กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: รักที่ทนทุกข์ของพระเทพกษัตรี

  1. #1
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    อ่านข่าวออนไลน์ รักที่ทนทุกข์ของพระเทพกษัตรี

    รักที่ทนทุกข์ของพระเทพกษัตรี
    พระเทพกษัตรีทรงเป็นพระราชธิดาของพระวีรกษัตรีย์ไทยคือ สมเด็จพระศรีสุริโยทัยกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชประวัติของพระองค์ได้เกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ 3 ชาติอย่างน่าพิศวง และเป็นประวัติศาสตร์แบบต่อเนื่องที่เกิดเหตุการณ์หนึ่ง
    แล้วส่งผลกระทบไปยังอีกเหตุการณ์หนึ่งของ 3 ชาติคือ
    ไทย ลาว พม่า โดยเฉพาะเป็นการยืนยันถึงความมีจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2092
    จากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย
    ที่ได้กระทำศึกยุทธหัตถีเพื่อช่วยพระสวามีและชาติไทย
    จนทำให้เกิดผลกระทบมีเหตุการณ์ต่อเนื่องในอีก 14 ปีต่อมาจากการทูลขอพระเทพกษัตรีของกษัตริย์แห่งล้านช้าง เพราะต้องการสายพระโลหิตไว้ให้เป็นเชื้อสายหน่อแนว

    พงศาวดารไทย และพงศาวดารล้านช้าง ได้บันทึกตรงกันไว้ว่า
    ถึงจุลศักราช 924 (พ.ศ. 2105) สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชเจ้า
    ได้มีพระราชสาส์นทูลขอพระเทพกษัตรีไปเป็นเอกอัครมเหสีของพระองค์
    สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้มีพระราชสาส์นตอบให้แต่งทูตมารับพระเทพกษัตรีไป
    แต่พระนางเทพกษัตรีเกิดประชวรหนักจึงยกพระแก้วฟ้า
    พระราชธิดาที่เกิดจากพระสนมให้มาแทน
    ฝ่ายพระไชยเชษฐาธิราช
    ครั้งทรงทราบว่ามิใช่พระนางเทพกษัตรีก็เสียพระทัย
    จึงมีพระราชอาชญาว่า “......เราประสงค์ขอพระนางเทพกษัตรี ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระสุริโยทัยที่สิ้นพระชนม์แทนพระสวามีกับคอช้าง เป็นสกุลวงศ์ กตัญญูอันประเสริฐ......”


    ครั้นมีพระราชดำรัสดังนี้แล้วจึงทรงแต่งให้ราชทูตไปส่งพระนางแก้วฟ้าและมีพระราชสาส์น เครื่องราชบรรณาการไปถวายพระมหาจักรพรรดิอีก
    ในพระราชสาส์นนั้นว่า “......เดิมพระองค์พระราชทานพระนางเทพกษัตรีให้ กิตติศัพท์อันนี้ก็ทราบกันทั่วไปในนิคมชนบทของขัณฑสีมากรุงศรีสัตนาคนหุตถ้วนแล้ว ถึงแม้พระนางแก้วฟ้าจะมีสีสันวรรณโสภางามกว่าพระนางเทพกษัตรี ร้อยเท่าพันทวีก็ตาม ก็ไม่ลบล้างกิตติศัพท์พระนางเทพกษัตรีเสียได้ ก็เป็นอัปยศอับอายยิ่งหนักหนา ข้าพระองค์จึงขอส่งพระนางแก้วฟ้าคืนมา ขอพระองค์จงพระราชทานพระนางเทพกษัตรีแก่ข้าพระองค์ดุจดังทรงอนุญาตไปแต่ก่อน......”

    สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทราบพระราชสาส์นแล้ว
    มีความละอายพระทัยเป็นอันมาก พอพระเทพกษัตรีหายประชวร
    พระองค์จึงแต่งให้พระยาแมนกับบ่าวไพร่ 1,000 คน มาส่งพระเทพกษัตรี

    แต่เหตุการณ์ที่สร้างความขัดแย้งระหว่างพระมหาจักรพรรดิของกรุงศรีอยุธยากับพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงพิษณุโลกนั้น ได้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

    เมื่อพระมหาธรรมราชาได้แจ้งข่าวเรื่องพระไชยเชษฐาธิราชทูลขอพระเทพกษัตรี
    ไปยังพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่า
    จนเกิดเหตุการณ์แย่งชิงตัวของพระเทพกษัตรีไปยังกรุงหงสาวดีได้สำเร็จ
    เรื่องนี้ได้สร้างความบาดหมางและคับแค้นใจให้กับกษัตริย์ล้านช้างและกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ที่มีต่อพระมหาธรรมราชาของกรุงพิษณุโลก
    ที่มีใจเอนเอียงไปฝักใฝ่และจงรักภักดีต่อฝ่ายพม่า
    อีกทั้งยังเกี่ยวพันเป็นพระราชบุตรเขยของพระมหาจักรพรรดิ
    แสดงให้เห็นถึงความแตกแยกไม่ปรองดองระหว่างคนไทยด้วยกันเอง
    ซึ่งเรื่องนี้ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กำลังของฝ่ายไทยอ่อนแอ
    ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นพระมหาธรรมราชา (ขุนพิเรนทรเทพ)
    นั้นเป็นต้นคิดคนสำคัญที่มีฝีมือในการรบเก่งกล้าร่วมกับพระมหาจักรพรรดิและพระศรีสุริโยทัย
    จนสามารถชิงราชสมบัติมาจากขุนวรวงศาธิราชกับท้าวศรีสุดาจันทร์ได้สำเร็จ

    เมื่อได้พิเคราะห์ในแง่มุมบางอย่างในเรื่องราวของพระเทพกษัตรีมีประเด็นที่น่าพิจารณา ดังต่อไปนี้

    1. การส่งพระแก้วฟ้าไปแทนพระเทพกษัตรีในครั้งแรกโดยอ้างเหตุประชวรหนักนั้น ได้มีนัยสำคัญบางประการแอบแฝงอยู่หรือไม่ ซึ่งหากเป็นการประชวรไม่จริงก็แสดงว่าพระเทพกษัตรีอาจจะมีข้อขัดข้องไม่อยากเสด็จไปเป็นพระอัครมเหสีแห่งล้านช้าง แต่จะเป็นสาเหตุที่แท้จริงอย่างใดยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อ้างอิงหรือกล่าวถึง และถ้าหากจะให้เป็นข้อสันนิษฐานในแง่ส่วนพระองค์ พระเทพกษัตรีอาจจะมีบุคคลที่เป็นที่หมายปองอยู่แต่ก่อนแล้ว แต่ด้วยพระหน้าที่ของพระเทพกษัตรีในฐานะพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ที่มีพระราชมารดาคือ พระศรีสุริโยทัย ที่เป็นถึงพระวีรกษัตรีย์ไทยนั้น ย่อมไม่สามารถจะดำเนินชีวิตเยี่ยงสตรีสาธารณชน ที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบในฐานะพระราชธิดาได้เลย

    2. การถูกชิงตัวของพระเทพกษัตรี มีหลักฐานเป็นนัยสำคัญทางประวัติศาสตร์ว่า ทางฝ่ายพระมหาธรรมราชาทรงรู้เห็น และเป็นใจไปในทางฝ่ายพม่า เมื่อทราบความการทูลขอพระเทพกษัตรีจากพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ล้านช้าง จึงได้ส่งสาส์นไปยังพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าให้เร่งมาแย่งชิงเอาพระเทพกษัตรีไป ซึ่งพระเจ้าบุเรงนองทรงให้ พระตะบะเป็นนายกอง ฟ้าเสือต้าน มังกลอกหม้อ คุมทหาร 10,000 ไปดักอยู่ที่ตำบลมะเริง นอกด่านเมืองเพชรบูรณ์ แย่งพระเทพกษัตรีไปหงสาวดีได้สำเร็จ ทำให้พระมหาจักรพรรดิกับพระมหาธรรมราชาขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้น เหตุการณ์นี้ได้แสดงให้เห็นถึงเรื่องของทางการเมืองที่ต้องการตัดกำลังมิให้ฝ่ายไทย และฝ่ายลาวมีสัมพันธไมตรี และไม่ต้องการให้กองทัพทั้งฝ่ายไทยกับฝ่ายลาวมีความเข้มแข็งมากเกินไป จนเป็นอันตรายต่อฝ่ายพม่า นอกจากนี้คงเป็นความต้องการส่วนพระองค์ของพระเจ้าบุเรงนอง ที่ต้องการพระเทพกษัตรีไปเป็นพระชายา ด้วยเป็นสายเลือดแห่งสมเด็จพระศรีสุริโยทัย

    3. สาเหตุการสิ้นพระชนม์ของพระเทพกษัตรีนั้น มีหลายบันทึกที่ไม่ตรงกัน และไม่สามารถอ้างอิงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ โดยเฉพาะจากบางบันทึกได้อ้างเหตุว่าพระนางทรงปลงพระชนม์องค์เองด้วยปิ่นปักพระเศียรนั้น และยังมีบางบันทึกได้กล่าวว่าพระเทพกษัตรีมีชีวิตอยู่ที่พม่า และได้เลี้ยงดูพระนเรศวรมหาราชเยี่ยงพระราชโอรส ภายหลังพม่ายอมส่งตัวพระเทพกษัตรีกลับมาที่อโยธยา พระเทพกษัตรีหวังว่าจะได้กลับมาพบกับพระสวามี (ท่านเจ้าพระยาสิงหบดี นักรบผู้กล้าแห่งอโยธยา) เพราะพระองค์มีพระโอรส 1 พระองค์ และพระธิดา 1 พระองค์อยู่ที่กรุงศรีอยุธยา (บางบันทึกได้อ้างว่าพระองค์ทรงนำพระโอรส และพระธิดาเดินทางไปที่ล้านช้างด้วย แต่ถูกพม่าปล้น ซึ่งพระโอรส และพระธิดาปลอดภัย)

    เมื่อพระเทพกษัตรีถึงปากประตูเมืองอโยธยา ก็ถูกไส้ศึกลอบปลงพระชนม์ เสียชีวิตที่หน้าประตูเมือง โดยถูกใช้ผ้าคลุมศีรษะแล้วทุบด้วยท่อนไม้จัน ส่วนท่านเจ้าพระยาสิงหบดีถูกส่งไปรบที่เมืองสุพรรณ เสียชีวิตในสนามรบ

    สำหรับพระประวัติของพระเทพกษัตรีนั้นนับได้ว่า พระองค์ได้ทำพระหน้าที่ของพระราชธิดาของพระวีรกษัตรีย์ไทยได้อย่างสมศักดิ์ศรี มีพระเกียรติยศแห่งความรับผิดชอบต่อความเป็นขัตติยะราชนารีที่มีต่อแผ่นดินได้อย่างภาคภูมิใจ โดยไม่เห็นแก่ความรักส่วนพระองค์แต่คำนึงถึงความรักต่อแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่ แม้จะต้องเป็นรักที่ทนทุกข์อย่างแสนสาหัสเพียงใดก็ตาม

    พระเทพกษัตรีนั้นคงจะทรงมีพระอุปนิสัยใจคอเด็ดเดี่ยว เฉียบขาด กล้าตัดสินพระทัยด้วยสืบสายพระโลหิตของนักรบผู้กล้าแห่งอโยธยา จากผู้เป็นพระราชมารดาที่เป็นพระวีรกษัตรีย์ไทย เมื่อไม่ทรงยินดีที่จะเป็นพระชายาของพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่า ผู้ได้รับฉายาผู้ชนะสิบทิศ แต่ไม่สามารถจะชนะพระทัยแห่งพระเทพกษัตรีได้ พระนางจึงไม่ยินยอมที่จะทรงมีชีวิตอย่างไร้สุข และต้องทนทุกข์ในเมืองพม่าด้วยการปลงพระชนม์พระองค์เอง.

    ศรีรัญจวน : เรียบเรียง
    จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 6 สิงหาคม 2555

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    อื้มเป้นชีวิตกษัตริย์ที่ลำบากยากเข็นเหลือประมาณเหมือนในนิยาย
    ระหกะเหิรไปอยู่ต่างถิ่น

  3. #3
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30
    ูข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์เป็นเช่นใดไม่รู้ แต่พระองค์ก็เสียสละมากๆค่ะ

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •