กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: กฐิน

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ คนของหัวใจ
    วันที่สมัคร
    Dec 2009
    กระทู้
    139

    กฐิน

    กฐิน
    คำว่า กฐิน หมายความว่า มั่นคง ดังมีคำที่กล่าวไว้ว่า “กถินนฺติ ปญฺจานิสํเส อนุโตกรณสมตุถ ตาย ถิรนฺติอนฺโถ” (สารตถ.๓/๔๐๔.วิมติ.๒/๒๕๒.วชีรพุทธิ.๖๒๖)
    คำว่า กฐิน หมายความว่า มั่นคง เพราะสามารถกระทำอานิสงค์ ๕ ประการไว้ภายในเขตของตน อีกนัยหนึ่ง ที่ชื่อว่ากฐิน เพราะบัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
    สรรเสริญดังมี วจนัตถว่า “กถิยเต สิลามิฆเต ปสํสิยเต พุทฺธาทีหีดิ กถินํ.” (วินยลังการ)
    ที่ชื่อว่า กฐิน เพราะบัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญ
    กฐิน คืออะไร?กฐินเป็นวินัยบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องผ้าอย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายจัดทำ หรือรับจากทายกทายีกาผู้มีศรัทธา
    เนื่องจากพระพุทธองค์ประสงค์จะให้ภิกษุที่มีจีวรเก่าคล่ำคร่าได้มีจีวรผลัดเปลี่ยน และให้ภิกษุทั้งหลายที่ร่วมกันทำกิจกรรมนี้ ได้รับอานิสงค์ ๕ ประการ ซื่งเป็นสิทธิพิเศษที่ลดหย่อนวินัยบางข้อ
    ในสมัยแรกเรื่องกฐินนี้พระภิกษุสงฆ์จัดทำกันเอง ยังไม่มีชาวบ้านเข้ามาเกี่ยวข้อง ต่อมาชาวบ้านเห็นว่าเป็นการลำบากแก่พระภิกษุสงฆ์ประกอบกับตนมีศรัทธาปรารถนาจะสั่งสมบุญกุศลด้วย จึงได้นำผ้าที่ทำสำเร็จแล้วไปถวาย ซึ่งพระพุทธองค์ทรงอนุญาต แต่ต้องทำให้ถูกต้องตามวินัยบัญญัติ ถ้าทำไม่ถูกต้องก็ไม่เป็นผ้ากฐินเพราะฉะนั้นกฐิน จึงเป็นเรื่อง”ของผ้า”ที่ทายกทายีกาผู้มีศรัทธานำมาถวายให้ภิกษุสงฆ์กรานกฐินในสีมาตามวินัยกรรม
    ไม่จำเป็นต้องจัดงานฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่มีเงินเป็นล้านมีบริวารมาร่วมเป็นแสน แต่เนื้อแท้ๆของบุญจริงๆ ต้องประกอบด้วย ผู้มีศรัทธาจริงๆมั่นคง เป็นมีผ้าพอจะทำจีวรผืนใดผืนหนึ่งได้ คือ สบง จีวร หรือสังฆาฏิได้ โดยได้มาโดยสุจริตไม่ได้ยืมใครมา พูดเลียบเคียงมา ตัดเองมีขันธ์เรียบร้อย เป็นต้น ต้องเป็นเวลาช่วงเทศกาลกฐิน คือตั้งแต่ แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เพียงเท่านี้ก็สำเร็จประโยชน์ได้ตามความปรารถนา
    ใครมีสิทธิ์ถวายผ้ากฐินได้?
    ได้กล่าวไว้แล้วว่าผู้ที่จะถวายกฐินนั้นต้องเป็นผู้มีศรัทธาในพระรัตนตรัย ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา ทายก ทายีกา หรือแม้กะทั้งเทวดา นำผ้ามาถวายภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบไตรมาส ๓ เดือน หรือภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา ถวายกันเองในวัดนั้นๆหรือแก่วัดอื่นก็ได้ ตามพุทธานุญาต
    ใครไม่มีสิทธิ์รับผ้ากฐิน?
    พระภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบไตรมาสเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์รับกฐินได้ ภิกษุผู้อยู่ขำพรรษาไม่ครบคือขาดพรรษาไม่มีสิทธิ์ หรือจำพรรษาในวัดอื่นที่ไม่มีผู้ถวายไปรับอีกวัดที่เขาถวายก็ไม่ได้ แม้ภิกษุที่จำพรรษาหลังก็ไม่มีสิทธิ์รับเช่นกัน
    วิธีกรานกฐินนั้น ภิกษุต้องมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไปจึงจะกรานได้ ถ้าต่ำกว่านั้นย่อมใช้ไม่ได้หมายความว่าในขณะที่ภิกษุทำกฐินกรรมในสีมานั้นต้องมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไปจึงจะทำกฐินกรรมได้
    เพราะฉะนั้น แม้ในวัดที่มีภิกษุจำพรรษาเพียงรูปเดียวก็สามารถรับกฐินได้ แต่ต้องนิมนต์ภิกษุจากวัดอื่นมาเป็นคณปูรกะ ดังที่กล่าวไว้ในพระวินัย มหาวรรค จีวรขันธกะว่าภิกษุจำพรรษารูปเดียว ถ้าคนทั้งหลายในถิ่นนั้นถวายจีวรโดยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายแก่สงฆ์” ดังนี้ ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงเวลาเดาะกฐิน หมายความว่าถ้าได้กรานกฐินโดยมีภิกษุอื่นมาร่วมเป็นคณปูรกะ แล้วกรานกฐินย่อมได้อานิสงค์ ๕ เดือนภิกษุวัดอื่นนั้นหมายถึง ภิกษุขาดพรรษา ภิกษุผู้จำพรรษาหลัง และภิกษุผู้บวชในพรรษานั้น มาร่วมเป็นคณปูรกะได้ แต่ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้อานิสงค์เหมือนภิกษุผู้จำพรรษาครบไตรมาสรูปนั้น
    อานิสงค์กฐินคืออะไร?
    ภิกษุจำพรรษาแล้วและกรานกฐินดังกล่าว ย่อมได้อานิสงค์ ๕ ประการนับตั้งแต่วันที่ได้กรานกฐินไปจนถึงกลางเดือน ๔ เป็นอันสิ้นสุดเขตกฐิน ถ้ามีได้กรานกฐินย่อมได้อานิสงค์เพียงเดือนเดียวหลังออกพรรษา คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ เท่านั้น
    อานิสงค์ ๕ ประการ อันภิกษุได้กรานกฐินพึงได้รับคือ
    ๑ เที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลา (อนามตฺตจาร) หมายความว่าภิกษุรับนิมนต์ไว้ในที่แห่งหนึ่งสามารถไปสู่เรือนอื่นได้ในเวลาก่อนฉันหรือหลังฉันโดยไม่ต้องบอกลาภิกษุภิกษุอื่น ยกเว้นอาบัติสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจรกวรรคเท่านั้นไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องบอกลาสิกขาบทข้ออื่นๆ ตามที่เข้าใจกัน เช่นภิกษุเข้าสู่บ้านในเวลาวิกาลหรือแม้กระทั้งภิกษุที่ที่จะจาริกหลีกไปจากอุปัชฌาย์หรืออาจารย์(เจ้าอาวาส)ก็ไม่บอกลาท่านอย่างนี้เป็นต้นก็ไม่ใช่อานิสงค์กฐิน
    “ข้อความในอเจรกวรรคข้อที่ ๖ ว่า ภิกษุรับนิมนต์ด้วยโภชนะทั้ง ๕ อันมีข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ แล้วจะไปในที่อื่นจากที่นิมนต์นั้นในเวลาก่อนฉันก็ดี ฉันกลับมาแล้วก็ดี ต้องลาภิกษุที่มีอยู่ภายในวัดก่อนจึงจะไปได้ ถ้าไม่ลาก่อนเที่ยวไปต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย คือจีวรกาล และเวลาทำจีวร”
    ๒ เที่ยวไปโดยไม่ต้องนำไตรจีวรไปครบสำรับ (อสมาทานจาร) หมายความว่าภิกษุสามารถอยู่ปราศจากผ้าผืนใดผืนหนึ่งที่อธิฐานเป็นไตรจีวรยกเว้นอาบัติสิกขาบทที่ ๒ แห่งจีวรวรรค
    “ข้อความในข้อที่ ๒ แห่งจีวรวรรคว่า ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้เพียงคืนหนึ่ง ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมติ”
    ๓ ฉันคณโภชนะได้ (คณโภชน) แม้ทายกทายีกานิมนต์รับภักษาหารโดยระบุชื่ออาหาร ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปรับด้วยกันนำมาฉันได้ ยกเว้นอาบัติสิกขาบทที่ ๒ และ ๓ แห่งแห่งโภชนวรรค
    “ข้อความในสิกขาบทที่ ๒ และ ๓ แห่งโภชนวรรคว่า (๒)ถ้าทายกเขานิมนต์ ออกชื่อโภชนะทั้ง ๕ อย่างคือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ อย่างใดอย่าหนึ่ง ถ้าไปรับของนั้นมาหรือฉันของนั้นพร้อมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัยคือเป็นไข้อย่างหนึ่ง หน้าจีวรกาลอย่างหนึ่ง เวลาทำจีวรอย่างหนึ่ง เดินทางไกลอย่างหนึ่ง ไปทางเรืออย่างหนึ่ง อยู่มากด้วยกันบิณฑบาตไม่พอฉันอย่างหนึ่ง โภชนะเป็นของสมณะอย่างหนึ่ง (๓) ภิกษุรับนิมนต์แห่งหนึ่งด้วยโภชนะ ๕ อย่างๆไดอย่างหนึ่งแล้วไม่ไปฉันในที่นิมนต์นั้น ไปฉันเสียที่อื่นต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ยกส่วนที่รับนิมนต์ไว้ก่อนนั้นให้แก่ภิกษุอื่นเสียหรือหน้าจีวรกาล และเวลาทำจีวร”
    ๔ เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามต้องการ (ยาวทตจีวร) ภิกษุสามรถเก็บอดิเรกจีวรไว้เกิน ๑๐ วันได้โดยไม่ต้องอธิฐานหรือวิกัปป์แต่อย่างใด ยกเว้นสิกขาบทที่ ๑ แห่งจีวรวรรค
    “ข้อความในสิกขาบทที่ ๑ แห่งจีวรวรรคว่า ภิกษุทรงอดิเรกจีวรได้เพียง ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ถ้าล่วง ๑๐ วันไปต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์”
    ๕ จีวรเกิดขึ้นในวัดนั้น เธอย่อมได้ส่วนแบ่ง (โย จ ตตฺถ จีวรุปฺปาท) ถ้าภิกษุไม่ได้กรานกฐินย่อมได้อานิสงค์เพียง ๔ ข้อเท่านั้น (เว้นข้อที่ ๒ แห่งอานิสงค์กฐินนี้)
    ทายกทายีกาได้อานิสงค์กฐินหรือไม่?
    ส่วนทายทายีกาเจ้าภาพกฐินนั้นท่านไม่ได้กล่าวอานิสงค์ไว้ในที่ใดเลย พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้เฉพาะพระภิกษุเท่านั้นแม้สามเณรก็ไม่ได้รับอานิสงค์กฐินเหมือนกัน
    แต่เจ้าภาพและทายกทายีกาผู้ช่วยขวนขวายย่อมได้อานิสงค์จากก”กาลทาน”เพราะบุญกุศลที่เกิดจากการถวายผ้าจีวรนั้นย่อมมีปีละครั้ง วัดละครั้งมีเวลาจำกัดเพียงเดือนเดียวเท่านั้น
    กาลทานมี ๕ อย่างคือ
    ๑ ให้ทานแก่ผู้มาถึงใหม่ (อาคนฺตุกทานํ)
    ๒ ให้ทานแก่ผู้จะเตรียมเดินทาง (คมิกทานํ)
    ๓ ให้ทานเวลาข้าวของแพงอดอยาก (ทฺพฺภิกฺขทานํ)
    ๔ ให้ทานในเวลามีข้าวของผลผลิดใหม่ (นวทานํ)
    ๕ ให้ทานแก่ผู้ป่วยไข้ (คิลานทานํ)
    ทานเหล่าใดมีเวลาจำกัด ทานนี้เรียกว่า “กาลทาน”
    ทานที่ให้แก่ผู้มาถึงใหม่นั้นเรียกว่า อาคันตุกะทาน มีระยะเวลาเพียง ๗ วันนับตั้งแต่วันแรกที่มาถึง
    ทานที่ให้แก่ผู้เตรียมออกเดินทางเรียกว่า คะมิกะทาน นั้นมีเวลาวันเดียวก่อนออกเดินทาง
    ทานที่ให้ในเวลาข้าวของแพงอดอยากเรียกว่า ทุพภิกขะทาน นั้นมีเวลาจนกว่าจะพ้นจากภัยความอดอยากนั้นๆ
    ทานที่ให้ข้าวใหม่ ผลไม้ใหม่ ผลผลิดใหม่ที่ได้มาเรียกว่า นะวะทาน ย่อมมีเวลาจำกัดเหมือนกันคือเมื่อพ้นฤดูกาลนั้นไปแล้วก็หมดเวลาของกาลทาน
    ทานที่ให้แก่ผู้ป่วยไข้เรียกว่า คิลานะทาน นั้นมีเวลาในช่วงเจ็บป่วยเท่านั้น เมื่อผู้ป่วยหายเจ็บไข้ก็ไม่สามารถทำทานนั้นได้
    “กฐินทาน”ก็จัดอยู่ในกาลทานเช่นกันเพราะมีเวลาจำกัดเพียงเดือนเท่านั้น เมื่อพ้นไปแล้วก็ไม่อาจทำทานนั้นได้
    อานิสงค์ของกาลทาน
    (สัปปุริสทาน ๕ )
    ให้ด้วยศรัทธา ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปร่างสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใสประกอยด้วยผิวพรรณงามยิ่งนักในเวลาที่ทานนั้นเผล็ดผลให้โดยเคารพ ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เป็นผู้มีบุตร ภรรยา สามี ทาส คนใช้หรือคนงานเป็นผู้เชื่อฟัง เงี่ยโสตลงสดับคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ในเวลาที่ทาน นั้นเผล็ดผล
    ให้ทานโดยกาล ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และย่อมเป็นผู้มีความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ ในเวลาที่ทาน นั้นเผล็ดผล
    ให้ด้วยจิตอนุเคราะห์ ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไป เพื่อบริโภคกามคุณ ๕ สูงยิ่งขึ้นในเวลาที่ทาน นั้นเผล็ดผล
    ให้ทาโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และย่อมเป็นผู้ไม่มีภยันอันตรายแต่ที่ไหนๆ คือ ภัยจากไฟไหม้ น้ำท่วม โจรกราม ช่อโกง พระราชาเบียดบังเอา จากคนอันไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาท ในเวลาที่ทาน นั้นเผล็ดผล
    [/FONT][/SIZE][/COLOR]
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คนของหัวใจ; 22-10-2010 at 17:14.

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ มะเหมี่ยว
    วันที่สมัคร
    Jan 2010
    ที่อยู่
    สุดประจิมที่ริมเมย
    กระทู้
    858
    :*- ขอบคุณจ้า ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย แล้วที่ไม่สบายดีขึ้นหรือยัง ดูแลสุขภาพด้วยนะจ๊ะ

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ mewcoppy
    วันที่สมัคร
    Apr 2010
    กระทู้
    315
    เห็นแล้วเฮ็ดบุญก่อนดอกครับ .........การให้ทาน บ่อจำเป็นต้องเลือกเวลาครับ ต้องเบิ่งกำลังเฮาพร้อมครับ บ่อแม่นเจ้าของเฮ็ดแล้วเป็นทุกข์ คั่นก่าอย่าเฮ็ดครับมันบาปเฮ็ดบุญใจมันต้องสะอาดเฮ็ดบ่อหวังหน้าตาครับ กฐินมันจั่งสิได้บุญ

  4. #4
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ม๋าน่อย
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    มุกดาหาร
    กระทู้
    379
    บล็อก
    2
    ขอบคุณจ้าคุณครูที่ให้ข้อมูลดีๆ ครูคงสิดีขึ้นแล้วเนาะจ้า..............เซาไวไวเด้อ

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •