มักน้องสาวหมู่
** ธงกฐิน **
by
, 21-10-2013 at 07:16 (2789 เปิดอ่าน)
ธงกฐิน ... สัญญาลักษณ์ที่คุ้นตา ในเทศกาลงานทอดกฐิน อย่างหนึ่งคือ เมื่อวัดใดได้รับกฐินแล้ว จะมีธงจระเข้คาบดอกบัว แขวนเคียงคู่ กับธงรูปนางเงือกในท่าพนมมือ ถือดอกบัว ในทางพระพุทธศาสนา ยังไม่มีหลักฐานปรากฏ ถึงความหมายและที่มาที่ไปของธงนี้ ได้ให้ความหมายของธงสัญญลักษณ์ ดังนี้
ธงกฐินรูปจระเข้คาบดอกบัว หกมายถึง ความโลภ โดยปกติแล้วจระเข้เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ในบางช่วง จะขึ้นมานอนอ้าปากบนบก ให้แมลงวันบินเข้ามาตอม อยู่ในปาก เมื่อแมลงวันเข้าไปรวมกัน หลายๆตัวเข้าจึงได้งับปาก เอาแมลงวันเป็นอาหาร ท่านเปรียบถึงเราที่มีความโลภ มิมีความรู้สึกสำนึกชั่วดี ความถูกต้อง มีแต่จะเอาให้ได้ท่าเดียว โดยมีคำนึงว่าที่ได้มานั้น สกปรกแปดเปื้อนด้วย ความไม่ดีไม่งามหรือ อกุศลหรือไม่ และไม่ใส่ใจว่าผู้อื่น จะได้รับผลอย่างไร จากการกระทำของตน ดังนั้น ท่านจึงเปรียบธงรูปจระเข้ เหมือนกับความโลภ ที่ทำให้คนกอบโกยทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่ จะมีช่องทางหรือโอกาส
ธงกฐินรูปกินรี หรือนางมัจฉาถือดอกบัว หมายถึง ความหลงหรือโมหะ ซึ่งรูปร่างและศัพท์ที่ใช้เรียก ก็มีความชัดเจนอยู่แล้ว นั่นคือ กินรีเป็นคน หรือสัตว์กันแน่ดูไม่ออก เพราะท่อนล่างเป็นปลา ท่อนบนเป็นคน คำว่า “ กินรี ” มาจากภาษาบาลีว่า “ กินนรี ” แต่ผ่านกระบวนการแปลงศัพท์ แปลว่า “ คนอะไร ” หรือคนผู้สงสัย,ผู้ยังสงสัย หรือผู้ที่ค้นพบเห็นก็เกิดความสงสัย คือคนที่ไม่เป็นตัวของตัวเอง ทั้งทางด้านความคิด การกระทำหรือพฤติกรรม เพราะฉะนั้นท่านจึงเปรียบกินนรีหรือกินรีเสมือนโมหะ คือ ความหลงหรือผู้หลง ความลังเลสงสัย นั่นเอง
เรื่องธงจระเข้มีตำนาน ที่แตกต่างกันไปอย่างน้อย ๓ เรื่อง
เรื่องที่ ๑ ในสมัยโบราณ การเดินทางต้องอาศัย ดวงดาว เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวน ในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้ เพราะดาวจระเข้จะขึ้น ในเวลานั้น การทอดกฐิน มีภาระมากบางครั้ง ต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลา จึงต้องอาศัยดวงดาว เมื่อดาวจระเข้ขึ้น ก็เคลื่อนองค์กฐินไปสว่าง เอาที่วัดพอดี ต่อมามีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้นคงทำทิวธงประดับประดา ให้สวยงามทั้งที่องค์กฐิน และบริเวณวัด ภายหลังคงหวัง จะให้เป็นเครื่องหมาย เนื่องด้วยการกฐิน จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว
เรื่องที่ ๒ เล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินทางเรือ ของอุบาสกผู้หนึ่งมีจระเข้ตัวหนึ่ง อยากได้บุญ จึงว่ายน้ำตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัด ก็หมดแรงว่ายต่อไปไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไป ร่วมกองกุศลได้ หวานท่านเมตตา ช่วยเขียนรูป เพื่อเป็นสักขีพยานว่า ได้ไปร่วมการกุศลด้วย อุบาสกผู้นั้นจึงเขียนรูปจระเข้ ยกเป็นธงขึ้นในวัด เป็นปฐมและสืบเนื่องมาจนบัดนี้
เรื่องที่ ๓ เรื่องเก่าแก่ ตั้งแต่โบราณกับปู่โสมเฝ้าทรัพย์ในอดิตกาล กล่าวถึงเศรษฐีขี้ตระหนี่ ตอนที่มีชีวิตอยู่หาแต่เงิน เก็บแต่เงิน โดยนำเงินใส่ไห ใส่ตุ่มไปฝั่งไว้ที่ริมฝั่งน้ำ แต่ไม่ทำบุญให้ทาน ไม่ตักบาตร ไม่ถวายสร้างกฏิ วิหาร โบสถ์ สะพาน ไม่ช่วยทำทางเข้าวัด เหล่านี้เป็นต้น เมื่อตายไป ด้วยความห่วงสมบัติจึงไปเกิดเป็น จระเข้เฝ้าสมบัติอยู่แถวนั้น นานเข้าก็มาฝันให้ญาติ ให้มาขุดเอาเงินไปทำบุญให้ จะทอดกฐิน หรือผ้าป่าก็ได้ ญาติจึงนำเงินนั้นไปทอดกฐิน สมัยก่อนเขาแห่กฐินทางเรือ จระเข้ตัวนั้น จึงว่ายตามเรือตามกองกฐินไป เมื่อทอดกฐินเสร็จ ญาติก็อุทิศส่วนกุศลให้ บอกว่านายนี้ที่ล่วงลับไป บัดนี้เอาเงินมาทอดกฐินถวาย ให้พระแล้ว จระเข้ก็โผหัวขึ้นมา พอพระอนุโมธนาให้พรจบ จระเข้ตัวนั้นก็มุดน้ำหายไป
ทุกวันนี้ ธงรูปจระเข้คาบดอกบัว จึงเป็นสัญญาลักษณ์ ในการทอดกฐิน หรือธงตะขาบ ก็มีตำนานคล้ายคลึงกัน ต่างกันเพียงแต่ เมื่อตายไปก็เกิดเป็น ตะขาบคอยเฝ้าสมบัติเช่นกัน ส่วนตำนานหรือ นิทานพื้นบ้านที่เป็น เรื่องเล่าเกี่ยวกับธงกฐินรูปนางมัจฉา ยังไม่มีปรากฏให้เห็น นอกจากธงกฐินรูปจระเข้ และนางมัจฉาแล้ว บางแห่งอาจใช้ ธงเป็นรูปเต่า ตะขาบ หรือ แลงป่องก็ได้
ที่มา : http://www.facebook.com/siriwanna.jill/posts/373819859418922