ในปี ๒๓๒๕ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ปราบดาภิเษกเป็น รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงแต่งตั้งพระปทุมฯ เป็น "พระปทุมวรราชสุริยวงศ์" สถาปนาเมืองอุบล เป็น "เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ประเทศราช" เมื่อวันจันทร์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด จุลศักราช ๑๑๔๕ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๕
พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) ครองเมืองอุบลต่อมาอีก ๓ ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม (พ.ศ. ๒๓๓๘) อายุ ๘๕ ปี
รวมเวลาครองเมืองอุบลทั้งสิ้น ๑๗ ปี (พ.ศ. ๒๓๒๑-๒๓๓๘) ) ชาวเมืองอุบล ได้สร้างอนุสาวรีย์เจ้าคำผง ไว้ที่ทุ่งศรีเมือง ในเมืองอุบลราชธานี
จากนั้นได้มีเจ้าเมืองปกครองมาอีก ๔ ท่าน จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ฝรั่งเศสล่าอาณานิคม จึงทรงเปลี่ยนการปกครองเมืองอุบลจากแบบ "อาดยา ๔" (แบบลาว) เป็นการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ได้ส่งพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๕๓)
เกิดข่าวลือเรื่องยักษ์จะมากินคน เป็นจุดเริ่มต้นของขถบผีบุญในปี ๒๔๔๔
กรมหลวงสรรพสิทธิ์ฯ ได้ปราบสงบราบคาบในเวลา ๓ เดือน
จับหัวหน้าขบถหลายคนตัดคอเสียบประจานในท้องที่เกิดเหตุ
ต่อมาได้มีข้าหลวง และผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
พระนามเดิม พระองค์เจ้าชุมพล
พระราชโอรสองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และองค์ที่ 3 ใน เจ้าจอมมารดาพึ่ง
ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2400 ทรงเป็นต้นราชสกุล "ชุมพล"
พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช ทรงสำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมายและด้านช่าง
ทรงเริ่มรับราชการในกรมช่างทหารใน
และดำรงตำแหน่งราชองครักษ์ (เอดเดอแกมป์)
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2427
ทรงรับราชการในตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาและศาลแพ่ง ใน พ.ศ. 2436
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาพระเกียรติยศเป็น
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์
ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
ต่อมาทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงต่างพระองค์
เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อิสาน)
ครอบคลุมท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร
อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธุ์
และตั้งกองบัญชาการที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2436
โดยทรงรับผิดชอบทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 ทรงค้นพบ
ประสาทพระวิหาร บนผาเป้ยตาดี จังหวัดศรีสะเกษ
และได้ทรงจารึก ร.ศ. ที่พบ
และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี มีข้อความว่า "118 สรรพสิทธิ"
พระองค์ปกครองมณฑลอิสานเป็นเวลากว่า 17 ปี กระทั่งปี พ.ศ. 2453
ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ และทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับสถาปนาพระเกียรติยศเป็น
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
และได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ
เนื่องจากทรงชราและมีพระอนามัยไม่สมบูรณ์
กระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2465 รวมพระชนมายุได้ 65 พรรษา
หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา
หม่อมเจียงคำ สาวชั้นสูงลาวในภาคอีสานที่ได้เป็นหม่อมใน
สมัยรัชกาลที่ห้า สวมเสื้อฝรั่งแขนหมูแฮม ใส่ผ้าถุงแบบลาว
ประวัติ
...
หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา
เกิดเมื่อ พ.ศ.2422 เป็นธิดาคนที่ 9 ของท้าวสุรินทร์ชมภู
และนางดวงจันทร์ เป็นชาวเมืองอุบลราชธานี
ได้เข้าพิธีบายศรีสู่ขวัญถวายตัวเป็นชายาของพระ เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เมื่อเดือนมีนาคม รศ.112 (พ.ศ.2437) ได้ให้กำเนิดโอรส 2 องค์ คือ หม่อมเจ้าอุปลีสาน ชุมพล และหม่อมเจ้ากมลีสาน ชุมพร
หม่อมเจียงคำและหม่อมเจ้ากมลีสาน ชุมพล
พระโอรสองค์เล็ก
หม่อมเจ้าชาย อุปลีสาน ชุมพล
หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช ทรงมีพระนามเดิมว่า
หม่อมเจ้าบุญจิราธร ชุมพล
ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2440 เป็นธิดาของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
กับ หม่อมบุญยืน บุตรีในท้าวไชยบุตร
(บุดดี บุญรมย์) หลานเจ้าราชบุตรสุ่ย เจ้าเมืองอุบลราชธานี
ภาพครอบครัวพระอุบลประชากรนิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์)
ประวัติเชื้อสายเจ้าทางอุบล
เจ้านายอาชญาสี่เชื้อสายเเห่งเจ้าคำผงผู้บุตรในพระวอโอรสของเจ้าปางคำเจ้าผู้ครอง
นครเชียงรุ้ง- อาญาสี่ หรืออาชญาสี่ เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาสูงสุด
ใน การปกครองอุบลราชธานีในระยะแรก แบ่งเป็น สี่ ตำแหน่ง คือ เจ้าเมือง --อุปฮาด--ราชวงค์--ราชบุตร
ต้น ตระกูลเจ้านายเมืองอุบลราชธานีมาจากนครเชียง รุ่งแสนหวีฟ้า
คือเมื่อประมาณ ๓๐๐ กว่าปีก่อนหน้านี้ ราว พ.ศ.๒๒๒๘
เกิดวิกฤติทางการเมืองในนครเชียงรุ่ง
เนื่องจากจีนฮ่อหัวขาวหรือฮ่อธงขาวยกกำลังเข้า รุกราน
เจ้านายนครเชียงรุ่ง คือเจ้าอินทกุมาร เจ้านางจันทกุมารี และเจ้าปางคำ
จึงอพยพไพร่พลจากเมืองเชียงรุ่ง แสนหวีฟ้า
ไปขอพึ่งพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งนครเวียงจันทน์
ซึ่งเป็นพระประยูรญาติฝ่ายพระมารดา
เจ้านครเวียงจันทน์ในเวลานั้นได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
โปรดให้นำไพร่พลไปตั้งที่เมืองหนองบัวลุ่มภู
ไม่ต้องส่งส่วยบรรณาการ มีสิทธิ์สะสมไพร่พลอย่างเสรี
สันนิษฐานว่าน่าจะมีฐานะอย่างเมืองลูกหลวง คือเป็นอิสระ
มีชื่อว่า “นครเขื่อนขันฑ์กาบแก้วบัวบาน”
ไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของเวียงจันทน์โดยตรง
ต่อมาพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชโปรดให้
เจ้าอินทกุมารเสกสมรสกับพระราชธิดาองค์หนึ่ง ได้โอรสคือเจ้าคำ
หรือเจ้าองค์นกโปรด ให้เจ้านางจันทกุมารีเสกสมรสกับเจ้าอุปฮาด(พระอุปยุวราช)
ได้โอรสคือเจ้ากิงกีศราช และเจ้าอินทโสม
ซึ่งต่อมาคือบรรพบุรุษของเจ้านายเมืองหลวงพระบาง
ส่วนเจ้าปางคำได้เสกสมรสกับพระราชนัดดา
ได้โอรสคือเจ้าพระตา เจ้าพระวอ (นักวิชาการประวัติศาสตร์ทางเวียงจันทน์ยืนยันว่าเจ้าพระตากับเจ้าพระวอเป็นบุคคลเดียวกัน มีพระนามว่าเจ้าพระวรพิตา หรือพระวอระปิตา)
มีต่อนะคะ :,1-:,1-
Bookmarks