มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 กำหนดให้ ทุกวันที่ 23 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น “วันนักถ่ายภาพไทย” ยกย่อง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ให้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งการถ่ายภาพไทย”
จุดเริ่มต้นหรือ ที่มาครั้งแรก ของการถ่ายภาพ ในสยาม ไม่มีหลักฐาน ระบุแน่ชัด มีเพียงแต่ บันทึกพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ข้อความที่ว่า “วิธีการถ่ายรูปที่เข้ามาในเมืองไทยยังไม่ถึง 50 ปี แต่แรกถ่ายด้วยแผ่นเงินขัดเสีย ให้เกลี้ยงจนเป็นกระจกเงา ต้องนั่งช้าติดเห็นราง ๆ และได้รูปเดียว พิมพ์ต่อไม่ได้”

จากพระราชนิพนธ์เรื่อง “การถ่ายรูปเมืองไทย” ดังนั้นหากประมาณเวลาจากข้อความดังกล่าว การสันนิษฐานถึงยุคแรกของการถ่ายภาพของเมืองไทย น่าจะอยู่ในราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3) โดยคาดว่าเป็นการถ่ายภาพในแบบที่เรียกว่า “ดาแกโรไทป์” ซึ่งน่าจะถ่ายโดยชาวต่างชาติ

แต่ภาพที่ถ่ายโดยชาวสยามคนแรกน่าจะเป็น (ร.5) จนเป็นที่กล่าวขานว่าเป็น “พระบิดาแห่งการถ่ายภาพไทย”
ผมเป็นช่างภาพผมจึงชอบภาพนี้มากเพราะเป็นภาพที่ค่อนข้างหาดูได้ยาก ผมจึงเก็บใว้บนหิ้งเพื่อบูชา
พระบิดาแห่งการถ่ายภาพไทย

ภาพของ(ร.5)ภาพนี้ก็น่าจะเป็นผลงานของเจ้าจอมเอิบ
เจ้าจอมเอิบ เป็นช่างภาพ ที่ถ่ายภาพอิริยาบถ สบายๆแบบลำลอง ของ(ร.5) เอาไว้มากมาย
พระบิดาแห่งการถ่ายภาพไทย

วันที่ 23 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น “วันนักถ่ายภาพไทย”