กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: ภาพเล่าเรื่อง ตอน Bangkok mean time (เวลาในประเทศไทย)

  1. #1
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    เกาทัณฑ์ ภาพเล่าเรื่อง ตอน Bangkok mean time (เวลาในประเทศไทย)

    ภาพเล่าเรื่อง ตอน Bangkok mean time (เวลาในประเทศไทย)

    ในรัชกาลที่ 4 มีภาพพระบรมหาราชวัง มี หอนาฬิกา สูง มีทางขึ้นระเบียง และ อาคารที่มีหน้าต่างโดยรอบ
    สร้างก่อนหอนาฬิกา บิ๊กเบน เคยได้ยินมานานแล้ว แต่ไม่เคยเห็นภาพ ดูแล้ว มีสองภาพ
    ที่ไม่ทราบเวลาถ่ายแต่ เล็กกว่า แต่ทั้งสองหอนาฬิกาก็ ถูกรื้อออกไปจากพระบรมหาราชวัง แล้วเช่นกัน

    ปี พ.ศ. 2395 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค)
    เป็นแม่กองก่อสร้างพระราชมณเฑียรที่ประทับขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ณ บริเวณสวนขวา
    แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จท่านสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ถึงแก่พิราลัย จึงได้โปรดเกล้าฯ
    ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นแม่กองก่อสร้างต่อมา
    โดยมีกรมหมื่นราชสีหวิกรม (พระยศในขณะนั้น) เจ้ากรมช่างสิบหมู่ เป็นนายช่างก่อสร้าง
    แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2400 พระราชทานนามหมู่พระราชมณเฑียรนั้นว่า “พระอภิเนานิเวศน์”
    ทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรและขึ้นประทับเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 4 ค่ำ พ.ศ. 2402 (กำลังตรวจสอบปี พ.ศ.)

    พระอภิเนานิเวศน์ ประกอบด้วยพระที่นั่งต่างๆ หลายองค์ องค์หนึ่งคือ “พระที่นั่งภูวดลทัศไนย”
    ตั้งอยู่ด้านเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม(เดิม) ตรงพุทธนิเวศน์ ซึ่งเป็นพระที่นั่งตึกสูง 5 ชั้น
    ชั้นบนสุดติดตั้งนาฬิกาขนาดใหญ่ทั้ง 4 ด้าน มีพระราชประสงค์ให้ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวง
    เพื่อทำหน้าที่บอกและรักษาเวลามาตรฐาน ดังปรากฏในประกาศรัชกาลที่ 4 ฉบับที่ 306, พ.ศ. 2411



    ภาพเล่าเรื่อง ตอน Bangkok mean time (เวลาในประเทศไทย)

    ในรัชกาลที่ 4 มีภาพพระบรมหาราชวัง มี หอนาฬิกา สูง แต่ เป็นอาคารเล็กกว่า เพรียวขึ้น
    แต่ไม่ทราบว่า อยู่ตรงไหน และเป็นที่เดียวกับ อันใหญ่อันเดิมแล้วก่อสร้างหรือปล่าว
    นอกจากหอนาฬิกาหลวงที่พระที่นั่งภูวดลทัศไนยแล้ว ยังปรากฏหลักฐานว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    โปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนราชสีหวิกรมทรงออกแบบสร้างหอนาฬิกา
    ซึ่งตั้งอยู่บริเวณมุขเด็จพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในปัจจุบัน
    เชื่อกันว่ามีพระราชประสงค์จะให้ชาวเรือขึ้นล่องแม่น้ำเจ้าพระยามองเห็น และเทียบเวลาเดินเรือได้สะดวก
    สำหรับพระที่นั่งภูวดลทัศไนยนั้นได้ถูกรื้อลงในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อสร้าง ทิมดาบใหม่


    ภาพเล่าเรื่อง ตอน Bangkok mean time (เวลาในประเทศไทย)

    รัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศสยาม หรือที่เราเรียกกันว่า Bangkok mean time ก่อนชาติใดๆ ในโลก
    พระอภิเนานิเวศน์ ประกอบด้วยพระที่นั่งต่างๆ หลายองค์
    องค์หนึ่งคือ “พระที่นั่งภูวดลทัศไนย”
    ตั้งอยู่ด้านเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม(เดิม)
    ตรงพุทธนิเวศน์ ซึ่งเป็นพระที่นั่งตึกสูง 5 ชั้น
    ชั้นบนสุดติดตั้งนาฬิกาขนาดใหญ่ทั้ง 4 ด้าน
    มีพระราชประสงค์ให้ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวง
    เพื่อทำหน้าที่บอกและรักษาเวลามาตรฐาน
    ดังปรากฏในประกาศรัชกาลที่ 4 ฉบับที่ 306, พ.ศ. 2411

    "จะเป็นเหตุให้เขาหัวเราะเยาะเย้ยได้ว่าเมืองเรา ใช้เครื่องมือนับทุ่มโมง
    เวลาหยาบคายนักไม่สมควรเลย เพราะเหตุฉะนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ได้ทรงพินิจพิจารณาตรวจตราคำนวณความดำเนินพระอาทิตย์ ให้ฤดูทั้งปวงสอบกับนาฬิกา
    ที่ดีมาหลายปีทรงทราบถ้วนถี่ทุกประการ แจ้งในพระราชหฤทัยแล้ว..."


    และด้วยพระอัจฉริยภาพของพระองค์ ได้ทรงกำหนดให้เส้นแวง 100 องศา 29 ลิปดา 50 ฟิลิปดา ตะวันออก
    เป็นเส้นแวงหลักผ่านพระที่นั่งภูวดลทัศไนย และได้โปรดฯ ให้มีเจ้าหน้าที่รักษาเวลามาตรฐาน
    ประจำหอนาฬิกาหลวง ซึ่งนับว่าเป็นตำแหน่งงานทางวิทยาศาสตร์ไทยชุดแรก
    คือตำแหน่งพันทิวาทิตย์
    มีหน้าที่เทียบเวลากลางวันจากดวงอาทิตย์ และตำแหน่งพันพินิตจันทรา
    ทำหน้าที่เทียบเวลากลางคืนจากดวงจันทร์
    โดยสังเกตจากดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่เคลื่อนผ่านเมอริเดียนของสถานที่สังเกตการณ์ของบุคคลทั้งสอง
    ซึ่งก็คือ พระที่นั่งภูวดลทัศไนย และจากการที่ทรงได้สังเกตดวงอาทิตย์บนท้องฟ้ามานานหลายปี
    ทรงพบว่าการขึ้น ตก และแนวการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในเดือนต่างๆ นั้น แตกต่างกัน
    ที่หอนาฬิกาหลวงจึงมีการคำนวณทางดาราศาสตร์เป็นรายวันทุกๆ วัน เพื่อตั้งปรับเวลาที่หอนาฬิกาหลวงตามที่ได้คำนวณไว้ล่วงหน้า
    เพื่อให้เป็นเวลามาตรฐานกรุงเทพปานกลาง หรือที่เรียกว่า Bangkok mean time ซึ่งเป็นเวลาที่เร็วกว่าที่กรีนิช 6 ชั่วโมง 42 นาที
    ดังนั้นประเทศไทยของเราจึงมีเวลามาตรฐานเป็นของตัวเองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2400 และได้มีการออกพระราชกำหนดเรื่องนาฬิกา
    ในปี พ.ศ. 2411 อันเป็นปีสุดท้ายแห่งรัชกาล
    จึงนับได้ว่าประเทศไทยมีเวลามาตรฐานอย่างถูกต้องตามหลักดาราศาสตร์เป็นชนชาติแรกของโลก
    เพราะ ณ เวลานั้นแม้แต่หอดูดาว ที่ตำบลกรีนิช ประเทศอังกฤษก็ยังไม่มีการกำหนดเวลามาตรฐาน
    รัฐสภาอังกฤษเพิ่งจะมีการออกพระราชบัญญัติเวลามาตรฐานเมื่อปี ค.ศ. 1880 (พ.ศ. 2423)
    และในปี ค.ศ. 1884 (พ.ศ. 2427) นักดาราศาสตร์จึงได้ตกลงกันกำหนดเส้นแวงที่ผ่านเมืองกรีนิชเป็นเส้น 0 องศา เพื่อใช้เทียบเวลาโลก

    นอกจากหอนาฬิกาหลวงที่พระที่นั่งภูวดลทัศไนยแล้ว ยังปรากฏหลักฐานว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    โปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนราชสีหวิกรมทรงออกแบบสร้างหอนาฬิกา
    ซึ่งตั้งอยู่บริเวณมุขเด็จพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในปัจจุบัน
    เชื่อกันว่ามีพระราชประสงค์จะให้ชาวเรือขึ้นล่องแม่น้ำเจ้าพระยามองเห็น
    และเทียบเวลาเดินเรือได้สะดวก
    สำหรับพระที่นั่งภูวดลทัศไนยนั้นได้ถูกรื้อลงในสมัยรัชกาลที่ 5
    เพื่อสร้างทิมดาบใหม่

    ภายหลังในปี พ.ศ. 2462 ได้มีการประชุมสภาสากลอุทกนิยม
    ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
    เพื่อแบ่งภาคเวลา โดยกำหนดให้ตำบลกรีนิช เป็นจุดแรกของการกำเนิดเวลา
    ประเทศไทยจึงได้มีการกำหนดเวลามาตรฐานใหม่ จากเส้นแวงที่ 100 ตะวันออก
    ซึ่งพาดผ่านพระบรมมหาราชวัง มาเป็นเส้นแวงที่ 105 องศาตะวันออก จังหวัดอุบลราชธานี
    โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
    ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกาให้ใช้อัตราเวลาทั่วราชอาณาจักรไทย
    เป็น 7 ชั่วโมงก่อนเวลาที่ตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2463 นับตั้งแต่นั้นมา

    ขอบคุณที่มา www.geocities.com

  2. #2
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9
    ขอบคุณสำหรับความรู้จ้าน้องบี นาฬิกาเรือนใหญ่ตั้งอยู่กลางเมืองที่เคยเห็นที่สวนจตุจักร
    ตอนนี่ยังมีอยู่หรือเปล่าก็ไม่รู้
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  3. #3
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30
    บีคิดว่ายังมีอยู่นะคะ เพราะจตุจักรมีหอนาฬิกาเป็นสัญญลักษณ์ บีไปช้อปครั้งสุดท้ายเมื่อห้าปีที่แล้วเขาก็ซ่อมแซมอยู่คะ
    ขอบคุณที่ติดตามนะคะ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •