กำลังแสดงผล 1 ถึง 9 จากทั้งหมด 9

หัวข้อ: เชิดชูครูเปลื้อง ฉายรัศมี คีตะกวีศรีอีสาน

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    Menburi
    กระทู้
    164

    เรื่องฮิตน่าอ่าน เชิดชูครูเปลื้อง ฉายรัศมี คีตะกวีศรีอีสาน

    นายเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน)

    เชิดชูครูเปลื้อง  ฉายรัศมี คีตะกวีศรีอีสาน

    นายเปลื้อง ฉายรัศมี เป็น นักดนตรีพื้นบ้านอีสานที่มีความสามารถพิเศษสามารถเล่นและถ่ายทอดการเล่น ดนตรีพื้นบ้านอีสานได้เกือบทุกชนิด ทั้ง พิณ แคน ซอ โปงลางและอื่นๆ โดยเฉพาะ "โปงลาง" นั้น สามารถเล่นและถ่ายทอดการเล่นได้เป็นพิเศษ และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นผู้ศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุงและพัฒนาโปงลางมาตลอดระยะเวลา 40 ปี จนทำให้ "เกราะลอ" ซึ่งเป็นเพียงสิ่งที่ใช้ตีไล่นก กา ตามไร่ ตามนา พัฒนามาเป็น "โปงลาง" ที่มีสภาพเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะ กังวาน และให้ความรู้สึกของความเป็นพื้นบ้านอีสานอย่างแท้จริงเป็นที่นิยมกันแพร่ หลายและยอมรับกันว่า "โปงลาง" เป็น เครื่องดนตรีเอกลักษณ์ของภาคอีสานเคียงคู่กับ "แคน" ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว จึงสมควรยกย่องและเชิดชู นายเปลื้อง ฉายรัศมี ไว้ในฐานะเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) อย่างแท้จริง


    ประวัติ

    นายเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นบุตรของ นายคง นางนาง ฉายรัศมี
    เชิดชูครูเปลื้อง  ฉายรัศมี คีตะกวีศรีอีสาน
    เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2475 ที่บ้านเลขที่ 7 บ้านนา ตำบลม่วงนา อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
    การ ศึกษา จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านนา ถิ่นกำเนิด
    ปัจจุบัน พักอยู่บ้านเลขที่ 157 หมู่ 13 ตำบลเหนือ บ้านโพนทอง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และทำงานอยู่ที่วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์
    นายเปลื้อง ฉายรัศมี แต่งงานครั้งสุดท้าย พ.ศ 2519 กับนางยุพิน ฉายรัศมี ซึ่งมีอาชีพทำนา มีบุตรชาย 2 คน และหญิง 1 คน
    เมื่ออายุ 27 ปี นายเปลื้อง ฉายรัศมี ได้เข้าทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราว อยู่ที่โครงการเขื่อนลำปาว (พ.ศ. 2502 - 2510)
    ต่อมา พ.ศ. 2516 ได้สอบบรรจุเป็นลูกจ้างประจำ อยู่ในสำนักงานป่าไม้จังหวัดกาฬสินธุ์ จนถึง พ.ศ. 2519 จึงได้ลาออก
    ต่อมาปี พ.ศ. 2520 ได้เข้าทำงานที่ชลประทานจังหวัดอุบลราชธานี
    ต่อมาปี พ.ศ. 2521 ได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดนครพนม ถึงปี พ.ศ. 2524 ได้ย้ายมาทำงานที่อ่างเก็บน้ำห้วยมโน บ้านนา อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

    ในด้านผลงานนั้น นายเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นผู้ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีพื้นบ้านอีสาน สามารถเล่นและสอนถ่ายทอดได้ทั้ง พิณ แคน ซอ โปงลาง และเครื่องดนตรีอื่นแทบทุกชนิดในภาคอีสาน โดยเฉพาะโปงลางนั้น มีความสามารถเล่นได้ดีเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพราะเป็นผู้ที่วิวัฒนาการดนตรีชนิดนี้ขึ้นมา
    ครูเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ


    เสียชีวิตเมื่อเช้าวันที่ 2 ธันวาคม 2550 ครูเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ ผู้คิดค้นเครื่องดนตรีโปงลางเสียชีวิตแล้ว
    หลังจากเข้ารักษาตัวที่โรง พยาบาลกาฬสินธุ์
    ครูเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ ได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย. 2550
    ด้วย อาการปวดท้องอย่างรุนแรงเนื่องจากเยื่อบุช่องท้องอักเสบ และมีปัญหาที่ตับ รวมถึงมีอาการปอดอักเสบเข้าแทรก
    ซึ่งแพทย์โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ก็ได้ทำการ รักษาอย่างสุดความสามารถ แต่ในที่สุดครูเปลื้อง ฉายรัศมี ก็ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ
    สำหรับประวัติของครูเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นศิลปินพื้นบ้านของจังหวัดกาฬสินธุ์ มีความสามารถเล่นเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน
    ได้แทบทุกชนิด และยังเป็นผู้ที่ศึกษาค้นคว้า และพัฒนาปรับปรุงเครื่องดนตรีโปงลางมากว่า 40 ปี จนทำให้ "เกราะลอ"
    ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงสิ่งที่ใช้ไล่ตีนก,กาตามไร่ นาได้พัฒนามาเป็น "โปงลาง" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะ กังวาน
    และ ให้ความรู้สึกเป็นดนตรีพื้นบ้านอีสานอย่างแท้จริง เป็นที่นิยมแพร่หลายควบคู่ไปกับ "แคน" ที่มีอยู่ก่อนแล้ว
    จนทำให้ครู เปลื้อง ฉายรัศมี ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) สาขาย่อย ดนตรีพื้นบ้าน ปี 2529


    ระบำฉิ่งเป็นชุดการแสดงที่ได้ประดิษฐ์ ขึ้นโดยครูลมุล ยมะคุปต์นำออกให้ชาวต่างชาติชมเมื่อปีพ.ศ.2500ตามทำนองเพลงของหลวงประดิษฐ์ ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง)ณ.บ้านศิลปบรรเลง ต.บ้านบาตร ต่อมาพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภานุพันธ์ยุคล ได้ทรงเห็นการแสดงชุดหนึ่งของชาวธิเบต ซึ่งใช้"ฉิ่ง"ประกอบท่ารำพระองค์จึงได้มาปรึกษากับครูมนตรี ตราโมทและครูลมุล ยมะคุปต์ให้คิดประดิษฐ์ท่วงทำนองเพลงและท่ารำเพื่อแสดงในงาน"นาฏลีลา น้อมเกล้า"ณ.โรงละครแห่งชาติซึ่งเป็นการเฉลิมวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวเถลิงถวัลยราชสมบัติ ปีที่36ครูลมุลจึงได้ร่วมมือกับครูเฉลย ศุขะวณิช คิดประดิษฐืท่าระบำฉิ่งจนสำเร็จเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2525แสดงโดยนักเรียนของวิทยาลัยนาฏศิลปจำนวน 8 คนในการแสดงครั้งนั้นได้ใช้ฉิ่งธิเบตซึงพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภานุ พันธ์ยุคล ได้ประทานมาประกอบการแสดง
    ต่อมาวิทยาลัยนาฏศิลปได้ปรับปรุงการ แสดงของระบำฉิ่งขึ้นใหม่เพื่อแสดงในงานดนตรีไทยมัธยมศึกษาครั้งที่8ณ.สังคีต ศาลาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2525โดยคงท่ารำตามรูปแบบเดิมไว้และดัดแปลงเครื่องแต่งกายแบบพันทางธิเบต มาเป็นแบบสตรีสูงศักดิ์ในราชสำนักไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ได้นำเอาฉิ่งไทยซึ่งมีเสียงกังหวานแหลมใสมาใช้แทนฉิ่งธิเบต


    เป็นระบำโบราณคดีชุดที่ 3ซึ่งครูมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติเป็นผู้แต่งทำนองเพลงจากสำเนียงเขมร คุณครู ลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทยและคุณครู เฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำโดยจินตนาการจากประติมากรรมและภาพสลักที่ปรากฏบนทับ หลังและหน้าบันของปราสาทหินพิมายและปราสาทหินพนมรุ้ง อันเป็นศิลปะขอมระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-13 ด้วยเหตุนี้กระบวนท่ารำ ดนตรี รวมทั้งเครื่องแต่งกายจึงมีลีลา สำเนียงและแบบอย่างที่เป็นเขมร

    เชิดชูครูเปลื้อง  ฉายรัศมี คีตะกวีศรีอีสาน


    [WMA]http://charyen.com/download.php?id=761ed3782e158a89a597162ed16b0166[/WMA]


    :,1-บุคคลสำคัญในวงการโปงลาง:,1-
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน; 01-04-2011 at 10:07.

  2. #2
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ sompoi
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    ที่อยู่
    japan
    กระทู้
    5,708
    บล็อก
    23
    เข้ามาระลึกนึกถึงครูเปลื้องนำค่ะ เป็นลูกศิษย์พ่อเปลื้องเล้ามาคือกันค่ะ
    มองต่าง..อย่างปลง

  3. #3
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8
    จำได้ว่ามีกะทู้นึงที่ เสนอประวัติท่านไว้แล้วเนาะจ้า ยุบอร์ดเก่ามั่งเนาะ พี่มิคเอารูปตอนไปรำยุอังกฤษกับพ่อเปลื้องมาลงนำ ... ไปไสหละน่อพี่ คิดฮอดเพิ่นเดะเนาะจ้า บุคคลากรผู้สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย กับจังหวัดกาฬสินธุ์ อีกท่านหนึ่งค่ะ

    ปล..ขอบคุณวุตินำเด้อจ้า ที่นำเสนอ
    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  4. #4
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ tveetvee
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    กระทู้
    6
    ขอลำลึกถึงท่านด้วยครับ ...

  5. #5
    ฝ่ายเทคนิค และถ่ายทอดสด สัญลักษณ์ของ อาวอ้วนเมืองยศ
    วันที่สมัคร
    Apr 2010
    ที่อยู่
    เมืองบั้งไฟ
    กระทู้
    1,513
    ขอใว้อาลัยครูเปลื้อง และลำลึกถึงคุณความดีต่อดนตรีอิสานบ้านเฮานำครับ

  6. #6
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ เขยผู้ไท
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    กาฬสินธุ์ , อยุธยา
    กระทู้
    164
    ถึงตัวเพิ่นสิจากไปแต่ความดีที่เพิ่นถิ่มไว้ยังเหลืออยู่...สืบไปชั่วกาลนาน

  7. #7
    Banned

    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    ที่อยู่
    Oil Field เพชรบูรณ์/กำแพงแสน
    กระทู้
    469
    ร่วมไว้อาลัยแด่การจากไปของ ครูเปลื้อง ศิลปินแห่งชาติ และขอร่วมสืบสานศิลปะและดนตรีอิสานลืบต่อไปครับ

  8. #8
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ dvmservice
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6
    ขอใว้อาลัยครูเปลื้อง และลำลึกถึงคุณความดีต่อดนตรีอิสาน

  9. #9
    ศึกษาหาความรู้
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    2
    เกราะลอ สมัยดิ๊กน้อยฮ้อง กะลอ(ตามภาษาดิ๊กน้อย) ห้อยตามเถงนา นี่เนาะ มี้คึดว้าล่ะม่าเป็นเคิ้งดนตรี ที่ได๊ชื่๊อเสียง โอ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •