จริงๆแล้ว ส่วยเป็นชนชาติดั้งเดิมในลุ่มแม่น้ำโขง แต่โดยลักษณพิเศษของชนชาตินี้ คือ รักป่า รักสงบ ก็เลยได้แต่พากลุ่มของพรรคพวกตัวเองอพยพ หลบหลีกจากความเป็นคนเมือง ไปสู่ป่าเขาลำเนาไพร จนถึงยุคปัจจุบันซึ่งแต่ละกลุ่มชนชาติได้ตั้งรกรากของตนเองมีการก่อตั้งเป็นสังคมเมืองที่มั่นคง และหนทางแห่งการอพยพเริมคับแคบ และบีบคั้นกลุ่มชาติเผ่านี้ก็เลยตรึงอยู่กับที่โดยไม่มีการจัดตั้งเป็นสังคมเมือง นอกจากความแตกแยกเป็นกลุ่มเป็นสาย แต่โดยลักษณการอพยพจะเป็นไปในแนว เหนือ ใต้
ฉะนั้นชุมชนของชนกลุ่มนี้ก็มักจะมีหมู่บ้านเรียงไปในแนวเหนือ ใต้ ไม่ว่าจะเป็น ในเขตจังหวัดสุรินทร์ หรือ ศรีสะเกษ หรือในประเทศกัมพูชา(โดยเฉพาะในเขต จังหวัดพระวิหารในปัจจุบัน) หรือในประเทศลาว และบางส่วนในเขตเทือกเขาภูพาน(โส่ โซ่ ข่า) ก็ล้วนแล้วแต่เป็นชาติพันธ์พื้นเพเดียวเดียวกัน

เนื่องจากเป็นกลุ่มชนที่อาศรัยอยู่ในป่าเป็นหลัก เพราะฉะนั้นความชำนาญเรื่องป่าจึงต้องยกให้เขา

เช่นเรื่องคล้องช้าง ชนที่ชำนาญที่สุดก็คือชนชาติส่วยนี้เอง

และจังหวัดที่น่าจะเป็นพื้นเพของส่วยก็คือศรีสะเกษ

คำว่าส่งส่วยที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันลองทบทวนดูมาจากพื้นเพอะไร?

วัดเจียงอี ในจังหวัดศรีสะเกษ ผมไม่ได้ไปนานไม่รู้ว่าทางจังหวัดศรีสะเกษให้ความหมายว่าอะไร

แต่ถ้าให้ผมวิเคราะห์ ผมก็พูดได้ว่ามาจากภาษาส่วยนี้เอง

เพราะ เจียง = ช้าง ในภาษาส่วย
อี = เจ็บ ป่วย ในภาษาส่วย

และในวัดเจียงอีที่จังหวัดศรีสะเกษเมื่อสมัยก่อนที่ผมไปพบ(ประมาณ 40ปีเศษที่ผ่านมา)มีกองกระดูกช้างเยอะแยะ ไม่รู้ปัจจุบันเขากวาด เผาทิ้งหรือยัง
แต่ถ้ายังก็นับว่าเป็นบุญ เพราะนั่นแหละคือประวัติศาสตร์

เพราะฉะนั้นวันนี้ก็ได้คำภาษาส่วยหนึ่งคำ คือ เจียงอี = ช้างเจ็บ ช้างป่วย

ไฮ อี ปุง = ผมปวดท้อง

ไฮ ตะเก๊าะ = ผมใข้

ไฮ หมัก กวย ซำ = ผม มัก คน งาม

มื้อนี้ถ่อนี้ก่อน มื้อหน้าพ่อกันใหม่เด้อ

ซะออบ ซำปอ = อยู่ดีมีแฮง