เห็นดอก กันเกรา "ปกาสตราว" แล้วนึกถึงตอนเป็นเด็กไปเลี้ยงควายชอบไปปีนเก็บ แถวที่นากะเม็งสะเร็น ก้อมีหลายต้นครับ ตอนกลางคืนจะมีกลิ่นหอมโชยมา ช่วงสงกรานต์จะเก็บ ดอกกันเกรา มาไส่ขันใบไหญ่ๆแล้วน้ำเทไส่ เทแป้งหอมๆไส่ แล้วนำไป ทรงน้ำพระ(ถ้าเขียนผิด ขออภัยด้วย) ที่วัดขนดินเข้าวัดมาก่อเจดีย์ทราย แล้วตอนเย็นก้อเล่นน้ำ สงกรานต์กัน พูดแล้วอยากกลับไปเป็น เด็กอีกจังเลย แต่เดี๋ยวนี้ต้น ปกาสตราว เริ่มมีจำนวนน้อยลงไปแล้ว เฮ้อ น่าเสียดาย
สุรชัย จันทิมาธร สุรชัย จันทิมาธร หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ หงา คาราวาน เป็นนักร้องนำและหนึ่งในผู้ก่อตั้งวงคาราวาน สุรชัยเป็นนักแต่งเพลงชั้นแนวหน้าคนหนึ่งของวงการเพลงไทย ผู้คนในวงการเพลงเพื่อชีวิตมักเรียกเขาอย่างนับถือว่า น้าหงา หรือ พี่หงา และได้รับฉายาว่า อาจารย์ใหญ่แห่งวงการเพลงเพื่อชีวิต ประวัติ สุรชัยเกิดที่อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2491 เป็นบุตรชายคนที่ 4 ของนายยุทธและนางเล็ก จันทินมาธร บิดารับราชการเป็นครูใหญ่โรงเรียนรัตนบุรี ดังนั้นจึงเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของสุรชัยมาตั้งแต่เด็ก ๆ ที่เมื่อโตขึ้นมาได้เข้ากรุงเทพ ฯ เพื่อเรียนต่อในด้านศิลปะที่วิทยาลัยช่างศิลป์ และได้รู้จักกับนักคิด นักเขียนคนอื่น ๆ ที่ต่อมากลายมาเป็นนักเขียนชั้นแนวหน้าคนอื่น ๆ ของประเทศ เช่น สุวรรณี สุคนธา, สุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นต้น ซึ่ง การเป็นนักเขียนของสุรชัยเริ่มต้นขึ้นที่นี่ ในปี พ.ศ. 2516 สุรชัยได้ร่วมกับ วีระศักดิ์ สุนทรศรี (แดง) ก่อตั้งวงท.เสนและสัญจร ขึ้น และเมื่อปี พ.ศ. 2517 ได้รวมกับวงบังคลาเทศ แบนด์ ของมงคล อุทก (หว่อง) และทองกราน ทานา เปลี่ยนเป็นวงคาราวาน สุรชัยได้แต่งเพลงเพื่ออุทิศให้กับบุคคลสำคัญของไทยหลายคน เช่น จิตร ภูมิศักดิ์, ปรีดี พนมยงค์, สืบ นาคะเสถียร และ รงค์ วงษ์สวรรค์ หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา สุรชัยและพรรคพวกบางส่วนได้หลบหนีเข้าป่าไปอยู่กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเฉกเช่นนักศึกษาและปัญญาชนคนอื่น ๆ โดยสุรชัยทำหน้าที่คอยให้ความบันเทิง ร้องเพลง โดยมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายพันตา" เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองสงบลง สุรชัยและพรรคพวกได้เดินทางออกจากป่า และได้แต่งเพลงซึ่งเป็นเพลงอมตะของคาราวานและสุรชัย บอกเล่าถึงสภาพจิตใจที่ออกจากป่ามาสู่เมือง คือเพลง คืนรังซึ่งเป็นเพลงที่แต่งก่อนขึ้นแสดงดนตรีเพื่อการกุศลของยูนิเซฟ โดยใช้เวลาแต่งเพียง 5 นาที แต่ได้ชื่อว่าเป็นเพลงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเพลงหนึ่งเลยทีเดียว ในระยะหลังมีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม ไม่เห็นด้วยกับระบบประชาธิปไตยแบบการเลือกตั้ง 1 สิทธิ์ 1 เสียง ละทิ้งอุดมการณ์ก่อนเข้าป่า ที่จะต่อสู้เพื่อคนยากจน ชาวนาชาวไร่และคนชนบท เห็นด้วยกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม + ทุนนิยมเก่า ชีวิตส่วนตัว สุรชัยมีภรรยาสองคนและบุตรชาย 2 คน ภรรยาคนแรกชื่อ จิราพร จันทิมาธร มีบุตรชายคือ คณิน จันทิมาธรส่วนภรรยาคนที่สอง พิสดา จันทิมาธร มีบุตรชายชื่อพิฆเณศร์ จันทิมาธร(กันตรึม) เกิด พ.ศ. 2538 ผลงานหนังสือ เรื่องสั้น "มาจากที่ราบสูง", "เดินไปสู่หนไหน", "ความบ้ามาเยือน", "ข้างถนน" และรวมเล่ม เป็น "ก่อนเคลื่อนคาราวาน" รวมเรื่องสั้น "ดวงตะวันสีแดง", "ดอกอะไรก็ไม่รู้" (รวมเรื่องสั้นคัดสรรเน้นฉากเมือง) บทกวี "จารึกบนหนังเสือ", "เมดอินเจแปน" และ "เนื้อนัย (เพลง)" นวนิยายเล่มเดียว "ก่อนฟ้าสาง" บันทึกและความเรียง "จากราวไพร สู่ป่าคอนกรีต", "คือคนลำเค็ญ ดนตรีคาราวาน" และ "ผ่านตา พันใจ" ผลงานเพลงเด่นๆ "กุลา", "สานแสงทอง", "คนกับควาย" (สมคิด สิงสง, วิสา คัญทัพ), เปิบข้าว (จิตร ภูมิศักดิ์), "นกสีเหลือง" (วินัย อุกฤษณ์), "ความแค้นของแม่", "บ้านนาสะเทือน", "คนตีเหล็ก", "ดอกไม้ให้คุณ" รางวัล รางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบสำหรับศิลปิน นักคิดนักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ ผู้มีผลงานอันทรงคุณค่ามีชีวิตที่เป็นแบบอย่าง มาทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2531 อ้างอิง สูจิบัตรคอนเสิร์ต 30 ปี หงา คาราวาน
ปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในจังหวัดสุรินทร์
ทับหลังศิวนาฎราช(พระอิศวรกำลังฟ้อนรำ)
........................... เคยมีแขกต่างบ้านว่านต่างเมืองถามคนสุรินทร์ว่า ห้วยเสนงอยู่ที่ไหน? มักจะได้รับคำตอบอยู่เสมอๆ ว่า “อยู่ที่อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง” เป็นคำตอบที่ไม่น่าแปลกใจนัก เพราะหากมีการจัดทำทำเนียบแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสุรินทร์ก็ย่อมมีรายชื่อ ของอ่างเก็บน้ำห้วยเสนงขึ้นทำเนียบทุกครั้งไป เมื่อเป็นอย่างที่ว่า ห้วยเสนงจึงเริ่มต้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง และถูกระบายผ่านมาตามคลองส่งน้ำ เข้าสู่ที่กักเก็บสำหรับทำน้ำประปาเพื่อใช้อุปโภคบริโภคในเมืองสุรินทร์ และคลองส่งน้ำอีกเส้นหนึ่งก็ทอดผ่านไปทางต.ท่าสว่าง ต.นาดี ลำน้ำห้วยเสนงที่เคยถูกใช้มาแต่การสร้างบ้านแปงเมืองสุรินทร์ ก็ค่อยๆ ถูกลืมหายไประหว่างรุ่นสู่รุ่นของคนสุรินทร์ แต่ในความเป็นจริง ยังมีลำน้ำที่ชื่อ เสนง หรือ “แสน็ง” ในภาษาพื้นเขมรถิ่นไทย ทอดตัวออกจากท้ายอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง ผ่าน ต.เฉนียง ต.นอกเมือง ต.ในเมือง ต.คอโค และไหลลงไปบรรจบกับลำชีว์ที่บริเวณบ้านโคกจ๊ะ ต.ท่าสว่าง และอีกด้านหนึ่งบริเวณด้านเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยเสนงขึ้นไปลำห้วยเสนงก็แผ่ ก้านสาขาตามแหล่งที่มาในบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก (ดองแร็ก) เช่น บริเวณเขาแหลม, เขามะนาว, พนมซอร์, พนมสโร๊ย,และบริเวณด้านหลังของเขาโต๊ะ ไหลเรียงทอดตัวผ่านชุมชน ต.แนงมุด ต.โคกตะเคียน อ.กาบเชิง, ต.หนองใหญ่ ต.ตาเบา ต.โคกยาง ต.ทมอ อ.ปราสาท ทั้งสิ้นประมาณ ๓ อำเภอ ๑๑ ตำบล ๑๒๐ หมู่บ้าน ที่ใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ตลอดจนการพึ่งพาฐานทรัพยากรลุ่มน้ำห้วยเสนงในการยังชีพ เช่น การหาปลา เก็บผัก สัตว์น้ำ และพืชสมุนไพร อีกทั้งยังเป็นสถานที่ในการประกอบประเพณีและพิธีกรรมอันสะท้อนถึงมรดกทาง ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์อันดีงาม อยากไปเที่ยวจัง เคยเห็นสมัยเรียนตอนนี้คิดถึงห้วยเสนงจังเลย...:'(:'( ที่มา : http://surin108.com
ไปเที่ยว บ่อยๆเหมือนกันครับ บรรยากาศดีมากๆ อาหารก็อร่อย ลมเย็นโชยมา สบายดี ดีใจที่จังหวัดสุรินทร์มีที่พักผ่อนไกล้ๆตัวจังหวัดทำให้ คนในชุมชนมีรายได้ ไม่ต้องไปทำงานไกลบ้าน เหมือนเรา...อิอิ
จังหวัดสุรินทร์ เป็นเมืองที่ได้รับขนานนามว่า "เมืองช้าง" มานานกว่า ๓ ทศวรรษแล้ว เนื่องจากการที่ได้ริเริ่มจัดการแสดงของช้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๐๓ และก็ได้จัดสืบทอดเป็นประเพณีมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ในแต่ละปีนั้น ก็จะมีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาชมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เศรษฐกิจของสุรินทร์เติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคอีสานอีกเมืองหนึ่ง นอกจากการแสดงของช้างที่ลือลั่นไปทั่วโลกแล้ว สุรินทร์ยังเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย เนื่องจากเป็นเมืองที่มีกลุ่มชาติพันธุ์อยู่รวมกันถึง ๓ กลุ่มด้วยกันคือ กูยหรือส่วย เขมร และลาว ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีขนบประเพณีที่แตกต่างกันออกไป และก็เป็นที่น่าสนใจและน่าอนุรักษ์ไว้สำหรับอนุชนรุ่นหลัง ประเพณีงานบวชประจำปีที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ก็เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่สำหรับจังหวัดสุรินทร์หรือประเทศไทยเท่านั้น แต่สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกเลยก็ว่าได้ หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง เป็นหมู่บ้านของชาวกูยที่เลี้ยงช้าง ซึ่งช้างจากหมู่บ้านช้างแห่งนี้นี่แหละที่ไปแสดงงานช้างของจังหวัดเป็นประจำทุกปี ชาวกูยบ้านแห่งตากลางดำเนินวิถีชีวิตด้วยการเลี้ยงช้างตามรอยบรรพบุรุษมานานนับศตวรรษ และที่แห่งนี้ก็เป็นทำเลที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงช้างที่สุด กล่าวคือ อยู่บริเวณที่ราบลุ่มที่มีแม่น้ำมูลและแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกัน กอปรกับยังมีสภาพป่าหลังเหลืออยู่บ้าง ซึ่งนับวันก็ถูกทำลายลงทุกที อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องนำช้างออกไปเร่ร่อนตามเมืองใหญ่ๆ ช่วงวันขึ้น ๑๓-๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ชาวหมู่บ้านตากลางและหมู่บ้านใกล้เคียงที่มีบุตรชายอายุครบบวช ต่างพร้อมใจกันกันจัดงานบวชขึ้น โดยแต่ละบ้านที่จัดงานบวชก็จะมีการบายศรีสู่ขวัญนาค และจัดงานเลี้ยงคล้ายๆ กับงานบวชโดยทั่วๆ ไป การบายศรีสู่ขวัญนาคของชาวกูยนั้น นิยมทำเป็นคู่เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยจะจัดขึ้นในขึ้น ๑๓ ค่ำ ครั้นพอถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ซึ่งถือเป็นวันแห่นาค ทุกบ้านก็จะให้นาคขึ้นช้างและแห่มารวมกันที่วัดบ้านตากลาง ก่อนที่ทั้งหมดจะเคลื่อนขบวนแห่ไปที่ลำน้ำมูล บริเวณที่เรียกว่า "ศาลเจ้าพ่อวังทะลุ" หรือเรียกในภาษากูย ว่า "หญ่าจู๊" เพื่อไปทำพิธีขอขมาและบอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวกูยเคารพนับถือนอกจากศาลเจ้าพ่อที่บริเวณวังทะลุแล้ว ยังมีอีก ๒ แห่งคือที่ท้ายหมู่บ้านและท้ายวัด ในการแห่ขบวนทั้งหมดไปยังบริเวณลำน้ำมูล คงจะคล้ายๆ กับประเพณีบวชนาคที่หาดเสี้ยวของจังหวัดสุโขทัย และประเพณีบวชนาคของหมู่บ้านช้าง บ้านตากลางนี้ ก็มีช้างเข้าร่วมขบวนนับร้อยเชือก ซึ่งนับได้ว่าเป็นขบวนแห่นาคที่ยิ่งใหญ่และหาดูได้ยากยิ่งในทุกวันนี้ ช้างแต่ละเชือกที่เข้าร่วมขบวนแห่นั้น เจ้าของหรือควาญก็ได้แต่งองค์ทรงเครื่องไม่แพ้กับนาคที่นั่งอยู่บนเจ้าตัวเท่าไดนัก บางเชือกก็มีการเขียนคำเท่ๆ ไว้ตามตัว ให้ผู้คนได้อ่าน กันคลายเครียดด้วยงานนี้ทั้งนาคทั้งช้างต่างก็ไม่ยอมแพ้กันในเรื่องความงาม เมื่อขบวนแห่มาถึงบริเวณวังทะลุแล้ว ก็จะมีการเซ่นผีปู่ตาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามธรรมเนียมของชาวกูยโดยทั่วไป การเซ่นปู่ตานั้นจะเป็นในลักษณะของการเสี่ยงทายด้วย โดยการดึงคางไก่ที่ใช้ในพิธีออกมาดู ซึ่งเป็นความเชื่อเช่นเดียวกับการเสี่ยงทายคางไก่ก่อนออกไปคล้องช้าง การเสี่ยงทายคางไก่ก่อนการบวชนี้ เพื่อทำนายดูว่าจะมีเหตุการณ์อะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการบวชหรือไม่ สำหรับกระดูกคางไก่ที่ใช้เสี่ยงทายนั้น จะมีลักษณะเป็น ๓ ง่าม และดูจากส่วนตรงกลางของกระดูกถ้ามีลักษณะปลายตรงก็จะบวชได้นานแต่ถ้าเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งก็จะบวชได้ไม่นาน และถ้าปลายนั้นงองุ้มเข้าหาคอ แสดงว่าจะมีอุปสรรคทำให้ไม่สามารถบวชได้ เมื่อพิธีทุกอย่างเสร็จสิ้นก็จะมีพิธีอุปสมบทในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปี... จากคำบอกเล่าของชาวกูยที่นี่ บอกว่าจัดมาไม่ต่ำกว่า ๒ ชั่วอายุคนแล้ว แต่ว่าไม่มีการประชาสัมพันธ์ไปสู่ภายนอกมากนักอาจเป็นเพราะชาวกูยเป็นกลุ่มที่รักความสงบ และก็เห็นเป็นประเพณีธรรมดาๆ แต่ว่าถ้าใครได้มาเห็นแล้ว รับรองเลยว่าไม่ธรรมดาแน่ๆ งานช้างที่ว่ายิ่งใหญ่แล้ว มาเจองานนี้เข้าก็ต้องอึ้งไปเหมือนกัน เพราะงานช้างถือว่าเป็นการแสดง แต่งานบวชนี้เป็นประเพณีที่เกิดก่อนงานช้างหลายสิบปี หลังจากมีผู้คนไปพบเห็นและมีการบอกเล่าต่อๆ กันมา ทำให้ประเพณีดังกล่าวถูกส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์และในแต่ละปีก็จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศแวะเข้ามาร่วมขบวนแห่กันอย่างคึกคัก ทำให้ประเพณีบวชของชาวกูยเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ถ้าหากท่านแวะมาร่วมชมประเพณีงานบวชแล้ว ท่านยังจะได้พบเห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวกูยเลี้ยงช้างซึ่งอาจจะแตกต่างกับการเลี้ยงช้างของทางภาคเหนือ คือที่นี่จะเลี้ยงช้างไว้ในอาณาบริเวณบ้าน คล้ายสัตว์เลี้ยงโดยทั่วไป ทำให้มีความผูกพันและยากที่คนอื่นจะเข้าใจ และหากได้พูดคุยกับพวกเขาท่านก็จะเข้าใจมากขึ้นว่า ทำไมพวกเขาจึงต้องนำช้างไปเร่ร่อนตามเมืองใหญ่ ทุกชายคาที่เลี้ยงช้างจะมีศาลปะกำ (เชือกที่ใช้คล้องช้าง ทำมาจากหนังควาย)ที่ชาว กูยถือว่าเป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณบรรพบุรุษ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวงที่พวกเขานับถือ สำหรับการเดินทางมาที่หมู่บ้านช้าง จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันถือว่าสามารถเดิน ทางมาได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นรถโดยสาร รถยนต์ส่วนตัว หรือแม้กระทั่งการเดินทางโดยเครื่องบินมาลงที่สนามบินสตึก แล้วบอกว่าไป "หมู่บ้านช้าง" รับรองว่าไม่มีใครพาไปหลงแน่. นอกจากงานประเพณีงานช้าง ประเพณีงานบวชของชาวกูยแล้ว หมู่บ้านช้างยังมีการจัดการแสดงของช้างเป็นประจำทุกวันหยุดสุดสัปดาห์อีกด้วย ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะทำให้ช้างและคนไม่ต้องออกไปเร่ร่อน อย่างไรก็ตาม การที่จะให้ชายกูยและช้างแห่งหมู่บ้านช้างสุรินทร์ มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้น ทุกฝ่ายจะต้องเร่งหาทางช่วยเหลือ หมายเหตุ เรื่องนี้เขียนเมื่อปี ๒๕๓๗ "ไปดู...งานบวชที่หมู่บ้านช้างสุรินทร์" ลงพิพม์ครั้งแรกในสโมสรศิลปวัฒนธรรมหนังสือ " ศิลปวัฒนธรรม" ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือน ตุลาคม ๒๕๓๗ ปรับปรุงเพิ่มเติม ๓ มีนาคม ๒๕๔๓ ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ได้เข้ามามีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมการท่องเที่ยวในหมู่บ้านช้าง ทำให้การเดินทางไปมาสะดวกมากขึ้น และชุมชนชาวกวยเลี้ยงช้างที่เข้าร่วมโครงการช้างคืนถิ่น ก็มีความเป็นอยู่สุขสบายกว่าเดิมครับผม
บ่ได้อยู่ สุรินทร์ มานานหละ กลับไปหาแม่ก็แป้บๆ ว่าจะหาโอกาสแวะไปนานๆ แต่ก็หายังไม่ได้ อยากไปกราบผู้มีพรคุณที่เคยอาศัย สมัยเรียนสักครั้ง จูงกะ บาด
สุรินทร์เหลา อิอิ งานปลาไหล อ. ชุมพลบุรี เชิญเด้อขะน้อย