มักน้องสาวหมู่
ปลาพญานาค
by
, 28-10-2013 at 18:01 (1570 เปิดอ่าน)
ปลาพญานาค
ผ่านพ้นไปอีกปีเทศกาล "บั้งไฟพญานาค" จ.หนองคาย เช่นเดียวกับปีก่อนๆ มีการถกเถียงกันเรื่องที่มาของ "บั้งไฟพญานาค" มีการตั้งสมมติฐานต่างๆ นานา ฝ่ายหนึ่งมองว่าเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ อีกฝ่ายหนึ่งมองว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น อาจจะเป็นการทับถมกันของซากอินทรีย์ต่างๆ จนกลายเป็นก๊าซลูกไฟให้เห็นเป็นครั้งคราว
ฝ่ายที่มองว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเองก็มี เนื่องจากเคยมีสารคดีชี้ให้เห็นการยิงกระสุนส่องวิถีจากฝั่งประเทศลาว เพื่อฉลองวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ทั้งนี้ ถึงแม้ยังสรุปไม่ได้แน่ชัดว่า บั้งไฟพญานาค เกิดจากปัจจัยใดกันแน่ แต่ตัดประเด็นเรื่องเหนือธรรมชาติออกไปได้ก่อน เพราะมีคำอธิบายอื่นๆ ที่ดีกว่ามาก
สำหรับการเชื่อมโยงแม่น้ำโขงกับพญานาคนั้น อาจเกิดขึ้น เพราะมีการพบเห็นสิ่งที่ดูคล้ายพญานาคในแม่น้ำโขงในอดีต ไม่ว่าจะเป็นคลื่นที่สะท้อนสีกับแสงอาทิตย์จนหลอกสายตาระยะไกล หรือปลาขนาดใหญ่
ปลาขนาดใหญ่ที่ว่านี้ อาจจะเป็นปลาพญานาค หรือ Oar Fish ซึ่งมีความยาว 5-15 เมตร ซึ่งติดอันดับปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลกพันธุ์หนึ่ง
ปลาดังกล่าวสามารถพบได้ทั่วโลก แต่มักมีพฤติกรรมสันโดษ มนุษย์จึงไม่ค่อยพบเห็นบ่อยครั้งนัก โดยเพิ่งมีการค้นพบอย่างเป็นทางการเมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้เท่านั้น
จะมีบ้างก็เมื่อปลาพันธุ์นี้ตายและซาก..พเกยขึ้นฝั่ง ทำให้ผู้พบเห็นพากันถ่ายรูปวัดขนาดความยาวของปลานี้ตามระเบียบ
สำหรับในปีนี้ รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐพบปลา Oar Fish เกยขึ้นฝั่งสองครั้งแล้ว เป็นไปได้หรือไม่ว่ามีปลา Oar Fish ที่แม่น้ำโขงด้วย?
พูดถึงตรงนี้ ก็ต้องชี้แจงหน่อยว่า ภาพอันโด่งดังที่อ้างว่าเป็นการพบปลา Oar Fish ในแม่น้ำโขงโดยจีไออเมริกัน จริงๆ แล้วก็เป็นการพบปลาดังกล่าวในฐานทัพเรือที่ซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ไม่ใช่ที่แม่น้ำโขง
เป็นหน้าที่ของชาวไทยที่จะต้องพิสูจน์เรื่อง "บั้งไฟพญานาค" ให้กระจ่างกันต่อไป ซึ่งก็เป็นแบบฝึกหัดการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ดีทางหนึ่ง
หักมุมพิศวง/ข่าวสดออนไลน์
ด๊อกเตอร์ บีเกิ้ล khaosod.sci@gmail.com
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและคณิตศาสตร์