ้นสุด ระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำ ที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด ๓ เดือนของพระภิกษุสงฆ์

วันออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธี ทำสังฆกรรมใหญ่ ที่เรียกว่า มหาปวารณา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาส ให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือน ซึ่งกันและกันได้ พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อย ก็สามารถชี้แนะ ถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แม้พระผู้ใหญ่จะมีอาวุโสมากกว่า เพื่อเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้าย เกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษา หรืออกพรรษา

คำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลีเป็นดังนี้ "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ" มีความหมายว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี

เมื่อทำพิธี วันออกพรรษาแล้ว พระภิกษุสงฆ์สามารถ จาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ หรือค้างคืนที่อื่นได้ โดยไม่ผิดพระพุทธบัญญัติ และยังได้รับอานิสงค์ก็คือ ... ไปไหนไม่ต้องบอกลา ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด มีสิทธิ์รับลาภที่เกิดขึ้นได้ และ มีโอกาสได้อนุโมทนากฐิน ที่จะสามารถขยายเวลา ของอานิสงค์ ออกไปอีก ๔ เดือน

การประกอบพิธีในวันออกพรรษา เหล่าพุทธศาสนิกชนจะนิยม ทำบุญกุศลเป็นกรณีพิเศษ เช่น ตักบาตรในตอนเช้า ถวายสังฆทาน ไปทำบุญที่วัด ถวายภัตตาหาร ฟังพระธรรมเทศนา และมีการตักบาตรเทโว ในวันรุ่งขึ้น

"ตักบาตรเทโว" หรือเรียกชื่อเต็มตามคำพระว่า เทโวโรหนะ แปลว่าการหยั่งลงจากเทวโลก หรือการตักบาตรนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตักบาตรดาวดึงส์ และการตักบาตรเทโวนี้ จะกระทำในวันขึ้น ๑๕ เดือน ๑๑ หรือวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ก็ได้สุดแท้แต่จะเห็นพร้อมกัน อาหารที่นิยมนำไปใส่บาตร คือ ข้าวต้มมัด และ ข้าวต้มลูกโยน

การทำบุญตักบาตรเทโวนี้ ยึดถือว่าเป็นวันคล้าย กับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตามตำนานกล่าวว่า สมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม และเสด็จขึ้นไป โปรดพระพุทธมารดา โดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา ๑ พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้ว พระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมา จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชน ผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าว ต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตร เพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโว ปฏิบัติสืบทอดกันมาจน ตราบเท่าทุกวันนี้

พิธีตักบาตรเทโวโรหณะในปัจจุบันนั้น จะเริ่มตั้งแต่ตอนรุ่งอรุณ หลังวันออกพรรษา พระภิกษุสามเณร ลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้น ก็สมมติว่า พระลงมาจากบันไดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรี บรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่ง พระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวน พระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตร ด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัด จึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้

"งานเทศน์มหาชาติ " นิยมทำกันหลัง วันออกพรรษา พ้นหน้ากฐินไปแล้ว ซึ่งกฐินจะทำกัน ๑ เดือนหลังออกพรรษา ที่จะร่วมกันทอดกฐินทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน โดยประเพณีงานเทศน์มหาชาติ อาจทำในวันขี้น ๘ ค่ำกลางเดือน ๑๒ หรือในวันแรม ๘ ค่ำ ก็ได้ เพราะในช่วงนี้น้ำเริ่มลด และข้าวปลาอาหาร กำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทาน และเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกัน ในเดือน ๔ เรียกว่า "งานบุญพระเวส" ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจาก การทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกัน ในเดือน ๕ ต่อเดือน ๖ ก็มี

งานเทศน์มหาชาตินั้น จะทำในเดือนไหนก็ได้ ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน ๑๐ โดยการเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดร อันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติ เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจน ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ใครที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง วันออกพรรษา จึงน่าจะเป็นช่วงเวลา ที่เหมาะสม สำหรับ การย้อนมองดูตัวเองว่า ได้ทำสิ่งใดผิดพลาด ไว้บ้างหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ปรับปรุง และไม่ทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมอีก .....



ที่มา http://www.facebook.com/siriwanna.jill/posts/372511466216428

Submit "วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๖" to แชร์ไปที่ Facebook Submit "วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๖" to แชร์ไปที่ Twitter Submit "วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๖" to แชร์ไปที่ Printerest

แท็ก: ไม่มี แก้ไข Tags คำค้นหา
Categories
Uncategorized

Comments

  1. สัญลักษณ์ของ lungyai1123






    ประเพณีวันออกพรรษา ภาคใต้ ประเพณีชักพระเป็นประเพณี ท้องถิ่นของชาวใต้ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญ ในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จมา ยังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนจึงมารอรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธ เจ้าขึ้นประทับบน บุษบกแล้วแห่ไปรอบเมือง ซึ่งก็คือพระพุทธรูปนั่นเอง โดยมี 2 กรณี คือ ชักพระทางบก กับ ชักพระทางน้ำ

    พิธีชักพระทางบก ... ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนวันชักพระ 2 วัน จะมีพิธีใส่บาตรหน้าล้อ นอกจาก อาหารคาวหวานแล้ว ยังมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของงาน คือ "ปัด" หรือข้าวต้มผัดน้ำกะทิ ห่อด้วยใบมะพร้าว บางที่ห่อด้วยใบกะพ้อ ซึ่งเป็นปาล์มชนิดหนึ่ง ในภาคกลาง เรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน ก่อนจะถึงวันออกพรรษา 1 - 2 สัปดาห์ ทางวัดจะทำเรือบก คือ เอาท่อนไม้ขนาดใหญ่ 2 ท่อนมาทำเป็นพญานาค 2 ตัว เป็นแม่เรือที่ถูกยึดไว้ อย่างแข็งแรง แล้วปูกระดาน วางบุษบก บนบุษบกจะนำพระพุทธรูปยืน รอบบุษบก ก็วางเครื่องดนตรีไว้บรรเลง เวลาเคลื่อนพระไปสู่บริเวณงาน พอเช้าวัน 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะช่วยกันชักพระ โดยถือเชือกขนาดใหญ่ 2 เส้นที่ผูกไว้ กับพญานาคทั้ง 2 ตัว เมื่อถึงบริเวณงาน จะมีการสมโภช และมีการเล่นกีฬา พื้นเมืองต่างๆ กลางคืนมีงานฉลอง อย่างมโหฬาร อย่างการชักพระที่ปัตตานี ก็จะมีชาวอิสลามร่วมด้วย

    พิธีชักพระทางน้ำ .... ก่อนถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ทางวัดที่อยู่ริมน้ำ ก็จะเตรียมการต่างๆ โดยการนำเรือมา 2 - 3 ลำ มาปูด้วยไม้กระดาน เพื่อตั้งบุษบก หรือพนมพระประดับประดา ด้วยธงทิว ในบุษบกก็ตั้งพระพุทธรูป ในเรือบางที่ ก็มีเครื่องดนตรีประโคมตลอดทาง ที่เรือเคลื่อนที่ไปสู่จุดกำหนด คือบริเวณงานท่าน้ำ ที่เป็นบริเวณงาน ก็จะมีเรือพระหลายๆ วัดมาร่วมงาน ปัจจุบันจะนิยมใช้เรือยนต์จูง แทนการพาย เมื่อชักพระถึงบริเวณงาน ทั้งหมด ทุกวัดที่มาร่วม จะมีการฉลองสมโภชพระ มีการละเล่นต่างๆ อย่างสนุกสนาน เช่น แข่งเรือปาโคลน ซัดข้าวต้ม เป็นต้น เมื่อฉลองเสร็จ ก็จะชักพระกลับวัด บางทีก็จะแย่งเรือกัน ฝ่ายใดชนะก็ยึดเรือ ฝ่ายใดแพ้ต้องเสียค่าไถ่ให้ฝ่ายชนะ จึงจะได้เรือคืน

    ในเขตที่มีบ้านเรือนอยู่ใน เขตแม่น้ำลำคลอง ก็จะมีพิธีรับพระเช่นกัน อย่างที่อำเภอบางบ่อ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทางวัดจะอัญเชิญ พระพุทธรูปยืนลงบุษบก ในตัวเรือ แล้วแห่ไปตามลำคลอง ชาวบ้านก็จะโยนดอกบัว จากฝั่งให้ตกในเรือหน้าพระพุทธรูป แล้วโยนข้าวต้ม และยังมีการแข่งขัน เรือชิงรางวัลอีกด้วย หรือจะเป็นประเพณีตักบาตร พระร้อย ที่เป็นการใส่บาตรพระร้อยรูป ส่วนมากจะจัดพิธีขึ้น ทางน้ำเนื่องจากแต่ก่อนบ้านเรือน จะอยู่ติดแม่น้ำลำคลอง การสัญจรไปไหนมาไหนก็จะใช้เรือ พระส่วนใหญ่จึงใช้เรือในการออกบิณฑบาต








    ที่มา : facebook.com/Siriwanna Jill
  2. สัญลักษณ์ของ lungyai1123


    ตะลึง ... สมาคมดาราศาสตร์อเมริกัน ในรัฐโคโลราโด ระบุว่า ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ อาจมีปรากฏการณ์ฝนตกเป็นเพชร ซึ่งอาจทำให้พื้นผิว ของดาวมีแอ่งทะเลเพชรขนาดย่อมๆ เลยทีเดียว !

    ปรากฏการณ์เพชรมหาศาล บนดาวเคราะห์ขนาดยักษ์ เกิดขึ้นจาก การก่อตัวของพายุฝนฟ้าคะนอง ในบรรยากาศชั้นบน ของดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งเปลี่ยนก๊าซคาร์บอน ให้เกิดปฏิกิริยาแข็งตัว เมื่อคาร์บอนในสภาพสสารของแข็ง ตกลงสู่ชั้นบรรยากาศของดาว แรงกดอากาศ ก็ทำให้มันเปลี่ยนสภาพอีกครั้งเป็นแร่แกรไฟต์ อันเป็นสภาพมูลฐานเดียว กับที่ก่อให้เกิดเพชรบนโลกของเรา เมื่อผ่านชั้นบรรยากาศ ในระยะทางกว่า 6,437 กม. แกรไฟต์จะเริ่มเปลี่ยนเป็นเพชรโดยสมบูรณ์แบบ

    หากมีปรากฏการณ์ฝนตก เป็นเพชรจริงตามสมติฐาน พายุขนาดมหึมา ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งบนดาว ทั้งสองดวงคงผลิตเพชร อย่างล้นเหลือ จนมนุษย์เก็บกันแทบไม่หวาดไม่ไหวในอนาคต




    facebook.com/Siriwanna Jill

Trackbacks

Total Trackbacks 0
Trackback URL: