เล่าเรื่อง เมืองพระประแดง![]()
เมืองพระประแดงเป็นเมืองที่มีความเก่าแก่มานานกว่า 1000 ปี ประวัติศาสตร์เมืองพระประแดง
เริ่มปรากฎในสมัยขอมเรืองอำนาจเหนือดินแดนสุวรรณภูมิบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ในสมัยนั้นสภาพทางภูมิศาสตร์ของที่ราบลุ่มมีทะเลที่อยู่ลึกกว่าปัจจุบันทางใต้ของกรุงเทพ ฯ
ขอมได้ตั้งเมืองบริเวณปากแม่น้ำนี้ เรียกว่า พระประแดง เมืองพระประแดงเดิมตั้งอยู่
บริเวณคลองเตย เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ต่อมาแผ่นดินได้งอกขึ้นมาจึงย้ายเมืองพระประแดง
มาให้ใกล้ปากแม่น้ำ ซึ่งคือ อำเภอพระประแดงในปัจจุบัน ชื่อของพระประแดง
ได้ปรากฏในยุคสมัยทั้งหมด 5 สมัย คือ สมัยลพบุรี สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา ธนบุรี
และกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยลพบุรีที่ขอมเรืองอำนาจ เมืองพระประแดงมีฐานะเป็น
เมืองหน้าด่านชายทะเล ขอมเรียก เมืองพระประแดง มีความหมายว่า คนนำสาร
ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้กำหนดให้เมืองพระประแดง เป็นเมืองหนึ่ง
ในหัวเมืองหน้าด่าน เป็นหัวเมืองทางใต้ และหัวเมืองชายฝั่งทะเล ในสมัยอยุธยาน
ี้ได้ปรากฏหลักฐานของเมืองพระประแดงอย่างชัดเจน ตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
ความว่า
ในปีมะเมีย จุลศักราช 860 หรือใน พ.ศ. 2051 ทางกรุงศรีอยุธยาได้ทำการขุดชำระคลอง
สำโรงที่เมืองพระประแดง ขณะทำการขุดคลองได้พบพระพุทธรูป 2 องค์ ที่มีชื่อจำหลักไว้ว่า
พระยาแสนตา และบาทสังข์กร ได้ตั้งประดิษฐานที่เมืองพระประแดง ภายหลังพระยาละแวก
แห่งเขมรยกทัพมาโจมตี กรุงศรีอยุธยาแต่ไม่สำเร็จจึงได้นำเทวรูปทั้ง 2 องค์ไปยังกัมพูชา
ในสมัยกรุงธนบุรีพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ให้รื้อกำแพงเมืองพระประแดงมาสร้างวังส่งผลให
้เมืองพระประแดงได้หายสาบสูญไปในสมัยนั้นและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯลงไป
สำรวจปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อสร้างเมืองใหม่ ่ผลจากการสำรวจ ได้มีการสร้างป้อม
ขึ้นมา หนึ่งป้อมตรงฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณคลองลัดโพธิ์ ป้อมนี้ชื่อว่าป้อมวิทยาคม
นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเมืองพระประแดง
ต่อมาในรัชสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงทำการสร้างเมืองต่อจากรัชกาลที่ 1
มีแม่กอง คือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล การสร้างเมืองเริ่มทำพิธีฝังอาถรรพ์ปักหลักเมือง
ณ วันศุกร์ เดือน 7 แรม 10 ค่ำ ปีกุล สับตศก จุลศักราช 1177 ( พ . ศ . 2358 )
จากพงศาวดารรัชกาลที่ 2 ให้นามว่า เมืองนครเขื่อนขันธ์ ในการครั้งนี้ได้สร้างพระอารามไว้ในเมือง
พระราชทานนามว่า วัดทรงธรรม ต่อมาได้สร้างป้อมเพื่อความแข็งแกร่งในการป้องกันศัตรูทาง
ฝั่งตะวันออก 3 ป้อม คือ
ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย
ป้อมปีศาจสิง
ป้อมราหูจร
ทางฝั่งตะวันตกอีก 5 ป้อม คือ
ป้อมแผลงไฟฟ้า
ป้อมมหาสังหาร
ป้อมศัตรูพินาศ
ป้อมประจักกรด
ป้อมพระจันทร์พระอาทิตย์
โดยป้อมทั้งหมดชักปีกกาถึงกัน ข้างหลังเมืองทำเป็นกำแพงล้อมรอบตั้งยุ้งฉางภายในเมือง
ที่ริมน้ำทำเป็นลูกทุ่นสายโซ่ไว้ป้องกันเรือข้าศึกรวมทั้งหมด ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์มีป้อม
ทั้งหมด 9 ป้อม นอกจากการสร้างป้อมแล้วยังได้ทำการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา
มีชื่อว่า คลองลัดหลวง เพื่อใช้เป็นทางลัดในการเดินทาง ทำให้เมืองนครเขื่อนขันธ์
มีอีกชื่อหนึ่ง ว่า ปากลัด ในปี พ . ศ . 2365 ได้สร้างป้อมอีกป้อมหนึ่งชื่อเพชรหึงษ์
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อ
เมืองนครเขื่อนขันธ์เป็นเมืองพระประแดง ในปี พ . ศ . 2458 ด้วยกฐานะ
เมืองพระประแดงเป็นจังหวัดพระประแดงมี 3 อำเภอ คือ
อำเภอพระประแดง
อำเภอพระโขนง
อำเภอราษฎร์บูรณะใน
รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศไทยเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
อันเนื่องจาก ภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงทรงโปรดเกล้าให้ยุบจังหวัดพระประแดง
โดยให้อำเภอพระโขนงอำเภอราษฎร์บูรณะ ขึ้นตรงกับจังหวัดกรุงเทพส่วนอำเภอ
พระประแดงขึ้นตรงกับจังหวัดสมุทรปราการ ใน พ . ศ . 2475
ชุมชนมอญพระประแดงได้เริ่มขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
ซึ่งปัจจุบัน คือ อำเภอพระประแดง ขึ้นในวันศุกร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 7 ปีกุล สัปศก
จุลศักราช 1177( พุทธศักราช 2358 ) ทรงโปรดเกล้าให้ย้ายครอบครัวชาวมอญ
จากเมืองปทุมธานีที่ได้อพยพเข้ามา ในรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชที่มีผู้นำ คือ
พระยาเจ่ง ต้นตระกูลคชเสนี ในการเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ครั้งนั้น
มีชายฉกรรจ์ทั้งหมด 300 คน มีผู้นำ คือ สมิงทอมา ซึ่งเป็นบุตรของพระยาเจ่ง
เป็นหัวหน้า ซึ่งภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์ ชาวมอญชุดนี้
เรียกว่า มอญเก่า และในปีเดียวกันนี้มีชาวมอญอีกกลุ่มหนึ่งอพยพเข้ามา
พึ่งพระบรมโพธิสมภาร มีผู้นำ คือ สมิงสอดเบา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทรงโปรดให้ชาวมอญกลุ่มหนึ่งไปตั้งหลักแหล่งที่เมืองนครเขื่อนขันธ์เช่นกัน โดยชาวมอญ
ชุดนี้เรียกว่า มอญใหม่
การปกครองเมืองนครเขื่อนเริ่มต้นจากสมิงทอมาซึ่งได้รับแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เป็น พระยานครเขื่อนขันธ์รามัญชาติเสนาบดีศรีสิทธิสงคราม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
โปรดเกล้าฯ ให้พระยานครเขื่อนขันธ์ รามัญชาติเสนาบดีศรีสิทธิสงครามเป็นเจ้าเมือง พร้อมทั้งตั้งกรม
การการเมืองทุกตำแหน่ง นับแต่นั้นมาตระกูลคชเสนีก็ปกครองเมืองนครเขื่อนขันธ์สืบต่อมารวมแล้ว 9 คน
คือ
? พระยานครเขื่อนขันธ์รามัญชาติเสนาบดีศรีสิทธิสงคราม ( ทอมา คชเสนี )
? พระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ ( จุ๋ย คชเสนี )
? พระยามหาโยธา ( นกแก้ว คชเสนี )
? พระยาขยันสงคราม ( เจ๊กหรือแป๊ะ คชเสนี )
? พระยาเกียรติ ( ขุนทอง คชเสนี )
? พระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ ( หยอย คชเสนี )
? พระเทพพลู ( ทองคำ คชเสนี )
? พระยาพิทักษ์มนตรี ( ปุย คชเสนี )
? พระยานนาคราชกำแหงประแดงบุรีนายก ( แจ้ง คชเสนี )
หลังจากลำดับที่ 9 เป็นคนนอกจระกูลคชเสนี คือ
? พระยาพยัพพิริยกิจ ( เป้า จารุเสถียร )
? พระประแดงบุรี ( โต )
? พระยาพิชัยบุรินทรา ( สะอาด )
Bookmarks