มักน้องสาวหมู่

iCar ความฝันของสตีฟ จ็อบส์

Rate this Entry


iCar ความฝันของสตีฟ จ็อบส์

สตี ฟ จ็อบส์ เจ้าของตำนานแห่งแอปเปิล จัดเป็นหนึ่งในนักประดิษฐ์ที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของโลกในรอบหลายสิบปีที่ผ่าน มา เป็นบุคคลที่ได้สร้างสิ่งประดิษฐ์ด้านฮาร์ดแวร์ที่สำคัญในปลายศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21 มากมาย อาทิ แมคอินทอช (Macintosh), ไอแมค (iMac), ไอพอด (iPod), ไอโฟน (iPhone), ไอแพด (iPad) และร้านขายเพลงออนไลน์ ไอทูนส์ (iTunes) แม้ว่าจะมีอุปกรณ์ “i” มากมายแล้วก็ตาม แต่มีอีกสิ่ง หนึ่งที่สตีฟ จ็อบส์ วาดฝันว่าจะทำก็คือ iCar รถยนต์คันแรกในโลกที่มีแบรนด์แอปเปิลติดอยู่ โดยเขาเคยวางแผนว่า iCar จะสามารถช่วยพลิกฟื้นวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ช่วงเวลานั้นได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจของวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ให้กลับมาดีขึ้น ได้อีกครั้ง

ก่อนอื่นขอผมอธิบายสั้นๆ นะครับว่ารถที่มีความเป็นอัจฉริยะนั้นเป็นอย่างไร จริง ๆ แล้วการติดความฉลาดให้รถนั้นทำได้หลายอย่างมากครับ เช่น ทำให้รถ ยนต์สามารถขับเคลื่อนได้เองอย่างอัตโนมัติ คิดได้เอง เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาได้เอง หรือแม้แต่การติดตั้งระบบอัจฉริยะป้องกันอุบัติเหตุอัตโนมัติ เป็นต้น แต่แน่นอนครับการนั่งจินตนาการนั้นไม่ยาก แต่การจะทำให้จินตนาการออกมาเป็นนวัตกรรมที่ดีและเป็นรูปธรรมนั้นไม่ง่าย ครับ ต้องอาศัยองค์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์และทางคอมพิวเตอร์หลายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไก, ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence), คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision) หรือแม้แต่โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network)

อย่างที่บอกไปครับ จินตนาการในการออกแบบอย่างเดียวนั้นไม่ยาก เพราะแนวคิดการติดความฉลาดเข้าไปในรถนั้นเคยมีคนเสนอมาแล้ว เขาเป็นนักศึกษาออกแบบยนตรกรรมของสถาบัน European Institute for Design ในประเทศอิตาลี โดยใช้ชื่อโครงการว่า iMove โดยเป็นความพยายามในการออกแบบรถให้เป็นรถแห่งอนาคต ใช้พลังงานไฟฟ้าและมีระบบช่วยการขับเคลื่อนด้วยการเพิ่มความฉลาดเข้าไป แม้ iMove จะเป็นเพียงผลงานการออกแบบ ไม่ได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์จริงที่วิ่งบนท้องถนนได้ แต่ก็ถือเป็นการปลุกกระแสยนตรกรรมแนวคิดใหม่ขึ้นมาได้ดีทีเดียวครับ

ซึ่งถ้าพูดถึงแนวคิดเรื่องรถของแอปเปิลนั้น แรกเริ่มเดิมทีก่อนหน้าแนวคิด iCar นี้ สตีฟ จ็อบส์ เคยพยายามจะร่วมมือกับค่ายรถต่าง ๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมยานยนต์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการพยายามจับมือกับค่ายรถโฟล์คสวาเกน (Volkswagen) ซึ่งขณะนั้นก็กำลังพยายามปรับโฉมรถไมโครบัสรุ่นแรกให้มีความทันสมัย คล่องตัว รวมไปถึงการพัฒนาฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ที่อำนวยความสะดวกแก่คนขับ เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ รวมถึงการใส่ผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลอย่าง ไอแพดลงไปในรถด้วย ซึ่ง ณ เวลานั้นรถแนวคิดใหม่ที่เกิดจากการจับมือกันของสองค่ายยักษ์ใหญ่นี้ก็เรียก เสียงฮือฮาได้พอสมควร แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าสุดท้ายก็ไม่ได้มีการผลิตขึ้นจริงด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา ต่อมาสตีฟ จ็อบส์ ก็พยายามแยกตัวออกมาพัฒนายานยนต์เป็นแบรนด์ของตัวเอง โดยตั้งใจจะใช้ชื่อว่า iCar แม้ว่าสตีฟ จ็อบส์ จะยังไม่ได้ลงมือออกแบบจริงจัง แต่มีรายงานกล่าวว่าเขาเชื่อว่า iCar ที่เขาคิดจะสร้างนั้นจะสามารถควบคุมส่วนแบ่งทางการตลาดในโลกยนตรกรรมได้ มากกว่าครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว เรียกว่าเขามั่นใจมากครับว่า iCar จะได้รับความนิยมอย่างสูง แต่ก็เป็นเรื่องที่ทั้งน่าเสียใจและน่าเสียดายอีกครับ ที่ไอเดียนี้ยังไม่ทันจะทำได้สำเร็จ สตีฟ จ็อบส์ ก็ด่วนเสียชีวิตลงไปก่อน แต่เรื่องนี้ก็เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์นะครับว่าสตีฟ จ็อบส์ เป็นบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างพลวัตอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยที่จะหยุดอยู่นิ่ง พวกเราก็คงต้องคอยดูกันครับว่าแอปเปิลจะทำให้ความฝันที่ค้างคาของสตีฟ จ็อบส์ เป็นจริงได้ไหม และถ้าได้จะได้เมื่อไหร่.

ผศ.ดร.ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช
หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต
chutisant.k@rsu.ac.th
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=194250 (ขนาดไฟล์: 41964)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย

Submit "iCar ความฝันของสตีฟ จ็อบส์" to แชร์ไปที่ Facebook Submit "iCar ความฝันของสตีฟ จ็อบส์" to แชร์ไปที่ Twitter Submit "iCar ความฝันของสตีฟ จ็อบส์" to แชร์ไปที่ Printerest

แท็ก: ไม่มี แก้ไข Tags คำค้นหา
Categories
Uncategorized

Comments

  1. สัญลักษณ์ของ lungyai1123



    เตือนภัยสาวบ้างานระวังถึงตาย

    สุขภาพของคนในวัยทำงานนั้น หรือสาวทำงานที่ชอบทำงานหนักนอกจากการแข่งขันแล้ว สภาวะความเครียดก็ยังมีอยู่มาก ดังนั้นจึงทำให้คนในวัยทำงานจำเป็นจะต้องแข่งขันกันตัวเองเพื่อให้ได้มา จนบางทีอาจลืมดูแลสุขภาพของตัวเองไป โรคติดงาน (Workaholic) หรือ โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) มักถูกเหมาเรียกรวมว่า “โรคบ้างาน” ที่ผ่านมาพบมากในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีให้เห็นเยอะแยะในประเทศไทย

    โรคนี้มักเกิดกับผู้มีบุคลิกเป็นคนสมบูรณ์แบบ เจ้าระเบียบ ชอบแข่งขัน มีความทะเยอะทะยาน เอาจริงเอาจัง จิตใจสุขสมเมื่อได้ทำงาน หมกมุ่นคิดวนเวียนอยู่กับการทำงาน กว่าค่อนของความคิดผูกติดอยู่กับงาน งาน งาน และก็งาน
    อาการเบื้องต้นด้านร่างกาย เริ่มจากปวดหัว ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดท้ายทอย สายตาพร่ามัว ปวดกล้ามเนื้อตา นำมาซึ่งโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคกระเพาะ เบาหวาน และความดัน
    อาการเบื้องต้นด้านอารมณ์ เริ่มจากมองอะไรขวางหูขวางตา เกรี้ยวกราดกับเพื่อนร่วมงาน การพูดคุยไม่เหมือนเดิม จะให้ความสนใจแต่เฉพาะในเรื่องของการทำงาน จนส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว

    หนทางเยียวยา เริ่มรักษาได้ด้วยตนเอง ต้องปรับพฤติกรรมลดความเครียดจาก การทำงานที่หนักเกินพอดี ใช้เวลาทำงานกับเวลาพักผ่อนให้สมดุลกัน และควรมีการผ่อนคลายในระหว่างการทำงาน เช่น หลับตาหายใจลึกๆ สักพัก และระหว่างเวลาทำงานในทุก 1 ชั่วโมง ควรใช้สมอง 45 นาที แล้วพัก 10-15 นาที เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพของเราไม่ให้ทำงานหนักจนเกินไป
    ว่าไปแล้ว “โรคบ้างาน” ยังน้อยเกินไป ถ้าเทียบกับโรค Death from Overwork หรือโรคคาโรชิ โรคนี้เป็นแล้วตาย ต้องตายสถานเดียว!





    ขอบคุณ... http://variety.teenee.com/foodforbrain/57551.html
    (teenee.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
  2. สัญลักษณ์ของ lungyai1123


    โรคคาโรชิ ภัยของคนบ้างาน....เสียชีวิตจากการทำงานหนัก

    โรคคาโรชิ หรือ Karochi syndrome ฟัง ดูแล้วก็คงไม่คุ้นชื่อเท่าไหร่ แต่ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษจะหมายถึง Death from Overwork หรือ การเสียชีวิตจากการทำงานหนัก พูดง่าย ๆ ก็คือ ทำงานหนักจนตาย หรือบ้างานจนตายนั่นเอง
    นั่นหมายความว่า โรคคาโรชิ คือโรคที่เกิดกับคนขยัน ใครที่บ้างาน โหมทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ จนร่างกายรับไม่ไหว ในที่สุดก็ถึงแก่ชีวิต โอ้ว...ฟังดูชักน่ากลัวขึ้นมาแล้ว อย่าเพิ่งวิตกไป มารู้จักเจ้าโรคนี้กันหน่อยดีไหม

    โรคคาโรชิ คืออะไรนะ? - แค่ ฟังชื่อ "คาโรชิ" ก็พอเดาได้ว่า โรคนี้มีที่มาจากประเทศญี่ปุ่น เราคงเคยได้ยินข่าวว่า พนักงานชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุบ่อยมาก บาง คนนั่งรถไฟกลับบ้านอยู่ดี ๆ ก็เสียชีวิตเอาดื้อ ๆ ทางการแพทย์จึงฟันธงว่า สาเหตุการเสียชีวิตน่าจะมาจากโรคคาโรชินี่แหละ ที่เกิดจากการทำงานหนักมาก ๆ จนร่างกายทนต่อไปไม่ได้
    โรคนี้มีประวัติมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1970 หลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศญี่ปุ่นถูกกองทัพสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิด ทำให้บ้านเมืองเสียหายยับเยิน หลังจากนั้น คนญี่ปุ่นจึงต้องทำงานหนักมากขึ้นกว่าเดิมหลายสิบเท่าเพื่อฟื้นฟูประเทศ ซึ่งภายหลัง ประเทศญี่ปุ่นก็กลายเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจจะบอกได้ว่า อดีตที่แสนเจ็บปวดได้ปลูกฝังให้คนญี่ปุ่นเป็นคนขยันขันแข็ง อดทน และผูกพันกับองค์กรมาก อีกทั้งการทำธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก ทำให้ชาวญี่ปุ่นทำงานหามรุ่งหามค่ำ พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่กลับบ้านกลับช่อง สุดท้ายเกิดความเครียด โรคต่าง ๆ ก็ถามหา ไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง แม้กระทั่งอัมพาต

    หลายคนไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้แล้ว จึงยังคงทำพฤติกรรมเดิม ๆ ทำงานหนักจนเครียด พอเครียดแล้วก็ไปดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือทานอาหารคลายเครียด ทีนี้ทานมาก ๆ เข้า ไขมันในเลือดสูงขึ้น โรคอื่น ๆ ก็ตามมาอีก สะสมไปเรื่อย ๆ นานวันเข้าร่างกายก็น็อก นี่แหละภัยเงียบของการบ้างาน.. ดูแล้วมีใครทำพฤติกรรมแบบนี้บ้างเอ่ย ลองมาเช็กอาการกันหน่อยซิ เราเริ่มมีสัญญาณอันตรายหรือยังนะ

    มาป้องกันโรคคาโรชิกันดีกว่า - จริง ๆ เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้ง่าย ๆ แค่คุณรู้จักจัดสรรเวลาในการทำงานให้ถูกต้อง ต้องรู้ว่าเวลาไหนที่ควรจะพักผ่อนได้แล้ว ไม่ควรตรากตรำทำงานหนักมากเกินไป ต้องรู้จักปรับเวลาการทำงาน และการพักผ่อนให้สมดุลกัน ตระหนักไว้ก่อนเลยว่า สุขภาพเราสำคัญที่สุด ถ้าเป็นอะไรขึ้นมามันไม่คุ้มกันเลยนะ อย่าง เช่น แต่ละวันที่คุณนั่งทำงานอยู่ ก็ควรจะพักผ่อนบ้าง ทุก ๆ ชั่วโมง สองชั่วโมง ควรหาวิธีผ่อนคลายให้ตัวเอง เช่น เดินออกไปสูดอากาศข้างนอก หรือหลับตา นั่งนิ่ง ๆ สักพัก เพื่อผ่อนคลายความเครียดก็น่าจะดี และ ถ้าเลิกจากงาน วันหยุดสุดสัปดาห์ มีเวลาว่างเมื่อไหร่ ลองหากิจกรรมอื่น ๆ ทำ เช่น เล่นกีฬา ดูหนัง ฟังเพลง ก็จะช่วยได้มากเลย แต่ถ้าใครเริ่มมีอาการเครียดมาก ๆ ไม่รู้ว่าจะผ่อนคลายความเครียดได้อย่างไร และหาทางออกไม่ได้ ลองปรึกษาแพทย์ หรือขอคำปรึกษาที่สายด่วนสุขภาพจิต 1667 ก็ได้ค่ะ…. ขี้ เกียจไปก็ไม่ได้ ขยันมากเกินกำลังก็ใช่ว่าจะดี เพราะฉะนั้นเลือกทางสายกลางดีกว่านะคะ อย่าให้การทำงานมาเป็นภัยคุกคามสุขภาพ และชีวิตของคุณเลยนะ







    แหล่งอ้างอิง : http://health.kapook.com/view44066.html
    ขอบคุณ... https://sites.google.com/site/finolem/karochi-syndrome (ขนาดไฟล์: 32950)
    (Finolemออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย

Trackbacks

Total Trackbacks 0
Trackback URL: